วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สหรัฐฯอนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E แก่คูเวต ระเบิดนำวิถี SDB แก่ซาอุดีอาระเบีย และกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP แก่อียิปต์

US clears sale of AH-64Es to Kuwait, smart bombs to Saudi Arabia
A US Army AH-64E Apache Longbow Source: US Army

A US Air Force F-15E Strike Eagle drop GBU-39 SDB Source: US Air Force

A US Air Force F-16C Fighting Falcon with AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod Source: Lockheed Martin

รัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ในรูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) จำนวน 4รายการแก่อียิปต์, คูเวต และซาอุดีอาระเบีย
เอกสารความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ FMS ทั้งสี่รายการได้รับการเผยแพร่โดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2020

คูเวตได้รับการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Longbow ใหม่จำนวน 8เครื่อง และปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64D ของกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force) 16เครื่องมาสร้างใหม่ให้เป็นมาตรฐาน AH-64E
ยังรวมถึงชุดอุปกรณ์, ระบบอาวุธ, ระบบตรวจจับ, การฝึก และอื่นๆที่เกี่ยวข้องหลากหลายรายการ เป็นวงเงินรวมประมาณ $4.0 billion ในรูปแบบการขาย FMS

"ข้อเสนอการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E จะส่งเสริมและเพิ่มพูนขีดความสามารถของคูเวตเพื่อตรงกับภัยคุกคามปัจจุบันและอนาคต 
โดยการเพิ่มขยายขีดความสามารถภารกิจการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support), การลาดตระเวนติดอาวุธ และสงครามต่อสู้รถถัง" เอกสาร DSCA กล่าว 

ซาอุดีอาระเบียได้รับการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 Small Diameter Bomb I(SDB I) จำนวน 3,000นัด เป็นวงเงินถึง $290 million "ข้อเสนอการขายจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของซาอุดีอาระเบียเพื่อตรงกับภัยคุกคามปัจจุบันและอนาคต
โดยเพิ่มจำนวนอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูงระยะไกล ขนาดและความแม่นยำของ SDB I ทำให้อาวุธมีประสิทธิภาพโดยมีความเสียหายข้างเคียงน้อยกว่า ความเป็นไปได้ในการขายจะเสริมความแข็งแกร่งความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯและซาอุดีอาระเบียเพิ่มเติม" DSCA กล่าว

อียิปต์ได้รับการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ FMS สองรายการ รายการแรกคือการอนุมัติการขายกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) จำนวน 20ระบบ เป็นวงเงิน $65.6 million เอกสารไม่ได้ระบุชนิดอากาศยานที่จะติดตั้ง 
แต่ข้อมูลจาก Cirium fleets data ระบุว่ากองทัพอากาศอียิปต์(Egyptian Air Force) มีเครื่องบินขับไล่ Lockheed Marin F-16 Fighting Falcon ประจำการรวม 218เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ F-16A/B จำนวน 33เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D จำนวน 185เครื่อง

ยังรวมถึงข้อเสนอการขายสุดท้ายสำหรับอียิปต์คือเพื่อการจัดหาชุดมาตรการต่อต้านระบบนำวิถี Infrared สำหรับอากาศยานขนาดใหญ่ Northrop Grumman Large Aircraft Infrared Countermeasures(LAIRCM) วงเงิน $104 million
สำหรับติดตั้งบนเครื่องบินลำเลียง Airbus A340-200CJ ที่ใช้ในการขนส่งผู้นำประเทศของอียิปต์ที่รับมอบในปี 1995 "ชุดการป้องกันตนเองจะเพิ่มความอยู่รอดของเครื่องบิน Airbus จากการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี" DSCA กล่าวครับ

กองทัพบกไทยจะจัดหาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง LG1 Mk III 105mm ฝรั่งเศส














2020 Field Artillery Battery Level T&E Training Exercise: 19th Artillery Battalion (LG1 Mark II Light Gun 105mm towed howitzer), 9th Artillery Regiment, 9th Infantry Division, 1st Area Army, Royal Thai Army (RTA).



