วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

เยอรมนีลงนามจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon สหรัฐฯ

Germany signs for Poseidon MMA
An artist's impression of the Boeing P-8A Poseidon MMA in German Navy service. (Boeing)



German Navy to find a long-term replacement for its eight Lockheed P-3C Orion MPA. (Deutsche Marine)





เยอรมนีได้ลงนามสัญญาสำหรับจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลพหุภารกิจ Boeing P-8A Poseidon MMA(Maritime Multimission Aircraft) จำนวน 5เครื่อง
โดยการประกาศสัญญาการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $756.6 million ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา

เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon ในสายการผลิต Lot 12 จะถูกส่งมอบให้เยอรมนีภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2025 สัญญามีขึ้นตามการอนุมัติสำหรับการขายของรัฐบาลสหรัฐฯก่อนหน้านี้ 
ซึ่งเช่นเดียวกับเครื่องบินที่ติดตั้งด้วยระบบตรวจจับและระบบต่างๆมาตรฐาน ครอบคลุมการฝึกและการสนับสนุนการดำรงสภาพ ถ้าตัวเลือกทั้งหมดได้รับการปฏิบัติ วงเงินทั้งหมดของการจัดหาจะเป็น $1.8 billion

เยอรมนีกำลังจัดหา P-8A Poseidon ในฐานะมาตรการหยุดช่องว่างจนกว่าที่กองทัพเรือเยอรมนี(German Navy, Deutsche Marine) จะสามารถหาการทดแทนระยะยาวที่เหมาสม
สำหรับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed P-3C Orion MPA(Maritime Patrol Aircraft) จำนวน 8เครื่องของตน หลังโครงการปรับปรุงความทันสมัยของระบบถูกระงับเนื่องจากค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากทางเทคนิค

ในการได้รับสัญญาจัดหา บริษัท Boeing สหรัฐฯได้ต่อสู้ในการแข่งขันที่มาจากบริษัท Airbus ยุโรปกับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล C295 Persuader ของตน
และบริษัท Rheinland Air Service(RAS) เยอรมนีกับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล RAS-72 Sea Eagle ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/airbus-c295.html)

กองการบินกองทัพเรือเยอรมนี(Marineflieger) ขณะนี้จะเข้าร่วมในกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8 ร่วมกับกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/p-8a-poseidon-2.html),
กองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/tu-142m.html), กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/boeing-p-8a-poseidon.html),

กองทัพอากาศนิวซีแลนด์(RNZAF: Royal New Zealand Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/p-8a-4.html), กองทัพอากาศนอร์เวย์(RNoAF: Royal Norwegian Air Force, Luftforsvaret)(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/p-8a-poseidon.html),
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/p-8a-poseidon.html) และกองเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/p-8a-poseidon.html) ครับ

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

Boeing ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet Block III ในสายการผลิตชุดแรกแก่กองทัพเรือสหรัฐฯ

Boeing delivers first-production Super Hornet Block IIIs to US Navy



Boeing delivered its first F/A-18 Block III Super Hornet to the US Navy on 31 August. The Block III Super Hornet extends the aircraft's airframe life from 6,000 hours to 10,000 hours. (Boeing)



บริษัท Boeing สหรัฐฯได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III Super Hornet สองเครื่องแรกจากสัญญาจัดหาทั้งหมด 78เครื่องแก่กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
ซึ่งการส่งมอบเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Block III เครื่องแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/boeing-fa-18ef-super-hornet-block-3.html)

Jen Tebo รองประธานและผู้จัดการโครงการ F/A-18 และ EA-18G บริษัท Boeing กล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2021 ว่า เครื่องบินขับไล่ F/A-18 Block III Super Hornet ที่พร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราเหล่านี้
จะแยกย้ายไปยังฝูงบินทดสอบที่ต่างกัน ก่อนจะมาถึงฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐฯภายในสิ้นปี 2021 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/fa-18ef-super-hornet-block-2-block-3.html)

กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2021 ว่า เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III สร้างใหม่เหล่านี้
จะบินเดินทางไปยังฝูงบินทดสอบและประเมินค่า VX-23(Test and Evaluation Squadron) ณ สถานีอากาศนาวี (NAS: Naval Air Station) Patuxent River มลรัฐ Maryland สำหรับการทดสอบทางการพัฒนาต่อเนื่อง

เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III อีกจำนวนหนึ่งที่จะออกจากสายการผลิตจะมุ่งหน้าไปยังฝูงบินทดสอบและประเมินค่า VX-9
ณ สถานีใช้อาวุธอากาศนาวี (NAWS: Naval Air Weapons Station) China Lake มลรัฐ California เพื่อเริ่มต้นการฝึกสำหรับการทดสอบการปฏิบัติการ(OT: Operational Testing)

Boeing ได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III Super Hornet เครื่องทดสอบ 2เครื่องแก่กองทัพเรือสหรัฐฯในปี 2020 สำหรับการทดสอบรับบและความเหมาะสมบนเรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับระบบห้องนักบินขั้นก้าวหน้าของเครื่องบิน
โดยระบบห้องนักบินขั้นก้าวหน้า(ACS: Advanced Cockpit System) สร้างขึ้นโดยใช้จอแสดงผลขนาดใหญ่ (LAD: Large-Area Display) ขนาด 11x19 inch ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอล

ที่ฝูงบิน VX-23 ได้ทำการทดสอบการเขย่า, สั่น และโยก ซึ่งจำลองสภาพแวดล้อมบนเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III Super Hornet และระบบใหม่ที่ติดตังแต่ละระบบ
สามารถทนทานต่อแรงกระทำที่รุนแรงทั้งการส่งขึ้นบินด้วยรางดีดส่งอากาศยาน catapult และการรับกลับมาลงจอดบนเรือด้วยตะขอเกี่ยวลวดได้ ซึ่ง Block III Super Hornet ยังยืดอายุการใช้งานโครงสร้างอากาศยานจาก 6,000ชั่วโมงบิน เป็น 10,000ชั่วโมงบินด้วยครับ

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

นาวิกโยธินไทยเปิดตัวรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16
























Two of three Norinco VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) was unveiled during Farewell ceremony for Commander-in-Chief of RTN Admiral Chatchai Srivorakan retirement in 27 September 2021.


เมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย.๖๔ พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีอำลาชีวิตการรับราชการของผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปี ๒๕๖๔ ณ สนามหน้ากองบัญชาการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจพลสวนสนามยานยนต์และเยี่ยมอำลาหน่วยกองทัพเรือพื้นที่สัตหีบ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

วันนี้ (27 กันยายน 2564) เวลา 10.40 น. พลเรือเอก ชาติชาย  ศรีวรขาน  ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปเยี่ยมอำลาหน่วยกองทัพเรือ ในพื้นที่สัตหีบ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ  ณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 
ในพิธีสวนสนามยานยนต์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ โดยมี พลเรือโท รณรงค์  สิทธินันทน์  ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้การต้อนรับ

เมื่อผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินกล่าวรายงานตนแล้วได้เรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจแถวกองทหารเกียรติยศแล้ว
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้เรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือไปยังปะรำพิธีฯ  โอกาสนี้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้จัดการสวนสนามยานยนต์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ผู้บัญชาการทหารเรือ
จากนั้น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้กล่าวเทิดเกียรติและมอบของที่ระลึกแด่ผู้บัญชาการทหารเรือ ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือได้กล่าวอำลาชีวิตราชการ ความว่า

"หน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่สัตหีบ เป็นหน่วยกำลังรบที่ปฏิบัติภารกิจสำคัญ ในการปกป้องเอกราชอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชน
ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผมดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เห็นการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และนโยบายของกองทัพเรือ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงและพี่น้องประชาชนตลอดมา 
ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกำลังพลทุกนาย อันเนื่องมาจากพลังสามัคคี พลังราชนาวี จากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ 
ผมขอแสดงความชื่นชม และขอบคุณกำลังพลทุกนาย ทั้งที่อยู่ และไม่ได้อยู่ ณ ที่นี้ ขอให้ท่านร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้กองทัพเรือของเรา เป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา และภาคภูมิใจตลอดไป"

การจัดพิธีตรวจพลสวนสนามยานยนต์ในวันนี้ จัดกำลังสวนสนามประกอบด้วย กำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์จากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เข้าร่วมในการสวนสนาม
ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ชาติชาย  ศรีวรขาน  ได้มุ่งเน้นการพัฒนากองทัพเรือให้ขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์  วิสัยทัศน์ และพันธกิจ 
ด้วยนโยบายที่  มุ่งหวังให้กองทัพเรือ สามารถสร้างหลักประกันด้านความมั่นคงทางทะเลให้กับประเทศ ธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีในสังคมโลก เป็นที่ยอมรับ เชื่อถือ น่าชื่นชม และได้รับการยกย่องจากสาธารณชน 
โดยมอบนโยบายให้กำลังพลทุกนายยึดมั่นว่า กองทัพเรือ ต้องปฏิบัติหน้าที่ปกป้อง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถและมีแนวทางที่มอบให้แก่กำลังพลในกองทัพเรือที่ว่า
“The Power of Unity The Power of the Navy”   “พลังสามัคคี  พลังราชนาวี”

