Royal Thai Air Force (RTAF) White Paper 2024 on Royal Thai Air Force Symposium 2024
สมุดปกขาวของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่เปิดตัวในการสัมมนาเชิงวิชาการ RTAF Symposium 2024 เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
เป็นการปรับปรุงจากสมุดปกขาวของกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๖๓ RTAF White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) โดยเป็นการทบทวนและจัดทำที่พิจารณาจากสถานการณ์ระบาด Covid-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน แผ่นดินไหวตุรกี และสงครามอิสราเอล-Hamas
กองทัพอากาศไทยได้ระบุรูปแบบการดำเนินการจัดทำแผนงานหรือโครงการพัฒนาต่างๆ ออกเป็น ๓ รูปแบบด้วยกัน ตามแนวคิด Roadmap to Unbeatable Air Force คือ
๑.โครงการจัดหายุทโธปกรณ์จากผู้ผลิตยุทโธปกรณ์(procure military equipment from military equipment manufacturers)
ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ใช้วิทยาการทางทหารมีความเชื่อถือได้ และต้องรับเงื่อนไขนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์(Defence Offset Policy) และการถ่ายทอดวิทยาการ
ตลอดจนควรให้สิทธิหรือลิขสิทธิ์ต่อกองทัพอากาศและ/หรือบริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในการพัฒนาต่อยอดยุทโธปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพอากาศ (แสดงด้วยสีแดง)
๒.โครงการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ(cooperation project with the national defense industry)
ซึ่งให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตามศักยภาพและขีดความสามารถภายใต้มาตรฐานทางทหาร เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศอีกทั้งเป็นการสร้างงานภายในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (แสดงด้วยสีเขียว)
๓.โครงการจากงานวิจัยและพัฒนาของกองทัพอากาศ(R&D: Research and Development)
วิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ หรือการผลิตยุทโธปกรณ์โดยกองทัพอากาศหรือการจ้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศผลิตผลงานวิจัยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทางทหารแล้ว ซึ่งเป็นการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับกองทัพอากาศและประเทศ (แสดงด้วยสีเหลือง)
แผนการพัฒนากองทัพอากาศทุกมิติ(All Domains Projects) ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๗-๒๕๘๐(2024-2037) ที่สำคัญในการพัฒนากำลังอากาศยานและกำลังรบประกอบด้วยเช่น
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A ADF of 102nd Squadron, Wing 1 Korat. (Royal Thai Air Force)
๑.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(Fiscal Year FY2025-2034) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ได้ถูกโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/f-16ab.html)
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยกำลังจะตัดสินเลือกระหว่างเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ หรือเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดนในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ก่อนเริ่มปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16BM 40301 of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli in special scheme 30th Anniversary Exercise Cope Tiger 1994-2024. (Royal Thai Air Force)
The US Pacific Air Forces's Lockheed Martin F-35A Lightning II in Singapore before heading to Thailand for Exercise Cope Tiger 2024!. (Republic of Singapore Air Force)
๒.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน ๔ ตาคลี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๘๐-๒๕๘๙(FY2037-2046) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
แม้ว่าสหรัฐฯจะได้ปฏิเสธที่จะอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) แก่กองทัพอากาศไทยที่ตั้งใจจะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B กองบิน๑ ของตน โดยสหรัฐฯให้เหตุผลเรื่องการที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมของไทย
อย่างไรก็ตามล่าสุดกองทัพอากาศไทยได้มองที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วของตนด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่๖ ในระยะยาว(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-35a-8-f-35b-12.html)
ล่าสุดการฝึกผสมทางอากาศ Cope Tiger 2024 ระหว่างกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) สหรัฐฯจะนำเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตนมาฝึกในไทยเป็นครั้งแรกครับ
Royal Thai Air Force's modernized F-5E TH Super Tigris of 211th Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani. (Royal Thai Air Force)
Royal Thai Air Force's modernized Alpha Jet TH (Dornier Alpha Jet) attack aircraft of 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani. (Royal Thai Air Force)
๓.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี หรือเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(FY2031-2035) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
