Royal Thai Air Force (RTAF) Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat
Thani. (Royal Thai Air Force/KATSUHIKO TOKUNAGA)
The Royal Thai Air Force F-16A/B OCU/ADF Fighting Falcon of 103rd Squadron,
Wing 1 Korat. (Royal Thai Air Force)
The Royal Thai Air Force will hold a statement on its selection Saab Gripen
E/F over Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Viper to replace its aging Lockheed
Martin F-16A/B ADF Fighting Falcon of 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing
1 Korat RTAF base in Nakhon Ratchasima province, Thailand in October 2024.
RTAF seeks an initial acquisition of four Gripen E/F for 19 billion Baht ($539
million) on Fiscal Year 2025. RTAF set to making a summary of offset
proposals, both for the direct benefit of the Air Force and other benefits of
Thailand before signing the contract in 2025 and delivered in 2029.
As new Thai cabinet just formed with new Minister of Defence of Thailand
Phumtham Vejjayachai takes office in early September 2024, Procurement
approval process is subject to change by Thai cabinet and parliament decision,
Lockheed Martin still seen chance for its F-16V Viper.
UNBEATABLE AIR FORCE ...จากสมุดภาพอากาศยานกองทัพอากาศ...
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก JAS-39C/D GRIPEN “Teamwork will be your only
friend, ego will be your only enemy”
ฝูงบิน 701 กองบิน 7 มีภารกิจการตอบโต้ทางอากาศ การโจมตีทางยุทธศาสตร์
การต่อต้านทั้งภาคพื้นและทะเล รวมทั้งการบิน ลาดตระเวนทางอากาศ
...การบินคุ้มครองผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล
กองบิน ๗ จัดกิจกรรมจิตอาสาพาน้องศึกษาแหล่งเรียนรู้
นาวาอากาศเอก ณัฏฐวุธ ดวงสูงเนิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ มอบหมายให้
แผนกกิจการพลเรือน กองบังคับการ กองบิน ๗
จัดกิจกรรมจิตอาสาพาน้องศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยได้นำคณะครู และนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลวริศสา ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เห็นของจริง เกิดการเรียนรู้
เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ตรง นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
และสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นทหารและเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป
โดยชมการแสดงของสนุัขทหาร, ชมการจัดตั้งแสดงอากาศยาน
และการดับเพลิงและกู้ภัยเบื้องต้น เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ
อาคารสนับสนุนการบิน กองบิน ๗ ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กองบิน ๗ จัดกิจกรรมจิตอาสาพาน้องศึกษาแหล่งเรียนรู้
นาวาอากาศเอก ณัฏฐวุธ ดวงสูงเนิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ มอบหมายให้
แผนกกิจการพลเรือน กองบังคับการ กองบิน ๗
จัดกิจกรรมจิตอาสาพาน้องศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยได้นำคณะครู และนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลวริศสา ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม
จังหวัดสุราษฎร์ธานีและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง
อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เห็นของจริง
เกิดการเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ตรง
นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
และสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นทหารและเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป
โดยชมการแสดงของสนุัขทหาร, ชมการจัดตั้งแสดงอากาศยาน เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน
พ.ศ.๒๕๖๗ ณ อาคารสนับสนุนการบิน กองบิน ๗ ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มิตรภาพที่ดีของทอ.อาเซียน 10 ชาติ
...ผู้บัญชาการทหารอากาศผนึกกำลังกองทัพอากาศอาเซียน
สร้างเครือข่ายแบ่งปันข้อมูลเพื่อความมั่นคง ….เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กันยายน
2567 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ร่วมแสดงวิสัยทัศน์กับผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียนจำนวน 10 ประเทศ
ภายใต้หัวข้อ
“การส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูลและความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศอาซียนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา
(Enhancing Information Sharing and Cohesive Cooperation among ASEAN Air
Forces for Peace and Development)” ระหว่างร่วมการประชุม
ผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ เมืองเสียมเรียบ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศอาเซียนในการรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน
กองทัพอากาศมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือนี้
โดยการปรับปรุงสนามบินน้ำพองให้เป็นศูนย์ฝึกของอาเซียนเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้พัฒนาทักษะและมาตรฐานในการปฏิบัติการร่วมกัน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยการฝึกอบรมร่วมกัน
จะช่วยให้ประเทศสมาชิกมีความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับประชาชนในภูมิภาคอาเซียน
...ครับเห็นความร่วมมือกันของ ทอ.10 ชาติ
แล้วคงเป็นหลักประกันได้ว่าประเทศในอาเซียนจะไม่รบกันอย่างแน่นอน...
