วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง CALFEX ร่วมกองทัพอากาศไทย-กองทัพบกไทย ประจำปี ๒๕๖๗












Royal Thai Air Force (RTAF) and Royal Thai Army (RTA) conducted Combined Arms Live Fire Exercise (CALFEX) in Joint Operation RTAF-RTA as part of RTAF's Forces of Operations testing exercise for Fiscal Year 2024 at RTA's 3rd Army Area tactical range in Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai Province, Thailand on 30 May 2024.
RTA-RTAF CALFEX include 30 Stingray light tanks, FV101 Scorpion light tanks,16 M113 armored personnel carriers (APCs), 6 M101 (domestic modernized) 105mm howitzers, 6 Autonomous Truck Mounted Mortar (ATMM) 120mm Self-Propelled Mortar System and 600 personels of 1st Carvalry Division, RTA;
1 Aeronautics Dominator XP Unmanned Aircraft Vehicle (UAV) of 301st Squadron, Wing 3 Watthana Nakhon, 
6 Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli, 
3 Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle of 401st Squadron, Wing 4,
2 Airbus Helicopters H225M (EC725) of 203rd Squadron Wing 2 Lop Buri,
20 Forward Air Controller (FAC) and Combat Control Team (CCT) of Special Operations Regiment (SOR), Security Force Command (SFC), RTAF;
Royal Thai Armed Forces (RTARF) also support RPASS (RTARF Portable Air Support System) for datalink of targets data and digital map. (Royal Thai Air Force)



การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ในการปฏิบัติการร่วมกองทัพบก-กองทัพอากาศ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 กองทัพอากาศ ร่วมดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงในการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพบก โดยมี นายสุทิน  คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่ 3 จังหวัดสุโขทัย
ทั้งนี้ เป็นการฝึกร่วมระหว่าง กองทัพบก และ กองทัพอากาศ ประจำปี 2567 เกิดขึ้นจากการเห็นชอบร่วมกันของผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารอากาศ ในการที่จะบูรณาการฝึกร่วมระหว่างเหล่าทัพ โดยใช้การฝึกตามวงรอบประจำปีของหน่วยระดับกองพันของกองพลทหารม้าที่ 1 และการทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณการฝึกเพิ่มเติมจากเดิม
การปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการดำเนินกลยุทธ์ของกำลังภาคพื้น ร่วมกับการปฏิบัติการของกำลังทางอากาศ มีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 เริ่มจากการประชุมหารือและตรวจภูมิประเทศ การแสวงข้อตกลงใจทางทหารร่วมกัน การฝึกแลกเปลี่ยนและการฝึกภาคสนาม ตามลำดับ 
สำหรับการจัดกำลังรบ และยุทโธปกรณ์เข้าร่วมในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง มีดังนี้
- กำลังทางบก ประกอบด้วย รถถังเบา 32 (Stingray) จำนวน 30 คัน, รถสายพาน M113 จำนวน 16 คัน, ปืนใหญ่ 105 มม. จำนวน 6 กระบอก, เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120 มม. จำนวน 6 กระบอก และกำลังพล จำนวน 600 คน
- กำลังทางอากาศ ประกอบด้วย อากาศยานไร้นักบิน DA-42 จำนวน 1 เครื่อง, เครื่องบิน F-16 จำนวน 6 เครื่อง, เครื่องบิน T-50 จำนวน 3 เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ แบบ EC-725 จำนวน 2 เครื่อง, ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า และชุดควบคุมการรบ จำนวน 20 คน
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์ร่วมกัน โดยกองบัญชาการกองทัพไทยได้สนับสนุนระบบเชื่อมต่อข้อมูลการสนับสนุนทางอากาศ หรือ RPASS (RTARF Portable Air Support System) แสดงข้อมูลเป้าหมายและคำร้องขอของกองกำลังภาคพื้นบนแผนที่ดิจิตัลร่วมด้วย

การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ในการปฏิบัติการร่วมกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)-กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี ของกองทัพภาคที่๓ ทภ.๓(3rd Army Area) ในอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
เป็นส่วนหนึ่งของ การทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๘-๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งเป็นการฝึกแบบบูรณาการของทุกหน่วยในกองทัพอากาศไทยทั่วประเทศ ที่มีขึ้นให้หลังเสร็จสิ้นการฝึกผสม Enduring Partners 2024 กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ไปก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/enduring-partners-2024.html)

