วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยยกเลิกโครงการซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่ ๓เครื่อง


Royal Thai Navy's retired Lockheed UP-3T serial 1206, 102 Sqaudron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division on static display at Royal Thai Naval Air Division Museum Park (Unknow Photos Source)

Naval Acquisition Management Office, Royal Thai Navy announce suspension new three Maritime Patrol Aircraft programme for Royal Thai Naval Air Division
http://www.supplyonline.navy.mi.th/contactdetail.php?iidd=34475
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf2/34475.pdf

ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย ได้เผยแพร่ประกาศในส่วนของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทางเรือ เลขที่ประกาศ ๓/๖๒ เรื่องโครงการซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล จำนวน ๓เครื่องว่ามีสถานะ 'ยกเลิก' แล้ว
ก่อนหน้านี้ตามเอกสารที่ออกเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ได้ประกาศโครงการซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล จำนวน ๓เครื่อง วงเงิน ๖,๔๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($203,603,060) ที่ได้มีการอนุมัติงบประมาณแล้วในเอกสารร่างขอบเขตของงาน (TOR: Term of Reference)
เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการจัดหาเพื่อทดแทน เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion จำนวน ๓เครื่องที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กบร.

เดิม กบร.กองทัพเรือไทยเคยมี บ.ตผ.๒ข Lockheed P-3T Orion หมายเลข 1204(Bu152142) และ 1205(Bu152143) ในภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล และ บ.ตผ.๒ก UT-3T หมายเลข 1206(Bu152184) ในภารกิจลำเลียง ที่มีพื้นฐานจาก P-3A เก่าที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
บ.ตผ.๒ก P-3T/บ.ตผ.๒ขUT-3T ทั้ง ๓เครื่องที่เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ ในปี พ.ศ.๒๕๓๖(1993) และ พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ตามลำดับ โดยต่อมาได้มีการจัดหา P-3A ๒เครื่อง(Bu152163 และ Bu152177) และ UP-3T(Bu152185) ๑เครื่อง เพื่อใช้เป็นอะไหล่
P-3T หมายเลข 1204 ได้ถูกใช้เป็นอะไหล่ จนกระทั่ง บ.ตผ.๒ P-3T/UP-3T หมายเลข 1205 และ 1206 ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ทำให้กองทัพเรือไทยขาดเครื่องบินตรวจการณ์ที่มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว

ทางด้านขีดความสามารถการลาดตระเวนทางทะเลด้วยอากาศยาน กองทัพเรือไทยยังคงมี เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ จำนวน ๗เครื่อง
โดยกองทัพเรือไทยได้จัดหา บ.ลว.๑ Do 228 จากเยอรมนีเข้าประจำการชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ชุดที่สอง ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๘(1995) อีก ๑เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) และเพิ่มเติมอีก ๑เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2004)
ซึ่งกองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เสนอแผนที่จะปรับปรุง บ.ลว.๑ Do 228 กองทัพเรือไทยภายใต้เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/do-228.html)

อย่างไรก็เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพเรือไทยยังมีความต้องการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่จำนวน ๓เครื่องเพื่อทดแทน บ.ตผ.๒ P-3T Orion โดยตามเอกสารโครงการซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ๓เครื่อง มีสี่บริษัทที่สนใจเสนอแบบอากาศยานของตนคือ
PT Dirgantara Indonesia(PTDI) อินโดนีเซียที่เสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ตามที่มีการเจรจาขั้นต้นไปในเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)
บริษัท Airbus Defence & Space สาขาสเปนที่เสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล C295 MSA(Maritime Surveillance Aircraft)/MPA ที่เคยนำเครื่องของกองทัพอากาศบราซิล(SC-105A) มาแสดงในไทยเมื่อปี พศ.๒๕๖๐(2017)(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/airbus-c295.html)

บริษัท Leonardo อิตาลีที่น่าจะเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 72MP เช่นเดียวกับที่เสนอกองทัพอากาศมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
และบริษัท Lockheed Martin ที่น่าจะเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล SC-130J Sea Hercules ที่พัฒนาจากเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C-130J แทน P-3 Orion ที่ปิดสายการผลิตไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)
ขณะที่เขียนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการยกเลิกโครงการซื้อ บ.ลาดตระเวนทางทะเลใหม่ ๓เครื่อง แต่มีรายงานว่าทั้งสี่บริษัทที่มีรายชื่อในข้างต้นสุดท้ายไม่ได้มีการเสนอราคาเข้าแข่งขัน เข้าใจว่าเพราะวงเงินกับจำนวนเครื่องที่กองทัพเรือไทยจะจัดหาอาจน้อยเกินไปที่จะทำกำไรดึงดูดบริษัทเหล่านี้ครับ