วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

กองทัพเรือสหรัฐฯร่วมการฝึกผสมทางเรือ AUMX 2019 ครั้งแรกกับชาติ ASEAN ที่ไทย

US Navy Arleigh Burke-class guided missile destroyer DDG-108 USS Wayne E. Meyer.(US Navy)

US Navy Independence-class littoral combat ship LCS-8 USS Montgomery, expeditionary fast transport ship T-EPF 3 USNS Millinocket and Royal Malaysian Navy Kasturi-class corvette FSG 271 KD Gagah Samudera.(US Navy)

ASEAN-US Maritime Exercise Begins in Thailand
https://www.c7f.navy.mil/Media/News/Display/Article/1949503/asean-us-maritime-exercise-begins-in-thailand

The task force headquarters will be located on board the Royal Thai Navy vessel HTMS Krabi (OPV 551)(https://www.facebook.com/koreadefence/posts/1807206082661543)
https://aagth1.blogspot.com/2018/10/international-fleet-review-jeju-2018.html

Myanmar Navy to join US-ASEAN maritime exercise


The Myanmar Navy (MN) is committing guided-missile frigate UMS Kyansitthar (pennant number F12) to ASEAN-US Maritime Exercise.
https://www.janes.com/article/90707/myanmar-navy-to-join-us-asean-maritime-exercise


The U.S. Navy and maritime forces from the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) will begin the first ASEAN-U.S. Maritime Exercise (AUMX) with opening ceremonies at Sattahip Naval Base, Thailand in 2 September 2019.

พิธีเปิดการฝึก ASEAN – U.S. Maritime Exercise 2019

พลเรือโท เจริญพล คุ้มราษี เสนาธิการ กองเรือยุทธการ และ Rdm. Kemmeth Whitesell Deputy Commander US.Pacific Fleet ร่วมเปิดการฝึก Asean-US Maritime Exercise -AUMX 2019 ระหว่างวันที่ 2- 6 กันยายน 2562

กองทัพเรือ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกผสม ASEAN – U.S. Maritime Exercise ซึ่งไม่ใช่การซ้อมรบ โดยเป็นการฝึกผสมทางเรือในลักษณะพหุภาคีครั้งแรก ระหว่าง กองทัพเรือ ในภูมิภาคอาเซียน และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 
เช่นเดียวกับการฝึก พหุภาคีตามกรอบงานด้านความมั่นคงทางทะเลกับมิตรประเทศ ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยปกติทั่วไป

สำหรับกำลังที่เข้าร่วมการฝึก คือ กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาโดยมีกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทั้งสิ้น 1250 นาย 
มีการจัดตั้ง บก.กองกำลังเฉพาะกิจผสม หรือ บก.CTF บนเรือหลวงกระบี่

มี พลเรือตรี สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม และมี CAPT MATT JERBI ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่ 7 กองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นรองผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม 
และมีกำลังพล กองทัพเรือชาติสมาชิกอาเซียน ปฏิบัติหน้าที่ใน บก.CTF ซึ่งทำหน้าที่ในส่วนปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน ส่วนติดตามสถานการณ์ทางทะเล และส่วนควบคุมการฝึก โดยมีเรือเข้าร่วมการฝึก จำนวน 8 ลำ อากาศยาน จำนวน 2 เครื่อง

ในส่วนของสถานการณ์ฝึก สมมุติเหตุการณ์ ให้ได้รับข่าวสารจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ ว่าจะมีเรือที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยในการกระทำผิดกฎหมายในทะเล 
เช่น สินค้าผิดกฎหมายลักลอบนำเข้าประเทศ ยาเสพติด แรงงานเถื่อนและการค้ามนุษย์ การกระทำเป็นโจรสลัด เป็นต้น เดินทางเข้ามาในบริเวณน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามทางทะเลร่วมกัน 
ชาติสมาชิกอาเซียนและสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งกองกำลังทางเรือเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนทางทะเลร่วมกัน ในการค้นหา ตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมาย ต่อเรือต้องสงสัยดังกล่าว

สำหรับแนวความคิดในการฝึกนั้น กองทัพเรือสหรัฐฯ จะส่งเรือต้องสงสัยสมมติเข้าร่วมการฝึกฯจำนวน 3 ลำ โดยเดินทางจากบริเวณช่องแคบมะละกา – พื้นที่การฝึก และจากบริเวณ ชายฝั่งประเทศเวียดนาม – พื้นที่การฝึก 
และทำการป้อนโจทย์ตามสถานการณ์การฝึกผ่านระบบสารสนเทศ (IFC’s Real Time Information – Sharing System : IRIS) และระบบ CENTRIX 
โดย บก.CTF จะติดตามภาพสถานการณ์ทางทะเล รวมทั้งประสานข้อมูลกับส่วนติดตามสถานการณ์การฝึก ณ ศูนย์ Changi C2 Center สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผ่านระบบดังกล่าว เพื่อตราทางเป้าและสั่งการให้กองกำลังเฉพาะกิจผสม ดำเนินการตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัยต่อไป
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2877248465635985