แม้กองทัพอากาศไทยได้ประกาศเลือกเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab
Gripen E/F เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed
Martin F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034)
จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ในระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องวงเงินราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($539
million) เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ไปแล้ว
แต่ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายกรัฐมนตรีไทยคนใหม่ แพทองธาร ชินวัตร
และแต่งตั้งรัฐมนตรีกลาโหมไทยคนใหม่ ภูมิธรรม เวชยชัย ในต้นเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
ตามการแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีไทยชุดใหม่ต่อรัฐสภาในกลางเดือนกันยายน ๒๕๖๗
ยังได้เห็นการให้ความสำคัญกับนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
และสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือภาคอีสานและภาคกลางซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้า
กองทัพอากาศได้มีแผนที่จะจัดแถลงการณ์การเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen
E/F ของตนในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และเตรียมการสรุปข้อตกลงนโยบายการชดเชย offset
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศไทยโดยตรงและที่เป็นประโยชน์อื่นๆต่อประเทศไทย
ก่อนที่คาดว่าจะมีการลงนามสัญญาได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ซึ่งการส่งมอบ Gripen E/F
เครื่องแรกคาดว่าจะมีขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๗๒(2029)
แม้ว่ากองทัพอากาศจะให้คำแนะนำแก่กระทรวงกลาโหมไทยและรัฐบาลไทย
และต่อมาได้มีการประกาศเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F
ไปแล้วหลังพิจารณาจากข้อเสนอสุดท้ายที่บริษัท Saab สวีเดน และบริษัท Lockheed
Martin สหรัฐฯยื่นส่งเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ อย่างไรก็ตาม Lockheed
Martin ก็ยังคงเห็นโอกาสของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper
ของตนกับกองทัพอากาศไทยอยู่
ตามที่กระบวนการที่จะนำเป็นสู่การเห็นชอบอนุมัติงบประมาณและลงนามสัญญาจัดหาอย่างเป็นทางการได้จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรีไทยและรัฐสภาไทย
ด้วยปัจจัยภายในของไทยทั้งสภาวะเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติที่รัฐบาลและตัวแทนประชาชนทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาให้ความสำคัญให้การใช้งบประมาณของประเทศมากกว่างบประมาณกลาโหมสำหรับกองทัพอากาศ
อิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นหนึ่งในอีกปัจจัยที่อาจจะทำให้โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่
Lockheed Martin ได้ประโยชน์
ถ้ามองจากบางโครงการในต่างประเทศที่เดิมกองทัพอากาศประเทศนั้นเลือก Gripen
แต่สุดท้ายก็ถูกรัฐบาลเลือก F-16 แทน
รวมถึงการโจมตีกองทัพอากาศว่ามีการทุจริตตั้งแต่ระดับการคัดเลือกศิษย์การบินในโรงเรียนการบินด้วย
กองทัพอากาศยังคงมีโครงการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ตามมาอีกตามสมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย
พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) รวมถึงโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU
ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๘๐-๒๕๘๙(2037-2046) หนึ่งฝูงบิน จำนวน
๑๒-๑๔เครื่อง
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค
Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
หรือเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓
อุดรธานี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(2031-2035) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
ซึ่งจะเริ่มจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาคัดเลือกแบบในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
นอกจากข้อบ่งชี้ที่อาจมองได้ว่าฝูงบินขับไล่โจมตีของกองทัพอากาศไทยอาจจะจะลดจำนวนฝูงบินและเครื่องบินลงแล้ว
โดยจำนวนเครื่องบินในฝูงบินเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่จัดหาใหม่ได้ลดลงจากเป็น
๑๒เครื่องจากเดิม ๑เครื่อง และฝูงบินเครื่องบินโจมตีที่ลดลงเหลือ
๑๔-๑๖เครื่องจากเดิม 24เครื่อง
ที่ปัจจัยสำคัญมีผลจากราคาต่อหน่วยของอากาศยานที่เพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถจัดหาจำนวนมากได้ในแต่ละปีงบประมาณ
สอดคล้องกับจำนวนอากาศยานที่จัดหาได้ลดลงไม่สามารถจะทดแทนอากาศยานเก่าแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้
ฝูงบินเครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทยคงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตามมาด้วย
เฉพาะในส่วนพื้นที่ภาคอีสานเมื่อเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑
กองบิน๒๓ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑
จะถูกปลดประจำการลงทั้งหมดในราวปี พ.ศ.๒๕๗๘(2035)
จะถูกทดแทนเพียงหนึ่งฝูงบินทำให้กองบิน๒๑ และกองบิน๒๓
อาจมีหนึ่งหรือทั้งสองกองบินที่จะไม่มีอากาศยานประจำการ การทดแทน บ.ข.๑๙/ก
F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ รวมถึง F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑
ในปี พ.ศ.๒๕๘๐(2037) ก็อาจจะมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างฝูงบินใกันใหม่
เช่นเดียวกับแผนพัฒนาฝูงบิน๒๓๗
สนามบินน้ำพองเป็นฐานบินสำหรับการฝึกร่วมนานาชาติของ ASEAN ด้วย
อีกปัจจัยหนึ่งคือนโยบายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากกว่า
และหลังการเลือกตั้งใหม่ พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
ที่พรรคการเมืองแกนนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่อาจมีนโยบายไม่เป็นมิตรกับกองทัพชัดเจน
กองทัพอากาศอาจจะต้องเผชิญกับการตัดงบประมาณกลาโหมหรือสั่งยกเลิกด้วยข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตจนไม่สามารถจะดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ให้สำเร็จและเสียเวลาไปหลายปีก็ได้ครับ
The Example of military equipments involved Humanitarian Assistance and
Disaster Relief (HADR) mission for helping people in Flooding at Chiang Rai
Province, northern of Thailand and northeastern provinces of Thailand in
September 2024 include Royal Thai Air Force EC725 (Airbus Helicopters H225M)
helicopters of 203rd Squadron, Wing 2 Lopburi. (Royal Thai Air Force)
Royal Thai Air Force Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing
6 Don Muang. (Airline Week)
and Royal Thai Marine Corps (RTMC) two AAV7A1 of Marine Assault Amphibian
Vehicle Battalion, Marine Division. (Royal Thai Marine Corps, Royal Thai
Navy)
กองทัพอากาศไทย ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC725 จาก กองบิน 2 ลพบุรี
เสริมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเชียงราย"
กองทัพอากาศเสริมทัพ ส่งกำลังพลจากที่ตั้งดอนเมือง
เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ฝูงบิน 416 เชียงราย
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
จากสถานการณ์อิทธิพลของพายุ "ยางิ"
ทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย
ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นและเอ่อเข้าท่วมชุมชน
ทำให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล
ผู้บัญชาการทหารอากาศ มีความห่วงใยในสถานการณ์ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
จึงสั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ
ส่งกำลังพลชุดปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ส่วนหน้า) จากที่ตั้งดอนเมือง
เข้าเสริมทัพเพิ่มเติมให้กับฝูงบิน 416 เชียงราย
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชน
นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ กองบิน 2 จัดเฮลิคอปเตอร์ EC-725 เพิ่มเติม จำนวน 1
เครื่อง เพื่อปฏิบัติภารกิจลำเลียงทางอากาศและสำรวจพื้นที่อุทกภัย รวมทั้งให้
กองบิน 4 สนับสนุนอากาศยาน DA-42 จำนวน 1 เครื่อง
ปฏิบัติภารกิจบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ และให้กรมขนส่งทหารอากาศ
สนับสนุนรถบรรทุกยกสูง จำนวน 5 คัน
เดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างเร่งด่วน
โดยวันนี้ กองบิน 6 ได้สนับสนุนเครื่องบิน C-130 จำนวน 2 เครื่อง
ลำเลียงกำลังพล รถปฏิบัติการ Video Down Link เเละเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่
ตลอดจนถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค
และสิ่งของจำเป็นที่กองทัพอากาศได้รับจากการบริจาคจากพี่น้องประชาชน
เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยอีกด้วย
ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ได้เน้นย้ำกำลังพลทุกคนให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
และให้มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อลดความเหนื่อยล้าของกำลังพลจากการปฎิบัติหน้าที่
กองทัพอากาศยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้
อย่างเต็มกำลังความสามารถ
และมุ่งเน้นใช้ยุทโธปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ภาพถ่ายโดย
กิตติเดช สงวนทองคำ
เจนวิชญ์ เบญจพงศ์
“หน่วยบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นำรถสะเทินน้ำสะเทินบก
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยชุมชนไม้ลุงขน อ.แม่สาย จ.เชียงราย“
วันที่ 14 กันยายน 2567 กองทัพเรือ โดยหน่วยบรรเทาสาธารณภัย
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นบภ.นย.) จัดกำลังพล
พร้อมรถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) จำนวน 2 คัน
ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนไม้ลุงขน ต.แม่สาย จ.เชียงราย
พร้อมนำอาหารและน้ำดื่มเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวยังมีกระแสน้ำที่ไหลแรง
และมีรถที่จมน้ำเป็นจำนวนมากทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจ
จึงได้เปลี่ยนภารกิจเป็นการนำรถ AAV ทั้ง 2 คัน
มาจอดขวางกั้นทางน้ำเพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถอพยพออกมาได้
ตลอดจนหน่วยงานต่าง ทีมงานกู้ภัย จิตอาสา ได้รับความสะดวกในการลำเลียงอาหาร
น้ำดื่ม ถุงยังชีพเข้าไปมอบให้กับผู้ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
ซึ่งระหว่างทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น
ได้มีการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมา
ได้ประสบอุบัติเหตุที่ขามา 2 วัน ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ
กำลังพลจึงได้เข้าทำการช่วยเหลือนำออกมาจากอาคารที่พัก เพื่อให้ทีมชุดแพทย์
ตชด.37 เข้าทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และลำเลียงออกจากพื้นที่
นอกจากนี้ นบภ.นย. ยังทำการช่วยเหลือด้วยการนำอาหาร น้ำดื่ม
เข้าไปมอบให้ผู้ที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย
กองทัพเรือ ยังคงปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวอำเภอแม่สาย
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
การจัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพไทยในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดเชียงรายทางภาคเหนือและภาคอีสานเช่นจังหวัดหนองคาย
จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งเป็นผลจากการมีพายุพัดเข้าพื้นที่ต่อเนื่อง
ซึ่งกำลังเป็นวิกฤติการณ์ภัยธรรมชาติที่ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงทั้งไทย ลาว
เวียดนาม และพม่าจัดการประชุมหารือเพื่อรับมือกร่วมกันในอนาคต
แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่าขณะที่หน่วยงานรัฐและเอกชนของไทยค่อนข้างรับมือกับสถานการณ์ได้ดีถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่บางพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรุนแรงกว่าไทย
กลับยังมีผู้ไม่หวังดีต่อชาติฉวยโอกาสโจมตีทหารไทยว่าไม่ใช่หน้าที่และบุญคุณที่รับเงินเดือนจากภาษีประชาชนมาช่วยน้ำท่วม
และจะเป็นการดีถ้าจะลดกำลังพลประจำการออกไปและเลิกซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับประชาชนเจ้าของประเทศ
ขณะที่ประเทศในยุโรปตะวันออกลุ่มแม่น้ำ Danube ทั้งเยอรมนีตอนใต้ ออสเตรีย
สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี และโรมาเนีย ก็เผชิญเหตุน้ำท่วมเช่นกัน
ซึ่งบางประเทศก็เลิกจัดงานแสดงการบินแต่ก็ยังคงมีโครงการจัดหาอาวุธราคาสูงอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/f-35a-32.html)
การโจมตีทหารไทยด้วยเรื่องน้ำท่วมนี้จึงเป็นแสดงถึงการทำทุกวิธีทางของกลุ่มที่ต้องการบ่อนทำลายประเทศไทยของเราครับ
Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with
Thailand companies B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development and
X-Treme Composites was demonstrated new "MARCUS-B (2024)" codename
"MARCUS-C" Vertical Take-Off and Landing (VTOL) Unmanned Aerial
Vehicle (UAV) take off and landing on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet
helicopter carrier at Gulf of Thailand on 19 September 2024. (Sompong
Nondhasa, Panupong Khoomcin)
อากาศยานไร้นักบิน MARCUS-B (2024) สาธิตการขึ้น-ลงบน ร.ล.จักรีนฤเบศร
เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับชม เมื่อวันที่ 19
กันยายน 2567 …
ข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B รุ่นผลิตทดลองประจำการ งป. 67 (Codename
MARCUS-C)
-ผลการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (MARCUS :
Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System)
ของกองทัพเรือจากรุ่นแรก MARCUS ซึ่งได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจากวช.จำนวน
10,000,000 บาทในห้วงปี 61-63 มาสู่รุ่นที่สอง MARCUS-B ได้รับทุน
สนับสนุนการวิจัยจากวช.จำนวน 5,900,000 บาทในห้วงปี 64-65
-ในห้วงปี 66 ทร. ได้เสนอพิจารณาขอรับงบประมาณเพื่อทำการผลิต MARCUS-B
นำไปทดลองใช้งาน ประจำการจำนวน 1 ระบบ เป็นจำนวนเงิน 36,000,000 บาท
โดยมีคณะกรรมการสกพอ.(EEC)
พิจารณาให้ความเห็นชอบตามกรอบนโยบายโครงการบูรณาการ
ด้วยเห็นว่าเป็นการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ สายการผลิต
เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย
ตอบสนองแนวทางในการส่งเสริม
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายในอนาคตของประเทศ (ปัจจุบันมี พล.ร.อ.จิรพล
ว่องวิทย์ เป็นประธาน กพอ.ทร. หรือ EEC ทร.)
