Royal Thai Air Force (RTAF) and Royal Thai Army (RTA) conducted Combined Arms
Live Fire Exercise (CALFEX) in Joint Operation RTAF-RTA as part of RTAF's
Forces of Operations testing exercise for Fiscal Year 2024 at RTA's 3rd Army
Area tactical range in Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai Province, Thailand on 30 May
2024.
RTA-RTAF CALFEX include 30 Stingray light tanks, FV101 Scorpion light tanks,16
M113 armored personnel carriers (APCs), 6 M101 (domestic modernized) 105mm
howitzers, 6 Autonomous Truck Mounted Mortar (ATMM) 120mm Self-Propelled
Mortar System and 600 personels of 1st Carvalry Division, RTA;
1 Aeronautics Dominator XP Unmanned Aircraft Vehicle (UAV) of 301st Squadron,
Wing 3 Watthana Nakhon,
6 Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli,
3 Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle of 401st Squadron, Wing
4,
2 Airbus Helicopters H225M (EC725) of 203rd Squadron Wing 2 Lop Buri,
20 Forward Air Controller (FAC) and Combat Control Team (CCT) of Special
Operations Regiment (SOR), Security Force Command (SFC), RTAF;
Royal Thai Armed Forces (RTARF) also support RPASS (RTARF Portable Air Support
System) for datalink of targets data and digital map. (Royal Thai Air Force)
การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ในการปฏิบัติการร่วมกองทัพบก-กองทัพอากาศ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 กองทัพอากาศ
ร่วมดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงในการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพบก โดยมี
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ ณ
สนามฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่ 3 จังหวัดสุโขทัย
ทั้งนี้ เป็นการฝึกร่วมระหว่าง กองทัพบก และ กองทัพอากาศ ประจำปี 2567
เกิดขึ้นจากการเห็นชอบร่วมกันของผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารอากาศ
ในการที่จะบูรณาการฝึกร่วมระหว่างเหล่าทัพ
โดยใช้การฝึกตามวงรอบประจำปีของหน่วยระดับกองพันของกองพลทหารม้าที่ 1
และการทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ
โดยไม่ได้ใช้งบประมาณการฝึกเพิ่มเติมจากเดิม
การปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการดำเนินกลยุทธ์ของกำลังภาคพื้น
ร่วมกับการปฏิบัติการของกำลังทางอากาศ มีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 เริ่มจากการประชุมหารือและตรวจภูมิประเทศ
การแสวงข้อตกลงใจทางทหารร่วมกัน การฝึกแลกเปลี่ยนและการฝึกภาคสนาม
ตามลำดับ
สำหรับการจัดกำลังรบ และยุทโธปกรณ์เข้าร่วมในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง
มีดังนี้
- กำลังทางบก ประกอบด้วย รถถังเบา 32 (Stingray) จำนวน 30 คัน, รถสายพาน M113
จำนวน 16 คัน, ปืนใหญ่ 105 มม. จำนวน 6 กระบอก, เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120
มม. จำนวน 6 กระบอก และกำลังพล จำนวน 600 คน
- กำลังทางอากาศ ประกอบด้วย อากาศยานไร้นักบิน DA-42 จำนวน 1 เครื่อง,
เครื่องบิน F-16 จำนวน 6 เครื่อง, เครื่องบิน T-50 จำนวน 3 เครื่อง,
เฮลิคอปเตอร์ แบบ EC-725 จำนวน 2 เครื่อง, ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า
และชุดควบคุมการรบ จำนวน 20 คน
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
สร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์ร่วมกัน
โดยกองบัญชาการกองทัพไทยได้สนับสนุนระบบเชื่อมต่อข้อมูลการสนับสนุนทางอากาศ
หรือ RPASS (RTARF Portable Air Support System)
แสดงข้อมูลเป้าหมายและคำร้องขอของกองกำลังภาคพื้นบนแผนที่ดิจิตัลร่วมด้วย
การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise)
