วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

สหรัฐฯปลดประจำการเรือ LCS ชั้น Independence ลำแรก LCS-2 USS Independence

U.S. Navy Decommissions Littoral Combat Ship ‘USS Independence’

Littoral combat USS Independence (LCS 2) is moored alongside the pier during its decommissioning ceremony at Naval Base San Diego. U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 1st Class Jason Abrams/Released







(Feb. 27, 2019) The Independence variant littoral combat ship USS Independence (LCS 2) sails in the eastern Pacific.



กำลังพลประจำเรือของเรือ LCS(Littoral Combat Ship) ชั้น Independence ลำแรก LCS-2 USS Independence ที่ได้รับการยอมรับมามากกว่าทศวรรษที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ระหว่างพิธีปลดประจำการเรือ ณ ฐานทัพเรือ San Diego ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2021 
เนื่องจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยต่อพิธีสาธารณะขนาดใหญ่จากการแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 พิธีปลดประจำการเรือ LCS-2 USS Independence ได้ถูกจัดขึ้นเป็นการภายในร่วมไปกับกำลังพลประจำเรือชุดปัจจุบันและอดีตกำลังพลประจำเรือ

ระหว่างพิธีปลดประจำการเรือ วิทยากรผู้กล่าวนำ พลเรือโท Roy Kitchener ผู้บัญชาการกองกำลังเรือผิวน้ำ(Naval Surface Force) กองเรือแปซิฟิก(Pacific Fleet) กองทัพเรือสหรัฐฯ
อวยพรให้กำลังพลประจำเรือ USS Independence ประสบโชคดีต่อการสู้กับลมและคลื่นในทะเลได้ต่อไป ตามที่พวกตนได้กล่าวอำลาต่อเรือของพวกตน

"กำลังพลเรือ USS Independence แบกรับความรับผิดชอบอันหนัก ตั้งแต่การนำเรือเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เราของให้เธอ(เรือ)ทำหน้าที่สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อทดสอบอุปกรณ์และแนวคิดที่อุบัติขึ้นใหม่ ลูกเรือประสำความสำเร็จในสิ่งนั้นและอีกมากมาย 
ปราศจากความพยายามและประสบการณ์ของพวกเขา เรือชั้นนี้คงจะไม่มาถึงจุดที่ปัจจุบันด้วยเรือ 6ลำถูกวางกำลังทั่วโลก การปรับปรุงเหล่านี้ส่วนใหญ่มีขึ้นในผลที่มาจากประสบการณ์และการให้ข้อมูลของลูกเรือจะเดินหน้านำพาเรือชั้น LCS เข้าสู่อนาคต" พล.ร.ท.Kitchener กล่าว

ผู้บังคับการเรือ(CO: Commanding Office) ขณะประจำการ ลูกเรือชั้นทอง(gold crew) ของ USS Independence นาวาเอก Michael Riley กล่าวว่าเป็นเพราะเหล่ากะลาสีที่ลุกขึ้นมาในโอกาสที่ทำให้ USS Independence รุ่งเรือง
"สิ่งที่ทำให้ USS Independence ประสบความสำเร็จไม่ใช่ผู้จัดการโครงการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ผู้บังคับการเธอสองนาย แต่เป็นนายทหาร, หัวหน้าลูกเรือ และกะลาสี ชั้นน้ำเงิน(blue crew) และชั้นทองที่ทำให้เรือปฏิบัติการได้" น.อ.Riley กล่าว

"พวกเขาแบกรับภาระของการเปลี่ยนแปลงแนวทางของโครงการ เอกสารที่ไม่สมบูรณ์ หรือระบบที่ไม่เหมือนใคร และพาเรือออกสู่ทะเล พวกเขาซื่อสัตย์ในการชี้ให้เห็นเมื่อประสิทธิภาพของระบบหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานล้มเหลวที่จะตามความคาดหวังของพวกเขา 
ในเวลาเดียวกัน พวกเขาค้นพบขีดความสามารถที่ซ่อนในเรือ การนำอุปกรณ์และระบบกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์" น.อ.Riley ผู้บังคับการเรือ USS Independence กล่าว

เรือ LCS-2 USS Independence มีกำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหารสัญญาบัตร 9นาย และลูกเรือทหารชั้นประทวน 41นาย ถูกสร้างใน Mobile มลรัฐ Alabama โดยอู่เรือบริษัท Austal USA และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2010 
LCS-2 USS Independence เป็นเรือลำที่6 ที่ได้รับการตั้งชื่อนี้ โดยตระหนักถึงรากฐานที่สำคัญของการก่อตั้งประเทศสหรัฐฯที่ชาวอเมริกันจำนวนมากได้ต่อสู้และเสียชีวิตเพื่อ

เรือ USS Independence ลำแรกเป็นเรือปืนสลุป 10กระบอกที่ประจำการในช่วงการปฏิวัติอเมริกา เรือ USS Independence ลำที่สองเป็นเรือกระบวนรบ(ship of the line) ลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐฯ ถูกปล่อยลงน้ำในปี 1814 ในฐานะเรือปืน 74กระบอก ต่อมาเปลี่ยนเรือเรือฟริเกตปืน 54กระบอก
เรือ USS Independence ลำที่สามเข้าประจำการในกองเรือขนส่งโพ้นทะเล(NOTS: Naval Overseas Transportation Service) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เรือ USS Independence ลำที่สี่ คือเรือบรรทุกเครื่องบินเบา CVL-22 USS Independence เข้าประจำการในปี 1943 และได้รับรางวัล battle star 8ดวงระหว่างการรบในสงครามโลกครั้งที่สองก่อนปลดประจำการในปี 1946
เรือ USS Independence ลำที่ห้า เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-62 USS Independence เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Forrestal ลำที่สี่และลำสุดท้าย เข้าประจำการในปี 1959 และปลดประจำการในปี 1998