อีกทั้งทร.ยังได้มีการพัฒนาและวางแนวทางการใช้งาน MARCUS-B ในอนาคต
หากผ่านการทดสอบผลิตใช้งานแล้ว
มีแผนสั่งผลิตเข้าประจำการเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว
อีกทั้งยังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้มีความสามารถในการขึ้นลงบนเรือได้อย่างอัตโนมัติ
พร้อมกำหนดจำนวนเรือเป้าหมายที่ต้องการให้มี MARCUS-B
เข้าประจำการเรียบร้อยแล้ว
-ในห้วงปี 67 ทร.โดยสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ
ได้ดำเนินกระบวนการคัดเลือกผู้ประกอบการสัญชาติไทยเพื่อจ้างผลิต MARCUS-B
ตามคุณลักษณะที่ทร.กำหนด โดยมีผู้ประกอบการที่ร่วมงานวิจัย
ในโครงการมาตั้งแต่รุ่นแรก ยื่นข้อเสนอและผ่านการคัดเลือกแล้ว
ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอ ขออนุมัติให้ลงนามในสัญญา
(เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ผู้ประกอบการและกลุ่มนักวิจัย ให้ความร่วมมือแก่
ทร.ลงทุนและดำเนินการผลิต MARCUS-B รุ่นใหม่ ลำสาธิตให้ ทร.
ได้ชมก่อนลงนามในสัญญา โดยไม่มี ข้อผูกมัดประการใดกับทางราชการ
มีผู้ร่วมผลิตคือ B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development และ
X-Treme Composites เป็นผู้ร่วมผลิตให้กับกองทัพเรือ)
คุณลักษณะของ MARCUS-B รุ่นใหม่ (Codename MARCUS-C)
o MARCUS-B จำนวน 1 ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับจำนวน 2 ลำและชุดควบคุม
ภาคพื้นจำนวน 1 ชุด (2 Bird – 1 Ground)
o MARCUS-B
ที่ทำการผลิตจะใช้พื้นฐานองค์ความรู้และรูปร่างรูปทรงที่เป็นผลมาจากการวิจัย
มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาสตร์และพื้นที่การใช้งานที่ดีขึ้น
มิติโดยประมาณมี ความยาวระหว่างปลายปีกทั้งสองข้างประมาณ 4.8 เมตร
มีความยาวหัวลำถึงท้ายลำประมาณ2.8 เมตร น้ำหนักขึ้นบินสูงในระหว่าง 35-50
กิโลกรัม
o ขึ้นลงทางดิ่งด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 4
ตัวที่สามารถผลิตแรงยกได้สูงสุดเกือบ 120 กิโลกรัม
บินเดินทางด้วยเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงแบบ 2 สูบ 4 จังหวะ 125 cc (UAV
Graded) ควบคุม การจ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีดอิเลคทรอนิกส์ EFI
ควบคุมแรงดัน อุณหภูมิ และการทำงาน อื่นๆ แบบอัตโนมัติ
มีระบบ electronic starter / alternator สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ากลับมา
ใช้ได้ตลอดห้วงระยะเวลาการบิน สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในอัตราประมาณ 1.2-1.8
ลิตรต่อชั่วโมง ติดตั้งถังน้ำมันความจุ 11 ลิตร (หากไม่มีการติดตั้ง
payload เพิ่มเติมจะสามารถติดตั้งถังน้ำมัน เพิ่มเดิมได้อีกประมาณ 8-10
ลิตร)
o ติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบ EO/IR กำลังขยาย 30 เท่า พร้อม Laser Range
Finder ระยะ 5 กิโลเมตร
o ติดตั้งระบบ ADS-B ที่สามารถเปิด-ปิด
การทำงานได้เมื่อต้องการ
o ระบบการสื่อสารแยกเป็น อากาศยาน 1 ลำ มีระยะทำการไม่ต่ำกว่า 50 NM
และอีก 1 ลำ มีระยะทำการไม่ต่ำกว่า 10 NM (จำกัดด้วยงบประมาณที่ได้รับ)
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
o GCS ติดตั้งระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Phased Array (Military Graded)
ระยะ ปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตร ป้องกันการตรวจจับ
และต่อต้านการรบกวน (Anti UAV Jammer)
o อากาศยานลำที่ 1 ติดตั้งระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Phased Array
(Military Graded) ระยะปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตร
ป้องกันการตรวจจับ ต่อต้านการ รบกวน (Anti UAV Jammer)
สามารถคำนวณพิกัดอัตโนมัติในกรณีไม่สามารถหาพิกัด หรือถูกรบกวนได้ (GPS
Denied Enabled) § อากาศยานลำที่ 2
