วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

สหรัฐฯวางแผนปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Do 228 กองทัพเรือไทย

US plans upgrade for Royal Thai Navy Do 228 maritime surveillance aircraft
http://www.janes.com/article/79591/us-plans-upgrade-for-royal-thai-navy-do-228-maritime-surveillance-aircraft

Dornier Do 228 101st Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy in Children's Day 2018 at U-Tapao RTN Airfield, 13 January 2018(https://www.facebook.com/ball.kittidej)


แผนที่กำลังได้รับการพัฒนาโดย กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
เพื่อการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯตามโครงการสร้างขีดความสามารถหุ้นส่วน(Building Partner Capacity)

เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228 จากเยอรมนี กองทัพเรือไทยได้จัดหาเข้าประจำการชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) และเพิ่มเติมอีก ๑เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003) รวมทั้งหมด ๗เครื่อง
บ.ลว.๑ Do 228 กองทัพเรือไทยได้ถูกใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางทะเลระยะปานกลาง เฝ้าตรวจยามฝั่ง ลำเลียงผู้ป่วย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และการตรวจการณ์ในน่านน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: Exclusive Economic Zone)

ปัจจุบัน Do 228 กองทัพเรือไทยได้รับการติดตั้ง Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำและสภาพอากาศแบบ Telephonics RDR 1550B สหรัฐฯ และกล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infrared) แบบ FLIR Systems Star SAFIRE II สหรัฐที่ใต้ลำตัวเครื่อง
รวมถึงมีข้อมูลว่า Do 228 สามารถติดตั้งอาวุธได้เช่น กระเปาะจรวดไม่นำวิถีอากาศสู่พื้นขนาด 2.75"(70mm) สำหรับการโจมตีเบาต่อเป้าหมายผิวน้ำหรือบนฝั่ง

ตามเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ที่ออกโดย NAVAIR กองทัพเรือสหรัฐฯเมื่อวันที่ 23 เมษายน แผนการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Do 228 กองทัพเรือไทยจะรวมถึงการติดตั้งระบบตรวจจับและระบบภารกิจใหม่
ส่วนประกอบที่มีรายการระบุในเอกสาร RFI เช่น multimode radar ใหม่ที่มีระยะตรวจจับต่ำสุดที่ 160nmi(296km), กล้อง EO/IR ใหม่แบบมีระบบรักษาสมดุลห้าแกนติดตั้งแบบ multipayload, ชุดระบบสื่อสารใหม่ประกอบด้วยวิทยุสื่อสารนอกระยะสายตา(ย่านความถี่ X-band) และ Datalink,

ระบบ Avionic ใหม่ประกอบด้วย ระบบนำร่อง, ระบบค้นหาทิศทางอัตโนมัติ, ระบบเครื่องวัดช่วยลงจอด(instrument landing system), ระบบจัดการการบิน, ระบบแจ้งเตือนการจราจรทางอากาศและเลี่ยงการชน และเครื่องส่งสัญญาณ ADS-B
สถานีเจ้าหน้าที่ภารกิจและชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใหม่, ระบบระบุตัวตนอัตโนมัติ(AIS: Automatic Identification System), ระบบตรวจจับการแพร่คลื่นสัญญาณไฟฟ้า(ESM: Electronic Support Measures) และเครื่องบันทึกข้อมูลภารกิจ

ทั้งนี้ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินตรวจการณ์ต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ก/ข P-3T ๒เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๖(1993) และ UP-3T ๑เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ทั้ง ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014)
ทำให้กองทัพเรือไทยยังคงมีโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่จำนวน ๓เครื่องในอนาคต โดยแบบเครื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจมีเช่น CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ที่ผลิตโดย PT Dirgantara Indonesia(PTDI) อินโดนีเซียครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)