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

พิธีสวนสนามยานยนต์ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย.(RTMC: Royal Thai Marine Corps) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Naval Air and Coastal Defence Command) 
ในโอกาสเกษียณอายุราชการ พลเรือเอก ชาติชาย  ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ณ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ได้ปรากฎภาพที่เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก หรือยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) แบบ Norinco VN16 จีนของนาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ในรูปแบบสีลายพรางของนาวิกโยธินไทย จำนวน ๒คันจากทั้งหมด ๓คันที่มีภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของไทยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ ว่าถูกขนส่งมาทางเรือถึงไทยแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/vn16.html)
ได้ร่วมขบวนสวนสนามยานยนต์ในพิธีร่วมกับยุทโธปกรณ์อื่นๆของนาวิกโยธินไทย เช่น รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย Chaiseri ไทย, รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8, รถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 4x4 และรถยนต์บรรทุก HMMWV และ รยบ.๕๑ เป็นต้น
โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมาพิธีสวนสนามยานยนต์ของกองทัพเรือไทยมักจะมีการเปิดตัวยุทโธปกรณ์ใหม่ล่าสุดที่เข้าประจำการในนาวิกโยธินไทยเช่น ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG 155mm/52cal ที่สร้างในไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/atmg.html)

ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จะเป็นกำลังหลักใหม่ของ กองร้อยรถถัง กองพันยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน(Marine Tank Company, Marine Armored Amphibian Vehicle Battalion, Marine Division, RTMC) ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
โดยการยุบรวม กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก(Marine Assault Amphibian Battalion) พัน.รนบ.พล.นย กับ กองพันรถถัง(Marine Tank Battalion) พัน.ถ.พล.นย. ตามแผนปรับโครงสร้างกำลังหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินใหม่
VN16 เป็นรุ่นส่งออกของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ZTD-05 ที่ประจำการในนาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAMC: People's Liberation Army Navy Marine Corps) นาวิกโยธินไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองต่อจากนาวิกโยธินเวเนซุเอลา(Venezuelan Bolivarian Marine Corps)

Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทยได้ประกาศโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ ๑ จำนวน ๓คัน เป็นเงิน ๓๙๘,๑๔๓,๔๐๐บาท($12,579,570.05) จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๓
การที่ Norinco จีนส่งมอบยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จำนวน ๓คันแก่นาวิกโยธินไทยภายในเวลาเพียง ๘เดือนตั้งแต่ประกาศเลือกแบบจัดหา จึงนับว่าเร็วมาก(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn16.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_23.html)
เป็นที่เข้าใจว่า นาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย ต้องการจะจัดหา VN16 ระยะที่๒ เพิ่มอีก ๓คันให้ครบ ๖คันในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่จะเริ่มในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ นี้ ถ้ายังไม่ถูกตัดโครงการออกจากผลกระทบ Covid-19 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

อังกฤษทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือฟริเกตชั้น Type 31 ลำแรก HMS Venturer

First steel cut on Type 31 frigate programme



First steel for the future HMS Venturer was cut at Babcock's Rosyth yard on 23 September. (Babcock)




The Type 31 is based on the Arrowhead 140 design. (Babcock)

บริษัท Babcock สหราชอาณาจักรได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Type 31 Inspiration ลำแรกจากทั้งหมด 5ลำตามคำสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy)
พิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือฟริเกตชั้น Type 31 ลำแรกเรือฟริเกต HMS Venturer มีขึ้นที่อู่เรือ Rosyth ของบริษัทเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2021 พิธียังเห็นสถานที่โรงประกอบเรือใหม่ที่ได้รับการตั้งว่าอาคาร 'The Venturer Building' ด้วย