กองทัพอากาศไทยได้เสร็จสิ้นโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris จำนวน ๑๓เครื่องของฝูงบิน๒๑๑ ไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-5th-super-tigris.html)
ขณะที่กำลังดำเนินโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH จำนวน ๑๔เครื่องของฝูงบิน๒๓๑(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/alpha-jet-th.html) ซึ่งทั้งหมดจะถูกปลดประจำการลงในปี 2030s และแทนที่ด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่เพียงฝูงบินเดียว
These KGGB kits are being fitted to both the F-16s and the RTAF's T-50TH Golden Eagle lead-in fighter trainer aircraft/light attack aircraft built by Korea Aerospace Industries (KAI). (My Own Photo)
๔.โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกล(Stand-Off Weapon) ที่มีระยะยิงพิสัยไกลไม่น้อยกว่า 30nmi ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๓-๒๕๗๕(FY2030-2032)
กองทัพอากาศไทยได้รับมอบชุดระเบิดร่อนนำวิถีดาวเทียม KGGB(Korean GPS-Guided Bomb) จากบริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีไปแล้วซึ่งสามารถใช้งานกับอากาศยานรบได้หลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-kggb.html)
การจัดหาอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกลสำหรับเครื่องบินรบที่มีอยู่และจะจัดหาเข้าประจำการในอนาคตควรจะต้องเป็นระบบอาวุธที่สามารถบูรณาการใช้งาร่วมกันได้เป็นส่วนใหญ่ และจะต้องไม่มีความยุ่งยากในการจัดหาและนำไปใช้งาน
Royal Thai Air Force's F-16A ADF 103rd Squadron, Wing 1 Korat with AIM-9M Sidewinder and AIM-120C AMRAAM missiles. (Royal Thai Air Force)
๕.โครงการฟื้นฟูอาวุธอากาศสู่อากาศในระยะสายตา(WVRM: Within Visual Range Missile) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๒(FY2026-2029)
เป็นการปรับปรุงคืนสภาพใหม่(Refurbishment)เพื่อดำรงขีดความสามารถของอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9M Sidewinder ที่มีอยู่ให้ใช้งานต่อไปได้และในการเก็บรักษาตามแผนสำรองสงคราม(war reserve)
Hungarian Air Force's Saab Gripen C with IRIS-T and Meteor missiles.
๖.โครงการจัดหาอาวุธอากาศสู่อากาศระยะไกลกว่าสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) ที่มีระยะยิงพิสัยไกลไม่น้อยกว่า 50nmi ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๒(FY2026-2029)
เป็นที่เข้าใจว่าจะเป็นการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกลสมรรถนะสูงที่ทันสมัยเช่น MBDA Meteor(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/meteor-mlu-2024.html) หรือ RTX AIM-120C-8 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile)
Domestic Mk 66 air to ground rocket by Directorate of Armament, Royal Thai Air Force. (Sompong Nondhasa)
๗.โครงการพัฒนาชุดนำวิถีสำหรับจรวดอากาศสู่พื้นแบบ MK66 ด้วยแสง laser ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๖(FY2022-2023)
เป็นการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาระบบนำวิถี(Rocket Guidance System) ด้วย Laser ติดตั้งกับจรวดอากาศสู่พื้นขนาด 2.75" ที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารอากาศ สพ.ทอ.(Directorate of Armament) โดยวิจัยร่วมกับนักวิจัยของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช(NKRAFA: Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy) หรือหน่วยงานภายนอกของไทย
Royal Thai Air Force's Saab Gripen C of 701st Sqaudron, Wing 7 Surat Thani with Target Practice (TP) bombs. (Royal Thai Air Force)
๘.โครงการพัฒนาการผลิตระเบิดอากาศเอนกประสงค์(GP: General-purpose bomb) ขนาด 500lbs ระดับสากลสำหรับเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก. Saab Gripen C/D ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๗(FY2022-2024)
กรมสรรพาวุธทหารอากาศ สพ.ทอ.จะผลิตลูกระเบิดอากาศเอนกประสงค์ขนาด 500lbs ซึ่งลูกระเบิดที่ใช้งานร่วมกับ บ.ข.๒๐/ก ripen C/D ต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน(Defence Material Administration, FMV: Forsvarets materielverk)
โดยเป็นการจัดหาจัดจ้างอุปกรณ์เครื่องมือ เปลือกลูกระเบิดอากาศ และการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตลูกระเบิดอากาศอากาศเอนกประสงค์ จากบริษัทต่างประเทศ ที่ได้การรับรองจาก FMV สวีเดนและมีมาตรฐานเทียบเท่ากับต่างประเทศ
๙.โครงการวิจัยและพัฒนา Decoy Flare สำหรับอากาศยานรบ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2025-2028)
การวิจัยการผลิตเป้าลวง Decoy Flare เพื่อใช้กับอากาศยานรบ โดยใช้องค์ความรู้เดิมของการผลิต pyrotechnic ใช้วัสดุภายในประเทศ เป็นการพึ่งพาตนเอง
๑๐.โครงการผลิตกระสุนขนาด 20mm ชนวนไฟฟ้า ชนิดกระสุนฝึกส่องวิธี TP-T ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๒-๒๕๗๕(FY2029-2032)
๑๑.โครงการผลิตจรวดอากาศสู่พื้นขนาด 2.75" รุ่น MK66 ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๒-๒๕๗๔(FY2029-2031)