กำลังจากกองทัพบกไทยที่เข้าร่วมการฝึก CALFEX ที่สนามฝึกบ้านด่านลานหอย ส่วนใหญ่จะจัดกำลังจากกองพลทหารม้าที่๑ พล.ม.๑(1st Carvalry Division) รวมถึงรถถังเบาแบบ๓๒ ถ.เบา.๓๒ Stingray กองพันทหารม้าที่๒๖, กรมทหารม้าที่๓ ม.๓ พัน.๒๖(26th Carvalry Battalion, 3rd Carvalry Regiment) จำนวน ๓๐คัน, 
รถถังเบาแบบ๒๑ ถ.เบา.๒๑ Scorpion กองพันทหารม้าที่๒๘(28th Carvalry Battalion), รถสายพานลำเลียง รสพ.M113 กองพันทหารม้าที่๑๘ และกองพันทหารม้าที่๑๓ ม.๓ พัน.๑๘/ม.๓ พัน.๑๓(18th Carvalry Battalion and 13th Carvalry Battalion, 3rd Carvalry Regiment) จำนวน ๑๖คัน, รถยนต์บรรทุก รยบ.HMMWV

เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm แบบอัตตาจรล้อยาง M361 ATMM(Autonomous Truck-Mounted Mortar) จำนวน ๖ระบบที่เพิ่งรับมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/m361-atmm-120mm.html), และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบ๙๕ ปบค.๙๕ M101 (ปรับปรุง) กรมทหารปืนใหญ่ที่๒๑ ป.๒๑ (21st Artillery Regiment) จำนวน ๖กระบอก
ที่ผลิตในไทยโดยโรงงานของ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC: Weapon Production Center, DIEC: Defence Industry and Energy Center) กระทรวงกลาโหมไทย ในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย และกำลังพลจำนวน ๖๐๐นาย

กำลังจากกองทัพอากาศไทยที่เข้าร่วมการฝึกรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๖เครื่อง, เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ จำนวน ๓เครื่อง, เครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์แบบที่๓ บร.ต.๓ Aeronautics Dominator XP ฝูงบิน๓๐๑ กองบิน๓ วัฒนานคร จำนวน ๑เครื่อง,
เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จำนวน ๒เครื่อง, ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า(FAC: Forward Air Controller) และชุดควบคุมการรบ(CCT: Combat Control Team) จำนวน ๒๐นายจาก กรมปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ปพ.อย.(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/dominator-xp-uav.html)

กองบัญชาการกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces Headquarters)ได้สนับสนุนระบบเชื่อมต่อข้อมูลการสนับสนุนทางอากาศ RPASS(RTARF Portable Air Support System) ซึ่งเชื่อมโยงการแบ่งปันข้อมูลบนแผนที่ digital ระหว่างกำลังของกองทัพอากาศไทยและกองทัพบกไทยระหว่างการฝึก อันแสดงถึงขีดความสามารถการปฏิบัติการรบร่วมกันของเหล่าทัพในกองทัพไทย
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีกลาโหมไทยยังได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่ามีความชื่มชมผลในการฝึกอยากให้สิบคะแนนเต็มแต่ต้องดูผลการประเมินหลังการฝึก(ได้เห็นมีการทิ้งระเบิดเป้าหมายจำลองบนภูเขาไม่ถูกบ้าง) ซึ่งสถานการณ์ฝึกจะสมมุติอ้างอิงจากความเป็นไปได้ที่กองกำลังนเรศวร กองทัพภาคที่๓ จะต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองในประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบยังชายแดนไทยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อิสราเอลนำเฮลิคอปเตอร์ฝึก AW119Kx Ofer ใหม่เข้าประจำการ

Israel inducts Ofer training helicopter





Israel has acquired the AW119Kx (pictured) to replace the OH-58 Kiowa in the helicopter pilot training role as its systems are more representative of the country's modern front-line types. (Israeli Air Force)

อิสราเอลได้นำเฮลิคอปเตอร์ฝึก Leonardo AW119Kx Koala อิตาลี กำหนดชื่อเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึก AW119Kx Ofer(Fawn กวางสายพันธุ์หนึ่งในภาษาฮีบรู ) ในประจำการกองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defense Forces) เข้าประจำการ
โดยการบินครั้งแรกมีขึ้น ณ โรงเรียนการบินกองทัพอากาศอิสราเอล(IAF: Israeli Air Force Flight Academy) ที่ฐานทัพอากาศ Hatzerim กองทัพอากาศอิสราเอลประกาศเหตุการณ์สำคัญนี้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2024

เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายถึงการเริ่มต้นของการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft เดี่ยว AW119Kx ที่ได้รับการจัดหาในปี 2019 เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ฝึก Bell OH-58 Kiowa ที่มีอายุการใช้งานมานาน
ซึ่งถูกกำหนดชื่อเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึก OH-58/Bell 206 Saifan(Sword "ดาบ" ในภาษาฮีบรู) ในประจำการกองทัพอิสราเอล ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1970(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/oh-58d-kiowa-warrior.html)

"ยินดีต้อนรับ 'Ofer'! วันนี้เป็นเที่ยวบินแรกของเฮลิคอปเตอร์ Ofer(AW119Kx) เฮลิคอปเตอร์ฝึกบินใหม่ของโรงเรียนการบิน" กองทัพอากาศอิสราเอล post ในบัญชี X(Twitter เดิม) ทางการของตน
กองทัพอากาศอิสราเอลตัดสินใจที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึกใหม่ที่จะเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างทางวิทยาการและสมรรถนะที่ดีกว่าระหว่างเฮลิคอปเตอร์ฝึก OH-58 และอากาศยานที่ปฏิบัติการในแนวหน้าหลายแบบ

เฮลิคอปเตอร์ AW119Kx ได้ถูกเลือกโดยกองทัพอากาศอิสราเอลเป็นรุ่นล่าสุดของเฮลิคอปเตอร์ตระกูล AW119 Koala ที่ได้รับการติดตั้งระบบแสดงผลการบินบูรณาการแบบ Garmin G1000HTM integrated flight-deck system
ซึ่งมีคุณสมบัติประกอบด้วระบบมุมมองสังเคราะห์ synthetic vision system, จอแสดงผลแผนที่เคลื่อนที่ moving map display, และระบบแจ้งเตือนการหยั่งรู้ภูมิประเทศเฮลิคอปเตอร์ HTAWS(Helicopter Terrain Awareness Warning System)

เฮลิคอปเตอร์ AW119 ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ไอพ่น turboshaft แบบ Pratt & Whitney Canada PT6B-37B หนึ่งเครื่อง เฮลิคอปเตอร์รุ่นพื้นฐานสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 8คน
มีความเร็วสูงสุดที่ 144knots, เพดานบินปฏิบัติการที่ 18,700feet, ระยะบินปฏิบัติการสูงสุดที่ 972km(ด้วยถังเชื้อเพลิงเสริม) และมีระยะเวลาการปฏิบัติการนานที่ 5ชั่วโมง 34นาที

เฮลิคอปเตอร์ AW119Kx Koala ยังเป็นเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์เดี่ยวแบบเดียวที่ได้รับการรับรองตามกฎการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน(IFR: Instrument Flight Rules) ที่อยู่ในสายการผลิต
ผู้ที่ใช้งานเฮลิคอปเตอร์ AW119Kx ในฐานะเฮลิคอปเตอร์ฝึกยังรวมถึงกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) โดยกำหนดแบบเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึก TH-73A Thrasher ซึ่งถูกเลือกในปี 2020 และมีแผนจะจัดหาถึง 130เครื่องส่งมอบไปจนถึงสิ้นปี 2025 ครับ

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ไทยส่งมอบยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 ATV และปืนเล็กสั้น MI-47 และปืนพก MI-9 แก่ภูฏาน












DTI TDI First Win ATV 4x4 WMI MI-47 7_62mm MI-9 9mm to Bhutan 27 MAY 2024 banner-1
Thailand defense industry group delivering military equipment to the Kingdom of Bhutan for the mission of the United Nations
On May 27, 2024, Mr. Suthin Khlangsaeng, Minister of Defence of Thailand Presided over the delivery ceremony of the Thai Defense Industry Co., Ltd. (TDI)'s 4x4 wheeled armored vehicles and firearms from the Weapons Manufacture Industries Co., Ltd. (WMI) for the Royal Bhutan Police of the Kingdom of Bhutan. 
To be used in the peacekeeping mission of the United Nations (UN) at Srisamarn building of the Office of the Permanent Secretary of Defence in Bangkok, Thailand
with General Popol Maneerin, Chairman of the Defense Technology Institute, General Smithchanok Sangkhachan, Permanent Secretary of Defence, Air Chief Marshal Ekthanasak Metanan, Deputy Permanent Secretary for Defence Witness the delivery It was delivered by executives of TDI and WMI to the Ambassador of the Kingdom of Bhutan to Thailand at this ceremony.
The list of equipment being delivered this time includes: 10 of Chaiseri First Win 4x4 ATV (Armored Tactical Vehicle), with EMTAN 200 MI-47 7.62x39mm automatic carbines and 30 MI-9 9x19mm semi-automatic pistols. (Defence Technology Institute)

