วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567

DTI และกองทัพบกไทยทดสอบและประเมินผลต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร TATRA 4X4 สาธารณรัฐเช็ก










Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Ordnance Materriel Rebuild Center (OMRC), Ordnance Department, Royal Thai Army (RTA) were testing and evaluating prototype of swing semi-axles military utility truck 4x4, base on Czech Tatra 815-7 4x4 military heavy truck at tactical training rage of 2nd Infantry Division Queen's Guard in Prachinburi Province, and vehicle driving training and testing range of RTA's Army Transportation Department in Kanchanaburi Province on 2-4 September 2024. (Defence Technology Institute)

เมื่อวันที่ 2 - 4  กันยายน  2567 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยโครงการยานเกราะล้อยาง ได้นำโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ (Swing Semi-Axles) เข้าทดสอบและประเมินผลโครงการ โดยมี พลตรี รณภพ วิเชียรวรรณ ผู้บัญชาการ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ 
พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และสนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก จังหวัดกาญจนบุรี
โดยได้ดำเนินการทดสอบการขับเคลื่อนและการลำเลียงพลทางยุทธวิธีในภูมิประเทศภูมิประเทศ, การบรรทุกยุทธภัณฑ์และเครื่องปัจจัยส่งกำลังบำรุง การไต่ลาดชัน การไต่ลาดเอียง และการทดสอบการข้ามสิ่งกีดขวางประกอบด้วย คอนกรีตผิวขรุขระ คอนกรีตผิวลูกคลื่น บ่อโคลน บ่อน้ำ บ่อทราย ขอนขวางถนนในทางตรง และทางโค้ง ผิวถนนหินใหญ่และกรวดทราย 
ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตรงตามขีดความสามารถ สมรรถนะของต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทุกสภาพของภูมิประเทศ ตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาโครงการพัฒนาต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ ระหว่างกองทัพบก และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ทั้งนี้ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ สามารถผ่านการทดสอบตามหัวข้อการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ของกองทัพบก ได้กำหนดขั้นตอนต่อไป โครงการยานเกราะล้อยาง จะได้นำผลการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ ดังกล่าว เข้าสู่ขั้นตอนการรับรองมาตรฐานผลงานวิจัย และพัฒนาการทางทหาร ของกองทัพบกต่อไป

ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ชนิดช่วงล่างอิสระ(swing semi-axles) โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ที่ได้รับการทดสอบและประเมินผลโดย ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ ศซส.สพ.ทบ.(OMRC: Ordnance Materriel Rebuild Center) กรมสรรพาวุธทหารบก สพ.ทบ.(Ordnance Department) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ(2nd Infantry Division Queen's Guard) (เข้าใจว่าน่าจะเป็นในพื้นที่ของหน่วยที่จังหวัดปราจีนบุรี) และสนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก ขส.ทบ.(Army Transportation Department) ในจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒-๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมานั้น(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/barak-mx.html)

เห็นได้จากชุดภาพที่ DTI ไทยเผยแพร่บนสื่อสังคม online ทางการของตนเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๗ ว่า ต้นแบบรถบรรทุกทางทหาร 4X4 ดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากรถยนต์บรรทุกหนักทางทหารตระกูล Tatra 815-7 ของบริษัท Tatra สาธารณรัฐเช็ก โดยมีการพัฒนาส่วนบรรทุกด้านท้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและครึ่งหกเหลี่ยม ซึ่งน่าจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการป้องกันต่อระเบิดแสวงเครื่องและกระสุนปืนเล็กในระดับเกราะขนาดเบา
รถยนต์บรรทุกหนักของ Tatra สาธารณรัฐเช็กได้ถูกนำใช้เป็นรถแคร่ฐานของระบบอาวุธหลายแบบที่ที่ผลิตในไทยและประจำการในกองทัพบกไทยแล้วรวมถึงปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบขนาด 155mm แบบอัตตาจรล้อยาง M758 ATMG(Autonomous Truck-Mounted Gun) สำหรับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10tonne(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-m758-atmg-155mm.html)

และต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A สำหรับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10tonne เช่นกัน ที่เป็นผลงานของ DTI ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/dti-d11a.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/08/dti-d11a.html) เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการจะจัดหารถยนต์บรรทุก รยบ.4x4 ขนาดระหว่าง 1 1/4tonne ถึง 2 1/2 tonne เพื่อทดแทนรถเก่าที่ใช้งานมานานของตน
ปัจจุบันกองทัพบกไทยมีรถยนต์บรรทุก 4x4 ใช้งานหลายแบบเช่น รถยนต์บรรทุก รยบ. UNIMOG U1100 L/29 4x4 ขนาด 1 1/4tonne เยอรมนีซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน รถยนต์บรรทุก รยบ.Isuzu FTS 33 H2E 4x4 ขนาด 2 1/2tonne ญี่ปุ่นซึ่งเป็นรถพลเรือนมีข้อจำกัดในใช้งานทางยุทธการ(เช่นลุยน้ำท่วมไปช่วยประชาชนได้ไม่ดี) และรถยนต์บรรทุก รยบ.Tata LPTA 715/32 TC 4x4 ขนาด 1 1/4tonne อินเดียซึ่งเห็นว่ามีปัญหาการใช้งาน(ซ่อมบำรุง)บางอย่างครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/tata-lpta-715.html)