LCS-2 USS Independence ได้เป็นเรือทดสอบและเรือฝึกและเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาการจัดตั้งแนวคิดการปฏิบัติการต่อรูปแบบและการวางกำลังปัจจุบันของเรือ LCS ในปัจจุบัน
การปลดประจำการเรือ LCS-2 สนับสนุนการริเริ่มกระบวนการปฏิรูปทางธุรกิจทั่วทั้งแผนก เพื่อเพิ่มเวลา, ทรัพยากร และกำลังคนเพื่อสนับสนุนการเพิ่มอำนาจการสังหารขึ้น

เรือ LCS ยังคงเป็นเรือรบผิวน้ำที่เร็ว, คล่องแคล่ว, และเป็นเครือข่าย ออกแบบเพื่อปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมใกล้ชายฝั่ง ขณะที่สามารถทำภารกิจในมหาสมุทรเปิดและเอาชนะภัยคุกคามชายฝั่งในศตวรรษที่21 ได้
เรือ LCS ประกอบด้วยเรือสองชั้นคือเรือ LCS ชั้น Freedom และเรือ LCS ชั้น Independence ที่ออกแบบและสร้างโดยสองทีมภาคอุตสาหกรรม

ทีมเรือ LCS ชั้น Freedom นำโดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และเป็นตัวเรือเดี่ยวเหล็กกล้า monohull สร้างในอู่เรือของบริษัท Fincantieri Marinette Marine Corporation ใน Marinette มลรัฐ Wisconsin
เรือ LCS ชั้น Independence เป็นเรือแบบ trimaran โลหะ aluminum เดิมสร้างโดยทีมที่นำโดยบริษัท General Dynamics Bath Iron Works สหรัฐฯสำหรับ LCS-2 และ LCS-4 USS Coronado ปัจจุบันเรือชั้น Independence ถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท Austal USA สหรัฐฯที่ Mobile มลรัฐ Alabama 

เรือ LCS ถูกติดตั้งด้วยชุดภารกิจ(สร้างขึ้นจากระบบารกิจและอุปกรณ์สนับสนุน) ที่วางกำลังยานมีคนขับและไร้คนขับและระบบตรวจจับ ในการสนับสนุนภารกิจการต่อต้านทุ่นระเบิด, สงครามปราบเรือดำน้ำ หรือสงครามผิวน้ำ 
หลังการปลดประจำการเรือ LCS-2 USS Independence เรือ LCS ทั้งสองชั้นจำนวน 22ลำจะยังคงประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯต่อไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/aumx-2019-asean.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/06/nsm-lcs.html)

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Elbit อิสราเอลเดินหน้าพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง SIGMA 155mm ใหม่

Elbit Systems progressing new SIGMA 155 mm artillery system
A rendering of the new SIGMA 155 mm/52 calibre self-propelled artillery system being developed by Elbit Systems for the Israel Defense Force, based on an Oshkosh Defense 10x10 platform. (Elbit Systems)


The IDF's 155 mm/39 calibre M109 tracked SP artillery systems to be replaced around 2023. (IDF)

บริษัท Elbit Systems อิสราเอลกำลังพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรอัตโนมัติเต็มรูปแบบขนาด 155mm/52calibre ใหม่สำหรับกองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defense Force)
ที่จะเริ่มต้นเพื่อทดแทนระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 ขนาด 155mm/39calibre ในราวปี 2023 ตัวแทนของ Elbit Systems อิสราเอลกล่าวกับ Janes

ขณะที่หลายประเทศยังคงประจำการระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพานขนาด 155mm อยู่(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/leonardo-m109l.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/03/m109a5.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/10/m109a5-sr4.html)
มีกระแสนิยมไปสู่ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางขนาด 155mm ตามที่ระบบเหล่านี้มอบความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ทางยุทธศาสตร์จากการลดการพึ่งพาระบบขนส่งยุทโธปกรณ์ขนาดหนักลง(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/atmg.html)

ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางใหม่ที่เรียกว่า SIGMA กำลังได้รับการพัฒนาผ่านสัญญาขั้นต้นวงเงิน $125 million ที่ประกาศในเดือนมีนาคม 2019
ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง SIGMA 155mm/52calibre มีพื้นฐานติดตั้งบนรถแคร่ฐานระบบรถยนต์บรรทุก 10x10 ของบริษัท Oshkosh Defense สหรัฐฯที่ถูกเลือกโดยกองทัพอิสราเอล ซึ่งใช้งานรถยนต์บรรทุกสำหรับภารกิจจำนวนมาก

ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง SIGMA จะถูกติดตั้งด้วยส่วนห้องควบคุมแบบมีเกราะป้องกันเต็มรูปแบบ, ระบบป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี(NBC: Nuclear Biological Chemical) และระบบปรับอากาศเต็มรูปแบบสำหรับกำลังพล 2นาย หรือ 3นาย
ด้านท้ายของรถแคร่ฐานจะถูกติดตั้งด้วยปืนใหญ่ขนาด 155mm/52cal พร้อมลำกล้องใส่กระสุน(chamber) ขนาด 23liter ตรงมาตรฐานกระสุนร่วม NATO JBMoU(Joint Ballistic Memorandum of Understanding) 

