วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6TH สหรัฐฯ ๘เครื่อง

Royal Thai Air Force awards contract for fleet of Beechcraft AT-6 aircraft, becomes international launch customer for latest USAF light attack aircraft





from left to right – Thomas Hammoor, president and chief executive officer of Textron Aviation Defense LLC, hosts the Royal Thai Air Force (RTAF) Air Marshal Pongsawat Jantasarn, Chairman of the RTAF Procurement Committee, for the signing of the official Thai contract procuring a fleet of eight Beechcraft AT-6TH aircraft. 
Witnessing the contract signing are Thomas Webster, Textron Aviation Defense regional sales director for Asia Pacific, and RTAF Air Chief Marshal Chanon Mungthanya. 

บริษัท Textron Aviation Defense LLC สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ถึงการได้รับสัญญาวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) กับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
สำหรับระบบบูรณาการในการสนับสนุนปฏิบัติการโจมตีเบา ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/03/l-39zaart.html
สัญญาครั้งประวัติศาสตร์สำหรับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6 Wolverine จำนวน ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html), อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน, ชิ้นส่วนอะไหล่, การฝึกและอุปกรณ์อื่นๆ
จะถูกจัดตั้งขึ้นในไทยในฐานลูกค้าเปิดตัวนานาชาติสำหรับเครื่องบินโจมตีเบา AT-6E Wolverine แบบใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/at-6e-wolverine.html)
งานในการสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างนี้จะมีขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของ Textron ใน Wichita มลรัฐ Kansas เครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6 Wolverine ได้รับการออกแบบและผลิตโดย Textron Aviation Defense ในเครือบริษัท Textron Inc. สหรัฐฯ

"เราเป็นเกียรติที่กองทัพอากาศไทยได้คัดเลือกเครื่องบินโจมตีเบา Beechcraft AT-6 ในการแข่งขันเพื่อทำภารกิจที่หลากหลายในการสนับสนุนการรักษาความมั่นคงชายแดนของตน และปฏิบัติการต่อต้านการลักลอบเข้าเมือง ต่อต้านการลำเลียงยาเสพติด และต่อต้านการค้ามนุษย์
กองทัพอากาศไทยเป็นพันธมิตรความมั่นคงหลักของสหรัฐฯและเป็นผู้ปฏิบัติการหนึ่งในกองทัพอากาศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การวิจัยตลาดที่กว้างขว้างและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เข้มงวด แสวงหาความสอดคล้องของราคาที่ดีที่สุด, กำหนดการ และสมรรถนะ
ที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero L-39ZA/ART Albatros ที่มีมีอายุการใช้งานมานานที่เคยมีอยู่ และขีดความสามารถที่ก้าวหน้าของฝูงบินของตนด้วยวิทยาการล่าสุด" Thomas Hammoor ประธานและผู้อำนวยการบริหาร Textron Aviation Defense สหรัฐฯกล่าว

สัญญาสำหรับ AT-6 ถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6TH ในไทย สนับสนุนวัตถุประสงค์การปรับปรุงความทันสมัยและความทำงานร่วมกันในแนวหน้าของความร่วมมือด้านกลาโหมร่วมกันระหว่างสหรัฐฯและไทย
สัญญายังส่งเสริมการการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยที่มีรายละเอียดในแผนนโยบายจัดหาและพัฒนา(P&D: Purchase and Development) ระยะ ๑๐ปีของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
เป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไทย(Thai NACC: National Anti-Corruption Committee) และมอบอำนาจแก่นักบินโจมตีเบากองทัพอากาศไทยด้วยข้อได้เปรียบทางวิทยาการที่สำคัญ

"นักบินกองทัพอากาศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องพบว่าคุณลักษณะของโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินโจมตีเบา AT-6 เป็นที่น่าพึ่งพอใจอย่างที่สุด มันจะยังใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์ร่วมกันทั้งไทยและสหรัฐฯ
เสริมสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองชาติของเรา" พลอากาศโท พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร ประธานคณะกรรมาธิการการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพอากาศไทยกล่าว
พิธีการลงนามสัญญาได้มีสักขีพยานโดย พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศไทย การจัดซื้อเครื่องบินโจมตีเบา AT-6 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11 ของรัฐบาลไทย
โครงการที่บุกเบิกการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย, ปลูกสร้างความหลากหลาย และสนับสนุนการมีส่วนร่วมตลอดทั้งบริษัทต่างๆของต่างประเทศและของไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_25.html)

เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ได้เป็นสัญญาจัดหาที่สองของกองทัพอากาศไทยในการสนับสนุน S-Curve 11 การจัดหาแรกภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่คือเครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6TH Texan II ที่ประกาศสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
กระทรวงกลาโหมไทยได้สนับสนุนยุทธศาสตร์ S-Curve 11 และสองโครงการจัดซื้อจัดจ้างอากาศยานของกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)
การฝึกช่างอากาศยานผู้เชี่ยวชาญของกองทัพอากาศไทยโดย Textron Aviation Defense สหรัฐฯมีกำหนดจะเริ่มต้นในไทยในปี พ.ศ๒๕๖๖(2023) 
ขณะที่การฝึกนักบินมีกำหนดจะเริ่มต้นใน Wichita สหรัฐฯ ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๗

เครื่องบินโจมตีเบา Beechcraft AT-6TH และ Beechcraft AT-6E Wolverine ถูกสร้างขึ้นโดยวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบ(COIN: Counter-Insurgency) และต่อต้านองค์กรหัวรุนแรงสุดโต่ง(C-VEO: Countering Violent Extremist Organizations)
สมรรถนะสูง ความเสี่ยงต่ำ เครื่องบินโจมตีเบา AT-6 Wolverine ใช้ประโยชน์จากมรดกที่พิสูจน์แล้วของเครื่องบินฝึกใบพัด T-6 Texan II และส่งมอบขีดความสามารถเครื่องบินรบยุคที่๔ ที่ราคาการจัดหา ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการ และการดำรงสภาพของเครื่องบินรบยุคที่๒
กองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นผู้ใช้งานรายแรกของสหรัฐฯของเครื่องบินโจมตีเบา AT-6E Wolverine ซึ่งได้รับมอบเครื่องแรกจากที่สั่งจัดหาสองเครื่องแล้ว โดยเครื่องที่สองจะถูกส่งมอบในเดือนธันวาคม 2021
และกองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้งานส่งออกนานาชาติรายแรก บริษัท Textron สหรัฐประกาศความสำเร็จนี้ในงานแสดงการบินนานาชาติ Dubai Airshow 2021 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

เครื่องบินฝึก T-6TH และเครื่องบินฝึก T-6C Texan II ถูกสร้างขึ้นโดยวัตถุประสงค์สำหรับขีดความสามารถที่หลากหลาย เครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6 Texan II เตรียมความพร้อมนักบินทหารสำหรับภารกิจในโลกจริง 
นักบินทั่วโลกกว่าหมื่นนายได้เริ่มต้นอาชีพการบินของพวกตนใน T-6 Texan II บริษัท Textron Aviation Defense ได้ออกแบบขีดความสามารถการฝึกแต่ละอย่าง ตั้งแต่การคัดกรองนักบินขั้นตั้นไปสู่การฝึกการปฏิบัติการขั้นก้าวหน้า
ที่จะสนับสนุนความต้องการทางทหาร, ติดตั้งนักบินด้วยความชำนาญและความมั่นใจที่จะสำเร็จการศึกษาและบรรลุความสำเร็จในระยะต่อไปของการฝึก มีใช้งานในทั่วทั้งสองโรงเรียนการบินทางทหารชาติ NATO และ ๑๒ชาติ
จำนวนเครื่องในฝูงบินทั่วโลกเกือบ ๑,๐๐๐เครื่อง เครื่องบินฝึกT-6 Texan II ได้ผ่านการทำการบินแล้วรวม ๔.๖ล้านชั่วโมงบิน และบรรลุอัตราความพร้อมประจำวันถึงร้อยละ๙๑ ตลอดทุกฝูงบิน T-6 นานาชาติ
ไทยเป็นผู้ใช้งานรายแรกในเอเชียและเป็นผู้ใช้งานระดับนานาชาติรายที่๑๑ สำหรับฝูงบินเครื่องบินฝึก Beechcraft T-6 Texan II ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/t-6.html)