Airbus touts C295 maritime aircraft to Royal Thai Navy
Airbus is promoting its C295 maritime surveillance aircraft (seen here in Brazilian Air Force colours) to countries in the Asia-Pacific. (Airbus)
http://www.janes.com/article/72035/airbus-touts-c295-maritime-aircraft-to-royal-thai-navy
บริษัท Airbus ได้ประชาสัมพันธ์การนำเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบ C295 MSA(Maritime Surveillance Aircraft) แก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของการเดินสายประชาสัมพันธ์ระบบอากาศยานที่มีขีดความสามารถด้านข่าวกรอง, ลาดตระเวน และตรวจการณ์(ISR: Intelligence, Reconnaissance, and Surveillance)ของบริษัท ต่อลูกค้าผู้ใช้งานที่เป็นไปได้ในกองทัพประเทศเอเชีย
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล C295 MSA กองทัพอากาศบราซิลได้เดินทางมาถึงฐานทัพอากาศอู่ตะเภาของกองทัพเรือไทยที่ชลบุรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ก่อนจะเดินทางไปประชาสัมพันธ์ที่เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป
ซึ่งทุกประเทศที่กล่าวมาได้เริ่มตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ของตน พร้อมกันนั้น Airbus จะประชาสัมพันธ์ C295 MSA ให้กลุ่มผู้ใช้งานในประเทศกลุ่มอเมริกาเหนือด้วย
"ระหว่างการเดินสาย C295 จะสาธิตขีดความสามารถ ISR ที่ก้าวหน้าของตน เช่นเดียวกับความคล่องตัวและเหมาะสมของระบบสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย" Airbus กล่าว
ทาง Airbus ยังประชาสัมพันธ์เครื่องให้ตรงกับความต้องการในภูมิภาคทั้งการขยายความสามารถการตรวจการณ์, ค้นหาและกู้ภัย, การขนส่ง, การส่งกลับทางสายแพทย์ และภารกิจด้านมนุษยธรรม
Airbus กล่าวว่า C295 MSA รุ่นเดียวกับที่ส่งมอบให้กองทัพอากาศบราซิลที่ได้นำมาแสดงที่ไทยนี้จะตรงความต้องการในภารกิจค้นหาและกู้ภัย และการตรวจการณ์ทางทะเล
โดย Airbus มองเห็นโอกาสในการขาย C295 MSA ให้กับกองทัพเรือไทยในการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบใหม่ เพื่อทดแทนเครื่องที่ปลดประจำการไปแล้ว และคาดว่าใกล้จะปลดประจำการในอนาคตอันใกล้
ปัจจุบันกองการบินทหารเรือได้ปลดประจำการเครื่องตรวจการณ์ทางทะเล บ.ตผ.๒ P-3T Orion ๒เครื่อง และ UP-3T Orion ๑เครื่องที่เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖(1992) โดยปลดประจำการไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) แล้ว
โดยยังมีเครื่องตรวจการณ์ทางทะเล บ.ตผ.๑ Fokker F-27 Mk200 ๔เครื่อง ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Dornier Do-228-212 ๗เครื่อง ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งต่างมีอายุการใช้งานมานาน
นอกจากนี้ Airbus ยังมองหาแนวทางการขายเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C295 รุ่นลำเลียงทางทหารให้กับกองทัพไทย(Royal Thai Armed Force) เพิ่มเติม
ตามที่กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W ๑เครื่องที่ส่งมอบไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ โดยเข้าใจว่ากองทัพบกไทยน่าจะมีความต้องการ C295 เพิ่มเติมอีก ๓เครื่องครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2016/06/c-295w.html, http://aagth1.blogspot.com/2016/08/c-295w.html)
Thailand and South Korea collaborate on defence management
South Korea’s Defense Acquisition Programme Administration (DAPA) and Thailand’s Ministry of Defence (MoD) are looking to expand collaboration across a range of defence management functions.
http://www.janes.com/article/72006/thailand-and-south-korea-collaborate-on-defence-management
S&T Motiv Firearms manufacturer of Republic of Korea at Defense & Security 2015(My Own Photo)
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี และกระทรวงกลาโหมไทยกำลังมองหาแนวทางการขยายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทางกลาโหมร่วมกันในหลายๆด้าน
การพบกันระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีขึ้นที่สำนักงานใหญ่ DAPA ใน Seoul เมื่อปลายเดือนมิถุนายน และถูกร้องขอโดยกระทรวงกลาโหมไทย ตามที่ DAPA เกาหลีใต้กล่าวในการแถลง
โดยมีหน่วยงานจากกระทรวงกลาโหมไทยที่เดินทางเยือนเกาหลีใต้ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. (DTI: Defence Technology Institute) และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม วท.กห.(DSTD: Defence Science and Technology Department)
ตัวแทนจากฝ่ายไทยที่นำโดย พลตรี สมบัติ ประสานเกษม รองเจ้ากรม วท.กห. และนักวิจัยจาก สทป. DTI ได้เยี่ยมชมหน่วยงานและภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของเกาหลีใต้หลายแห่งเช่น
บริษัท S&T Motiv ผู้ผลิตอาวุธปืนให้กองทัพสาธาณรัฐเกาหลีเช่นปืนเล็กยาว K2 ขนาด 5.56x45mm และปืนกลเอนกประสงค์ K12 ขนาด 7.62x51mm กับบริษัท Poongsan ผู้ผลิตกระสุนและลูกระเบิดให้กองทัพสาธาณรัฐเกาหลี
และสำนักงานกลาโหมเพื่อเทคโนโลยีและคุณภาพ(DTaQ: Defense Agency for Technology and Quality) ที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะนำเข้าประจำการในกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี
ปัจจุบันกองทัพไทยได้มีการจัดหาระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จากเกาหลีใต้หลายหลายการ เช่น เรือฟริเกตชั้น ร.ล.ท่าจีน(DW3000H) โดยบริษัทอู่เรือ Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สำหรับกองทัพเรือไทย ที่ลำแรกปล่อยลงน้ำแล้วและมีแผนจะต่ออีก ๑ลำในไทย
และเครื่องบินขับไล่ฝึกขั้นก้าวหน้า T-50TH โดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สำหรับกองทัพอากาศไทยซึ่งมีการส่งนักบินและช่างอากาศยานไปทำการฝึกที่เกาหลีใต้แล้ว และเครื่องแรก ๔เครื่องจะส่งมอบได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
เกาหลีใต้ได้มุ่งเป้าที่จะเสนอความร่วมมือในการถ่ายทอดวิทยาการทางทหารและการศึกษาให้ไทยหลายรายการ และมองหาการขยายความร่วมมือด้านอุตสากรรมความมั่นคงเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับไทยให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นครับ