ประกาศ กรมสรรพาวุธทหารบก เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร แบบที่ ๑ จำนวน ๒ รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ตามที่ กองทัพบก โดยกรมสรรพาวุธทหารบก ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร แบบที่ ๑ 
พร้อมระบบชี้ทิศทางอัตโนมัติ, อุปกรณ์ และเครื่องมือประจำปืน, ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำรองเบื้องต้น, ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระดับภาคสนาม และชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระดับโรงงาน และระบบอำนวยการยิงและควบคุมการยิงอัตโนมัติ จำนวน ๒ รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง  นั้น
ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร แบบที่ ๑ และระบบอำนวยการยิงและควบคุมการยิงอัตโนมัติ จำนวน ๒ รายการ ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ บริษัท ยูไนเต็ด ดีเฟนซ์ เทคโนโลยี จำกัด (ขายปลีก) 
โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดร้อยสามสิบสี่ล้านสี่แสนบาทถ้วน) เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอากรอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งปวงไว้ด้วยแล้ว และเป็นราคายกเว้นค่าอากรทางศุลกากรขาเข้าซึ่งทางราชการจะดำเนินการขอยกเว้นให้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

Nexter systems ฝรั่งเศสครับ Lg1 mk3 

ตามเอกสารจาก Website การจัดซื้อจัดจ้างของ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ได้ประกาศผู้ชนะโครงการซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ จำนวน ๒รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
ผู้ชนะการเสนอราคาคือ บริษัท ยูไนเต็ด ดีเฟนซ์ เทคโนโลยี จำกัด(UNITED DEFENSE TECHNOLOGY Co., Ltd.) ประเทศไทย เป็นวงเงิน ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐บาท($26,722,194 or 22,677,763 Euros) นั้น

Facebook page ของ บริษัท UNITED DEFENSE TECHNOLOGY ได้ให้ข้อมูลในเวลาต่อมาว่าปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ ที่กองทัพบกไทยจะจัดซื้อดังกล่าวคือปืนใหญ่เบาลากจูงแบบ Nexter LG1 Mk III ขนาด 105mm ฝรั่งเศส
ตามที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัท Nexter ฝรั่งเศสในการเสนอปรับปรุงปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๕๔ LG1 Mk I ที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) และ ปบค.๓๙ LG1 Mk II ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) จำนวน ๒๔กระบอกให้เป็นมาตรฐาน LG1 Mk III

ปัจจุบัน ปบค.๕๔ LG1 Mk I และ ปบค.๓๙ LG1 Mk II ประจำการอยู่เช่นใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๙ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๙ กรมทหารปืนใหญ่๙ กองพลทหารราบที่๙ (กองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๐๙ อีกหน่วยขึ้นตรงของ ป.๙ ใช้ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ปกค.๒๕ M198 ขนาด 155mm)
ซึ่ง ป.๙.พัน.๙ และ ป.๙.พัน.๑๙ มีอัตราจัดแบบอัตราลดคือมี ๒กองร้อยปืนใหญ่ ร้อย.ป.ละ ๖กระบอก รวม ๑กองพันมี ๑๒กระบอก ทำให้เข้าใจว่าการจัดหา ปบค. LG1 Mk III ใหม่จะมีจำนวน ๑๒ กระบอกสำหรับหนึ่งกองพันเพื่อทดแทนปืนใหญ่เก่า เช่น ปบค.๙๕ M101A1 หรือ ปบค.๒๙ M56 ครับ

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Rafael อิสราเอลยืนยันการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง SPIKE MR แก่กองทัพบกไทย


Earlier this year, Rafael Advanced Defense Systems supplied the Royal Thai Army (RTA) a supply of SPIKE MR - medium range - missiles for its 6th Infantry Division.

Display stands presentation of 1st Ammunition Depot, Ordnance Ammunition Depot Division, Ordnance Department, Royal Thai Army show data of three type of anti-tank guided missiles that was procured or to be procured by RTA include Israeli Rafale Spike MR. 





บริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอลได้ประกาศผ่านบัญชีสื่อสังคม online ของตนว่า เมื่อต้นปีนี้(2020) บริษัทได้จัดส่งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลาง SPIKE MR ของตนแก่กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
สำหรับเข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่๖ ที่มีที่ตั้งกองบัญชาการ ณ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นที่เข้าใจว่าจะถูกนำมาทดแทนระบบต่อสู้รถถังแบบเก่าที่ล้าสมัย เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง M47 Dragon สหรัฐฯ หรือปืนไร้แรงสะท้อน M40 ขนาด 106mm

"เราภูมิใจอย่างยิ่งที่กองทัพบกไทยเลือกอาวุธปล่อยนำวิถี SPIKE ซึ่งได้ถูกใช้ในเอเชียเป็นเวลามากกว่า ๒๐ปี และการเลือกอาวุธปล่อยนำวิถี SPIKE โดยกองทัพบกไทยได้เสริมความแข็งแกร่งของฐานผู้ใช้งาน SPIKE ในเอเชีย"
Roman Palarya ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการพัฒนาธุกิจของแผนกระบบอาวุธทางยุทธวิธีความแม่นยำสูง(Precision Tactical Weapon Systems) ของ Rafael อิสราเอลกล่าว

SPIKE MR(Medium Range)เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีที่ใช้ระบบตรวจจับ Electro-Optical(EO) แบบยิงแล้วลืม(Fire & Forget) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล SPIKE(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/rafael-spike-lr-ii-spike-sr.html) ที่ประกอบด้วย
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดเล็ก SPIKE SR, SPIKE MR, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดใหญ่ SPIKE LR2, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขยายระยะยิง SPIKE ER2 และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังระยะยิงนอกระยะสายตา SPIKE NLOS(Non-Line-of-Sight)

ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล SPIKE ใช้ระบบตรวจจับแบบ EO สามารถติดตั้งกับฐานยิงได้หลายรูปแบบตั้งแต่ทหารราบเดินเท้า, ยานยนต์, เรือเร็วผิวน้ำ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/spike-er.html
และเฮลิคอปเตอร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/spike-nlos-ah-64e.html) โดยมีระยะยิงไกลสุดถึง 32km และมีขีดความสามารถการยิงและปรับปรุงข้อมูลเป้าหมายใหม่ขณะลูกจรวดบินโคจร(fire-and-update)

ปัจุจุบันระบบอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล SPIKE ได้ถูกขายให้แก่ ๓๕ประเทศทั่วโลกแล้ว รวมถึงชาติสมาชิกกองกำลัง NATO ๑๙ประเทศ โดยอาวุธปล่อยนำวิถีมากกว่า ๓๓,๐๐๐นัดได้ถูกส่งมอบแล้วและมากกว่า ๖,๐๐๐นัดที่ถูกยิงในการทดสอบและในการรบ
อาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล SPIKE ได้ถูกบูรณาการเข้ากับยานยนต์, เฮลิคอปเตอร์ และเรือผิวน้ำที่แตกต่างกัน ๔๕แบบ สำหรับกองทัพบกไทยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลาง SPIKE MR ได้ถูกส่งมอบมาถึง กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อช่วงกลางปี พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมาครับ

คุณลักษณะของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลาง SPIKE MR
คุณลักษณะทั่วไปของตัวลูกอาวุธนำวิถี(Missile)
-ประเทศผู้ผลิต อิสราเอล โดย บริษัท Rafael Advanced Defense Systems LTD.
-เป็นอาวุธต่อสู้รถถังหุ้มเกราะขนาดกลาง รวมถึงอาคารหรือฐานข้าศึก
-การนำวิถี Infrared homing-Electro Optical
-กล้องขยาย (Missile) x10, x20, x30 เท่า
-ความเร็ว 156.25m/s
-วิถีกระสุน โค้งมาก/โค้งน้อย 
-ขนาด 130mm
-ความยาว 1,200mm
-น้ำหนักครบนัด 28.5kg
-ระยะยิง 200-2,500m
-หัวรบ เป็นแบบระเบิดคู่ (Tandem-charge)
-ดินระเบิด HV10 = HMX+VITON(13kg)
-อายุการใช้งาน ๑๐-๒๐ปี
-ราคา $210,000 ต่อนัด

เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Do 228 กองทัพเรือไทยสองเครื่องถูกส่งไปปรับปรุงที่เยอรมนี

Royal Thai Navy Do228s sighted in Germany

In the early hours of 24 December 2020, two Kong Thap Ruea Thai (RTN, Royal Thai Navy) Dornier Do228-212s arrived for overhaul at Oberpfaffenhofen airport (Bavaria, Germany).