ติดตั้งระบบการสื่อสารระยะปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 20-30 กิโลเมตร
o ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผล (Companion Computer)
และระบบโปรแกรมที่พัฒนา เองจากความร่วมมือของนักวิจัยและผู้ประกอบการของไทย
ในการช่วยควบคุมการบิน (นอกเหนือจากความสามารถของ Flight Controller)
และช่วยควบคุมการปฏิบัติการทางยุทธวิธี o มีหลักสูตร ฝõกอบรมนักบิน,
หลักสูตรการซWอมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
o มีการรับรองผลการทดสอบในด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ
ประกอบด้วย การ รับรองด้านการออกแบบโครงสร้างและด้านอากาศพลศาสตร์,
การรับรองผลการทดสอบด้านวัสดุศาสตร์
และการรับรองผลด้านการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการปvองการรบกวน
(EMI)
o เดิมที อาจมีผู้เคยได้รับข้อมูลว่า การผลิต MARCUS-B
อาจมีมูลค่าเพียงประมาณ 20 ล้านบาทเศษนั้น
มีพื้นฐานที่มาจากการประเมินค่าใช้จ่าย 1 ระบบประกอบไปด้วย
อากาศยานไร้คนคนขับจำนวน 2 ลำ และ Ground Control Station
โดยอ้างอิงจากคุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับที่มาจากการวิจัยในห้วงปี 65
แต่ต่อมา
กรมยุทธการทหารเรือได้กำหนดคุณลักษณะความต้องการทางยุทธการที่มีข้อกำหนดสูง
มากกว่าผลที่ได้จากวิจัยเป็นอย่างมาก
ประกอบกับการจัดจ้างผลิตที่ต้องการให้เทียบเท่าการจัดหาจาก ต่างประเทศ
จึงได้ขยายกรอบงบประมาณขึ้นเป็น 36 ล้านบาท
ซึ่งหากเปรียบเทียบคุณลักษณะที่จะทำการผลิตในครั้งนี้กับอากาศยานไร้คนขับที่มาจากต่างประเทศ
ควรที่จะมีมูลค่าใกล้เคียง 30 ล้านบาท หรือมากกว่า แต่ทั้งนี้
นอกจากเป็นการประหยัดงบประมาณลงได้อย่างมากแล้ว
ขั้นตอนการพัฒนา ผลิต ฝึกอบรม ส่งมอบ รับประกัน
ล้วนเกิดจากนักวิจัยและผู้ประกอบการภาคเอกชนของประเทศไทยทั้งสิ้น
การสาธิตการปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-C
รุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.
ร่วมกับบริษัทเอกชนของไทยบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
ขณะลอยลำร่วมกับหมู่เรือสวนสนามในอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดของอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งตระกูล MARCUS
รุ่นที่สาม
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B (2024)
มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาใช้หน่วยปฏิบัติการชายแดนทั้งบนชายฝั่งและบนเรือ
ซึ่งมีการอนุมัติในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อการสร้าง
๑ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ UAV จำนวน ๔เครื่อง
และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน ๑ระบบ ไปแล้ว
โดยระบบต้นแบบล่าสุดนี้ใช้งบประมาณในการผลิตเพียง ๓๖,๐๐๐,๐๐๐๐บาท($1,093,080)
เท่านั้น
แต่ทว่าก็มีผู้ไม่หวังดีวิจารณ์โครงการว่าเป็นแค่ของเล่นไร้ประโยชน์ที่สร้างขึ้นมาให้เพื่อกินเงินค่าวิจัยระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชน
และที่ราคาถูกเพราะใช้ชิ้นส่วนต่างๆที่ล้วนหาได้ในตลาด(off the shelf)
ตั้งแต่เครื่องยนต์จนถึงกล้อง grade พลเรือน
ซึ่งพวกที่ออกมาต่อว่านี้่ก็ยังโจมตีการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยจากต่างประเทศว่าแพงเพราะกินเงินทอน
สรุปคือพวกมันไม่อยากเห็นกองทัพเรือพัฒนาหรือมีอะไรไว้ใช้ทั้งนั้นครับ
(อย่างที่เคยกล่าวมาก่อนหน้าในกรณีอุบัติเหตุปืนเรือ 76/62
เรือหลวงชลบุรีลั่นโดนเรือหลวงคีรีรัฐในเดือนมีนาคม ๒๕๖๗
ลามไปถึงการแต่งเรื่องกล่าวหาว่าทหารเรือไทยเจอเรือกองกำลังต่างชาติในชายแดนกัมพูชา
ลาว และพม่าก็หัวหัวเรือหนีหางจุกตูดแล้ว
ซึ่งพวกนี้ไม่ได้ออกมาวิจารณ์เพราะหวังดีอะไรเลย
พวกมันแค่อยากเห็นทหารเรือไทยตายก็เท่านั้น!