บริษัท Babcock ได้รับเลือกสำหรับโครงการเรือฟริเกตในเดือนกันยายน 2019 โดยสัญญาวงเงิน 1.25 billion British Pound($1.71 billion) สำหรับเรือ 5ลำได้รับการลงนามในเดือนพฤศจิกายน 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/babcock-type-31.html)
เรือฟริเกตชั้น Type 31 มีพื้นฐานจากแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 ซึ่งพัฒนามาจากเรือฟริเกตชั้น Iver Huitfeldt ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท OMT เดนมาร์กสำหรับกองทัพเรือเดนมาร์ก(RDN: Royal Danish Navy, Søværnet) ก่อนหน้า

สัญลักษณ์การตัดเหล็กแผ่นแรกสำหรับเรือฟริเกต HMS Venturer ได้ถูกดำเนินการ ณ สถานที่สร้างเรือขั้นก้าวหน้าใหม่ของ Babcock ส่วนสำคัญของการแปลงสภาพทาง Digital ของบริษัทที่ Rosyth
นี่รวมถึงสายแผงควบคุมพร้อมขีดความสามารถหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ เช่นเดียวกับเครื่องจักรการผลิตแบบกึ่งอัตโนมัติอื่นๆ เรือฟริเกต HMS Venturer มีกำหนดจะถูกปล่อยลงน้ำในปี 2023 และมีกำหนดจะเข้าประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักรในปี 2027

เรือฟริเกต HMS Venturer ถูกตั้งชื่อตามเรือดำน้ำชั้น V สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเรือดำน้ำ P68 HMS Venturer ซึ่งสามารถจมเรือดำน้ำเยอรมนี U-Boat ได้สองลำขณะเรือกำลังดำอยู่ใต้น้ำทั้งคู่
เรือฟริเกตชั้น Type 31 อีกเหลือสี่ลำที่ได้รับการตั้งชื่อว่า เรือฟริเกต HMS Active, เรือฟริเกต HMS Bulldog, เรือฟริเกต HMS Campbeltown และเรือฟริเกต HMS Formidable จะถูกส่งมอบภายในสิ้นปี 2028 และเรือลำสุดท้ายมีกำหนดจะเข้าประจำการในปี 2030

แบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 ของ Babcock สหราชอาณาจักรที่เป็นพื้นฐานของเรือฟริเกตชั้น Type 31 เป็นหนึ่งสามผู้เข้าแข่งขันที่มีรายชื่อในโครงการเรือฟริเกต Miecznik(Swordfish) ของกองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy, Marynarka Wojenna)
ในการทดแทนเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry จำนวน 2ลำของกองทัพเรือโปแลนด์ เรือฟริเกต 3ลำจะถูกสร้างในโปแลนด์ผ่านข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/miecznik.html)

ล่าสุดในงานแสดงอาวุธยุทธโธปกรณ์ DSEI 2021(Defence and Security Equipment International) ใน London สหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน 2021 Babcock ได้รับสัญญาส่งออกแรกสำหรับแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 ของตน
ผ่านข้อตกลงสิทธิบัตรกับ  PT PAL รัฐวิสาหกิจอินโดนีเซีย ที่จะสร้างเรือฟริเกต 2ลำในอินโดนีเซียสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/babcock-arrowhead-140.html)

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

อินเดียลงนามจัดหาเครื่องบินลำเลียง C295 ยุโรปที่จะรับมอบเครื่องแรกในปี 2025

India signs for C295s, to receive first airlifters 2025


An artist's impression of a C295 in Indian Air Force markings. Deliveries are to begin from 2025. (Airbus)



อินเดียได้ลงนามสัญญาจัดหาสำหรับเครื่องบินลำเลียง Airbus Defence and Space(DS) C295 จำนวน 56เครื่อง โดยเครื่องแรกจะได้รับมอบในปี 2025(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/c295-56.html)
โดยการจัดซื้อล่าสุดได้รับการอนุมัติโดยกรรมาธิการความมั่นคงคณะรัฐมนตรีอินเดีย(CCS: Cabinet Committee on Security) บริษัท Airbus DS ยุโรปผู้ผลิตประกาศเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2021 ที่ข้อตกลงได้บรรลุผลเป็นรูปธรรมแล้วขณะนี้

เครื่องบินลำเลียง C295 จำนวน 16เครื่องแรกจะถูกสร้างโดยโรงงานอากาศยานของ Airbus ในสเปน โดยที่เหลืออีก 40เครื่องจะถูกประกอบในอินเดียโดยกิจการค้าร่วม(consortium)บริษัท Tata อินเดีย
ในฐานะส่วนหนึ่งของกิจการร่วมค้า(JV: Joint Venture) กับ Airbus ภายในสิ้นปี 2031(https://aagth1.blogspot.com/2014/10/airbus-tata-c295.html)