พิธีส่งมอบยานเกราะล้อยาง แบบ 4x4 และอาวุธปืน ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ราชอาณาจักรภูฏาน

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีส่งมอบรถยานเกราะล้อยางแบบ 4x4 ของบริษัท ไทยดีเฟนส์อินดัสตรี จำกัด (TDI) และอาวุธปืน ของบริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด (WMI) ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ราชอาณาจักรภูฏาน เพื่อนำไปใช้ในภารกิจรักษาสันติภาพ ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) 
โดยมี พลเอก พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ธนศักดิ์ เมตะนันท์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ และผู้บริหารบริษัท TDI และ บริษัท WMI เป็นผู้ส่งมอบ ซึ่งเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรภูฏานประจำประเทศไทย ได้ให้เกียรติเป็นผู้แทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ราชอาณาจักรภูฏาน ในการรับมอบครั้งนี้
        
ภายหลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงความสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์อันดี ระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศหรือ สทป. ร่วมกับบริษัทร่วมทุนทั้งสองบริษัทดำเนินการสอดคล้องตามนโยบายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ร่วมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชน 
โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาต่อยอดและเพิ่มขีดความสามารถของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมกันนี้ ยังกล่าวถึงความสำคัญของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของรัฐบาล ไปสู่การผลิตและจำหน่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับยุทโธปกรณ์ที่มีการส่งมอบประกอบด้วย ยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 รุ่น ATV (Armored Tactical Vehicle) จำนวน 10 คัน ที่ออกแบบและผลิตโดยคนไทย ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ    
โดยยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 รุ่น ATV เป็นยานเกราะล้อยางสมรรถนะสูง ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 300 PS ที่มาพร้อมกับการป้องกันตามมาตรฐาน Nato standard Stanag 4569 ที่ระดับ 2 ซึ่งจะช่วยป้องกันกำลังพลที่อยู่ในรถได้กว่า 11 นาย ให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จและปลอดภัย ในทุก ๆ สภาพภูมิประเทศ  
และอีกหนึ่งยุทโธปกรณ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยจากการส่งมอบในครั้งนี้ คือ อาวุธปืนเล็กสั้นและอาวุธปืนพก ของบริษัท WMI ที่ได้มีการส่งมอบอาวุธปืนเล็กสั้น ขนาด 7.62 มิลลิเมตร รุ่น MI-47 จำนวน 200 กระบอก และอาวุธปืนพก ขนาด 9 มิลลิเมตร รุ่น MI-9 จำนวน 30 กระบอก 
อาวุธปืนทั้งสองแบบได้รับการออกแบบให้มีความแม่นยำและคล่องแคล่วในการใช้งาน อีกทั้งยังมีความแข็งแรงและมีความทนทานเป็นอย่างดี

ความสำเร็จของบริษัท TDI และ WMI นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ไปสู่การขับเคลื่อนเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อการพึ่งพาตนเอง การผลิตและจำหน่ายที่เป็นรูปธรรม

บริษัท Thai Defense Industry จำกัด(TDI) เป็นกิจการร่วมทุน(joint venture) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทย และบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการส่งออกอาวุธยุโธปกรณ์ของเอกชนแก่ต่างประเทศในรูปแบบข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล
การส่งมอบยานเกราะล้อยางทางยุทธวิธี Chaiseri First Win 4x4 ATV(Armored Tactical Vehicle) จำนวน ๑๐คันล่าสุดแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติภูฏาน(Royal Bhutan Police) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เป็นการเพิ่มเติมต่อยานเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 รวมจำนวน ๑๕คันที่ TDI ไทยได้ส่งมอบให้แก่กองทัพภูฎาน(RBA: Royal Bhutan Army) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 ATV ไทยของภูฏานชุดใหม่เหล่านี้จะถูกใช้ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง(United Nations Mission in the Central African Republic, MINUSCA Peacekeeping) เช่นเดียวกัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/chaiseri-dti-first-win-4x4-un.html) รวมภูฏานได้รับมอบยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 ของไทยแล้วนรวม ๒๕คัน

บริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด(WMI: Weapons Manufacture Industries Co., Ltd.) เป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง DTI ไทย และบริษัท สหพิพัฒนกิจ จำกัด(SAHAPIPATTHANAKIJ COMPANY LIMITED) ไทย และบริษัท Emtan Karmiel อิสราเอล เพื่อการผลิตอาวุธปืนในไทยตั้งแต่ปืนพก ปืนกลมือ ปืนเล็กยาว ปืนเล็กสั้น และเสื้อเกราะกันกระสุนในโรงงานที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย
ก็ได้ส่งมอบปืนเล็กสั้นอัตโนมัติ MI-47 ขนาด 7.62x39mm จำนวน ๒๐๐กระบอก และปืนพกสั้นกึ่งอัตโนมัติ MI-9 ขนาด 9x19mm จำนวน ๓๐กระบอกที่ผลิตในไทยโดยโรงงาน WMI ไทยแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติภูฏาน ในพิธีเดียวที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ณ อาคารศรีสมาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหมไทย ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปืนเล็กสั้น MI-47 ของ EMTAN อิสราเอลมีพื้นฐานพัฒนาจากปืนเล็กยาวตระกูล Colt AR15 สหรัฐฯที่ทำงานด้วยระบบแก๊ส เช่นเดียวกับปืนเล็กสั้น MI-4 ขนาด 5.56x45mm ที่ผลิตโดย WMI ไทยและส่งมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(RTP: Royal Thai Police) ไปแล้วจำนวนหนึ่ง ส่วนปืนพก MI-9 ขนาด 9x19mm มีกลไกการยิงแบบเข็มแทงชนวนพุ่งคล้ายคลึงกับปืนพกตระกูล Glock ออสเตรีย

ในพิธีส่งมอบยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 ATV และปืนเล็กสั้น MI-47 7.62x39mm และปืนพก MI-9 9mm ที่ผลิตในไทยแก่ภูฏาน นพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้บริหารบริษัท Chaiseri ไทยยังได้เปิดเผยกับสื่อถึงความคืบหน้าเกี่ยวผลิตภัณฑ์ของตนหลายเรื่อง รวมถึงภูฏานประเทศเล็กๆในเอเชียใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีนได้ส่งคนมาศึกษางานที่โรงงานของบริษัท Chiseri ไทยเพื่อจะนำความรู้กลับไปพัฒนาประเทศของตน
สำหรับโครงการรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV(Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 สำหรับนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) จำนวน ๗คันนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-chaiseri-awav-8x8.html) Chaiseri ได้สร้างรถใหม่ปรับแต่เพิ่มเติมจากรถต้นแบบที่เปิดตัวในงาน Defense & Security 2023 ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) แล้ว
โดยรถหุ้มเกราะล้อยาง AWAV 8x8 ร่วมกับรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 รุ่นสะเทินน้ำสะเทินบกได้มีการทดสอบการเคลื่อนที่ในน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ใกล้ที่ตั้งโรงงานของบริษัท และทดสอบการเคลื่อนที่ในทะเลที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งในเวลาขณะทดสอบนั้นพายุกำลังเข้าอ่าวไทยแต่รถก็ยังคงลอยตัวเคลื่อนที่ได้โดยไม่จม ทั้งหมดนี้นับเป็นความสำเร็จล่าสุดของภาคอุตสาหกรรมป้องประเทศของไทยครับ

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ญี่ปุ่นปลดประจำการรถถังหลัก Type 74

Japan decommissions Type 74 tanks







The Type 74 MBT (pictured above) – firing a round during an annual live-fire exercise – is armed with a locally manufactured L7A3 105 mm rifled gun as its main armament that is fitted with a fume extractor at the rear. (Japan Ministry of Defense)



กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) ได้ปลดประจำการรถถังหลัก Type 74 MBT(Main Battle Tank) ของตนที่ผลิตโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นแล้ว
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2024 ตามข้อมูลจากโฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้ "ยุบเลิก" หน่วยของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นที่ประจำการด้วยรถถังหลัก Type 74 ด้วย

"ตามความสอดคล้องกับการยุบเลิกหน่วยต่างๆของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น เช่น กองพันรถถังที่9(9th Tank Battalion) ที่มีที่ตั้งใน Iwate, กองพันรถถังที่10(10th Tank Battalion) ที่มีที่ตั้งใน Imazu และกองร้อยรถถังที่13(13th Tank Troop)
ในการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ในสิ้นสุดปีงบประมาณ 2023 ของญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นได้จำหน่ายรถถังหลัก จำนวนประมาณ 90คันไปแล้ว" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

