วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565

กองทัพอากาศไทยทดสอบระบบเครือข่าย AERONet สหรัฐฯสำหรับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6TH

Moody, AERONet enhances partner nations’ airpower



An AT-6E Wolverine taxis down the runway at Moody Air Force Base, Georgia, April 14, 2022. 
The experimentation flight focused on digitally tracking friendly forces and potential enemy movement using Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network software.

Royal Thai Air Force Flying Officer Apisit Kitchoke, command and control lead, pauses for a photograph during Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network software integration at Moody Air Force Base, Georgia, April 13, 2022. 
The Royal Thai Air Force sent four military members to participate in an experiment using AERONet software. AERONet provides partner nations with the ability to map their own locations as well as real time enemy movement updates with secure combat systems. 

U.S. Air Force Tech. Sgt. Matthew Harris, 81st Fighter Squadron experiment mobile data manager, supervises Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network integration 
for Royal Thai Air Force Flying Officer Apisit Kitchoke at Moody Air Force Base, Georgia, April 13, 2022. 
In an effort to support Air Combat Command’s initiative of advancing partnering nations interoperability, Team Moody is working with military members from Colombia, Thailand, Nigeria and Tunisia in AERONet capabilities.

Royal Thai Air Force Flying Officer Apisit Kitchoke, command and control lead, uses Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network software to track a flight during experimentation at Moody Air Force Base, Georgia, April 13, 2022. 
The AERONet data link is a command and control network which expands the U.S. Air Force’s ability to operate together with its allies and partners and provide complementary capabilities and forces. 
(U.S. Air Force photo by Airman 1st Class Courtney Sebastianelli)

การได้มาซึ่งการครองอากาศจำเป็นที่ต้องการวิทยาการล้ำยุคต่างๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ทีมจากฝูงบินขับไล่ที่81(81st Fighter Squadron) ณ ฐานทัพอากาศ Moody Air Force Base(AFB) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในมลรัฐ Georgia
ได้ทำงานร่วมกับชาติหุ้นส่วนสี่ประเทศเพื่อจะบูรณาการเครือข่ายข้อมูลการรบเข้าสู่ยุทธวิธี, เทคนิค และขั้นตอนการปฏิบัติการรบอากาศสู่พื้นที่ได้รับการพัฒนาเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ

ในความพยายามที่จะสนับสนุนลำดับความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งชาติโดยการสร้างความเป็นหุ้นส่วนและการทำงานร่วมกันของพันธมิตร กองบัญชาการยุทธทางอากาศ(ACC: Air Combat Command) กองทัพอากาศสหรัฐฯจัดตั้งทีม Moody
ที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ทางทหารจากโคลอมเบีย, ไนจีเรีย, ตูนิเซีย และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html
เพื่อจะสาธิตขีดความสามารถของชุดคำสั่งเครือข่ายเกินขอบฟ้าถ่ายทอดเพิ่มขยายได้ทางอากาศ Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network(AERONet) และตัดสินใจว่าเครือข่ายสามารถเพิ่มขยายขีดความสามารถของชาติหุ้นส่วนได้หรือไม่

"ส่วนสำคัญที่สุดของการเรียนรู้นี้คือการที่เรากำลังประสานงานกัน เรากำลังประสานแนวทางการปฏิบัติงานของสหรัฐฯกับตูนิเซีย กับโคลอมเบีย กับไนจีเรีย กับไทย(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/textron-t-6th.html)
เรากำลังมีการเพิ่มการทำงานร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ" นาวาอากาศโท Gerald Ferdinand ผู้อำนวยการกองบินทดสอบที่23(23rd Wing experiment) กองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว

ระบบการรบที่มีประสิทธิภาพต่อราคาและเข้ารหัสเชิงพาณิชย์ทำให้อากาศยานมีความสามารถที่จะทำแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของพวกตน เช่นเดียวกับการปรับปรุงความเคลื่อนไหวของข้าศึกในเวลาจริง
มากไปกว่านั้นการทำงานเป็นเครือข่ายกับ AERONet สามารถทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯจะบูรณาการกำลังรบของตนเข้ากับชาติหุ้นส่วนต่างๆได้(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/rohde-schwarz-rv-connex-r-m3ar-t-6th.html)

ตามข้อมูลจากนาวาอากาศโท Ferdinand การสื่อสารจากระบบการรบเข้ารหัสทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำงานเดินหน้าสู่ "การพัฒนาทางเทคนิคและขั้นตอนสำหรับการต่อต้านองค์กรหัวรุนแรงสุดโต่ง(C-VEO: Countering Violent Extremist Organizations) ต่างๆ
AERONet เป็นแนวทาง datalink ราคาประหยัดและส่งออกได้สำหรับประเทศที่ไม่ต้องการเข้าถึงระบบของสหรัฐฯ เป้าหมายสำหรับ AERONet คือเพื่อการทดลองเกี่ยวกับการใช้ปฏิบัติการของวิทยาการนี้ในด้านทางทหาร และเพื่อยืนยันว่ามันเป็นบางสิ่งที่จะสามารถใช้กับชาติหุ้นส่วนต่างๆในการปฏิบัติการในโลกจริงได้" เขากล่าว 