แม้วิธีฆ่าทหารเรือของพวกมันจะเป็นแค่การด่าไปวันๆใน internet ก็ตาม)
Rear Admiral Pongsak Somboon, Commander of the Submarine Squadron,
Royal Thai Fleet (RTF) ,Royal Thai Navy (RTN) led delegation of 7
officers, visited meeting and observation Pakistan Navy (PN), welcomed
by Rear Admiral Abdul Munib, PN Deputy Chief of the Naval Staff,
Operations (DCNS-O) at Islamabad on 18-20 September 2024. (Royal Thai
Navy)
การเดินทางประชุมและดูงาน ทร.ปากีสถาน
พล.ร.ต.พงษ์ศักดิ์ สมบุญ ผบ.กดน.กร. และคณะรวมจำนวน ๗ นาย
เดินทางไปประชุมและดูงานกองทัพเรือปากีสถาน ณ เมืองอิสลามาบัด
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ ก.ย.๖๗
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการเรือดำน้ำ
ศึกษารูปแบบโครงสร้างกองเรือดำน้ำ ทร.ปากีสถาน
รวมทั้งเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ตามหลักการปฏิบัติด้านเรือดำน้ำ
ทร.ปากีสถาน ทั้งนี้ ทร.ปากีสถานได้มอบหมายให้ พล.ร.ต. Abdul Munib
รองเสนาธิการทหารเรือ ฝ่ายยุทธการ และคณะ
เป็นผู้แทนให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือ
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กดน.กร.
กองทัพเรือไทยยังมีกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเรือดำน้ำของตนอย่างต่อเนื่อง
โดยล่าสุด พลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ
นำคณะนายทหาร
๗นายไปประชุมและดูงานกิจการด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือปากีสถาน ณ นครหลวง
Islamabad ในระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/hangor.html)
เป็นที่ทราบว่ากองทัพเรือไทยและกองทัพเรือปากีสถานต่างเป็นลูกค้าส่งออกของเรือดำน้ำแบบ
S26T และเรือดำน้ำชั้น Hangor ตามลำดับ
ซึ่งมีพื้นฐานเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039B จีน
ตามที่กองทัพเรือทั้งสองชาติพบปัญหาที่เยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
MTU 396 ให้จีนเช่นเดียวกัน
การพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันจึงจะเป็นประโยชน์แก่กองทัพเรือไทย
อย่างไรก็ตามขณะที่ปากีสถานได้ยอมรับเครื่องยนต์ CHD620
จีนสำหรับเรือทั้ง ๘ลำของตนที่ลำแรกปล่อยลงน้ำแล้วและ
๔ลำหลังกำลังสร้างในประเทศ รัฐมนตรีกลาโหมไทยท่านใหม่ ภูมิธรรม เวชยชัย
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่าโครงการ S26T
จีนจะมีการทวบทวนและตัดสินใจใหม่อีกรอบ ด้านพลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยท่านใหม่ยังคงยืนยันความจำเป็นของเรือดำน้ำและจะค่อยๆดำเนินไปทีละก้าวครับ
On 27 September 2024, Royal Thai Navy HTMS Prachuap Khiri Khan, the
Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) participated in a PASSEX
exercise with the Italian Navy P432 ITS Raimondo Montecuccoli, the
Thaon di Revel-class OPV, featuring formation maneuvers and signal
light communication exercise.
What makes this occasion unique is that both vessels share the same
commissioning date, 27 September 2019 and 27 September 2023
respectively, and have now come together for this collaborative
exercise. (Royal Thai Navy)
วันที่ 23 ก.ย.67 พล.ร.อ.ชาติชาย ทองสะอาด ผบ.กร. เป็นผู้แทน ผบ.ทร.
เยี่ยมชมเรือฟริเกต ทร.อิตาลี ชื่อ ITN Montecuccoli
ในทะเลบริเวณหน้าท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี พล.ร.ท. Berutti Bergotto รอง
ผบ.ทร.อิตาลี Mr. Paolo Dionisi
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย และ น.ท. Alessandro
Troia ผู้บังคับการเรือ ให้การรับรอง
นำชมการสาธิตการปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการพิเศษของเรือ
บรรยายสรุปคุณลักษณะและขีดความสามารถของเรือ
รวมทั้งนำชมสถานที่ในเรือได้แก่ ห้องศูนย์ยุทธการ สะพานเดินเรือ
จุดปล่อยและรับชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยาง และคลังอาวุธอัตโนมัติ
การนี้ พล.ร.ท.สุวัจ ดอนสกุล จก.ยก.ทร. พล.ร.ต.อนุรัตน์ ศิริวงศ์
ผอ.สยป.ทร. พล.ร.ต.อนันท์ สุราวรรณ์ผบ.นสร.กร. และ น.อ.ณรงค์
นุสุวรรณ ผบ.กรม รพศ.นสร.กร. ร่วมคณะผู้แทน ผบ.ทร. ด้วย
**ทัพเรือภาคที่ 1 ส่งเรือ ต.998
แสดงกำลังทางทะเลปรากฏตัวต่อเรือรบอิตาลี**
ทัพเรือภาคที่ 1 ได้ส่งเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.998
ปรากฏตัวและแสดงกำลังทางทะเลต่อเรือรบของกองทัพเรืออิตาลี **ITS
MONTECUCCOLI** ขณะเดินเรือในน่านน้ำไทย เรือ ต.998
ทำการแสดงกำลังและทดสอบการติดต่อสื่อสารกับเรือรบอิตาลี
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจแลกเปลี่ยนทางทหารและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ การติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ
ระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นไปด้วยความราบรื่น
เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้ทำการฝึกร่วมกับทร.อิตาลี หรือ Passex
ในวันที่ 27 ก.ย.67 โดยได้ทำการฝึกแปรขบวน และ
ฝึกการสื่อสารโคมไฟทัศนสัญญาณ และสิ่งที่พิเศษคือ ในวันที่ 27
กันยายน เป็นวันที่เรือทั้ง 2 ลำขึ้นประจำการ
และได้มาฝึกร่วมกัน
Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. completed the delivery its
all new 7 of AWAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 for
Royal Thai Marine Corps (RTMC) to Royal Thai Navy (RTN) by
ceremony on 20 September 2024 at RTMC Headquaters, around year
since signed contract on 3 August 2023. (Sompong Nondhasa)
Thai marines take delivery of Chaiseri amphibious vehicles
AWAV รถหุ้มเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยาง 8x8
ได้ผ่านการทดสอบสมรรถนะะทางบกที่สนามทดสอบของกองทัพบกที่จ.กาญจนบุรี
การทดสอบทางทะเลที่สนามฝึกกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบกและฝึกร่วมกับ
ร.ล.อ่างทอง และทำการทดสอบยิงอาวุธปืนที่สนามทดสอบยิงปืนทุ่งโปร่ง
สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อย
ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจของกองทัพเรือ
มาดูจุดเด่นของ AWAV 8x8 ผลงานของชัยเสรี มีอะไรบ้าง ...