อย่างไรก็ตามโฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นไม่ได้ให้รายละเอียดว่ากำลังพลของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นจากหน่วยที่ใช้งานรถถังหลัก Type 74 เดิมเหล่านี้จะถูกย้ายไปที่ใดบ้าง "กำลังพลที่ได้ทำงานในหน่วยกับรถถังหลัก Type 74 โดยทั่วไปกำลังจะถูกโอนย้ายไปยังหน่วยอื่นๆในงานเดียวกัน" 
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริม รถถังหลัก Type 74 น้ำหนักรถ 38 tonnes ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ที่มีพื้นฐานจากปืนใหญ่รถถัง L7A3 ขนาด 105mm ซึ่งผลิตในญี่ปุ่นเป็นอาวุธหลักของรถ

สื่อท้องถิ่นของญี่ปุ่นรายงานว่ากำลังพลจากหน่วยต่างๆที่ถูกยุบเลิกไปได้ถูกโอนย้ายไปยังกองพันลาดตระเวนรบ(combat reconnaissance battalion) ที่ประจำการด้วยยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Type 16 MCV(Mobile Combat Vehicle) 8x8
ตามข้อมูลจาก Janes Land Warfare Platforms: Armoured Fighting Vehicles ญี่ปุ่นได้สั่งจัดหารถถังหลัก Type 74 จำนวนเกือบ 850คันในปี 1970s แต่จำนวนในประจำการได้ถูกลดลงเป็น 150คันในปี 2021

ในปี 2011 กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะทำให้เกิดการมุ่งเน้นความสนใจที่มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ในคำสั่งเพื่อจะต่อต้านภัยคุกคามที่เป็นที่รับทราบโดยทั่วกันจากจีน
ที่รวมถึงการพัฒนาและจัดหายานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง Type 16 MCV 8x8 ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm โดยถูกนำเข้าประจำการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2017 แล้วจำนวนราว 142คัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/type-16-mcv-type-19-155mm.html)

สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้กล่าวในเดือนมีนาคม 2024 ที่จะจัดหายานเกราะล้อยาง 8x8 ใหม่สองรุ่นที่มีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง Type 16 MCV
ในปีงบประมาณ 2024 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 24.2 billion Yen($164 million) เพื่อจัดหารถรบทหารราบ ICV(Infantry Combat Vehicle) จำนวน 24คัน และวงเงิน 8 billion Yen เพื่อจัดหายานเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด MMCV(Manoeuvre Mortar Combat Vehicle) จำนวน 8คันครับ

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เฮลิคอปเตอร์ H215M โรมาเนียจะติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Marte ER อิตาลี

Romanian Navy to field Marte ER missile from ASuW-capable H215M helicopters




The Marte ER anti-shipping missile will equip the Romanian Naval Forces' H215M helicopters. (MBDA)



โรมาเนียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ MBDA Marte ER(Extended Range) ใช้งานจากเฮลิคอปเตอร์ Airbus H215M ของตนที่จะได้รับมอบเร็วๆนี้ บริษัท MBDA ยุโรปผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีกล่าวเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2024 ว่า
ตนได้ลงนามสัญญากับบริษัท IAR Brasov โรมาเนียเพื่อจะสนับสนุนการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Marte ER เข้ากับเฮลิคอปเตอร์ H215M ของกองทัพเรือโรมาเนีย(Romanian Naval Forces)

ข่าวของสัญญามีขึ้นหลายเดือนตามมาหลังบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปยืนยันกับ Janes ในเดือนมกราคม 2024 ว่า ตนจะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ H215M จำนวน 2เครื่องแก่กองทัพเรือโรมาเนีย ตามที่สหภาพยุโรป(EU: European Union) เผยแพร่เอกสารแจ้งในเวลานั้น
"เราสามารถยืนยันได้ว่าหุ้นส่วนของเรา IAR โรมาเนียได้ลงนามสัญญากับกองทัพเรือโรมาเนียสำหรับเฮลิคอปเตอร์ H215M แต่เรายังไม่ได้ลงนามสัญญาตอนนี้ในด้านของเรากับ IAR การเจรจากำลังดำเนินอยู่" Airbus Helicopters กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2024