การฝึกผสมทางเรือ ASEAN-U.S. Maritime Exercise (AUMX) 2019 ที่นำโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เป็นเจ้าภาพร่วมกัน เป็นการฝึกผสมทางเรือระดับพหุภาคีครั้งแรกของสหรัฐฯกับกลุ่มชาติ ASEAN
โดยพื้นที่การฝึกในภาคทะเลจะครอบคลุมในพื้นที่น่านน้ำสากลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อ่าวไทย(Gulf of Thailand) จนถึงทะเลจีนใต้(South China Sea) ใกล้จังหวัด Ca Mau ทางใต้สุดของเวียดนาม ติดต่อกับน่าน้ำของสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย

"กองกำลังของเราได้เดินเรือในระหว่างการฝึกร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปีและได้ทำมาแล้วหลายสิบปี การฝึกผสม AUMX การเป็นพบปะระดับพหุภาคีใหม่เพื่อการทำงานร่วมกันในการแบ่งปันลำดับความสำคัญความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค"
พลเรือโท Phil Sawyer ผู้บัญชากองเรือที่7 กองทัพเรือสหรัฐฯ(US 7th Fleet) กล่าว สำหรับการฝึกผสทการเรือ AUMX 2019 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)

"กองทัพเรือสหรัฐฯร่วมกับหุ้นส่วนและพันธมิตรของเรารู้คุณค่าของการทำงานร่วมกันมานาน การฝึก AUMX สร้างความมั่นคงทางทะเลที่ยิ่งใหญ่กว่าบนความแข็งแกร่งของ ASEAN
ความแข็งแกร่งของพันธมิตรระหว่างกองทัพเรือของเรา และความแข็งแกร่งของความเชื่อร่วมกันของเราในอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง" พลเรือตรี Joey Tynch ผู้บัญชาการหมู่เรือเฉพาะกิจ Task Force 73 กล่าว

"AUMX มอบโอกาสต่อการทำงานร่วมกันในทะเลระหว่างสถานการณ์การฝึกที่สมจริง การฝึกในพื้นที่เช่นการหยั่งรู้ขอบเขตทางทะเล ที่ซึ่งเราแบ่งปันข้อมูลและบูรณาการปฏิบัติการ ช่วยในการปฏิบัติการแต่ละฝ่ายของเราเพื่อปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีประสิทธฺภาพมากขึ้น"
นาวาเอก Matt Jerbi ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่7(DESRON 7: Destroyer Squadron 7) และรองผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจ AUMX Task Force กล่าว

กำลังฝ่ายสหรัฐฯประกอบด้วยเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Arleigh Burke คือ DDG-108 USS Wayne E. Meyer เรือ LCS(Littoral Combat Ship) ชั้น Independence คือ LCS-8 USS Montgomery, เฮลิคอปเตอร์ MH-60 และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon
กำลังฝ่ายไทยมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่คือ ร.ล.กระบี่ เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจผสม Combine Task Force รวมถึงอากาศยานจากกองการบินทหารเรือ เช่น เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๑ F-27 MK200

ฝ่ายกองทัพเรือชาติ ASEAN กองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy) ส่งเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี F12 UMS Kyansitthar แม้ว่าทางสหรัฐฯกำลังคว่ำบาตรพม่าโดยมุ่งเป้าไปที่ผู้นำกองทัพพม่าในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม
กองทัพเรือฟิลิปปินส์(Philippine Navy) ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Del Pilar คือ PS-16 Ramon Alcaraz, กองทัพเรือบรูไน(Royal Brunei Navy) ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Darussalam คือ KDB Darulaman(08),

กองทัพเรือสิงคโปร์(Republic of Singapore Navy) ส่งเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Formidable คือ RSS Tenacious(71) และกองทัพเรือเวียดนาม(Vietnam People's Navy) ส่งเรือคอร์เวตชั้น Pohang ที่สาธารณรัฐเกาหลีมอบให้คือ HQ-18
รวมถึงกองทัพเรือมาเลเซีย(Royal Malaysian Navy), กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy) และกองทัพเรือกัมพูชา(Royal Cambodian Navy) โดยกองทัพเรือประชาชนลาว(Lao People's Navy) ส่งกำลังพลร่วมสังเกตการณ์ฝึก

ทั้งนี้สหรัฐฯมีการฝึกผสมกับกลุ่มชาติ ASEAN บางประเทศมาก่อนหน้า เช่น การฝึก Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) หรือ CARAT(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/carat-2019.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/06/carat-2019_10.html)
และการฝึก Southeast Asia Cooperation and Training หรือ SEACAT ที่การฝึก SEACAT 2019 ล่าสุดซึ่งเป็นครั้งที่18 เมื่อสิงหาคม 2019 ที่สิงคโปร์ กองทัพเรือไทยก็ได้ส่งกำลังเข้าร่วมการฝึกเป็นต้นครับ