หลังจากส่งมอบรถหุ้มเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยาง 8x8 AWAV จำนวน 7
คันให้กองทัพเรือไปแล้ว
เราได้เห็นรูปโฉมอย่างแท้จริงล่าสุดที่ได้มีการปรับแต่ง AWAV
ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ตามที่เห็นในภาพ ...ชัยเสรีฯ
ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและสร้าง First Win 4x4
และประสบผลสำเร็จในการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้ว
ได้ออกแบบและสร้างรถ 8x8
สะเทินน้ำสะเทินบกตามความต้องการของกองทัพเรือไทย
ที่ได้มีการเผยโฉมเมื่อปลายปีที่แล้ว
พร้อมทั้งมีการทดสอบสมรรถนะและขีดความสามารถ
จนผ่านการรับรองมาตรฐานของกองทัพเรือมาแล้ว จุดเด่นของ AWAV
ก็คือการออกแบบรถที่มีขีดความสามารถในการลอยตัวและปฏิบัติการในทะเลได้ดีและมีความปลอดภัยสูงสุด
ซึ่งก็มิใช่เรื่องง่ายนัก
มีการออกแบบตัวรถให้รูปร่างที่ดูแล้วใต้ท้องคล้ายท้องเรือ
เพื่อเพิ่มการลอยตัวในน้ำ ออกแบบเกราะด้านข้าง 2 ชั้น
เพื่อเพิ่มการลอยตัวในน้ำอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
ติดตั้งแผ่นบังด้านข้างท้ายตัวรถเป็นแบบเจาะช่องเล็กๆเป็นครีบเพื่อให้เกิดช่องน้ำอันจะช่วยให้น้ำมีแรงดันเพิ่มความเร็วอีกทางหนึ่ง
ช่วงล่างของล้อทั้ง 8 ล้อ ติดตั้งโช๊คอัพที่ทันสมัย
โดยไม่มีสปริงอยู่ด้านนอก เพื่อลดแรงต้านการไหลของน้ำ
ที่สำคัญคือการติดตั้งระบบดันน้ำวอเตอร์เจ็ต 2 ตัวด้านท้ายรถของ
MILPOD ขนาด 225 Kw ที่มีเทคโนโลยี L-drive ขั้นสูง
ที่มีการปรับแรงขับให้เหมาะสมสูงสุด
แม้ในสภาวะการไหลของน้ำที่มีความแรงน้อย
เหมาะสำหรับยานสะเทินน้ำสะเทินบกที่ต้องการกำลังขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ
ให้ความเสถียรและแรงขับสูง
การวิเคราะห์ความต้านทานและกำลังขับที่สูงตลอดจนความสามารถในการบังคับเลี้ยวแบบรวมเพื่อเพิ่มความคล่องตัว
นอกจากนี้ยังมีความต้านทานการกัดกร่อนสูงของระบบทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานและเชื่อถือได้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
…ซึ่งจุดเด่นเหล่านี้ทำให้ AWAV
สามารถทำความเร็วในน้ำทะเลได้สูงสุดถึง 13 กม./ชม. ซึ่งพอๆกับรถ
AAVP-7A1 ที่มีใช้งานในหน่วยนาวิกโยธิน
โดยจากการทดสอบวิ่งในทะเล AWAV
มีระดับการลอยตัวใต้ตาไฟหน้าเล็กน้อย นับว่ามีระยะการลอยตัวที่สูง
ตัวรถมีเสถียรภาพในการลอยตัวที่ดีมากทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้ายขวาไม่เอียงมีความสมดุลย์
AWAV มีระบบการทำงาน 2 ระบบแยกกันคือ ระบบไฮดรอลิคและระบบไฟฟ้า
ถ้ามีระบบใดระบบหนึ่งเสียก็สามารถใช้อีกระบบได้
ทำให้มีความปลอดภัยสูง
AWAV มีน้ำหนัก 23.20 ตัน น้ำหนักบรรทุก
2,500 กก. น้ำหนักรวมสูงสุด 25.70 ตัน ความยาว 9.20 เมตร ความกว้าง
3.10 เมตร ความสูง 3 เมตร ความสูงจากพื้น 380 มม.
ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 711 แรงม้า มีความเร็วบนถนนสูงสุด 105
กม./ชม. ความเร็วในน้ำ 13 กม./ชม. ไต่ลาดทางตรงได้ 60%
ไต่ลาดทางข้างได้ 30% ข้ามเครื่องกีดขวางแนวตั้งได้ 500 มม.
