วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

ปากีสถานเปิดเผยการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Babur 3 จากเรือดำน้ำ

Pakistan Reveals Test of Submarine-Launched Missile
ISLAMABAD — Pakistan on Monday publicly acknowledged for the first time it had successfully tested a submarine-launched cruise missile.
http://www.defensenews.com/articles/pakistan-reveals-test-of-submarine-launched-missile


วันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมาปากีสถานได้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะว่าได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำเป็นครั้งแรก
ยังไมเป็นที่ชัดเจนถึงวันที่ทำการทดสอบโดยน่าจะมีการดำเนินการมาก่อนล่วงหน้าแล้ว อย่างไรก็ตามตามแถลงการของฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพปากีสถาน(ISPR: Inter-Services Public Relations) ระบุว่า
การทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Babur 3 ระยะยิง 450km มีขึ้น ณ พื้นที่ไม่เป็นที่เปิดเผยในมหาสมุทรอินเดียจากระบบฐานยิงเคลื่อนที่ใต้น้ำ ซึ่งข้อความหลังนั้นน่าจะหมายถึงเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hashmat (Agosta 70) 2ลำ หรือชั้น Khalid (Agosta 90B) 3ลำของกองทัพเรือปากีสถานลำใดลำหนึ่ง หรืออาจจะเป็นแท่นยิงเคลื่อนย้ายได้สำหรับทดสอบใต้น้ำ

Babur 3 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำที่มีพื้นฐานพัฒนาจาก Babur 2 รุ่นยิงจากฐานยิงภาคพื้นดินซึ่งมีการทดสอบไปเมื่อเดือนธันวาคม 2016 โดยมีการปรับปรุงระบบ Avionic และความแม่นยำ
คุณสมบัติของ Babur 3 มีระบบควบคุมการขับเคลื่อนใต้น้ำ และระบบนำวิถีและนำร่องขั้นก้าวหน้าประกอบด้วยระบบนำร่องดาวเทียมและระบบเทียบเคียงภูมิประเทศและฉากหลัก(TERCOM: Terrain Contour Matching)
รวมถึงอ้างว่าสามารถทำการบินเรี่ยดผิวน้ำและลัดเลาะตามภูมิประเทศเพื่อหลบหลีกการถูกตรวจจับด้วย Radar และการสกัดกั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติของระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีของภูมิภาคนี้ในอนาคตโดยอ้างอิงจากเทคโนโลยีที่อินเดียมี
การอ้างอิงไปยังอินเดียดังกล่าวได้สร้างการเริ่มต้นความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการโจมตีกลับด้วยอาวุธนิวเคลียร์(Second Strike) ซึ่งเป็นการแสดงยุทธศาสตร์การวัดการตอบสนองยุทธศาสตร์นิวเคลียร์และเป็นแนวทางที่จะถูกนำมาใช้กับประเทศเพื่อนบ้านของปากีสถาน

นอกจากนี้การพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Babur 3 ยังถูกยกย่องว่าเป็นก้าวต่อไป(ของปากีสถาน)ในนโยบายเสริมการป้องปรามทางนิวเคลียร์(nuclear deterrence)ขั้นต่ำที่เชื่อถือได้อีกด้วย
Mansoor Ahmed นักวิจัยจากศูนย์ Belfer เพื่อวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการนิวเคลียร์และระบบส่งของปากีสถานกล่าวว่า
Babur 3 เป็นก้าวหลักสำคัญของปากีสถานในการมีระบบส่งอาวุธนิวเคลียร์ครบทั้งสามเหล่าทัพ(nuclear triad)
"มันเป็นการพิสูจน์ถึงการลงทุนว่าปากีสถานจะไม่ตามหลังอินเดียในเส้นทางของกำลังทางเรือในด้านเรือดำน้ำนิวเคลียร์ แต่เลือกใช้แนวทางที่มีประสิทธิภาพต่อราคามากกว่าซึ่งเหมาะกับการคำนวณทางยุทธศาสตร์และขีดความสามารถ" เขากล่าว
เมื่อรวมกับสถานีการสื่อสารคลื่นความถี่ต่ำมาก(very low frequency) ที่เปิดเผยเมื่อปีที่แล้ว Ahmed เชื่อว่า กองบัญชาการกองกำลังยุทศาสตร์ทางเรือปากีสถานสามารถวางกำลังนำอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนติดหัวรบนิวเคลียร์กับเรือดำน้ำตามแบบของตนเพื่อให้มีขีดความสามารถการโจมตีกลับด้วยนิวเคลียร์ที่เชื่อถือได้

นี่ดูเหมือนว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนดังกล่าวถูกนำมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบเข้ากับเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hangor(S20P) ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP(Air Independent Propulsion) ที่พัฒนาร่วมกับจีนโดยกำลังจะสั่งต่อที่จีน 4ลำ และในปากีสถาน 4ลำ รวม 8ลำด้วย
Ahmed ยังเน้นเพิ่มเติมอีกสองข้อว่า Babur 3 สามารถติดตั้งหัวรบแบบใดก็ได้ ด้วยความอนุเคราะห์จากโครงการผลิต Plutonium ของปากีสถานซึ่งได้เปิดการผลิตอุปกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีหลายขนาดตั้งแต่อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Babur ถึงขีปนาวุธ Shaheen III ซึ่งมีระยะยิงครอบคลุมทุกพื้นที่ของอินเดียและนั่นคือการป้องปรามทางทะเลของปากีสถาน
นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีของปากีสถานจะพึ่งพาระบบนำร่องดาวเทียม Beidou ของจีนเพื่อความแม่นยำในการกำหนดเป้าหมายด้วยครับ