วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทยเริ่มการฝึกบินในประเทศครั้งแรก












Royal Thai Air Force (RTAF) Beechcraft AT-6TH Wolverine serial "41102" light atack aircraft of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in Chiang Mai Province, Thailand begun its first training flight on 1 October 2024. 1st October also Founding Day of Wing 41 RTAF base. (Royal Thai Air Force)

“THUNDER first flight”
วันนี้ ๑ ต.ค.๒๕๖๗ ตรงกับวันคล้ายวันสถาปนากองบิน ๔๑ 
อีกทั้งยังเป็นวันแรกในการขึ้นฝึกบินของ บ.จ.๘ (AT-6TH) จากสนามบินเชียงใหม่เข้าสู่พื้นที่การฝึกเหนือน่านฟ้าของประเทศไทย
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของศักราชใหม่ของ ฝูงบิน ๔๑๑ อันจะมีประวัติศาสตร์ยาวนาน จากการเข้าประจำการ ของ บ.จ.๘ ต่อไป
พวกเราฝูงบิน ๔๑๑ พร้อมแล้วที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในภารกิจบรรเทาสาธารณภัยรวมถึงรักษาอธิปไตยและความมั่นคงของชาติให้ยั่งยืน

เครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) หมายเลข "41102" ที่ได้เริ่มต้นทำการฝึกบินในพื้นที่ครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสถาปนากองบิน๔๑ เชียงใหม่ ที่มีการเผยแพร่ชุดภาพใน Page Facebook ทางการของฝูงบิน๔๑๑ ในวันเดียวกันนั้น
มีขึ้นให้หลังราวสามเดือนหลังจากที่กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine สองเครื่องแรกของตน หมายเลข "41101" และ "41102" เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/at-6th.html) ที่ในพิธีต้อนรับเวลานั้นได้มีการเชิญสื่อมวลชนรวมถึงนักเรียนนักศึกษาร่วมงาน

กองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH จำนวน ๘เครื่องวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยฝูงบิน๔๑๑ จะได้รับมอบครบ ๘เครื่องภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html) การจัดหาเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ยังรวมถึงการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronet-at-6th.html
เช่นเดียวกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II(T-6C) ของโรงเรียนการบินกำแพงแสนกองทัพอากาศไทย ที่ได้รับมอบครบจำนวน ๑๒เครื่องแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/t-6th.html) ที่มีพื้นฐานร่วมกัน(ก่อนหน้านั้นเข้าใจว่าจะกำหนดแบบเป็น เครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH แต่กำหนดแบบจริงเป็นเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘)

กองทัพอากาศไทยได้ส่งนักบินชุดรับมอบจำนวน ๘นายเข้ารับการฝึกหลักสูตรครูการบิน(Flight Instructor) และนักบินลองเครื่อง(Test Pilot) ณ บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯใน Wichita มลรัฐ Kansas ระหว่างวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์-๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และได้สำเร็จการศึกษากลับมายังไทยและเริ่มจัดตั้งการฝึกในประเทศแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/at-6th-wolverine.html)  
เช่นเดียวกับเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH บ.จ.๘ AT-6TH สองเครื่องแรกได้ถูกจัดส่งทางเรือมาไทยได้เข้าสู่โครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final Reassembly Program) โดยโรงงานอากาศยานของ บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทย ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใกล้กับ กองบิน๔ ตาคลี ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เครื่องบินที่เหลือจะถูกประกอบและส่งมอบเพิ่มเติมจนครบ

เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด turboprop กำลัง 1,600hp ทำความเร็วสูงสุดได้ 858km/h(316knots) เพดานบินสูงสุด 9,949m(31,000feet) พิสัยการบิน 3,194km(1,725nmi) น้ำหนักภารกรรมบรรทุก 1,864kg(4,110lbs) ติดระบบตรวจจับกล้อง electro-optic/infrared(EO/IR) แบบ WESCAM MX-15Di ซึ่งได้เห็นว่าถูกติดตั้งที่ตำแหน่งใต้โครงสร้างลำตัวกลางเครื่องในชุดภาพล่าสุดนี้แล้ว
ระบบอาวุธยังรวมถึงระเบิดนำวิถี laser แบบ GBU-12 Paveway II ขนาด 500lbs, กระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัดสำหรับจรวดอากาศอากาศสู่พื้นแบบ Hydra 70, กระเปาะปืนกลอากาศ FN HMP-400 ขนาด .50cal ความจุกระสุน ๔๐๐นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire การฝึกบินในพื้นที่ครั้งแรกนี้น่าจะนำไปสู่การประกาศความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operating Capability) ได้ต่อไปครับ