Hindustan Aeronautics and M/s Dornier want to start licensed production in India for an upgraded version of the Do-228 twin turboprop featuring a new glass cockpit. [Photo: Vladimir Karnozov].

Dornier Do 228 serial 1114, 101 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Navy at Chanthaburi Airstrip. 



ในช่วงชั่วโมงแรกๆของวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228-212 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย
(101 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, RTN: Royal Thai Navy) จำนวน ๒เครื่อง ได้เดินทางมาถึงท่าอากาศยาน Oberpfaffenhofen ในแคว้น Bavaria เยอรมนีเพื่อรับการยกเครื่องใหม่(overhaul)

หลังจากล่าช้ามาหลายครั้ง เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228 หมายเลข 1112(หมายเลขการผลิต 8226) และหมายเลข 1114(หมายเลขการผลิต 8228) ได้ถูกขนส่งจากฐานบินอู่ตะเภา กบร.กร. กองทัพเรือไทย
มายังโรงงานอากาศยานของบริษัท Dornier Luftfahrt GmbH ที่สนามบิน Oberpfaffenhofen เยอรมนีโดยเครื่องบินลำเลียงขนส่งสินค้า An-124-100 ทะเบียน UR-82029 ของสายการบิน Antonov Airlines ยูเครน

เป็นที่คาดว่าเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล  บ.ลว.๑ Do 228 หมายเลข 1112 และ 1114 จะถูกปรับปรุงเป็นมาตรฐาน Do 228NG ภายใต้บริษัท RUAG Aviation สวิตเซอร์แลนด์ และจะประจำการในกองการบินทหารเรือต่อไปอีกเป็นเวลาหลายปี
มีความเป็นไปได้ว่ายังมีเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล  บ.ลว.๑ Do 228 ของกองทัพเรือไทยที่ยังคงประจำการอยู่อีกหลายเครื่องจะถูกจัดส่งมาเพื่อเข้ารับการปรับปรุงในอนาคต(ปัจจุบัน RUAG สวิตเซอร์แลนด์ได้ขายกิจการ Dornier Do 228 ให้บริษัท General Atomics สหรัฐฯไปแล้ว)

กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยมี บ.ลว.๑ Do 228 ทั้งหมดจำนวน ๗เครื่องประกอบด้วย หมายเลข 1109 และหมายเลข 1110 เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔(1991), หมายเลข 1111 และหมายเลข 1112 เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘(1995),
หมายเลข 1113 เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙(1996), หมายเลข 1114 เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗(2004) และหมายเลข 1115 เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔(1991)

ก่อนหน้านี้ในปี 2018 กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) ได้เสนอแผนการปรับปรุง บ.ลว.๑ Do 228 ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯแก่กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/do-228.html)
กองทัพเรือไทยเคยมีโครงการจัดเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล จำนวน ๓เครื่อง ที่เข้าใจว่าเพื่อทดแทน เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion ๓เครื่องที่ปลดประจำการไปแล้ว แต่ถูกยกเลิกในปี 2019 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/blog-post_7.html)

คุณลักษณะ เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do-228
น้ำหนัก: ตัวเปล่า 8,792lbs บรรทุกวิ่งขึ้นสูงสุด 14110lbs
มิติ (กว้าง x ยาว x สูง): 3.3m x 16.56m x 4.86m
เครื่องยนต์: GARRETT TPE331-5AB-252D 
ความจุ: น้ำมันเชื้อเพลิง JP-8  4210lbs
ความเร็ว: ปฏิบัติการ 120-200 knots เดินทาง 180 knots สูงสุด 200knots
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง:  440 liter/ชั่วโมงบิน
ระยะบินไกลสุด: 1400nmi/เจ็ดชั่วโมง รัศมี 400nmi
เพดานบิน: 15,000feet
ระยะทางวิ่ง: ขึ้น 2,600feet ลง 1,480feet 

