China State Shipbuilding Corporation (CSSC) was displayed model of 22,000 tons landing platform dock (LPD) at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
The Royal Thai Navy (RTN) has signed a contract to procure from China a Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD). The deal was signed in Beijing on 9 September and is reportedly worth THB4 billion (USD130 million).
Royal Thai Navy's Pattani-class offshore patrol vessels (OPVs) OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 HTMS Naratiwat.
Hudong-Zhonghua Shipbuilding selects LR for two naval projects.
LR to provide assurance and certification services for vessels being built for the Algerian and Thai navies.
สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR) สหราชอาณาจักรได้รับเลือกเพื่อการมอบบริการการรับประกันและการรับรองแก่อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับสองโครงการทางเรือที่สำคัญกับกองทัพเรือแอลจีเรีย(Algerian Naval Force) และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ภายใต้กฎระเบียบเรือนาวี(Naval Ship Rules) ของ LR
โครงการของกองทัพเรือแอลจีเรียประกอบด้วยเรือคอร์เวตขนาด 96m จะถูกออกแบบและสร้างโดยกฎระเบียบเรือนาวีของ LR เรือคอร์เวตถูกออกแบบสำหรับการปฏิบัติการต่างๆรวมถึงการลาดตระเวน, คุ้มกัน และปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลภายในน่าน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแอลจีเรีย
เรือคอร์เวตจะรองรับลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือและกำลังพล 78นาย มีพิสัยทำการที่ 3,500nmi และสามารถทำความเร็วสูงสุดที่เกิน 27 knots เรือมีกำหนดการส่งมอบในปี 2022
โครงการที่สองคือเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทย ความยาวเรือ 210m สามารถบรรทุกนาวิกโยธินได้ ๘๐๐นายและรถสะเทินน้ำสะเทินบกได้ ๒๐คัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/blog-post_23.html)
และมีอู่ลอย(well-deck) ท้ายเรือที่สามารถวางกำลังยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) หรือ Hovercraft ขนาด 150 tonnes ได้ถึง ๔ลำ
เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยยังได้รับการติดตั้งโรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่สองห้องที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ถึง ๔เครื่องและดาดฟ้าบินท้ายเรือที่สามารถปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ได้ ๒เครื่อง คาดว่าวันการส่งมอบเรือ LPD คือปี 2023
นอกเหนือจากภารกิจตามแบบในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกทางทหารที่เพิ่มมากขึ้น กองทัพเรือไทยยังจะใช้เรือ LPD สำหรับภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ด้วย
เรือ Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยเป็นรุ่นส่งออกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ซึ่งยังได้รับการสร้างโดยอู่เรือ HZ จีน
สมาคมจัดชั้นเรือ LR สหราชอาณาจักรจะมอบบริการการรับรอบการออกแบบและการสร้างแก่อู่เรือ HZ จีนตามกฎระเบียบเรือนาวีของ LR
"การได้รับเลือกให้ร่วมงานบนเรือนาวีเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ที่ยาวนานของเรากับ Hudong-Zhonghua จีนและกองทัพเรือทั้งสองประเทศ
เราประสบความสำเร็จในการเสร็จสิ้นงานกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessels) ขนาด 95m สำหรับกองทัพเรือไทยระหว่างปี 2003-2006(เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส)
และสนับสนุนการสร้างเรือคอร์เวตขนาด 2,880 tonne สำหรับกองทัพเรือแอลจีเรียระหว่างปี 2013-2016(เรือคอร์เวตชั้น Adhafer)" Maogen Xue หัวหน้า LR ภาคจีนแผ่นดินใหญ่กล่าว
David Lloyd ผู้อำนวยการธุรกิจนาวีสากลกล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้รับเลือกโดย Hudong-Zhonghua จีนเพื่อสนับสนุนโครงการเรือสองแบบที่แตกต่างกันมาก
เป็นการแสดงถึงความสามารถของ LR เพื่อมอบบริการความยืดหยุ่น, การปรับแต่งการรับประกันและรับรองทางนาวีที่สนับสนุนลูกค้าของเราอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นี่ยังพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างสองบริษัท เช่นเดียวกับความปรารถนาทั้งสองฝ่ายเพื่อขยายประสบการณ์ที่สำคัญในความเป็นหุ้นส่วนการสร้างเรือนาวีที่จะนำกองทัพเรือไปรอบโลก"
กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD จำนวน ๑ลำ วงเงินรวมราว ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6) กับ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของจีนเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ๑ลำเป็นลำแรก แต่ผลกระทบจากการระบาด Covid-19 ที่งบประมาณกลาโหมถูกตัดลดลงทำให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ ถูกยกเลิกไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html)