"อินเดียได้บรรลุผลการจัดหาเครื่องบินลำเลียง Airbus C295 จำนวน 56เครื่องเพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินลำเลียง Avro ของกองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) มันเป็นโครงการด้านการบิน 'Make in India' แรกในภาคส่วนเอกชน 
ที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเต็มรูปแบบของสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ จากการผลิตสู่การประกอบ, การทดสอบและการรับรองคุณภาพ, ที่จะส่งมอบและซ่อมบำรุงของวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ของอากาศยาน" Airbus DS กล่าว

กองทัพอากาศอินเดียมีความต้องการที่จะทดแทนเครื่องบินลำเลียง Avro 748M ที่ผลิตภายใต้สิทธิบัตรโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL) อินเดียในยุคปี 1960s เป็นเวลาย้อนกลับไปได้กว่า 10ปี
อินเดียได้เชิญการแข่งขันจาก Airbus ยุโรป, Antonov ยูเครน, Boeing สหรัฐฯ, Embraer บราซิล, Ilyushin รัสเซีย, Leonardo อิตาลี, Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Saab สวีเดน แม้ว่าท้ายที่สุดมีเพียง Airbus รายเดียวที่ยื่นข้อเสนอ

เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ C295MW(Modernised, Winglets) ที่อินเดียจะได้รับมอบเป็นรุ่นล่าสุดในตระกูลเครื่องบินลำเลียง C295 ที่ได้รับการจัดหาแล้วจากผู้ใช้รายอื่น 34ราย
โดยมีเครื่องบิน C295 จำนวน 278เครื่องที่ถูกขาย(200เครื่องที่ถูกส่งมอบแล้ว) และมีชั่วโมงบินสะสมรวม 500,000ชั่วโมงบิน(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/airbus-c295.html)

เปรียบเทียบกับเครื่องบินลำเลียง C295 รุ่นพื้นฐาน เครื่องบินลำเลียง C295MW ได้ปรับปรุงสมรรถนะการปฏิบัติการจากทางวิ่งที่อากาศร้อนและอยู่บนที่สูง ด้วยการเพิ่มพิสัยทำการ, ระยะเวลาปฏิบัติการ และน้ำหนักบรรทุก และลดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการ
เมื่อการส่งมอบเสร็จสิ้น กองทัพอากาศอินเดียจะเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่ที่สุดสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องบินลำเลียง C295 ทั่วโลก รองจากปัจจุบันคือกองทัพอากาศอียิปต์ที่มีประจำการ 24เครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินโจมตี Alpha Jet ที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถ








The merit making ceremony for establishment day of 231st Squadron in 23 September 2021.
The Modernized Dornier Alpha Jet A of 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force was First Flight in 31 August 2021.






Last Solo Class 32, Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force









RTAF โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินรบ Alpha Jet ด้วยฝีมือคนไทย
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินรบ Alpha Jet
วีดิทัศน์การบิน First Flight ของเครื่องบิน A - Jet ต้นแบบโดยคนไทยเพื่อคนไทย เมื่อ 31 สิงหาคม 2564 

พิธีทำบุญเนื่องในโอกาส ระลึกวันสถาปนาฝูงบิน ๒๓๑ และครบรอบปีที่ ๒๑ การประจำการ บ.จ.๗ (ALPHA JET)
นาวาอากาศเอก สุระศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เป็นประธานพิธีทำบุญเนื่องในโอกาส ระลึกวันสถาปนาฝูงบิน ๒๓๑ และครบรอบปีที่ ๒๑ การประจำการ บ.จ.๗ (ALPHA JET) 
ในการนี้ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กองบิน ๒๓ และข้าราชการ ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เข้าร่วมพิธี ณ โรงเก็บฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔

สื่อมวลชนจังหวัดอุดรธานี เข้าสัมภาษณ์ภารกิจ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓
นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์ ถนัดช่าง บรรณาธิการบริหาร/สื่อมวลชนอาวุโส และทีมงาน รายการเจาะสถานการณ์ จังหวัดอุดรธานี 
ได้บันทึกเทปสัมภาษณ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในปีที่ผ่านมา ของผู้บังคับการกองบิน ๒๓ 
หัวข้อการสัมภาษณ์ ประวัติและผลงานในการทำงาน,การบริหารองค์กร สวัสดิการต่างๆ ของข้าราชการ ทหารกองประจำการ กองบิน ๒๓,ศูนย์เรียนรู้ของเศรษฐกิจพอเพียง,
โครงการ โคก หนอง นา โมเดล,การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการฉีดวัคซีนและภารกิจด้านการบินของเครื่องบิน Alpha Jet ณ โรงเก็บฝูงฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔

กองบิน ๒๓ จัดพิธีปล่อยบินเดี่ยวนักบินเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Last Solo Class 32)
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔ นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก กษิดิ์เดช แม้นสงวน รองผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เป็นประธานในพิธีปล่อยบินเดี่ยวนักบินเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗  (Class 32) 
เพื่อเป็นการแสดงความยินดีแก่นักบินปล่อยเดี่ยว และเป็นขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเอง สำหรับการฝึกขั้นต่อไป โดยมีหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง ข้าราชการ และ จนท.ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เข้าร่วมพิธีฯ ณ โรงเก็บฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี
การฝึก แบ่งเป็นการฝึกภาคอบรมวิชาการ ๗๗ ชั่วโมง และการฝึกบินภาคอากาศ รวม ๑๐ เที่ยวบิน ๑๒ ชั่วโมงบิน 
โดยมีนักบินที่จบการฝึกอบรมตามขั้นตอนการฝึกเปลี่ยนแบบ นักบินปล่อยเดี่ยว กับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ จำนวน ๒ นาย คือ เรืออากาศโท ธเนศ จินตนามณีรัตน์ และ เรืออากาศโท จิรพนธ์ โพธิจักร
- ผู้รับผิดชอบ : น.ท.จีรพงศ์ ทองโคตร หน.ผกร.บก.บน.๒๓
- ภาพข่าว : พ.อ.อ.ประเยาว์ คุณาคม จนท.กรป.ผกร.บก.บน.๒๓
- จัดทำข่าว : พ.อ.ต.กมล โสภา จนท.กภ.ผกร.บก.บน.๒๓
- โทร.๔๕๒๔๔

ช่อง Youtube ของ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศท่านที่๒๔ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑(2016-2018) ได้เผยแพร่วิดีทัศน์ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A
เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี เครื่องแรกจาก ๑๔เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ได้ทำการบินครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
โดยโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑ งาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงิน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,998,781) ได้รับการประกาศโดย กรมช่างอากาศ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)

แม้ว่าวิดีทัศน์จะมีรายละเอียดต่ำแต่ก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของ บ.จ.๗ Alpha Jet ที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย ตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development
ห้องนักบินได้ถูกเปลี่ยนเป็นแบบ Glass Cockpit ด้วยจอแสดงผลสีสามจอ และจอภาพตรงหน้า(HUD: Head-Up Display) และแผงควบคุมพร้อมระบบ Avionics ต่างๆใหม่จากบริษัท CMC Electronics แคนาดา(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/alpha-jet.html)
รวมคันบังคับ HOTAS(Hands on Throttle-and-Stick) ลักษณะเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 ซึ่งยังถูกใช้ในเครื่องบินโจมตี A-6TH(AT-6E Wolverine) ที่กำลังจัดหาตามนโยบาย Commom Fleet ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)

แผงควบคุมตรงหน้า(UFCP: Up-Front Control Panel) ยังแสดงข้อมูลถึงระบบเครือข่าย Datalink Link-TH ที่ได้รับการพัฒนาในไทย ซึ่งมีขีดความสามารถเชื่อมโยงกับอากาศยานแบบอื่นๆเช่น เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D และเครื่องบินขับไล่ F-5TH Super Tigris และระบบอื่นๆในเครือข่าย
การปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน ระบบ Avionics และระบบอาวุธในชื่อเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH จำนวน ๑๔เครื่อง วงเงิน ๓,๓๘๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($108,519,334) นี้จึงนับว่ามีความคุ้มค่าเหมาะสมมาก ทั้งยังสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและความมั่นคงของไทยอีกด้วย
ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ กองบิน๒๓ ได้มีการเผยแพร่กิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆของตน ซึ่งมีภาพการจัดแสดง บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ เครื่องแรกที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยในสีรองพื้น(Color Primer) สีเหลือง เป็นที่เข้าใจว่าเครื่องจะได้รับการทำสีพรางใหม่ต่อไปครับ