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศรัสเซียรับมอบเครื่องบินขับไล่ Su-57 ในสายการผลิตเครื่องแรกเพื่อใช้ทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Hypersonic

First batch-produced Su-57 delivered to regiment in Southern Military District — source 




The source added that another four such jets would be provided for the Aerospace Force in 2021

First batch-produced Su-57 to be used for testing hypersonic weapons 


A multirole fifth-generation fighter jet Su-57
A number of fundamentally new air-launched attack weapons is being developed by the Tactical Missiles Corporation



เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 เครื่องแรกในสายการผลิตได้ถูกส่งมอบให้แก่กรมบิน(Aviation Regiment) ของกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) 
ในภูมิภาคทหารตอนใต้(Southern Military District) ของกองทัพรัสเซีย แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2020

"กองทัพอากาศรัสเซียได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Su-57 เครื่องแรกในสายการผลิต มันถูกส่งมอบให้แก่กรมบินในภูมิภาทหารตอนใต้" แหล่งข่าวกล่าว
โดยเสริมว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 ในสายการผลิตอีกจำนวน 4เครื่องจะถูกส่งมอบให้กับกองทัพอากาศรัสเซียในปี 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/su-57e-army-2020.html)

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2020 ผู้อำนวยการบริหารของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย Sergey Chemezov กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 ในสายการผลิตเครื่องแรกพร้อมเครื่องยนต์ขั้นระยะแรก จะถูกส่งมอบให้กองทัพรัสเซียภายในสิ้นปี 2020
และเครื่องบินขับไล่ Su-57 เครื่องแรกที่ติดตั้งเครื่องยนตร์ขั้นระยะที่สองจะถูกประกอบในปี 2022(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/su-57-2020.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/12/su-57.html)

รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu กล่าวในการประชุมคณะกรรมาธอการกระทรวงกลาโหมรัสเซียว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 รวมทั้งหมด 22เครื่องจะถูกส่งมอบภายในสิ้นปี 2024
ภายใต้สัญญาที่เสร็จสิ้นการสรุปผลในปี 2019 เครื่องบินขับไล่ Su-57 จำนวนทั้งหมด 76เครื่องจะถูกส่งมอบภายในสิ้นปี 2028(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/su-57.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/su-57.html)

เครื่องบินขับไล่ Su-57 เครื่องแรกในสายการผลิตจะถูกใช้สำหรับการทดสอบการยิงอาวุธปล่อยนำวิถียิงจากอากาศยานความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic ที่ศูนย์ทดสอบการบินใน Akhtubinsk แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียกล่าวกับ TASS
"Su-57 เครื่องเรกในสายการผลิตได้ถูกส่งมอบให้กับศูนย์ทดสอบ Akhtubinsk ในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2020 มันจะถูกใช้สำหรับการทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถี Hypersonic ในการโจมตีแบบใหม่ล่าสุด" แหล่งข่าวกล่าว

ปัจจุบันมีเพียงเครื่องบินขับไล่ MiG-31K ที่ประจำการในภูมิภาคทหารตอนใต้เท่านั้นที่มีความสามารถในกาสรยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic แบบ Kh-47M2 Kinzhal ได้
โดยพื้นฐานระบบอาวุธปล่อยนำวิถียิงจากอากาศยานจำนวนมากได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มรัฐวิสาหกิจ Tactical Missiles Corporation(KTRV) รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/5-mig-41.html)

เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Su-57 ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำลายเป้าหมายทุกรูปแบบทั้งเป้าหมายทางอากาศ, เป้าหมายภาคพื้นดิน และเป้าหมายทางเรือ 
สามารถทำความเร็วเดินทางเหนือเสียง(supersonic cruising speed) ได้ มีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว, การเคลือยวัสดุดูดซับคลื่น Radar(วิทยาการตรวจจับได้ยาก Stealth) และชุดอุปกรณ์ประจำเครื่องแบบใหม่ล่าสุดต่างๆครับ

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยทำการฝึกการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔







AAV7A1 of Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps (RTMC) Division with Amphibious and Combat Support Service Squadron, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy (RTN) conducted Landing operation during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.