เพื่อความชำนาญการควบคุมสาม node ของ AERONet อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละประเทศส่งนักบิน, เจ้าหน้าที่สนับสนุน และผู้ควบคุมอากาศยานหน้า(FAC: Forward Air Controller) เพื่อเรียนรู้ชุดคำสั่งในระบบการบัญชาการและควบคุมทางอากาศ และการใช้สื่อสารกำลังเดินเท้าภาคพื้นดิน
การบูรณาการการปฏิบัติการ node C2(command and control) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จของภารกิจ จ่าอากาศเอกพิเศษ(Technical sergeant) Matthew Harris ผู้จัดการข้อมูลเคลื่อนที่ทดสอบฝูงบินขับไล่ที่81 อธิบายว่าทำไมความเชี่ยวชาญของ AERONet จาก C2 ถูกพิจารณาว่าเป็น "หัวใจของภารกิจ"

"ผู้บัญชาการภารกิจและทีมของเขาจะเฝ้าติดตามภารกิจจาก node การบัญชาการและควบคุม C2 นี่เป็นที่ซึ่งคุณจะมีเจ้าหน้าที่ข่าวกรองประจำตำแหน่งระหว่างภารกิจจะได้รับการปรับปรุงข้อมูลที่สำคัญต่อสถานการณ์การรบ
จากนั้นการปรับปรุงข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะถูก upload เข้าไปยัง server ที่ซึ่งการวิเคราะห์ของเราสามารถเข้าถึงพวกมันสำหรับการทบทวนได้" จ่าอากาศเอกพิเศษ Harris กล่าว

ภายในการบัญชาการและควบคุม node การปฏิบัติการทำให้ผู้ใช้มีความสามารถที่จะติดตามกำลังฝ่ายเป็นมิตรบน tablet หรือ laptop ที่เชื่อโยงกับ software ในระบบ cloud
พร้อมๆกันไปนั้น การใช้ระบบวิทยุและ computer ทำให้สามารถทำการสื่อสารด้วยเสียง voice chat และวีดิทัศน์เคลื่อนไหวเต็มรูปแบบ(FMV: Full-Motion Video) กับการทำการบินได้

ชาติหุ้นส่วนแต่ละชาติส่งนักบินสองนายที่จะปฏิบัติงานกับ AERONet จากที่นั่งหลังของเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E Wolverine การเรียนรู้ระบบการรบเข้ารหัสทำให้นักบินสามารถที่ติดความเคลื่อนไหวของข้าศึก
ขณะที่ยังดำรงการสื่อสารกับการบัญชาการและควบคุม C2 และกองกำลังชาติหุ้นส่วน ความสามารถที่จะสื่อสารและถ่ายทอดเสียงและข้อมูลวีดิทัศน์เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของภารกิจ

"ในประเทศเรา เรามีเพียงวิทยุ และสื่อสารแบบเพียงทางเดียว อย่างไรก็ตามที่นี่คุณมีการสนทนาทั้งหมดกับทุกคน หนึ่งในปัญหาใหญ่ในสนามรบ ถ้าคุณไม่มีการสื่อสาร คุณไม่สามารถจะไปวางกำลังอำนาจการยิงใดๆได้ เพราะว่าคุณไม่รู้ว่าข้าศึกอยู่ที่ไหน
นี่เป็นตัวเปลี่ยน game สำหรับกองทัพอากาศต่างๆที่ไม่มีระบบสื่อสาร" นักบินกองทัพอากาศโคลอมเบีย(Colombian Air Force) เรืออากาศโท Valencia "Calarca" กล่าว

นายทหารกองทัพอากาศไทย เรืออากาศโท อภิสิทธิ์ กิจโชค หัวหน้านายทหารบัญชาการและควบคุม ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ กองทัพอากาศไทยได้ทดสอบการใช้งานระบบ AERONet ที่ฐานทัพอากาศ Moody AFB เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ฝูงบิน๗๐๒ มีประจำการด้วยเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 AEW/B Erieye ที่สามารถใช้เครือข่ายทางยุทธวิธี Link TH ของกองทัพอากาศไทยได้(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/gripen-cd.html

โดยการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH จำนวน ๘เครื่องจากบริษัท Textron Aviation Defense LLC สหรัฐฯ วงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งมีพื้นฐานจาก AT-6E Wolverine สำหรับกองทัพอากาศไทย
นอกจากการถ่ายทอดวิทยาการแก่ภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11 แล้ว เครื่องบินโจมตี AT-6TH จะมีขีดความสามารถในการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายผ่าน datalink ด้วยครับ