ติดตั้งใช้งานกับเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet และเครื่องบินโจมตีเบาแบบ AT-6 ซึ่งได้ทำการผลิตต้นแบบ และได้รับรองมาตรฐานแล้ว พร้อมทั้งวางแผนต่อยอดพัฒนา เช่น ใช้งานกับอากาศยานไร้คนขับ
ประยุกต์ใช้งานกับภารกิจอื่นๆ เช่น สนับสนุนการดับไฟป่า หรือการศึกษาวิจัยระบบขับเคลื่อนเชื้อเพลิงแข็ง เป็นต้น
๑๒.โครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้(SHORAD: Short Range Air Defense System) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๑-๒๕๗๕(FY2028-2032)
จัดหาระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้(Short Range Air Defense) โดยมีขีดความสามารถในการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศ และคุณลักษณะของระบบในรูปแบบ Close In Weapon System(CIWS)
ระบบมีการผสมผสานของอาวุธตัวทำลาย(Effectors) ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ปืน จรวด และ laser (Gun-Based, Missile-Based and Laser-Based) เพื่อให้ระบบต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
Saab displayed its RBS 70 NG Ground-Based Air Defence (GBAD) system at the Defense & Security show in Bangkok. (My Own Photo)
๑๓.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอาวุธนำวิถีด้วย laser พื้นสู่อากาศ(Laser-guided Surface to Air Missile) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2028-2028)
วิจัยและพัฒนาระบบอาวุธนำวิถีด้วย laser พื้นสู่อากาศ(SAM: Surface to Air Missile) ที่มีระยะยิงพิสัยใกล้(SHORAD: Short Range Air Defense)
๑๔.โครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง(Medium Range Air Defense)
ระยะที่๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2028-2028) จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ(Air Defense System) โดยใช้อาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ ที่มีระยะยิงพิสัยได้ไกลไม่น้อยกว่า 30nmi
ระยะที่๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๖-๒๕๘๐(FY2033-2037) พิจารณาทางเลือกระหว่างโครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง/ไกล(Medium/Long Range Air Defense)
ปัจจุบันอากาศโยธินกองทัพอากาศไทย(RTAF Security Force) มีประจำการด้วยระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Saab RBS 70 ทั้งแบบฐานยิงประจำที่เคลื่อนย้ายด้วยบุคคลและบนรถยนต์บรรทุกแล้ว แต่ยังขาดระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้และพิสัยกลาง
แนวคิดนี้จะเป็นการพึ่งพาตนเองด้วยการพัฒนาและผลิตในประเทศโดยน่าจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกรวมถึงต่างประเทศ รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถการป้องกันฐานบินด้วยระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทันสมัยกว่าในปัจจุบัน
๑๕.โครงการจัดหาระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(Anti Drone/Unmanned Aircraft System) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๐, ๒๕๗๐-๒๕๗๓, ๒๕๗๓-๒๕๗๖(FY2025-2027, FY2027-2030, FY2030-2033)
จัดหาและ/หรือบูรณาการความร่วมมือพัฒนาระบบป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารจากอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aircraft System) เชิงพาณิชย์และทางทหาร ทั้งภาวะปกติและภาวะวิกฤต
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang. (Royal Thai Air Force)
๑๖.โครงการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hurcules ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗-๒๕๗๐, ๒๕๗๐-๒๕๗๓(FY2024-2027, FY2027-2030)
ปรับปรุงขีดความสามารถระบบเครื่องยนต์ T56-A-15LFEโดยปรับปรุงในส่วนของ Compressor และ Turbine ซึ่งจะทำให้เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980) สามารถใช้งานต่อไปได้อีกหลายสิบปี
Royal Thai Air Force's Basler BT-67 of 461st Squadron Wing 46 Phitsanulok. (Royal Thai Air Force)
๑๗.โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๒ก บล.๒ก BT-67 ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(FY2031-2035)
จัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทนเครื่องบินลำเลียง บล.๒ก BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๑(1998) ซึ่งปรับปรุงจากเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ C-47 ในการปฏิบัติภารกิจลำเลียงระยะสั้น(Short-haul)
Royal Thai Air Force's Airbus Helicopter H225M (EC725) of 203rd Squadron Wing 2 Lop Buri. (Royal Thai Air Force)
๑๘.โครงการเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ระยะที่๕ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗-๒๕๖๙(FY2024-2026)
ปรับปรุงขีดความสามารถเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopter H225M(EC725) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จำนวน ๕เครื่อง และจัดหาอุปกรณ์ถังน้ำดับไฟป่าแบบกระเช้าตักน้ำ(Helicopter Bucket) จำนวน ๕ชุด
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่าและการควบคุมเพลิง ในพื้นที่จำกัดให้กับเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) โดยมุ่งเน้นการบูรณาการด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงกับบริษัทอุตสาหกรรมในประเทศ
Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle of 401st Squadron, Wing 4 Takhli. (Royal Thai Air Force)
๑๙.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2025-2028)
จัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle จำนวน ๒เครื่อง ซึ่งจะทำให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ มี บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มรวมทั้งหมด ๑๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/kai-t-50th.html)
Royal Thai Air Force Kamphaeng Saen flying school CT-4E Airtrainer. (Royal Thai Air Force)
๒๐.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นต้นทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ บ.ฝ.๑๖ก CT-4E ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๖-๒๕๘๐(FY2033-2037)
จัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทนเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖/ก CT-4E Airtrainer ในฝูงบินฝึกขั้นต้น โรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๒(1999)
Royal Thai Air Force's domestic M Solar-X Unmanned Aerial Vehicle (UAV). (Royal Thai Air Force)
๒๑.โครงการวิจัยและพัฒนา M Solar-x สำหรับภารกิจป้องกันฐานบิน ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘, ๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2023-2025, FY2025-2028)
เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กสมรรถนะสูงเพดานบินต่ำ(Low Altitude) โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์(Solar Energy) เพื่อใช้ในการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารให้กองกำลังภาคพื้นใช้งานเพิ่มขีดความสามารถ ในการตรวจการณ์และลาดตระเวนรอบฐานที่ตั้งในภารกิจป้องกันฐานบินของกองทัพอากาศ ซึ่งพัฒนาโดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และได้มีพิธีส่งมอบในงาน RTAF Symposium 2024 เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗
๒๒.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐, ๒๕๗๐-๒๕๗๕(FY2023-2027, FY2027-2032)
เพื่อวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถอากาศยานไร้คนขับพลีชีพ(Kamikaze Drone/Loitering Munition) ให้มีขีดความสามารถการโจมตีเป้านิ่งด้วยระบบนำวิถีในระยะพิสัยกลาง เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ
Royal Thai Air Force's Aeronautics Dominator XP Medium-Altitude, Long-Endurance (MALE) Unmanned Aircraft Vehicle (UAV) of 301st Squadron, Wing 3 Watthana Nakhon
๒๓.โครงการปรับปรุงขีดความสามารถระบบอากาศยานไร้คนขับ (SATCOM) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(FY2025-2028)
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถระบบเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์แบบที่๓ บร.ต.๓ Aeronautics Dominator XP ฝูงบิน๓๐๑ กองบิน๓ วัฒนานคร(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/dominator-xp-uav.html)
ให้มีขีดความสามารถปฏิบัติภารกิจในระยะนอกสายตา(BLOS: Beyond Line Of Sight) โดยการติดตั้งระบบสื่อสารและควบคุมผ่านดาวเทียม(SATCOM)
๒๔.โครงการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธขนาดกลาง(Medium UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๒(FY2026-2029)
๒๕.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินสูงเสมือนดาวเทียม(HAPS: High Altitude Pseudo Satellite) พ.ศ.๒๕๖๗-๒๕๗๓, ๒๕๗๓-๒๕๗๘(FY2024-2030, FY2027-2035)
มีขีดความสามารถปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนในระดับยุทธศาสตร์ สามารถพัฒนาเพื่อติดตั้งระบบถ่ายรูปที่มีความละเอียดน้อยกว่า ๐.๓ เมตรได้ และมีระยะเวลาการปฏิบัติการยาวนาน นอกระยะการตรวจจับจากระดับป้องกันทางอากาศของฝ่ายตรงข้าม
กองทัพอากาศไทยเปิดตัวแนวคิดอากาศยานเสมือนดาวเทียม M-Pseudo SAT ครั้งแรกในงานแสดง Defense & Security 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-m-pseudo-sat.html)
๒๖.โครงการวิจัยและพัฒนา Swarm UAV : Common Micro/Nano UAS ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๔, ๒๕๗๔-๒๕๗๙(FY2026-2031, FY2031-2036)
๒๗.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับระดับยุทธวิธี(Tactical UAV) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๒-๒๕๗๗, ๒๕๗๗-๒๕๘๐(FY2029-2034, FY2034-2037)
๒๘.โครงการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับแบบ MUM-T(Man-Unmanned Teaming) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๒-๒๕๗๘, ๒๕๗๗-๒๕๘๐(FY2029-2035, FY2035-2037)
๒๙.โครงการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธระดับยุทธวิธี(Tactical UCAV) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๒-๒๕๗๗, ๒๕๗๗-๒๕๘๐(FY2029-2034, FY2034-2037)
จะเห็นได้ว่ากองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่มีการวางแผนระยะยาวและมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการพัฒนาขีดความสามารถของตน อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการบินและอวกาศของไทยอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่งครับ