Leonardo Super Lynx 300, 203 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 2, Royal Thai Naval Air Division was on flight deck of LPD-791 HTMS Angthong during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.

Fast Craft Utility (FCU) of LPD-791 HTMS Angthong, the Landing Platform Dock carry command post truck of RTN Air and Coastal Defense Command to shore during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.

LST-722 HTMS Surin, the Sichang-class Landing Ship Tank during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.


LST-721 HTMS Sichang during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.

LCU-771 HTMS Thongkaeo, the Thongkaeo-class Landing Craft Utility during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.

Firing M60 machine gun during Amphibious warfare exercise for Fiscal year 2021 in 22-25 December 2020.


ทร.ฝึกการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก 
...ระหว่างวันที่ 22-25 ธันวาคม 2563 กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ทำการฝึกภาคทะเล ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี กองเรือยกพลขึ้นบก บริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยมี พล.ร.ต.อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ เป็นผู้บังคับหมวดเรือฝึกฯ 
ทั้งนี้เพื่อดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือโดยเฉพาะการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ในระดับยุทธวิธีให้พร้อมปฏิบัติอยู่  
โดยมีวัตถุประสงค์ของการฝึก
- เพื่อให้กำลังพลมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับยุทธวิธี ทั้งรายบุคคลและการปฏิบัติงานเป็นทีมภายในเรือ
- เพื่อตรวจสอบความพร้อมขององค์วัตถุของเรือ อากาศยาน และยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเอกสาร คู่มือที่ประกอบการปฏิบัติ ให้กำลังพลที่รับผิดชอบเกิดความพร้อม และมั่นใจในการปฏิบัติงาน
- เพื่อเสริมสร้างทักษะ ประสบการณ์ในการตัดสินใจ และบังคับบัญชาในระดับยุทธวิธี
- เพื่อทดสอบความพร้อมของระบบอาวุธประจำเรือ และอากาศยาน 
...กำลังที่ร่วมฝึก ประกอบด้วย กำลังทางเรือ และอากาศนาวี  
ร.ล.สิมิลัน   ร.ล.อ่างทอง  ร.ล.สีชัง   ร.ล.สุรินทร์ ร.ล.ราวี   ร.ล.ทองแก้ว  ร.ล.วังนอก  ร.ล.จุฬา  ร.ล.หลีเป๊ะ
-ชุดปฏิบัติการพิเศษ 1 ชุด  
-เรือปฏิบัติการพิเศษ 1 ลำ
-กองพันก่อสร้างและพัฒนา กรมต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
  -เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 6 (EC643 T2) 2 เครื่อง
...กำลังรบยกพลขึ้นบก
-กำลังรบยกพลขึ้นบก จำนวน 1 กองร้อย
-รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) จำนวน 6 คัน
... ภาพ-ข่าวจาก กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ

การฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ของ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ซึ่งก่อนหน้าระหว่างวันที่ ๗-๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ก็ได้มีการฝึกในส่วน กองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ของกองเรือฝึก กองเรือยุทธการ ซึ่งเป็นการฝึกครั้งใหญ่ช่วงส่งท้ายปีนี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/blog-post_10.html)

รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 จำนวน ๖คันจากกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ได้ทำการฝึกร่วมกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสุรินทร์คือ ร.ล.สุรินทร์ และเรือหลวงสีชัง,
เรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงทองแก้วคือ เรือหลวงทองหลาง ส่งรถยนต์บรรทุกที่บังคับการของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ขึ้นชาดหาย และเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ ฮ.ตผ.๑ Leonardo Super Lynx 300 ที่เห็นในชุดภาพนี้เป็นต้น