ขณะที่ไม่ได้มีเอกสารแจ้งสัญญาต่อเนื่องตามมา การประกาศของ MBDA ยุโรปบ่งชี้ว่าการขายนี้ยังไม่บรรลุผลสิ้นสุด กระทรวงกลาโหมโรมาเนียร้องของรัฐสภาโรมาเนียเพื่อที่จะอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเฮลิคอปเตอร์ H215M ในเดือนตุลาคม 2022
โรมาเนียได้กล่าวก่อนหน้านั้นว่าตนจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H215M แบบนี้แม้ว่าข้อตกลงนี้จะไม่เคยได้รับการบรรลุผลเสร็จสิ้นก็ตาม ตามข้อมูลจาก Janes World Navies ปัจจุบันกองทัพเรือโรมาเนียมีประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ IAR 330 Puma จำนวน 2เครื่องที่ได้รับมอบในปี 2007

เฮลิคอปเตอร์ IAR 330 Puma สองเครื่องเหล่านี้ถูกใช้สำหรับภารกิจสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare) เช่นเดียวกับสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare), การลำเลียง, การสนับสนุนหน่วยรบพิเศษ, การตรวจการณ์, และการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue)
มีการคาดว่าจะมีการโอนย้ายและปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ IAR 330 Puma เพิ่มเติมจากกองทัพอากาศโรมาเนีย(RoAF: Romanian Air Force) ให้กับกองทัพเรือโรมาเนีย โดยมีความต้องการได้ถึง 8เครื่อง

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเฮลิคอปเตอร์ H215M ใหม่จำนวน 2เครื่องนี้จะเป็นการทดแทนหรือเสริมต่อฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ IAR 330 Puma ที่กองทัพเรือโรมาเนียมีอยู่หรือไม่ ตามเอกสารแจ้งสัญญาของสหภาพยุโรป EU
สัญญาการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H215M จำนวน 2เครื่องที่มี IAR(Industria Aeronautică Romană) โรมาเนียในฐานะผู้รับสัญญาหลักมีมูลค่าที่วงเงินประมาณ 823.9 million Romanian leu($179.07 million)

Airbus Helicopters H215M(เดิมรู้จักในชื่อ Eurocopter AS532 Cougar) เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสองเครื่องยนต์พหุภารกิจซึ่งออกแบบมาสำหรับใช้งานทางทหารหลากหลายรูปแบบ
ประเทศที่ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ H215M ไปใช้งานในกองทัพของตนแล้วรวมถึง ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, แอลเบเนีย, บัลแกเรีย, สโลวีเนีย, ตุรกี, บราซิล, ชิลี, เวเนซุเอลา, ซาอุดีอาระเบีย และอุซเบกิสถาน เป็นต้นครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การฝึกภาคทะเล FTX การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๗










Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate and FFG-421 HTMS Naresuan guided-missile frigate and two Sikorsky SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter of 2 HTMS Chakri Naruebet Flying Squadron, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) involved Field Training Exercise (FTX)/Sea phase as part of Naval Exercise Fiscal Year 2024 at Gulf of Thailand on 23 May 2024. (Royal Thai Navy)



เรือหลวงจักรีนฤเบศกับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX)  การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพลตลอดจนขีดความสามารถของยุทธกรเพื่อทำให้พี่น้องประชาชนมั่นใจในการปฎิบัติภารกิจของกองทัพเรือต่อไป