และติดปลอกลดแรงถอย(muzzle brake) และหม้อไล่ควัน(fume extractor) ระบบป้อมปืนใหญ่ขนาดลำกล้อง ปืนใหญ่ขนาด 155mm/52calibre จะเป็นแบบควบคุมจากระยะไกล remote จากภายในรถ 
นอกจากนี้ระบบยังมีรูปแบบการทำงานสำรองด้วยมือ หรือ "รูปแบบลดขีดความสามารถ"(degraded mode) ของการปฏิบัติการ โฆษกของ Elbit Systems อิสราเอลกล่าวกับ Janes

ระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติจะตั้งค่าชนวนหัว(fuze), บรรจุกระสุน และตามด้วยส่วนดินส่ง UMACS(Uni-Modular Artillery Charge System) กับชนวนท้าย(primer) จะถูกบรรจุอย่างอัตโนมัติผ่านซองบรรจุแบบแยกส่วน
ปัจจุบันกองทัพอิสราเอลมีระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 Doher ซึ่งมีพื้นฐานจากปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A5 สหรัฐฯ ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1994 ราว 600ระบบครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Embraer บราซิลเริ่มการทดสอบเครื่องบินลำเลียง KC-390 บนทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจร

Embraer begins KC/C-390 unpaved runway tests



Embraer has announced plans to perform unpaved runway tests with its KC/C-390 Millennium transport aircraft. (Embraer)



บริษัท Embraer บราซิลประกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2021 ว่า ตนจะเริ่มต้นการทดสอบเครื่องบินลำเลียง KC-390/C-390 Millennium ของตนกับทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจรหรือทางวิ่งที่ไม่มีผิวทาง(unpaved runway)
บริษัท Embraer กล่าวใน Twitter ว่าตนจะใช้ทางวิ่งความยาว 1,800m ที่ Gavião Peixoto ในบราซิลและการประเมินนั้นจะมีการดำเนินการในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้าที่จะถึงเพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติการของเครื่องบิน

ทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจรหรือทางวิ่งที่ไม่มีผิวทางเป็นทางวิ่งใดๆที่ถูกใช้สำหรับการวิ่งขึ้นและลงจอด ซึ่งชั้นพื้นผิวไม่ได้ถูกสร้างด้วยพื้นผิวแข็งเรียบที่เตรียมไว้แล้ว
Embraer ไม่ได้ตอบสนองต่อการร้องขอความเห็นในเวลาที่เผยแพร่บทความ นอกจาการเผยแพร่ภาพการทดสอบเครื่องบินลำเลียง KC-390/C-390 Millennium บินขึ้นลงจากทางวิ่งที่ไม่มีผิวพื้นจราจรในบัญชี Twitter ทางการของตน

KC-390/C-390 เป็นเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ไอพ่นแบบบินขึ้นและลงจอดระยะสั้น(STOL: Short Takeoff and Landing) ในภารกิจเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ โดยมีแพนหางรูปตัว T และประตูห้องบรรทุก ramp ด้านท้ายเครื่อง
KC-390/C-390 มีจุดประสงค์เพื่อการทำตลาดในส่วนเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง(น้ำหนักบรรทุก 5-10tonne) และเครื่องบินลำเลียงขนาดหนัก(น้ำหนักบรรทุก 10-20tonne) ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกครองตลาดโดยเครื่องบินลำเลียงใบพัด turboprop

เครื่องบินลำเลียง KC-390/C-390 สามารถปฏิบัติการในเขตขั้วโลกใต้ Antarctica และจากสนามบินที่ประกอบด้วยหลุมที่ลึกถึง 40cm ตามการทดสอบ California Bearing Ratio(CBR) ระดับ4 ได้
ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Development & Production เครื่องบินลำเลียง KC-390/C-390 มีมีพื้นที่บรรทุกภายใน 170ลูกบาศก์เมตร(รวมประตูท้าย) มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 23tonnes(หรือน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 26tonnes เมื่อรวมสัมภาระไว้ที่จุดศูนย์ถ่วง)

KC-390/C-390 มีความเร็วเดินทางสูงสุดที่ 470knots(870km/h) มีเพดานบินสูงสุด 36,000feet มีพิสัยทำการไกลสุด(เมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 23tonnes) ที่ 1,380nmi(2,556km) หรือบินได้ไกลสุดโดยใช้ถังเชื้อเพลิงภายในลำตัวที่ 4,640nmi 
พิสัยทำการสามารถขยายเพิ่มได้โดยการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 การปรับแต่งเครื่องในรูปแบบภารกิจปกติตามที่ให้มาโดยกองทัพอากาศบราซิล KC-390 สามารถติดตั้งแผ่นรองสัมภาระมาตรฐาน 463L จำนวน 7แผ่น(2.74x2.23m), แผ่น 463L จำนวน 6แผ่น 