ปัจจุบัน กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD จากจีนซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบในราวปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)
การฝึกของกองทัพเรือไทยในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมานี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาด coronavirus Covid-19 ที่ทำให้ต้องมีการยกเลิก เลื่อน และปรับกำหนดการการฝึกภายในหน่วยและการฝึกร่วมกับต่างประเทศหลายรายการ

รวมถึงตลอดทั้งปี พ.ศ.๒๕๖๓ กองทัพเรือไทยมีการประจำการเรือใหม่คือ เรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สอง เรือหลวงหลีเป๊ะ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/blog-post_24.html)
และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำคือ เรือ ต.114 และเรือ ต.115 เท่านั้นครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/114.html) รวมจำนวนทั้งหมดเพียง ๓ลำเท่านั้นครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563

อากาศยานไร้คนขับ Boeing MQ-25A Stingray กองทัพเรือสหรัฐฯทำการบินพร้อมอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศครั้งแรก

Boeing, US Navy fly MQ-25A test asset in aerial refuelling configuration for the first time



Boeing and the USN flew the MQ-25A T1 test asset for the first time in its aerial refuelling configuration on 9 December. Cobham Mission Systems’ 31-301 model buddy store is mounted under the left wing. (Boeing)



บริษัท Boeing สหรัฐฯ และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้ทำการบินระบบอากาศยานไร้คนขับเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) แบบ MQ-25A Stingray
ชุดอุปกรณ์ทดสอบ T1 ในรูปแบบสำหรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2020 ตามที่บริษัท Boeing สหรัฐฯแถลง(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/mq-25a-stingray.html)

ชุดเก็บระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Buddy store ติดตั้งใต้ปีกของบริษัท Cobham Mission Systems สหราชอาณาจักร ได้ทำการบินกับชุดทดสอบอากาศยานไร้คนขับ MQ-25A T1 ตามข้อมูลจากบริษัท Cobham
ชุดเก็บระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Buddy เป็นกระเปาะภายนอกลำตัวที่ติดตั้งบนจุดแข็งของอากาศยานเช่นเดียวรางปลดอาวุธ-อุปกรณ์(ejector rack)

ชุดเก็บระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศบรรจุด้วยอุปกรณ์สำหรับเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบคู่บิน(buddy tanking) ให้อากาศยานอีกเครื่องโดยการเก็บระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบตะกร้า(drogue) ไว้ภายใน
Cobham สหราชอาณาจักรกล่าวว่า การทดสอบได้ช่วยที่จะรับรองหลักอากาศพลศาสตร์ของ MQ-25A ขณะที่ติดตั้งอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศภายนอกลำตัว 

กระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ buddy store ถูกติดตั้งใต้ตำแหน่งคู่ในของปีกของอากาศยานไร้คนขับชุดทดสอบ MQ-25A T1
เครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18 Super Hornet กองทัพเรือสหรัฐฯได้ใช้งานกระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ 31-301 buddy store เช่นเดียวกับปฏิบัติการในภารกิจเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

การบินเป็นเวลา 2ชั่วโมง 30นาที ได้รับการดำเนินการโดยนักบินทดสอบของ Boeing ที่ปฏิบัติการจากสถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) ณ ท่าอากาศยาน MidAmerica St. Louis Airport ใน Mascouta มลรัฐ Illinois
การบินในอนาคตจะมีต่อเนื่องเพื่อที่จะทดสอบหลักอากาศพลศาสตร์ของอากาศยานชุดเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 31-301 buddy store ในหลากหลายจุดของท่าทางการบิน

ข้อมูลเชิงลึกจากการทดสอบจะรายผลความคืบหน้าในท้ายที่สุดเพื่อจะดำเนินการสอบการยืดและเปิดส่วนบรรจุของตะกร้าที่ใช้ในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ โดยกระเปาะ buddy store บรรจุและดึงเชื้อเพลิงมาจากระบบของอากาศยาน
ระบบมีความจุเชื้อเพลิงภายในที่ 1,136litres และสามารถจ่ายเชื้อเพลิงให้กับอากาศยานที่รับเชื้อเพลิงได้ที่อัตรา 833litres ต่อนาที ด้วยระดับความดันในตระกร้าที่ 30-60psi ครับ