วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศไทยมีความคืบหน้าการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา AT-6E Wolverine สหรัฐฯ




As Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force Air Chief Marshal Airbull Suttiwan was signed 'Integrity Pact' for Light Attack Aircrafts acquisition programme in 17 December 2020, RTAF have advanced to procure 8 of A-6TH Thailand's variant of AT-6E Wolverine. 

ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลงนามในข้อตกลงคุณธรรม โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบากองทัพอากาศ
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓) กองทัพอากาศ ได้จัดให้มี “พิธีลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา” ณ ห้องรับรองพิเศษ ๑ กองบัญชาการกองทัพอากาศ 
โดยมีผู้ร่วมลงนาม ๓ ฝ่าย ประกอบด้วย พลอากาศเอก แอร์บูล  สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ พลอากาศเอก วีรวิท  คงศักดิ์ 
รองศาสตราจารย์ ดร.คณิต  วัฒนวิเชียร และ อาจารย์วิชา  เมฆตระการ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) และคุณธนบดี  พันธุมโกมล ในฐานะผู้ประกอบการ

สำหรับสาระสำคัญในหนังสือลงนาม เป็นเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ โดยคณะผู้สังเกตการณ์ฯ จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของโครงการ เช่น
แผนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ ขอบเขตของงาน การประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง/ประกาศเชิญชวน จนถึงกระบวนการสุดท้ายของโครงการ คือการตรวจรับงาน การเบิกจ่าย ครอบคลุมไปถึงข้อร้องเรียนและผลการพิจารณาข้อร้องเรียน 
ซึ่งมีการเผยแพร่ไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงาน และกรมบัญชีกลาง ผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้

โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาของกองทัพอากาศ เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่ถูกกำหนดไว้ตามแผนความต้องการระยะ ๑๐ ปี ในสมุดปกขาว 
มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ ที่ถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ซึ่งตามแผนจะครบกำหนดปลดประจำการ ใน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) รวมระยะเวลา ๒๘ ปี 
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว กองทัพอากาศจึงต้องเตรียมการและจัดหาเครื่องบินทดแทนตามแผนที่กำหนด เพื่อดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจการโจมตีทางอากาศ การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ 
รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติร่วมกับเหล่าทัพอื่น 
อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ตามกระบวนการและขั้นตอนที่รัดกุม เพื่อกำหนดหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ภายใต้กรอบงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีของประชาชนให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ พิธีลงนามตามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แนวใหม่และถือเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพอากาศ ที่ได้ให้ความสำคัญด้านคุณธรรมและจริยธรรม 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของธรรมาภิบาล เป็นการลดช่องว่างทางความคิด เพิ่มความเข้าใจใน “ความเป็นกองทัพอากาศ” 
ทั้งยังทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ยุทโธปกรณ์ที่กองทัพอากาศจัดหามาใช้งานจะมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถตอบสนองต่อภารกิจสำคัญที่ได้รับมอบได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ปัจจุบันกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) มีเครื่องบินขับไล่และโจมตีแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็ก ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงสุดท้าย(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html)
บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูงบิน๔๑๑ ทั้ง ๒๔เครื่อง(เข้าใจว่ามีเครื่องที่ปฏิบัติการได้ ๕เครื่อง) มีกำหนดจะปลดประจำการลงในปี พ.ศ.๒๕๖๕ และแทนที่ด้วยเครื่องบินโจมตีเบาใหม่ ๑๒เครื่องตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)

การจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใหม่แบ่งเป็น ระยะที่๑ จำนวน ๘เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๓ปีในปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) วงเงิน ๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,079,710) และระยะที่๒ จำนวน ๔เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๓ปีในปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๗(2022-2024)
ภายใต้นโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินโจมตีเบาใหม่จะมีพื้นฐานร่วมกันกับเครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6C Texan II จำนวน ๑๒เครื่องที่สั่งจัดหาแล้วในวงเงิน $162 million(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)

ตามที่เครื่องบินฝึกใบพัด T-6C Texan II ได้รับการกำหนดแบบเป็นเครื่องบินฝึก T-6TH ในประจำการกองทัพอากาศไทย เครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6E Wolverine จะได้รับการกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตี A-6TH ในประจำการกองทัพอากาศไทย
เครื่องบินฝึก T-6TH คาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๖๖ ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน ทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน ๑๘เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) 

บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯกล่าวว่าตนมีแผนที่จะการบินส่งมอบเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH จำนวน ๒เครื่องจากสหรัฐฯมายังประเทศไทย โดยที่เหลืออีก ๑๐เครื่องมีกำหนดจะถูกประกอบสร้างและเคลื่อนย้ายไปยังโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทย
ซึ่งเครื่องบินโจมตีเบา A-6TH จะถูกจัดหาโดยความมีส่วนร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของไทยคือบริษัท RV Connex ไทย และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย กับต่างประเทศคือบริษัท CMC Electronics แคนาดา และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ

ตามนโยบาย Common Fleet ของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินโจมตี A-6TH จะสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html) ซึ่งจะเป็นเครื่องบินโจมตีเบาใบพัดแบบแรกที่รองรับการใช้งาน IRIS-T
และระบบอาวุธ เช่น กระเปาะปืนกลอากาศ FN HMP400 ขนาด .50cal(12.7x99mm), จรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี APKWS, ระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 Paveway II ขนาด 500lbs ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-38 JDAM ขนาด 500lbs และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ครับ