บวกทหาร 36นาย หรือพลร่ม 30นาย, ทหาร 80นาย หรือพลร่ม 66นาย,รถยนต์บรรทุกขนาดเดียวกับ รยบ.HMMWV(High-Mobility Multipurpose Wheeled Vehicle) จำนวน 3คัน, เฮลิคอปเตอร์ Sikorsky UH-60 Black Hawk จำนวน 1เครื่อง และยานเกราะล้อยาง LAV-25 8x8 จำนวน 1คัน
กองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force, FAB: Força Aérea Brasileira) ได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง KC-390 ในสายการผลิตจำนวน 28เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/kc-390.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/09/embraer-kc-390.html)

ลูกค้าส่งออกของเครื่องบินลำเลียง KC-390/C-390 Millennium ในขณะนี้คือกองทัพอากาศโปรตุเกส(Portuguese Air Force, FAP: Força Aérea Portuguesa) จำนวน 5เครื่องที่จะส่งมอบระหว่างปี 2023-2027(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/embraer-kc-390.html
และกองทัพอากาศฮังการี(HuAF: Hungarian Air Force, Magyar Légierő) จำนวน 2เครื่อง โดยการส่งมอบจะมีขึ้นระหว่างปี 2023-2024 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/embraer-kc-390.html)

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Baykar Makina ตุรกีเปิดตัวแนวคิดอากาศยานรบไร้คนขับ MIUS UCAV

Baykar Makina unveils MIUS UCAV concept






Concept art of the MIUS unmanned combat aerial vehicle being developed by Baykar Makina. (Baykar Makina )

บริษัท Baykar Makina ตุรกีผู้ผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ได้เปิดตัวการวาดภาพแนวคิดของอากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ของตน MIUS(MİUS: Muharip İnsansız Uçak Sistemi, ระบบอากาศยานไร้คนขับแห่งชาติตุรกี)
MIUS จะเป็นอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์เดี่ยว โครงสร้างอากาศยานมีคุณสมบัติไร้แพนหาง ออกแบบโครงสร้างลำตัวแนบไปกับปีกเพื่อลดภาคตัดขวาง radar(RCS: Radar Cross-Section)

อากาศยานไร้คนขับ MIUS มีปีกเล็ก canard คู่ด้านหน้าตัวเครื่อง แต่ไม่มีแพนหางแนวนอน และมีสองแพนหาแนวตั้งเอียงทำมุม ช่องรับอากาศเข้ามีตำแหน่งที่แต่ละข้างของโครงสร้างลำตัว
ขณะที่คุณสมบัติของอากาศยานรบไร้คนขับ MIUS UCAV ไม่ได้ถูกให้ข้อมูล น้ำหนักบินขึ้นของเครื่องคาดว่าจะอยู่ที่ระหว่าง 3,500-4,500kg

MIUS สามารถบรรทุกอุปกรณ์และอาวุธได้หนัก 1,500kg รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน 
อาวุธจะติดตั้งในห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเพื่อคงให้มีค่า RCS ต่ำ อากาศยานรบไร้คนขับ MIUS จะจุดแข็งใต้ปีกสำหรับเป็นตำบลอาวุธภายนอกลำตัวสำหรับภารกิจไม่จำเป็นต้องมีค่า RCS ต่ำ

MIUS UCAV เครื่องต้นแบบเครื่องแรกมีกำหนดจะทำการบินในปี 2023 โดยจะเป็นอากาศยานความเร็วต่ำกว่าเสียง subsonic ขณะที่เครื่องต้นแบบที่สร้างตามมาภายหลังจะมีขีดความสามารถทำความเร็วเหนือเสียง supersonic ได้ MIUS จะถูกใช้สำหรับภารกิจการรบที่แตกต่างกัน
อย่างเช่น การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support), การกดดันและทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก(SEAD: Suppression Enemy Air Defence, DEAD: Destruction of Enemy Air Defence) และการรบอากาศสู่อากาศ

Selçuk Bayraktar ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาการ(CTO: Chief Technology Officer) ของ Baykar Makina ตุรกี กล่าวในวีดิทัศน์บริษัทว่า การออกแบบ MIUS ได้ถูกปรับแต่งเพื่อที่จะดำเนินกลยุทธเชิงรุกที่จำเป็นสำหรับการรบทางอากาศ
MIUS จะรองรับวิทยาการปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence) และฝูงบินอัตโนมัติ ทำให้อากาศยานไร้คนขับหลายเครื่องจะปฏิบัติการได้อย่างอิสระหรือบินร่วมกัน และสนับสนุนเครื่องบินขับไล่แบบมีนักบินได้

Bayraktar ตุรกียังเน้นขีดความสามารถของ MIUS ที่จะปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L400 TCG Anadolu LHD(Landing Helicopter Dock) ในอนาคตของกองทัพเรือตุรกี(Turkish Naval Forces) ได้
Bayraktar ตุรกีได้แสดงภาพวาดจำลองของ UAV หลายแบบของตนปฏิบัติการบนเรือ LHD ชั้น Anadolu ที่มีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน(Spanish Navy) ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท Navantia สเปน

เดิมเป็นที่เข้าใจว่าตุรกีมีแผนจะนำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II มาปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Anadolu ของตนในบทบาทเรือบรรทุกเครื่องบินเบา(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/harrier-f-35b-lhd-tcg-anadolu.html)
แต่การที่สหรัฐฯตัดตุรกีของจากโครงการ JSF(Joint Strike Fighter) ด้วยการไม่ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a.html) ทำให้ตุรกีมองที่จะพัฒนาอากาศยานเพื่อนำมาใช้บนเรือด้วยตนเองครับ

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เรือหลวงกระบุรี กองทัพเรือไทยฝึกผสม PASSEX กับเรือฟริเกต F239 HMS Richmond อังกฤษในทะเลอันดามัน




















On 24th July, HMS Richmond will enter Thailand’s territorial waters to conduct a maritime military exercise with the Royal Thai Navy's FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya-class guided missile frigate and Sikorsky S-76B helicopter. 
This will be first engagement of the UK Carrier Strike Group with an ASEAN nation.