ในการปฏิบัติการร่วมกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)-กองทัพอากาศไทย(RTAF:
Royal Thai Air Force) ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี ของกองทัพภาคที่๓ ทภ.๓(3rd Army
Area) ในอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
เป็นส่วนหนึ่งของ การทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗
ระหว่างวันที่ ๘-๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการฝึกแบบบูรณาการของทุกหน่วยในกองทัพอากาศไทยทั่วประเทศ
ที่มีขึ้นให้หลังเสร็จสิ้นการฝึกผสม Enduring Partners 2024
กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ไปก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/enduring-partners-2024.html)
กำลังจากกองทัพบกไทยที่เข้าร่วมการฝึก CALFEX ที่สนามฝึกบ้านด่านลานหอย
ส่วนใหญ่จะจัดกำลังจากกองพลทหารม้าที่๑ พล.ม.๑(1st Carvalry Division)
รวมถึงรถถังเบาแบบ๓๒ ถ.เบา.๓๒ Stingray กองพันทหารม้าที่๒๖, กรมทหารม้าที่๓ ม.๓
พัน.๒๖(26th Carvalry Battalion, 3rd Carvalry Regiment) จำนวน ๓๐คัน,
รถถังเบาแบบ๒๑ ถ.เบา.๒๑ Scorpion กองพันทหารม้าที่๒๘(28th Carvalry Battalion),
รถสายพานลำเลียง รสพ.M113 กองพันทหารม้าที่๑๘ และกองพันทหารม้าที่๑๓ ม.๓
พัน.๑๘/ม.๓ พัน.๑๓(18th Carvalry Battalion and 13th Carvalry Battalion, 3rd
Carvalry Regiment) จำนวน ๑๖คัน, รถยนต์บรรทุก รยบ.HMMWV
เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm แบบอัตตาจรล้อยาง M361 ATMM(Autonomous
Truck-Mounted Mortar) จำนวน ๖ระบบที่เพิ่งรับมอบในเดือนธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/m361-atmm-120mm.html), และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบ๙๕ ปบค.๙๕ M101 (ปรับปรุง)
กรมทหารปืนใหญ่ที่๒๑ ป.๒๑ (21st Artillery Regiment) จำนวน ๖กระบอก
ที่ผลิตในไทยโดยโรงงานของ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ
ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC: Weapon Production
Center, DIEC: Defence Industry and Energy Center) กระทรวงกลาโหมไทย
ในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย และกำลังพลจำนวน ๖๐๐นาย
กำลังจากกองทัพอากาศไทยที่เข้าร่วมการฝึกรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก
บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๖เครื่อง,
เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ จำนวน ๓เครื่อง,
เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์แบบที่๓ บร.ต.๓ Aeronautics Dominator XP ฝูงบิน๓๐๑
กองบิน๓ วัฒนานคร จำนวน ๑เครื่อง,
เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จำนวน
๒เครื่อง, ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า(FAC: Forward Air Controller)
และชุดควบคุมการรบ(CCT: Combat Control Team) จำนวน ๒๐นายจาก กรมปฏิบัติการพิเศษ
อากาศโยธิน ปพ.อย.(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/dominator-xp-uav.html)
กองบัญชาการกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces
Headquarters)ได้สนับสนุนระบบเชื่อมต่อข้อมูลการสนับสนุนทางอากาศ RPASS(RTARF
Portable Air Support System) ซึ่งเชื่อมโยงการแบ่งปันข้อมูลบนแผนที่ digital
ระหว่างกำลังของกองทัพอากาศไทยและกองทัพบกไทยระหว่างการฝึก
อันแสดงถึงขีดความสามารถการปฏิบัติการรบร่วมกันของเหล่าทัพในกองทัพไทย
นายสุทิน คลังแสง
รัฐมนตรีกลาโหมไทยยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่ามีความชื่มชมผลในการฝึกอยากให้สิบคะแนนเต็มแต่ต้องดูผลการประเมินหลังการฝึก(ได้เห็นมีการทิ้งระเบิดเป้าหมายจำลองบนภูเขาไม่ถูกบ้าง)
ซึ่งสถานการณ์ฝึกจะสมมุติอ้างอิงจากความเป็นไปได้ที่กองกำลังนเรศวร กองทัพภาคที่๓
จะต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองในประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบยังชายแดนไทยครับ