วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-C รุ่นใหม่กองทัพเรือไทยทดสอบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร








Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development and X-Treme Composites was demonstrated new Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System (MARCUS) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) Unmanned Aerial Vehicle (UAV), "MARCUS-B (2024)" now also referred as "MARCUS-C" take off and landing on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier.
Admiral Adoong Pan-Iam, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy was inspected MARCUS-C VTOL UAV on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet during fleet review for farewell RTN commissioned officers and non-commissioned officers in end of Fiscal Year 2024 at Gulf of Thailand on 19 September 2024. (Combat Zones, Panupong Khoomcin)



ภาพและวิดีโอของอากาศยานไร้นักบิน MARCUS-B (2024) สาธิตการขึ้นลงบน รล.จักรีนฤเบศร เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับชม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567
ข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B รุ่นผลิตทดลองประจำการ งป.67 (codename MARCUS-C) 
ผลการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (MARCUS : Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) ของกองทัพเรือจากรุ่นแรก MARCUS ซึ่งได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจาก วช. จำนวน 10,000,000 บาทในห้วงปี 61-63 มาสู่รุ่นที่สอง MARCUS-B ได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจาก วช. จำนวน 5,900,000 บาทในห้วงปี 64-65 
ในห้วงปี 66 ทร. ได้เสนอพิจารณาขอรับงบประมาณเพื่อทำการผลิต MARCUS-B นำไปทดลองใช้งาน ประจำการจำนวน 1 ระบบ เป็นจำนวนเงิน 36,000,000 บาท โดยมีคณะกรรมการ สกพอ. (EEC) พิจารณาให้ความเห็นชอบตามกรอบนโยบายโครงการบูรณาการ ด้วยเห็นว่าเป็นการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ สายการผลิต เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย
ตอบสนองแนวทางในการส่งเสริม อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายในอนาคตของประเทศ (ปัจจุบันมี พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ เป็น ประธาน กพอ.ทร. หรือ EEC ทร.) อีกทั้ง ทร. ยังได้มีการพัฒนาและวางแนวทางการใช้งาน MARCUS-B ในอนาคต หากผ่านการทดสอบผลิตใช้งานแล้ว มีแผนสั่งผลิตเข้าประจำการเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว 
อีกทั้ง ยังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้มีความสามารถในการขึ้นลงบนเรือได้อย่างอัตโนมัติ พร้อมกำหนดจำนวนเรือเป้าหมายที่ต้องการให้มี MARCUS-B เข้าประจำการเรียบร้อยแล้ว 
ในห้วงปี 67 ทร. โดยสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ได้ดำเนินกระบวนการคัดเลือกผู้ประกอบการ สัญชาติไทยเพื่อจ้างผลิต MARCUS-B ตามคุณลักษณะที่ ทร. กำหนด โดยมีผู้ประกอบการที่ร่วมงานวิจัย ในโครงการมาตั้งแต่รุ่นแรก ยื่นข้อเสนอและผ่านการคัดเลือกแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอ ขออนุมัติให้ลงนามในสัญญา 
(เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ผู้ประกอบการและกลุ่มนักวิจัย ให้ความร่วมมือแก่ ทร. ลงทุนและดำเนินการผลิต MARCUS-B รุ่นใหม่ ลำสาธิตให้ ทร. ได้ชมก่อนลงนามในสัญญา โดยไม่มี ข้อผูกมัดประการใดกับทางราชการ มีผู้ร่วมผลิตคือ B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development และ X-Treme Composites เป็นผู้ร่วมผลิตให้กับกองทัพเรือ) 

คุณลักษณะของ MARCUS-B รุ่นใหม่ (codename MARCUS-C) 
MARCUS-B จำนวน 1 ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับจำนวน 2 ลำและชุดควบคุม ภาคพื้นจำนวน 1 ชุด (2 Bird – 1 Ground)
MARCUS-B ที่ทำการผลิตจะใช้พื้นฐานองค์ความรู้และรูปร่างรูปทรงที่เป็นผลมาจากการวิจัย มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาสตร์และพื้นที่การใช้งานที่ดีขึ้น มิติโดยประมาณมี ความยาวระหว่างปลายปีกทั้งสองข้างประมาณ 4.8 เมตร มีความยาวหัวลำถึงท้ายลำประมาณ2.8 เมตร น้ำหนักขึ้นบินสูงในระหว่าง 35-50 กิโลกรัม
o ขึ้นลงทางดิ่งด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 4 ตัวที่สามารถผลิตแรงยกได้สูงสุดเกือบ 120 กิโลกรัม บินเดินทางด้วยเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงแบบ 2 สูบ 4 จังหวะ 125 cc (UAV Graded) ควบคุม การจ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีดอิเลคทรอนิกส์ EFI ควบคุมแรงดัน อุณหภูมิ และการทำงาน อื่นๆ แบบอัตโนมัติ มีระบบ electronic starter / alternator สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ากลับมา ใช้ได้ตลอดห้วงระยะเวลาการบิน 
สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในอัตราประมาณ 1.2-1.8 ลิตรต่อชั่วโมง ติดตั้งถังน้ำมันความจุ 11 ลิตร (หากไม่มีการติดตั้ง payload เพิ่มเติมจะสามารถติดตั้งถังน้ำมัน เพิ่มเดิมได้อีกประมาณ 8-10 ลิตร) 
ติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบ EO/IR กำลังขยาย 30 เท่า พร้อม Laser Range Finder ระยะ 5 กิโลเมตร 
ติดตั้งระบบ ADS-B ที่สามารถเปิด-ปิด การทำงานได้เมื่อต้องการ
Automatic Dependent Surveillance Broadcast (ADS-B) เป็นระบบแจ้งพิกัดตนเองแบบอัตโนมัติ ที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสากลไปทั่วโลก สำหรับอากาศยานโดยทั่วไป ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ MARCUS-B ไม่ได้เป็นสิ่งแปลกปลอมในห้วงอากาศสาธารณะ เป็นการให้ความร่วมมือกับ CAAT ในการบริหารจัดการห้วงอากาศ แต่เมื่อมีความจำเป็นก็สามารถปิดระบบนี้ ทำให้ MARCUS-B ล่องหนได้เมื่อมีความจำเป็น
ระบบการสื่อสารแยกเป็น อากาศยาน 1 ลำ มีระยะทำการไม่ต่ำกว่า 50 NM และอีก 1 ลำมี ระยะทำการไม่ต่ำกว่า 10 NM (จำกัดด้วยงบประมาณที่ได้รับ) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
GCS ติดตั้งระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Phased Array (Military Graded) ระยะ ปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตร ป้องกันการตรวจจับ และต่อต้านการรบกวน (Anti UAV Jammer)

นักวิจัยของกองทัพเรือร่วมกับผู้ประกอบการสัญชาติไทย (B.J.Supply 2017, Oceanus R&D, X-Treme Composites) ทำการผลิต MARCUS-B (2024) ลำต้นแบบเพื่อทำการบินสาธิตให้ผู้บัญชาการทหารเรือได้ชมการขึ้นลงจากเรือที่ออกปฏิบัติการในทะเล ก่อนทำการผลิตและส่งมอบให้กองทัพเรือเพื่อนำไปทดลองประจำการ
ถูกต้องครับ ... การทำให้ระบบขับเคลื่อนระบบเดียวทำงานได้ทั้งขึ้น-ลงทางดิ่งและบินเดินทางได้นั้น มันมีความคุ้มค่า (airworthiness) มากกว่า แต่ด้วยข้อจำกัดในหลายๆด้าน จากการร่วมพิจารณาจึงได้ข้อตกลงใจที่ดีที่สุดของรุ่นนี้ออกมาว่า ต้องมีระบบขับเคลื่อนทั้งสองแบบทำงานประสานกัน โดยมีเหตุผลประกอบหลักๆ เช่น
- การมีระบบขับเคลื่อนสองระบบที่ทำงานสำรองแทนกันได้ (redundant) จะปลอดภัยกว่า เราเคยมีประสบการณ์เครื่องดับกลางอากาศ เราก็ได้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยชีวิตไว้ รวมถึงการแก้อาการทรงตัวผิดปกติ ป้องกันไม่ให้เครื่องพลิกหรือตกเมื่อเจอพายุหนัก
- การสร้างกลไล (mechanic) เพื่อทำให้ระบบขับเคลื่อนเปลี่ยนทิศได้กับเครื่องบินที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 กก. ขึ้นไปเป็นเรื่องที่ซับซ้อน อีกทั้งการทำให้เครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปทำงานประสานกันได้ภายในเสี้ยววินาที เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก แต่การใช้มอเตอร์ไฟฟ้านั้นจะหลีกเลี่ยงปัญหาทุกอย่าง
- ทีมงานตระหนักดีว่า สิ่งที่เราเสียไป (tradeoff) กับน้ำหนักของระบบขึ้น-ลงทางดิ่งนั้น "คุ้มค่าที่จะแลก" เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้งานของกองทัพเรือ
- เราแก้ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการบินให้นานขึ้น โดยการปรับแบบโครงสร้างภายนอกเพื่อให้ได้ค่าอากาศพลศาสตร์ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงสมรรถนะสูงที่มีความประหยัดมาก
ทีมงานตระหนักดี ในเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขอให้ข้อมูลว่าเรานำรุ่นนี้เข้าสายการผลิต เพราะมีความมั่นใจในเสถียรภาพและมีความน่าเชื่อถือ (stable / reliable) ในส่วนของเทคโนโลยีหรือ configuration ใหม่ๆ นั้น เรายังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (ออกแบบเอง, สร้างขึ้นมาเองกับมือ, บินเอง, สอนเอง เราจึงมั่นใจว่าจะปรับจะแก้อะไรอย่างไรก็ได้) 
เพียงแต่การจะนำรุ่นใดมาผลิตใช้งานจริงนั้น ต้องมีความมั่นใจ ว่าจะต้องใช้งานได้จริง ไม่มีปัญหา (การวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แบบคู่ขนานกัน)
ทีมงานมีความมั่นใจว่า learning curve ในช่วงปลายของมนุษย์เรานั้นจะสูงมาก เราจะสามารถพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันเราเริ่มได้รับความไว้วางใจจากหลายฝ่าย เรายืนยันว่าจะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง
ขอขอบคุณแรงสนับสนุนในทางบวกจากทุกๆ ท่าน ขอให้เป็นการติเพื่อก่อ การ discredit กันไม่ได้ช่วยให้สังคมดีขึ้นมาแต่อย่างใด คนไทยไม่ได้มีแค่ทีมงานของเราเท่านั้นที่ทำเรื่องแบบนี้ได้ ประเทศเรายังมีคนเก่งอยู่อีกมาก ขอแค่ให้ช่วยกันสนับสนุนคนเก่ง "ที่เป็นคนดี" ให้ได้มีโอกาส ให้ได้รับการสนับสนุน หยุดความขัดแย้ง หันหน้ามาร่วมมือกันตามความถนัดและโอกาสที่ตนเองมี ประเทศชาติเราย่อมเจริญครับ
:Captain Panupong Khoomcin นาวาเอก ภาณุพงศ์ ขุมสิน ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

โครงสร้างอากาศยาน(Airframe) ของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B (2024) รุ่นใหม่ หรือที่ขณะนี้รู้จักในชื่อ MARCUS-C ถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรก งาน 'นาวีวิจัย 2024' ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/dpv.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/08/chaiseri-awav-8x8.html)
สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท Oceanus Research and Development ไทย, บริษัท X-Treme Composites ไทย และบริษัท B.J.Supply 2017 ไทยเป็นผู้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-C รุ่นใหม่นี้

MARCUS-C ถือว่าเป็นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) ในตระกูลอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) รุ่นที่สาม ต่อจากรุ่นแรก MARCUS ที่มีการทดสอบบนเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓)(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html
และรุ่นที่สองอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B ที่ได้มีการทดสอบบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/marcus-b.html) ซึ่งโครงการได้รับอนุมัติวงเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อการสร้าง ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ UAV จำนวน ๔เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน ๑ระบบ

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-C ล่าสุดที่มีการทดสอบการปฏิบัติการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรที่ลอยลำในกระบวนหมู่เรือสวนสนามกับเรือหลายลำของกองทัพเรือไทยในอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งได้เห็นครั้งแรกที่อากาศยานไร้คนขับตระกูล MARCUS ปฏิบัติจากดาดฟ้าบินของเรือขณะที่เรือลอยลำในทะเล ต่างจากการทดสอบก่อนหน้าที่ดำเนินการขณะเรือจอดเทียบท่า
ขณะที่ MARCUS-B โครงสร้างลำตัว(fuelselage) ในรูปแบบ Blend wings กับแพนหางท้ายแบบ twin-tail boom แต่ MARCUS-C ใช้โครงสร้างลำตัวรูปแบบ conventional high wings แต่ยังคงระบบขับเคลื่อนผสมผสานใบพัดผลักดันท้ายเครื่องกับใบพัดปีกหมุนสี่ชุดที่ให้แรงยกแนวดิ่งอยู่ พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือไทยได้รับทราบจากนายทหารโครงการว่าระบบต้นแบบนี้มีงบประมาณในการผลิตเพียง ๓๖,๐๐๐,๐๐๐๐บาท($1,093,080) เท่านั้น ขณะที่ระบบ VTOL UAV รูปแบบเดียวกันของต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($9,120,255) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/dp6-pathum-4.html)