การฝึกผสม PASSEX ระหว่างราชนาวีไทย กับกองทัพเรือสหราชอาณาจักร 
วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เรือ HMS Richmond (F239) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกองเรือ Carrier Strike Group ของสหราชอาณาจักร ได้มุ่งหน้าเข้าสู่เขตน่านน้ำประเทศไทยเพื่อทำการฝึกทางการทหารร่วมกับกองทัพเรือไทย 
ทั้งนี้ ทัพเรือภาคที่ 3 ซึ่งได้รับมอบภารกิจจากกองทัพเรือ ในการจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกผสม PASSEX ร่วมกับเรือ HMS Richmond (F239) ในวันนี้ 
และได้จัดเรือหลวงกระบุรี และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 (S-76B) เข้าร่วมการฝึก โดยประเทศไทยนับว่าเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ได้มีกิจกรรมร่วมกับกองเรือนี้ โดยไม่มีการจอดเรือเทียบท่า

พื้นที่การฝึก ได้กำหนดให้อยู่ในขนาด 30x30 ไมล์ทะเล ตอนใต้ของหมู่เกาะสิมิลัน นอกเขตชายฝั่งของจังหวัดพังงา และมีหัวข้อการฝึกดังนี้
- การฝึกแปรกระบวนเรือ (MANEX) 
- การฝึกธงสองมือ (SEMAPHORE)
- การฝึกถ่ายภาพ (PHOTOEX)

HMS Richmond (F239) เป็นเรือฟรีเกต Type 239 ประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 1993 ขนาดระวางขับน้ำ 4,900 ตัน สามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ ด้วยระบบอาวุธที่ครบครัน Anti-air missiles, Anti-ship missiles, Anti-submarine torpedoes 
นับว่าเป็นเขี้ยวเล็บที่แข็งแกร่งของกองทัพเรือ สหราชอาณาจักร
โดยการเดินทางมาของเรือ HMS Richmond ในครั้งนี้ เป็นการเยือนไทยอีกครั้งหนึ่งของเรือรบจากสหราชอาณาจักรตั้งแต่เรือ HMS Daring เข้าเยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2557 
และประเทศไทยนับเป็นชาติแรกในอาเซียน ที่ได้มีกิจกรรมร่วมกับกองเรือ Carrier Strike Group ในตารางการเยือนทั่วโลกครั้งนี้
เรือ HMS Richmond เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือ Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนับเป็นการส่งกองกำลังทางน้ำและทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุด ที่ออกเดินทางจากสหราชอาณาจักรในห้วงหลายสิบปีนี้ 

โดยกองเรือ Carrier Strike Group นั้น นำทัพโดยเรือ HMS Queen Elizabeth เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีกำลังสูงสุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ออกเดินเรือปฏิบัติการครั้งแรกในภารกิจนี้ 
ในกองเรือประกอบไปด้วยเรือผิวน้ำ 9 ลำ อากาศยาน 32 ลำ และกำลังพลทั้งหมด 3,700 นาย
กองเรือ Carrier Strike Group แล่นออกจากท่าเรือเมืองพอร์ทสมัธ ในสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นับเป็นการเริ่มออกเดินทางทั่วโลกโดยแท้จริง เมื่อเดินทางกลับสู่สหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคมนี้ 
กองเรือจะเดินทางรวมกว่า 26,000 ไมล์ทะเล ครอบคลุมเส้นทางจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดทะเลแดง จากอ่าวเอเดนจรดทะเลอาหรับ และจากมหาสมุทรอินเดียจรดทะเลฟิลิปปินส์ ก่อนจะแล่นกลับสู่สหราชอาณาจักร 
กองเรือ Carrier Strike Group จะเยือน 40 ประเทศตลอดการเดินทางนี้ และมีกิจกรรมร่วมกับประเทศพันธมิตรกว่า 70 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการฝึกซ้อมทางทหารและภารกิจอื่น ๆ
โดยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ กองเรือ Carrier Strike Group จะออกปฏิบัติการในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยเดินทางผ่านทวีปเอเชีย เข้าสู่ช่องแคบมะละกาเพื่อเดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่น 
ตามแผนเดิมเรือ HMS Queen Elizabeth มีจุดแวะพักสำคัญในภูมิภาคนี้คือประเทศสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดีย ขณะที่เรือร่วมขบวนลำอื่น เช่น เรือ HMS Richmond จะมีกิจกรรมร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคและในอาเซียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของสหราชอาณาจักร

สำหรับประเทศไทย การฝึกผสม PASSEX ระหว่างเรือหลวงกระบุรี และ เรือ HMS Richmond ในครั้งนี้ เป็นการฝึกบนเรือของแต่ละประเทศ โดยไม่มีการนำเรือมาเข้าใกล้กันโดยเด็ดขาด แต่จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในด้านความมั่นคง 
ส่งผลให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผ่านการฝึก และการเพิ่มความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทั้ง 2 ประเทศได้มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะป็นการปฏิบัติการสันติภาพในระดับนานาชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย วิชาการแพทย์ทหาร รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ เป็นต้น

