วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

พิธีครบรอบ ๒๐ปี เครื่องบินโจมตี Alpha Jet กองทัพอากาศไทย













Dornier Alpha Jet A attack aircraft of 231st Squadron, Wing 23 Udorn Thani, Royal Thai Air Force (RTAF) in 20th Anniversary ceremony 27 August 2020.

Royal Thai Air Force's Alpha Jet TH domestic modernization programme in presentation of Purchase and Development  Promote Thai Defence Industry at RTAF Defence Industrial Cooperation Conferrence 2020 in 20 august 2020.





กองบิน ๒๓ จัดพิธีครบรอบ ๒๐ ปี การประจำการในกองทัพอากาศ ของเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet)
พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานพิธีครบรอบ ๒๐ ปี การประจำการ ในกองทัพอากาศ ของเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet) 
โดยเครื่องบิน Alpha Jet นั้นนับเป็นเครื่องบินรบหลักแบบหนึ่ง ของกองทัพอากาศ ซึ่งใช้ในภารกิจโจมตีทางอากาศ และภารกิจการค้นหาช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ นอกจากนั้นยังใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง 
ในการนี้มี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ อดีตผู้บังคับบัญชาระดับสูงกองทัพอากาศ อดีตนักบิน Alpha Jet เจ้าหน้าที่ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ และข้าราชการกองบิน ๒๓ เข้าร่วมพิธี 
โดยมี นาวาอากาศเอก ชนาวีร์ กลิ่นมาลีผู้บังคับการกองบิน ๒๓ พร้อมด้วย หัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กองบิน ๒๓ ร่วมให้การต้อนรับ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓

กองทัพอากาศไทยได้จัดหาเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A จากเยอรมนี จำนวน ๒๕เครื่องเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000) จนมีพิธีครบรอบประจำการ ๒๐ปีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ซึ่งเครื่องบินโจมตี Alpha Jet A เหล่านี้เดิมเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) ที่ถูกปลดประจำการลงหลังการลดขนาดกองทัพเยอรมนี(Budeswehr) ในช่วงปี 1990s หลังการรวมชาติเยอรมันใหม่(German reunification) ในปี 1990

โดย Alpha Jet A เยอรมนีเป็นเครื่องบินโจมตีเบาที่ใช้อาวุธได้หลายแบบ ต่างจากรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น Dassault Alpha Jet E ฝรั่งเศสที่มักจะไม่ติดอาวุธ และมีอายุการใช้งานน้อยมากคือไม่เกิน ๒,๐๐๐ชั่วโมงบินเมื่อกองทัพอากาศไทยรับมอบจากอายุการใช้งานรวมที่ไม่เกิน ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน
เครื่องบินโจมตี Alpha Jet สามารถติดตั้งอาวุธที่มีประจำการในกองอากาศไทยอยู่แล้วหลายแบบ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder, ลูกระเบิดทำลายตระกูล Mk 80 และจรวดอากาศสู่พื้น 2.75" Hydra 70 หรือ CRV7 70mm

เดิมกองทัพอากาศไทยมีความตั้งใจที่จัดหา บ.จ.๗ Alpha Jet รวมจำนวน ๕๐เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ Rockwell OV-10C Bronco ที่เป็นเครื่องบินโจมตีเครื่องยนต์ใบพัดแบบสุดท้ายที่ปลดประจำการจากฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2007) ด้วย
แต่เนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจหลังปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) และการโจมตีจากสื่อไร้จรรยาบรรณว่าเป็น 'เศษเหล็กเยอรมัน' ทำให้รัฐบาลไทยและกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นอนุมัติการจัดหา Alpha Jet ในจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการของกองทัพอากาศไทยคือ ๒๕เครื่อง

นับตั้งแต่เข้าประจำการอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งเดียวของเครื่องคือเมื่อ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕(2002) ที่เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet หมายเลข 23133 ตกที่ทุ่งนา หมู่บ้านทุ่งโปร่งใต้ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 
ทำให้นักบินคือ เรืออากาศเอก ณรงค์ชัย งามปัก เสียชีวิต โดยผลการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนั้นมาจากนักบินเกิดอาการหลงสภาพการบิน(Vertigo) ไม่ใช่สาเหตุจากเครื่องขัดข้อง 

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) เกิดอุบัติเหตุเก้าอี้ดีดตัวแบบ Martin Baker Mk10 ของที่นั่งนักบินหลังของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet เกิดทำงานดีดตัวออกเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างการฝึกบินเหนือหมู่บ้านเจริญสุข สภ.นาดินดำ อ.เมือง จังหวัดเลย
ทำให้นักบินที่สองของเครื่อง นาวาอากาศตรี สุโขทัย ศรีสมใส ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงต้องส่งเข้ารักษาพยาบาลแต่ภายหลังอาการปลอดภัย โดยนักบินที่หนึ่ง เรืออากาศโท ภูริ จุลพัลลภ สามารถบังคับเครื่องลงจอดที่สนามบินกองบิน๒๓ อุดรธานีได้อย่างปลอดภัย

ความพยายามในการปรับปรุงขีดความสามารถของ บ.จ.๗ Alpha Jet มีตั้งแต่การทดลองติด Radar ตรวจสภาพอากาศที่หัวเครื่อง, การพัฒนากระเปาปืนใหญ่อากาศ M39 ขนาด 20mm ที่เดิมเคยติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ บ.ข.๑๘ Northrop F-5A ที่เคยประจำการที่ฝูงบิน๒๓๑ ก่อนหน้า
ตามที่กองทัพอากาศไทยไม่ได้จัดหากระเปาะปืนใหญ่อากาศ Mauser BK-27 ขนาด 27mm ที่ใช้งานเมื่อประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนีมาก่อนด้วย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการดัดแปลงใช้งานจริง และการติดเครื่องยิงกระสุน Silver iodide เพื่อทำฝนเทียมและทำลายลูกเห็บในโครงการฝนหลวง

ล่าสุดการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน ระบบ Avionics และระบบอาวุธในชื่อเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH จำนวน ๑๔เครื่อง วงเงิน ๓,๓๘๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($108,519,334) โดยบริษัท RV Connex ไทย ร่วมกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย  
ด้วยห้องนักบิน Glass Cockpit จากบริษัท CMC Electronics แคนาดา และเครือข่ายทางยุทธวิธี Tactical Datalink Link-T ที่พัฒนาในไทย ซึ่งจะทำให้เครื่องมีสมรรถนะสูงขึ้นสามารถประจำการได้อีกไม่ต่ำกว่า ๑๐-๑๕ปีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)