กองการบินทหารเรือ ได้ทำการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร และเรือหลวงภูมิพล พื้นที่ทะเลอ่าวไทยเมื่อ 23 พ.ค.67
โดยนำกำลังพล นักบิน จนท.และอากาศยานสังกัด ฝูงบิน 2 หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบที่๑ (ฮ.ปด. 1) จำนวน 2 เครื่อง 
ประกอบไปด้วยการฝึกความคุ้นเคยในการลงจอดบนเรือในเวลากลางวันและกลางคืน DECK LANDING QUALIFICATION (DLQ) , NIGHT DECK LANDING QUALIFICATION (NDLQ) , การชี้เป้าพ้นระยะขอบฟ้า  OVER THE HORIZON TARGETING (OTHT) เป็นต้น
การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) เป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ การฝึกประลองยุทธ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การป้องกันฐานทัพเรือ และควบคุมเรือ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ-อากาศยาน 
สำหรับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพล ตลอดจนขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ ทำให้เกิดความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชน ในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ เพื่อรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมสังเกตการณ์การฝึกภาคทะเล ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567
วันนี้ 23 พฤษภาคม 2567 พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ณ บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ และผู้บังคับบัญชาในกองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ร่วมสังเกตการณ์
การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 จะแบ่งการฝึกเป็น 2 ส่วน คือ การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) เป็นการฝึกกระบวนการวางแผนทางทหาร การควบคุมบังคับบัญชา และทดสอบแนวความคิดในการใช้กำลังและหลักนิยมต่าง ๆ ของหน่วยบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดทำคำสั่งยุทธการเพื่อนำไปใช้ในการอำนวยการยุทธ์ และมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง อาทิ 
การป้องกันฐานทัพเรือและการควบคุมเรือ การปฏิบัติการข่าวสาร การส่งกำลังบำรุง การปฏิบัติการสงครามไซเบอร์และการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ส่วนการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) เป็นการฝึกปฏิบัติการจริงของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ อาทิ
การคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล การโจมตีกำลังทางเรือของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกำลังทางเรือต้องฝึกการปฏิบัติทางยุทธวิธีตามสาขาปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ การปราบเรือดำน้ำ การต่อต้านเรือผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปฏิบัติการพิเศษ รวมทั้งปฏิบัติการข่าวสารและสงครามไซเบอร์ 
ซึ่งนอกจากกำลังในส่วน ของกองทัพเรือแล้ว กองทัพอากาศได้ส่งอากาศยานเข้าร่วมในการฝึกการป้องกันภัยทางอากาศและการโจมตีเรือในทะเล 
การฝึกในครั้งนี้ ได้มีการเชิญ ศรชล. กองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในหัวข้อการฝึกต่าง ๆ โดยในการปฏิบัติการจะใช้โครงสร้างจริงของหน่วยทุกระดับของกองทัพเรือ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดฝึกที่ว่า “ฝึกฝนให้ชำนาญ เพื่อพร้อมปกป้องอธิปไตยให้น่านน้ำไทย”
นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) โดยในการฝึกครั้งนี้ได้มีการสมมุติสถานการณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนในอ่าวไทยพัดผ่านเกาะพะงัน ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง หน่วยที่รับผิดชอบด้านบรรเทาภัยพิบัติในส่วนของกองทัพเรือ เช่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (ICC) ชุดประเมินความเสียหาย (NDAT) ชุดค้นหาและช่วยเหลือ ฯ (USAR) เรือระบายพลขนาดใหญ่ เรือปฏิบัติการพิเศษ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับสูง (MERT) และยุทโธปกรณ์สนับสนุน รวมทั้งกำลังจากส่วนราชการอื่น ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึก
การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการฝึกการปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ การฝึกประลองยุทธการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การป้องกันฐานทัพเรือและควบคุมเรือ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ-อากาศยาน ของกองทัพอากาศ
สำหรับการฝึกภาคสนามภาคทะเล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกำลังพล ตลอดจนขีดความสามารถยุทโธปกรณ์ ทำให้เกิดความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชน ในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ เพื่อรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศ    
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล(FTX: Field Training Exercise)ของการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) มีการฝึกต่างๆมาอย่างต่อเนื่องตั้งเริ่มต้นเข้าสู่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) จนถึงพิธีเปิดการฝึกเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtn5mar2024.html
โดยการฝึกภาคทะเลในอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ได้จัดกำลังประกอบด้วยเช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ๒เครื่องจากฝูงบิน๒ หน่วยบินจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division)

หนึ่งในการฝึกที่สำคัญการทำการฝึกยิง torpedo เบา Mk46 จาก ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ ฮ.ปด.๑ SH-60B เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ถึงขีดความสามารถของเรือในด้านสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) ซึ่งกองทัพเรือไทยได้ฝึกยิง torpedo เบา Mk46 จาก ฮ.ปด.๑ SH-60B ที่ปฏิบัติการบินร่วมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ไปแล้วในการฝึกปีก่อนหน้า
การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๗ นี้ เรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ยังมีกำหนดที่จะทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile(ESSM) เป็นครั้งแรกด้วย หลังจากที่เคยทำการฝึกยิง ESSM จาก ร.ล.นเรศวรในการฝึกผสม CARAT 2015 ปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) มาแล้ว ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ขีดความสามารถการสงครามต่อต้านทางอากาศ(AAW: Anti-Air Warfare) ของเรือครับ