กองเรือ Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักรที่เดินทางมาเยือนครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าสหราชอาณาจักรกำลังหันมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อย่างชัดเจน ซึ่งภูมิภาคนี้มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง 
โดยจากข้อมูลพบว่า มีประชากรสหราชอาณาจักรกว่า 50,000 คน ที่อยู่ในประเทศไทย และทศวรรษที่จะถึงนี้ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จะเป็นใจกลางของความท้าทายครั้งใหญ่ระดับโลกมากมายหลายด้าน 
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางทะเล และการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ที่เกี่ยวพันกับระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ สหราชอาณาจักรจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก 
ทัพเรือภาคที่ 3 ขอต้อนรับกองเรือ Carrier Strike Group เข้าสู่น่านน้ำประเทศไทย ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นที่เรามีร่วมกันในการสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
ภาพโดย S-76B 





ปัจจุบัน(๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)) กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Carrier Strike Group 21(CSG21) กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) ที่นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth รวมกับเรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือสนับสนุนต่างๆ
ที่วางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)
ได้ผ่านช่องแคบมะละกาน่านน้ำสิงคโปร์แล้ว โดยเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๖๔ กองเรือ CSG21 ก็ได้ทำการฝึก PASSEX กับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) อีกมิตรประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN เช่นกัน

การแสดงกำลัง(Projection Forces) ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี CSG21 เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายความมั่นคงของสหราชอาณาจักร ในการแสดงการวางกำลังรบทางทหารได้ทั่วโลกในชื่อ Global Britain(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-35b.html)
โดยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่รวมถึงกลุ่มชาติ ASEAN สหราชอาณาจักรได้ให้ความสำคัญในการทบทวนอย่างบูรณาการของนโยบายความมั่นคง, กลาโหม, การพัฒนา และการต่างประเทศ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_18.html)
ที่มุ่งเป้าที่การเสริมสร้างการค้าด้านกลาโหมและการมีส่วนร่วมด้านอุตสาหกรรมกับหุ้นส่วนในภูมิภาคที่รวม อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐเกาหลี, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมถึงการตอบสนองต่อการเพิ่ม "การแสดงพลังอำนาจ" ระดับนานาชาติของจีนครับ

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กรมทหารราบที่๓๑ รักษาพระองค์ฯ กองทัพบกไทยฝึกโดดร่มทางยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ








Strategic Airborne Operation
23 July 2021, Paratroopers from across the Division conducted a jump alongside their Allies in the Royal Thai Army and conducted a wing exchange! The 82nd Airborne Division never fights alone and training like this enhances our Airborne Interoperability!










Airborne soldiers of 31st Infantry Regiment Royal Guard, 1st Division Royal Guard, Royal Thai Army static jump (T11 parachute) training with Airbus C295 transport aircraft in 7 July 2021, prepared to joint strategic jump with US Army and Indonesian Army in USA.

ผบ.ทบ. ตรวจความพร้อมและให้โอวาทแก่กองร้อยส่งทางอากาศ กองทัพบกไทย ในการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ทบ.สหรัฐฯ 
วันนี้ (7 ก.ค.64) ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ พร้อมคณะผู้บังคับบัญชา เดินทางมายังพื้นที่ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ จ.ว.ลพบุรี เพื่อตรวจความพร้อม และให้โอวาทแก่กองร้อยส่งทางอากาศ 
โดยมี พันเอกยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ ผบ.ร.31 รอ. ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำการกระโดดร่มในครั้งนี้ด้วย 

การฝึกในครั้งนี้ กองทัพบกอนุมัติให้ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังพล  จำนวน 114 นาย เข้ารับการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ในห้วงวันที่ 11-26 ก.ค. 64 ณ Fort Bragg รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับหน่วยกองพลทหารราบส่งทางอากาศ 
เนื่องจากมีสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ของโควิด 19 จึงทำให้ต้องยกเลิกการฝึกการกระโดดร่มร่วมในระดับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ ภายใต้รหัสการฝึก Cobra Gold แต่ทาง ทบ.สหรัฐ ยังมีความประสงค์ที่จะยังคงการฝึกการกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์นี้อยู่ 
จึงขอให้ ทบ.ไทย จัดกำลังเพื่อร่วมโดดร่มทางยุทธศาสตร์ระหว่างหน่วยของ ทบ.ด้วยกันต่อไป 
การกระโดดร่มครั้งนี้จึงเป็นการฝึกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ทบ.ไทย และ ทบ.สหรัฐ โดยใช้กำลังจาก ร.31 รอ. และยังสร้างประสบการณ์ สร้างความคุ้นเคยในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน รวมไปถึงประเทศในภูมิภาคคือประเทศอินโดนีเชียอีกด้วย 

