Royal Thai Air Force (RTAF) held welcome ceremony for first two of Beechcraft
AT-6TH Wolverine serial "41101" and "41102" light atack aircraft at 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in Chiang Mai Province, Thailand on 16 July 2024.
(Royal Thai Air Force)
Welcome Home… Lanna Wolverine..
"AT-6TH WELCOME CEREMONY"
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 นาวาอากาศเอก ปรธร จีนะวัฒน์ ผู้บังคับการกองบิน
41 เป็นประธานในพิธีต้อนรับเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH) จำนวน 2 เครื่องแรก
ในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ
ของจังหวัดเชียงใหม่ นักเรียน นักศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ กองบิน 41
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
กองทัพอากาศได้มีโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH)
จากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 8 เครื่อง เพื่อบรรจุประจำการ ณ ฝูงบิน 411 กองบิน
41 ทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART)
ที่ปลดประจำการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564
ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ส่งนักบิน จำนวน 8 คน
เข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งขณะนี้ นักบิน จำนวน 8 คน ได้สําเร็จหลักสูตรครูการบินและนักบินลองเครื่อง
กับเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH)
เป็นที่เรียบร้อยแล้วและมีผลการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
การดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH) ของกองทัพอากาศในครั้งนี้
เป็นไปเพื่อดำรงขีดความสามารถของกองทัพอากาศ
ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติตามที่กฎหมายกำหนด
รวมถึงสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการต่าง ๆ อาทิเช่น
การบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดกับกองกําลังภาคพื้น
การบินเพื่อค้นหาการลักลอบเข้าประเทศ
และการขนส่งยาเสพติดตามแนวชายแดน
การบินสนับสนุนการดับไฟป่าและ บรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
อันจะนําไปสู่การบูรณาการ
การปฏิบัติการบินของกองทัพอากาศและส่วนราชการด้านความมั่นคงต่อไป
ซึ่งการจัดหาทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส คำนึงถึงความคุ้มค่า
และประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ
พิธีต้อนรับเครื่องบินโจมตีเบาแบบ Beechcraft AT-6TH Wolverine ชุดแรกจำนวน
๒เครื่องแรกหมายเลข "41101" และ "41102" เพื่อเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑
เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๕๖๗
ได้มีการเชิญสื่อมวลชนรวมถึงนักเรียนนักศึกษาร่วมพิธีเพื่อการประสัมพันธ์และส่งเสริมความเรียนรู้ด้านกิจการด้านอุตสาหกรรมการบินของไทย
เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH สองเครื่องแรกหมายเลข "41101" และ "41102"
ได้ถูกจัดส่งทางเรือมาถึงไทยได้เข้าสู่โครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final Reassembly
Program) โดยโรงงานอากาศยานของ บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation
Industries) ไทย ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใกล้กับ กองบิน๔ ตาคลี
ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
กองทัพอากาศไทยได้ส่งนักบินชุดรับมอบจำนวน
๘นายเข้ารับการฝึกหลักสูตรครูการบิน(Flight Instructor) และนักบินลองเครื่อง(Test
Pilot) ณ บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯใน Wichita มลรัฐ Kansas
ระหว่างวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์-๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
และได้สำเร็จการศึกษากลับมายังไทยแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/at-6th-wolverine.html)
เครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH
(ยังไม่ทราบการกำหนดแบบจริง)มีพื้นฐานจากครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E Wolverine
ทียังมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan
II(T-6C) ของโรงเรียนการบินกำแพงแสนกองทัพอากาศไทย ที่ได้รับมอบครบจำนวน
๑๒เครื่องแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) (https://aagth1.blogspot.com/2023/08/t-6th.html)
กองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH จำนวน
๘เครื่องวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยฝูงบิน๔๑๑ จะได้รับมอบครบ ๘เครื่องภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)
การจัดหาเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH
ยังรวมถึงการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronet-at-6th.html)
เช่นเดียวกับเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ที่ประกอบในไทยโดยบริษัท TAI ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/blog-post.html)
โดยบริษัท Textron ได้ส่งเครื่องบินโจมตีเบา AT-6E ทะเบียนสหรัฐฯ N610AT
ของตนมาที่โรงเรียนการบินกำแพงแสนในจังหวัดนครปฐมของไทย
เพื่อใช้ในการทดสอบการบูรณาการระบบต่างๆตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/at-6e-wolverine.html)
เดิมกองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH ระยะที่๒
จำนวน ๔เครื่องรวมทั้งหมดเป็น ๑๒เครื่อง อย่างไรก็ตามในสมุดปกขาว RTAF White
Paper 2024 ล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗
ไม่ได้ระบุถึงการจัดหา บ.จฝ.๒๒ AT-6TH เพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html)
เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด turboprop กำลัง 1,600hp ทำความเร็วสูงสุดได้ 858km/h(316knots) เพดานบินสูงสุด 9,949m(31,000feet) พิสัยการบิน 3,194km(1,725nmi) น้ำหนักภารกรรมบรรทุก 1,864kg(4,110lbs) ติดระบบตรวจจับกล้อง electro-optic/infrared(EO/IR) แบบ WESCAM MX-15Di ซึ่งมอบขีดความสามารถการค้นหา, ตรวจจับ, ติดตาม และกำหนดเป้าหมาย
ระบบอาวุธที่สามารถใช้ได้รวมถึงระเบิดนำวิถี laser แบบ GBU-12 Paveway II ขนาด 500lbs, กระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัดสำหรับจรวดอากาศอากาศสู่พื้นแบบ Hydra 70, กระเปาะปืนกลอากาศ FN HMP-400 ขนาด .50cal ความจุกระสุน ๔๐๐นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ครับ