ลุยน้ำได้ลึก 1.20 เมตร
บรรทุกทหารได้ 11 นาย และพลประจำรถอีก 3 นาย ยางเรเดียลรันแฟลต
ของมิชิลิน ขนาด 395/85 R20 XZL
เมื่อยางถูกยิงหรือถูกระเบิดเสียหาย รถยังสามารถวิ่งต่อไปได้อีก 50
กม. เกราะกันกระสุน มาตรฐาน STANAG 4569 Lv2 กันแรงระเบิด มาตรฐาน
STANAG 4569 Lv3b ถังน้ำมันภายในบรรจุได้ 420 ลิตร
ระยะปฏิบัติการไกล 600 กม.
ติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ Guardian 1.5 จากบริษัท
Escribano Mechanical and Engineering ประเทศสเปน
พร้อมเครื่องควบคุมการยิงอัตโนมัติ ติดปืน 12.7 มม.แบบ M2
พร้อมเครื่องยิงกระสุนควันขนาด 76
มม.ควบคุมสั่งการและทำการยิงจากภายในรถ
สามารถทำการยิงได้ขณะเคลื่อนที่และเป้าเคลื่อนที่
ซึ่งได้มีการทดสอบสมรรถณะทางบกที่สนามทดสอบของกองทัพบกที่จ.กาญจนบุรี
การทดสอบทางทะเลที่สนามฝึกกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบกและฝึกร่วมกับ
ร.ล.อ่างทอง และทำการทดสอบยิงอาวุธปืนที่สนามทดสอบยิงปืนทุ่งโปร่ง
สัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อย
ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจของกองทัพเรือ
หลังจากประสบความสำเร็จในการขายให้กับกองทัพเรือไทยแล้ว ชัยเสรีฯ
ยังได้เดินหน้าต่อไปในการนำ AWAV 8x8
ไปโปรโมทในต่างประเทศตามงานโชว์อาวุธต่างๆ
โดยจะเริ่มโรดโชว์ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป ...Photo Sompong
Nondhasa
การเสร็จสิ้นการส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก
AWAV 8x8 ใหม่ ๗คันแก่กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน
พัน.รนบ.พล.นย.เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งยังได้ถูกนำไปเข้าร่วมการสวนสนามยานยนต์ในพิธีย่ำพระสุริย์ศรี(sunset
ceremony)
อำลาชีวิตราชการของกำลังพลกองทัพเรือไทยที่เกษียณอายุราชการในสิ้นปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๗ สิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๗ นี้
และเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จล่าสุดของ Chaiseri
ไทยกับนาวิกโยธินไทยตามโครงการก่อนหน้ารวมถึงปรับปรุงความทันสมัยรถสะเทินน้ำสะเทินบก
AAV7A1 RAM/RS ของของกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก พัน.รนบ.พล.นย.
และรถเกราะล้อยาง V-150 4x4 ของกองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง
กองพลนาวิกโยธิน ร้อย.ก.พัน.ถ.พล.นย.(Armored Company, Marine Tank
Battalion, Marine Division)
โดยรถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 จะถูกใช้งานคู่ไปกับ
AAV7A1 ในกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก
ขณะที่รถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพล Panus R600 8x8
ผ่านการทดสอบและส่งมอบแล้ว ๒คันจะไปอยู่ในกองพันรถถัง
ซึ่งต่างเป็นรถที่พัฒนาในไทย
หลังประสบความสำเร็จกับนาวิกโยธินไทย
Chaiseri ไทยยังมองจะส่งออก AWAV 8x8 เช่นเดียวยานเกราะล้อยาง
First Win 4x4 ด้วยครับ
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Royal Thai Army (RTA) were testing and evaluating prototype of prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher at vehicle driving training and testing range of RTA's Army Transportation Department in Kanchanaburi Province on 4-6 September 2024. (Defence Technology Institute)
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Ordnance Materriel Rebuild Center (OMRC), Ordnance Department, Royal Thai Army (RTA) were testing and evaluating prototype of swing semi-axles military utility truck 4x4, base on Czech Tatra 815-7 4x4 military heavy truck at tactical training rage of 2nd Infantry Division Queen's Guard in Prachinburi Province, and vehicle driving training and testing range of RTA's Army Transportation Department in Kanchanaburi Province on 2-4 September 2024. (Defence Technology Institute)
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Royal Thai Army (RTA) were testing and evaluating two prototype of 105mm light howitzer CS/AH2 at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, on 27-30 August 2024. (Defence Technology Institute)
ในปลายเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมาสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทยได้เผยแพร่ชุดภาพและรายละเอียดแสดงความคืบหน้าของโครงการวิจัยและพัฒนาของตนหลายโครงการรวมถึง การทดสอบและประเมินผลต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 ขนาด 105mm จำนวน ๒กระบอกที่ส่งมอบให้กองทัพบกไทยไปแล้ว
การทดสอบและประเมินผลต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่ส่งมอบให้กองทัพบกไทยแล้วในส่วนสมรรถนะการขับเคลื่อนรถแคร่ฐานรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10 tonne สาธารณรัฐเช็ก และการทดสอบและประเมินผลต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ(swing semi-axles) มีพื้นฐานมาจากรถยนต์บรรทุกหนักทางทหารตระกูล Tatra 815-7 4x4 สาธารณรัฐเช็ก
การทดสอบและประเมินผลโครงการเหล่านี้โดยคณะกรรมการฯของกองทัพบกไทยจะนำไปสู่ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารต่อไปอันสามารถจะนำไปสู่สายการผลิตในไทยและนำเข้าประจำการได้ อย่างไรก็ตามผู้ไม่หวังดีต่อชาติก็ยังคงใช้สื่อไร้จรรยาบรรณในเครือของตนโจมตี DTI และกองทัพบกว่าโครงการวิจัยและพัฒนาเหล่านี้เป็นการสิ้นเปลืองแต่ก็พยายามส่งคนของตนเข้ามาหาประโยชน์ครับ