ผบ.ทบ. กล่าวในตอนหนึ่งต่อกำลังพล เน้นย้ำว่า 
“…ทหารพลร่มคือทหารที่มีวินัยที่สุด หน่วยส่งทางอากาศ ทบ. ดำรงภารกิจที่หลากหลาย หลักสูตรส่งทางอากาศจึงเป็นหลักสูตรที่จำเป็นและสำคัญต่อทหารเหล่ารบทุกนาย…”
ในการฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกในสถานการณ์พิเศษที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ดังนั้น กำลังพลทุกนายที่ไปฝึก ต้องมีวินัย รักษามาตรการการปฏิบัติตนตาม ศบค.อย่างเคร่งครัด กำลังพลทุกนายที่ได้รับโอกาสในการเป็นตัวแทน ทบ. 
ไปฝึกในครั้งนี้ ต้องรักษาวินัย เพราะการรักษาวินัย คือ หัวใจของทหารพลร่ม
ขอให้กำลังพลทุกนายตั้งใจและนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับ นำมาพัฒนาปรับปรุงกองทัพได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ นำพาเกียรติยศและชื่อเสียงกลับสู่ประเทศไทยต่อไป

"ร่มทางยุทธวิธี"  
ทหารพลร่มถือว่าเป็นนักรบชั้นยอด เพราะสามารถทำการรบได้ในทุกพื้นที่ การโดดร่มถือเป็นยุทธวิธีที่กองทัพทั่วโลกต้องฝึกฝน... 
วันนี้แอดจะพามารู้จักร่มที่ พี่ๆทหารใช้โดดแบบสายดึงประจำที่ (Static line) ทางการทหารเรียกว่า “ร่มบุคคลโดดทางยุทธวิธี” หรือที่เรียกกันว่า
ร่มกลมนั่นเอง สำหรับร่มที่ใช้ในกองทัพบกไทยนั้น จะมีอยู่ 2 ตระกูลหลักๆคือ ร่มตระกูล T ไม่มีช่องผ่าทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ไม่ได้ เหมาะใช้โดดเป็นกลุ่มก้อนในภารกิจจู่โจมหมู่ และร่มตระกูล MC มีช่องผ่าด้านหลังทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้ดี 
โดยแต่ละร่มมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 

ร่ม T-10 เป็นร่มชูชีพทางยุทธวิธี ทำงานด้วยสายดึงประจำที่เพดานร่มทำด้วยผ้า LO -PO RIPSTOP NYLON ไม่มีช่องผ่าเป็นรูปค่อนวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต  อัตราการตก16.37 –22.7 ฟุต/วินาที น้ำหนักเมื่อพับแล้ว 31 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 260 ปอนด์ 
สำหรับร่มช่วย ทำงานโดยผู้ดึงห่วงให้ร่มกางเอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ฟุต กางเป็นรูปครึ่งวงกลม รับน้ำหนักได้ 200 – 240 ปอนด์ อัตราการตกประมาณ 16 – 24 ฟุต/วินาที น้ำหนักเมื่อพับแล้ว 12 ปอนด์ 

ร่ม  T-11 เป็นร่มชูชีพทางยุทธวิธีรุ่นล่าสุด ได้รับการพัฒนาทั้งระบบคือ พัฒนาร่มช่วย (T – 11R ) ควบคู่กันไปด้วย พร้อมกับสายรัดตัว (Superrier harness) และตัวร่ม(Canopy) เพื่อให้ทดแทนร่ม T-10 ที่ใช้งานมากว่า 50 ปี โดยออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานทั้งทหารที่มีร่างกายเล็กหรือใหญ่ได้ เพดานร่มทำด้วยผ้า LOW – POROCITY เป็นร่มที่มีโครงสร้างแบบกากบาท มีลักษณะแบบสี่เหลี่ยมคล้ายกระทงขนมครก ( Cross/Cruciform platform) สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก (ราว 400 ปอนด์)  มีแรงกระตุกและการแกว่งลดลง ลดแรงกระชากในขณะเปิดร่ม 
โดยใช้การทำงานร่วมกันของ Sleeve และSlider ตัวร่มจะถูกห่อด้วย Sleeve อีกชั้นหนึ่ง เมื่อสายดึงประจำที่ดึงถุงร่มให้แตกออก ร่มนำจะดึงให้ Sleeve หลุดออกก่อน แล้วตัวร่มจึงจะเริ่มกินลม กางออก และตัว Slider จะคอยควบคุมปริมาณการไหลเข้าของอากาศ ในส่วนล่างของตัวร่ม 
ขั้นตอนการทำงานที่เพิ่มขึ้นมาทำให้การใช้เวลาในการกางเพิ่มขึ้น 2วินาที จาก 4 เป็น 6 วินาที มีขนาดใหญ่กว่า T-10 28% แต่มีน้ำหนักมากกว่าเพียง 7 ปอนด์ 

ร่ม T-11R เป็นร่มช่วยพัฒนาต่อจากร่มทางยุทธวิธีของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความสามารถในการกางอย่างสมบูรณ์ ในความสูงระดับต่ำ เป็นร่มขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปกรวยคล้ายขนมครก อัตราการตกต่ำกว่า 27 ฟุต/วินาที 
ห่วงดึงฉุกเฉินติดไว้ตรงกลาง เพื่อสะดวกในการ ใช้มือข้างใดก็ได้ในการกระตุก 

ร่ม MC1-1B/NS ทำงานด้วยสายดึงประจำที่ (Static line) กางเป็นรูปค่อนวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต สามารถพาผู้โดดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ด้วยความเร็ว 6-8 น๊อต(1 น๊อต=0.51ม./วินาที) ในความเร็วลมเป็นศูนย์ มีอัตราการตก 15.37 -22.7 ฟุต/วินาที 
เพดานร่มทำด้วยผ้า LO - PO RIPSTOP NYLON มีช่องผ่าและมีสายบังคับ 2 เส้น  ทำให้สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของร่มได้ มีน้ำหนัก 31 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 250 ปอนด์ 

