วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

จีนตั้งเป้าตลาดส่งออกแบบเรือดำน้ำใหม่ล่าสุด หลังประสบความสำเร็จกับไทยและปากีสถาน

China targets export market with latest submarine designs
The 1100T is a multirole diesel-electric submarine design that will be capable of performing a diverse range of missions, from anti-ship and submarine attack to patrol and reconnaissance. Source: Jane's sources
http://www.janes.com/article/76304/china-targets-export-market-with-latest-submarine-designs

ด้วยประสบการณ์นับหลายทศวรรษจากการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) กลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือจีนนำโดย China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจทางเรือของรัฐบาลจีน
กำลังมองหาการขยายการนำเสนอแบบเรือดำน้ำสำหรับส่งออกที่จีนพัฒนาเองในระดับโลก หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการได้รับการสั่งจัดหาเรือดำน้ำจากกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) และกองทัพเรือปากีสถาน(Pakistan Navy)

ปากีสถานกำลังจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S20P จำนวน 8ลำที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เรือชุดแรก 4ลำจะสร้างในจีนและเริ่มส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2022
ขณะที่เรือชุดที่สองอีก 4ลำจะดำเนินการสร้างที่อู่เรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works (KSEW) ในปากีสถานโดยการถ่ายทอด Technology จากจีน

ขณะที่กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาวงเงินเกือบ ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($390 million) กับ China Shipbuilding and Offshore International Corporation(CSOC) ภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ CSIC ในการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ๑ลำ
ซึ่งเรือดำน้ำแบบ S26T มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดของเรือดำน้ำชั้น Yuan ที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยราวปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

คาดว่ากองทัพเรือไทยจะมีการสั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T เพิ่มอีก ๒ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยที่ทางกองทัพเรือไทยตั้งเป้าที่จะมีเรือดำน้ำประจำครบทั้งชุดจำนวน ๓ลำภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
โดยโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจะมีวงเงินรวมทั้งหมดราว ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.1billion) ถ้าหากการจัดซื้อที่มีตามมาจะมีผลเป็นรูปธรรมจริงๆ

"เป็นเวลาถึง 60ปีของการออกแบบและพัฒนาเรือดำน้ำที่เริ่มต้นจากชั้น Romeo, ชั้น Ming, ชั้น Song และชั้น Yuan จีนมีขีดความสามารถที่จะวิจัยและพัฒนาเรือดำน้ำด้วยตนเองอย่างอิสระ
รวมถึงการออกแบบและสร้างระบบเรือดำน้ำ และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่หลากหลายอย่างเต็มรูปแบบ, ระบบตรวจจับ และระบบอาวุธ" โฆษกของบริษัท CSOC กล่าวกับ Jane's

ตามข้อมูลจาก CSIC เรือดำน้ำแบบ S20 และเรือดำน้ำแบบ S26T เป็นการออกแบบด้วยตนเองของจีนโดยสมบูรณ์ ซึ่งยกระดับจากประสบการณ์ของบริษัทในการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan ซึ่งปล่อยเรือลงน้ำครั้งแรกที่อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan เมื่อเดือนพฤษภาคม 2004
จากภาพที่พบเรือชั้น Yuan มี2-3รุ่นหลักคือ Type 039A รุ่นแรก, Type 039B ที่ปรับปรุงรูปแบบตัวเรือเล็กน้อยและเพิ่มระบบใหม่ๆ เช่น Sonar ข้างลำตัว และ Type 039B รุ่นปรับปรุง(หรือ Type 039C) ที่มีหอเรือทรงโค้งมนที่ดูจะได้รับอิทธิพลเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Virginia สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามสำหรับอนาคตนั้น CSIC จีนได้เปิดตัวแบบเรือดำน้ำใหม่สามแบบใหม่ ที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาออกแบบสำหรับการส่งออกต่างประเทศโดยตรง ซึ่งกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นจากหลายประเทศทั่วโลก
ซึ่งจุดเปลี่ยนแปลงหลักคือแบบเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบนี้เป็นแบบตัวเรือชั้นเดียว(Single-Hull) เหมือนเรือดำน้ำตะวันตก ขณะที่ S20 และ S26T ที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Type 039A/B เป็นแบบตัวเรือสองชั้น(Double-Hull) เหมือนเรือดำน้ำชั้น Project 636 Improved Kilo รัสเซียที่ส่งออกไปในหลายประเทศ

ทั้งนี้บริษัท CSOC จีนได้เปิดตัวแบบจำลองและข้อมูลเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบที่ประกอบด้วย เรือดำน้ำแบบ S1100 ขนาดระวางขับน้ำ 1,100tons, แบบ S600 ขนาดระวางขับน้ำ 600tons และเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) แบบ MS200 ขนาดระวางขับน้ำ 200tons
เป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ตามที่ได้มีรายงานพิเศษถึงข้อมูลรายละเอียดของแบบเรือดำน้ำใหม่ดังกล่าวไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html)