ร่ม MC1-1C/NS ทำงานด้วยสายดึงประจำที่กางเป็นรูปค่อนวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต เป็นการพัฒนามาจากร่ม MC1-1B/NS โดยเปลี่ยนผ้าเพดานร่มเป็นผ้า LOW – POROCITY ซึ่งมีอัตราการผ่านของอากาศน้อยกว่า ทำให้อุ้มลมมากขึ้น 
เปิดช่องตรงกลางยอดร่มด้านบน เพื่อลดอาการแกว่งของร่ม เพิ่มช่องผ่าเป็น 17 ช่องผ่าเพื่อช่วยพยุงร่มให้มีความนิ่งและตอบสนองต่อการบังคับร่มทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้ง่ายและเร็วขึ้น 
จุดเด่นของร่มชนิดนี้คือ มีการแกว่งลดลงมาก อัตราการตกลดลง และตอบสนองต่อการบังคับร่มได้รวดเร็วขึ้น ทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นด้วย อัตราการตก 14-18 ฟุต/วินาที ร่มเมื่อพับแล้วมีน้ำหนัก 29 ปอนด์ รับน้ำหนักได้ 300 ปอนด์ 

สำหรับร่มที่ใช้ในกองทัพบกไทย นั้นแต่ก่อนใช้การจัดซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากกองทัพบกได้เล็งเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณสูง และไม่เป็นการพึ่งพาตนเอง จึงได้ให้ทำการผลิตร่มใช้เอง ดำเนินการโดยโรงงานผลิตร่มและสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ 
กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการกรมพลาธิการทหารบก ตั้งแต่ พ.ศ.2523 โดยผลิตร่ม T-10, MC1-1B/NS,MC1-1C/NS ถึงแม้ในบัจจุบันร่มT-10และMC1-1B/NS จะปลดประจำการแล้ว
กองทัพบกยังมีโครงการวิจัยและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือว่า กรมพลาธิการทหารบก เป็นหน่วยที่มีขีดความสามารถในการผลิตร่มหนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว เมื่อผลิตแล้วก่อนนำไปโดด ร่มทุกตัวที่ผลิตแล้ว จะต้องนำไปตรวจสอบและทดสอบการใช้งานก่อน 
จากนั้นจะดำเนินการพับร่มประกอบครบชุดจนเสร็จสมบูรณ์  ซึ่งผู้พับร่มจะต้องมีความรู้ ในเรื่องร่มชูชีพเป็นอย่างดี  และต้องผ่านหลักสูตรพับร่มซ่อมบำรุง และส่งกำลังทางอากาศ (Rigger) ซึ่งเป็นหลักสูตรของกรมพลาธิการทหารบก 
ก่อนจะส่งมอบให้ กองทหารพลาธิการ ส่งกำลังทางอากาศ ฯ เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายสนับสนุนให้กับหน่วยใช้ร่มในกองทัพบกต่อไป
ยังมีร่มที่ใช้ในยุทธวิธีในการแทรกซึมทางอากาศ HALO HAHO ไว้ครั้งหน้าแอดจะหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังนะครับ
ขอบคุณข้อมูล จาก พ.ท.อภิวัฒน์  ทุมวงษ์ หน.รง.ผลิตร่มและสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ กรมพลาธิการทหารบก

แม้ว่าผลจากการแพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 จะทำให้การฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2021 ในห้วงปร พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นี้มีการปรับเปลี่ยนกำหนดการและรูปแบบขนาดการฝึกเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งฝั่งกองทัพไทยและกองทัพสหรัฐฯ
แต่การฝึกโดดร่มทางยุทธศาสตร์ที่กองทัพบกไทยส่งกำลังพลจาก กรมทหารราบที่๓๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่๑ ซึ่งเป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว(RDF: Rapid Deployment Force) ซึ่งมีขีดความสามารถการส่งทางอากาศ
ไปรับการฝึกจากกองพลส่งทางอากาศที่82 (82nd Airborne Division) 'All American' ที่ค่าย Fort Bragg มลรัฐ North Carolina สหรัฐฯช่วงวันที่ ๑๑-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ นั้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารอันดีระหว่างไทยและสหรัฐฯ 

กองทัพบกสหรัฐฯยังได้ดำเนินการฝึกโดดร่มมทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกันกับกำลังพลจากกองทัพบกอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอีกมิตรประเทศในกลุ่ม ASEAN ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพสหรัฐฯให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความั่นคงในภูมิภาคนี้
การเตรียมตัวในไทยและการฝึกที่สหรัฐฯ ของ ร.๓๑ รอ.ยังได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาควาทันสมัยของปฏิบัติการส่งทางอากาศของกองทัพบกไทย เช่น การนำร่มชูชีพทางยุทธวิธีแบบ T-11 แบบใหม่มาใช้ในการโดดจากเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W
รวมถึงเครื่องแบบ เครื่องสนาม และอุปกรณ์ประจำกายที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยเหมาะสมต่อการใช้งานจากการเรียนรู้กับกองทัพต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงขีดความสามารถของทหารบกไทยต่อมิตรประเทศในระดับนานาชาติด้วยครับ