วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

Lockheed Martin สหรัฐฯเปิดตัวเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J ของเยอรมนีเครื่องแรก

Lockheed Martin rolls out first KC-130J for Germany


The first KC-130J Hercules tanker-transport aircraft for Germany was rolled out of Lockheed Martin's Marietta production facility in Georgia on 26 January. (Lockheed Martin)

The Luftwaffe has to date received two 'stretched' C-130J-30 airlifters. (Luftwaffe)

เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Lockheed Martin KC-130J เครื่องแรกสำหรับเยอรมนีได้เปิดตัวของจากสายการผลิตโรงงานอากาศยาน Marietta ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯในมลรัฐ Georgia เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2023
กองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) ปัจจุบันได้รับมอบเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 'รุ่นลำตัวยาว' แล้ว 2เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/c-130j.html)

ซึ่งเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ของกองทัพอากาศเยอรมนีปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, AAE: Armée de l'Air et de l'Espace) ในฐานะส่วนหนึ่งของฝูงบินลำเลียงทางอากาศร่วม C-130

โดยที่กองทัพอากาศเยอรมนีสนับสนุนการส่งเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J จำนวน 3เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 จำนวน 3เครื่อง
กองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศสกำลังส่งเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 จำนวน 2เครื่อง สำหรับฝูงบินผสมจากที่ตนมี KC-130J จำนวน 5เครื่อง และ C-130J-30 จำนวน 5เครื่อง

ฝรั่งเศสได้รับมอบเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J และเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 ทั้งหมดของตนแล้ว ขณะที่การส่งมอบเครื่องบินของเยอรมนีมีกำหนดจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2024
ฝูงบินลำเลียงทางอากาศ C-130 มีที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ Évreux-Fauville ในตอนเหนือของฝรั่งเศสจะมีการไม่จำกัดการแลกเปลี่ยนของเครื่องบิน, ลูกเรือ และช่างอากาศยาน

เช่นเดียวกับการสนับสนุนทางเทคนิคและการส่งกำลังบำรุง บนพื้นฐานของคลังชิ้นส่วนอะไหล่กลางร่วมกัน และสัญญาสนับสนุนการให้บริการร่วมกัน
"เครื่องบิน 10เครื่อง, สองชาติ, หนึ่งสมาคม มันเป็นอะไรที่ไม่เคยเกิดขึ้นเช่นนี้มาก่อนในยุโรป" กองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(Bundeswehr) กล่าวก่อนหน้านี้

ฝูงบินลำเลียงทางอากาศร่วมฝรั่งเศส-เยอรมนีมีกำหนดการจะบรรลุความพร้อมปฏฺิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operating Capability) ในปี 2024-2025
เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J จะมอบขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่สำคัญต่อเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินลำเลียงเบาเช่นเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสครับ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือไทยนำระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ FK-3 และ Igla-S ร่วมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีด้วยกระสุนจริง












Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) has displayed Chinese FK-3 medium-range surface-to-air missile system launcher platform and demonstrated Russian Dzhigit support launching unit (SLU) with two Igla-S Man-portable air-defence system (MANPADS) short-range surface-to-air missile system during tactical live fire exercise for Fiscal Year 2023 on 23-25 January 2023. (Royal Thai Navy)

ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญ สอ.รฝ.
วันที่ 23 มกราคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญข้าราชการและทหารกองประจำการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
เนื่องในโอกาสตรวจเยี่ยมหน่วยกองทัพเรือในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติงาน บำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจน รับทราบข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะต่างๆ 
โดยมี นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รักษาราชการผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้การรับรอง ณ กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้รับการจัดตั้งหน่วย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 นับจนถึง ณ ปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 32 ปี มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติภารกิจที่สำคัญตามที่กองทัพเรือ ได้กรุณาสั่งการมาอย่างต่อเนื่อง 
ทั้งการปฏิบัติหน้าที่การถวาย ความปลอดภัย แก่พระบรมวงศานุวงศ์และพระราชอาคันตุกะ การปฏิบัติตามแผนการป้องกันประเทศ การส่งกำลังปฏิบัติราชการกับทัพเรือภาคต่างๆ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย 
การเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชน ชุมชน บ้าน วัด โรงเรียนในกิจกรรมจิตอาสา รวมทั้งการปฏิบัติในการดูแลรักษาที่ดินของกองทัพเรือ ของหน่วยเฉพาะกิจ ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
โดยการปฏิบัติต่างๆในภาพรวมนั้น สามารถปฏิบัติภารกิจตามที่กองทัพเรือมอบหมายให้ ได้อย่างเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ 

ฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ด้วยกระสุนจริง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รักษาราชการผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และคณะผู้บังคับบัญชา 
เดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ในการฝึกเป็นหน่วยกองพันฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี นาวาเอก ยุทธนา ชูธงชัย ผู้บังคับการกรมต่อสู้อากาศยานที่1เป็น ผู้อำนวยการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ในการฝึกเป็นหน่วยกองพันฯ 
ซึ่งได้ประกอบกำลังเป็นหน่วยกำลัง ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่1 มีกำลังเข้าร่วมทำการฝึกประกอบด้วย กองพันต่อสู้อากาศยานที่11 กองพันต่อสู้อากาศยานที่12 กองพันต่อสู้อากาศยานที่21 กองพัน รักษาฝั่งที่12 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่1 
และกำลังจากกรมสนับสนุนได้แก่ กองพันสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ กองพันซ่อมบำรุง กองพันพยาบาล  ณ สนามฝึกยิงอาวุธ หาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้การฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีฯ เป็นไปตามที่ นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รักษาราชการผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
ได้มอบแนวทางในการฝึกให้ฝึกอย่างจริงจัง ตั้งใจฝึกให้เกิดความชำนาญตามแนวทางการฝึก "รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น" เพื่อให้เกิดการพัฒนา ทั้งทางด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธีอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยการฝึกให้คำนึงถึงความปลอดภัยของกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นสำคัญ

กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 12 เข้าร่วมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ในการฝึกเป็นหน่วยกองพัน ของ สอ.รฝ.ประจำปี 2566 
เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 น.อ. ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รอง ผบ.สอ.รฝ.รักษาราชการ ผบ.สอ.รฝ.และคณะผู้บังคับบัญชา เดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ในการฝึกเป็นหน่วยกองพันฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 
โดยมี น.อ. ยุทธนา ชูธงชัย ผบ.กรม สอ.1 เป็น ผู้อำนวยการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ในการฝึกเป็นหน่วยกองพันฯ ซึ่งได้ประกอบกำลังเป็นหน่วยกำลัง ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่1 
มีกำลังเข้าร่วมทำการฝึกประกอบด้วย กองพันต่อสู้อากาศยานที่11 กองพันต่อสู้อากาศยานที่12 กองพันต่อสู้อากาศยานที่21 กองพันรักษาฝั่งที่12 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่1 
และกำลังจากกรมสนับสนุนได้แก่ กองพันสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ กองพันซ่อมบำรุง กองพันพยาบาล  ณ สนามฝึกยิงอาวุธ หาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ในวันพุธที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖ นาวาเอก ประภาส สุดขาว ผู้บังคับการกรมรักษาฝั่งที่ ๑ ร่วมชม การฝึกเป็นหน่วยกองพันและการยิงอาวุธทางยุทธวิธีเป็นหน่วย สอ.รฝ. ประจำพื้นที่ งป.๖๖ 
โดยมี นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รักษาราชการผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งเป็นประธาน ณ สนามยิงอาวุธหาดยาวทุ่งโปรง

ระหว่างการตรวจเยี่ยม หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) ณ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ของผู้บัญชาการทหารเรือไทยและคณะเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) 
และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีด้วยกระสุนจริง ณ สนามฝึกยิงอาวุธ หาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖ ได้มีการจัดแสดงและสาธิตระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่หลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/fk-3-thairung-4x4-igla-s.html)

ระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่เหล่านี้รวมถึงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 จีน และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ความจุสองนัดในแท่นยิงแบบ Dzhigit รัสเซียบนรถยนต์บรรทุกตระกูล Thairung TR Transformer 4x4 ไทยสริมเกราะ
ที่ประกอบกำลังในการฝึกเป็นหน่วยกองพันของ กองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๑(11th Air Defence Battalion), กองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๒(12th Air Defence Battalion), กองพันต่อสู้อากาศยานที่๒๑(21st Air Defence Battalion), กรมต่อสู้อากาศยานที่๑(1st Air Defence Regiment)

ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร FK-3 ถูกจัดหาตามโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑ วงเงิน ๑,๙๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($63,982,850) สำหรับ กองพันต่อสู้อากาศยาน กรมต่อสู้อากาศยาน สอ.รฝ. อย่างน้อย ๑ระบบ
โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศ FK-3 หนึ่งระบบประกอบด้วยรถที่บังคับการ ๑คัน, รถฐาน Radar ๑คัน และรถฐานแท่นยิงแบบยกตั้งอัตตาจร(TEL: Transporter-Erector-Launcher) ๓คัน แต่ละแท่นยิงมีชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีทรงกระบอกแนวดิ่ง ๔นัด รวมทั้งระบบจะมีอาวุธปล่อยนำวิถี ๑๒นัด

โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง วงเงิน ๒๔๕,๘๙๐,๐๐๐บาท($7,682,982.06) สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ที่บริษัท Datagate ไทย เป็นผู้ชนะนั้น เป็นการบูรณาการแท่นยิงแบบ Dzhigit 
พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่ายิง Igla-S รัสเซียสองนัดติดตั้งบนส่วนบรรทุกด้านท้ายรถยนต์บรรทุกตระกูล Thairung Transformer 4x4 ไทยที่เสริมเกราะป้องกัน และติดท่อ Snorkel สำหรับการเคลื่อนที่ในน้ำ ซึ่งทำการติดตั้งภายในไทยครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

อินเดียทำพิธีประจำการเรือดำน้ำชั้น Kalvari ลำที่ห้า INS Vagir

India commissions fifth Kalvari-class submarine with expanded local content





The Indian Navy commissioned its fifth Kalvari-class submarine, INS Vagir , on 23 January at Naval Dockyard, Mumbai. (Janes/Prathamesh Karle)



กองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) ได้ทำพิธีประจำการเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Kalvari (เรือดำน้ำแบบ Scorpène) ลำที่ห้า เรือดำน้ำ S25 INS Vagir
พิธีขึ้นระวางประจำการถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2023 ณ อู่เรือ อู่เรือ Naval Dockyard ในนคร Mumbai อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/kalvari-ins-karanj.html)

เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Kalveri ทั้งหมด 6ลำได้รับสิทธิบัตรการสร้างที่อู่เรือ Mazagon Dockyard Shipbuilders Limited(MDL) รัฐวิสาหกิจการสร้างเรือของรัฐบาลอินเดียใน Mumbai ในความร่วมมือกับบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส
เรือดำน้ำ INS Vagir เข้าร่วมกับเรือดำน้ำชั้น Kalveri สี่ลำแรกในประจำการกองบัญชาการกองทัพเรือภาคตะวันตก(Western Naval Command) ของกองทัพเรืออินเดีย

พลเรือโท(เกษียณ) Narayan Prasad ประธานและผู้อำนวยการการจัดการอู่เรือ MDL กล่าวในพิธีขึ้นระวางประจำการว่า ขณะที่เรือดำน้ำใหม่แบ่งปันโครงสร้างร่วมเดียวกันกับเรือดำน้ำอีก 4ลำที่เข้าประจำการแล้ว
เรือดำน้ำ INS Vagir ได้ติดตั้งระบบที่สร้างในอินเดียมากขึ้น อุปกรณ์เหล่านี้รวมถึงเช่น Battery หลักของเรือ และระบบสื่อสารดาวเทียมย่านความถี่ Ku-band ที่ผลิตโดยบริษัท Electronics Corporation of India Limited อินเดีย เขากล่าว

พลเรือโท(เกษียณ) Prasad ยังกล่าวว่าอู่เรือ MDL ได้ขยายความพยายามที่จะลดการแพร่สัญญาณทางเสียง, สายตา, แม่เหล็กไฟฟ้า และความร้อน Infrared ของเรือดำน้ำ แต่ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด 
อู่เรือ MDL อินเดียไม่ได้ตอบสนองต่อคำถามของ Janes ณ เวลาที่บทความนี้เผยแพร่(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/scorpene.html)

ในแถลงการณ์กระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าวว่า เรือดำน้ำชั้น Kalveri ลำแรก เรือดำน้ำ S21 INS Kalvari "เร็วๆนี้" จะได้รับการติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) แบบ fuel cell
ที่ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์วิจัยยุทโธปกรณ์ทางเรือ(NMRL: Naval Materials Research Laboratory) หน่วยงานในสังกัดองค์การวิจัยและพัฒนากลาโหมอินเดีย(DRDO: Defence Research and Development Organisation) ของรัฐบาลอินเดีย

ข้อตกลงที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงการได้รับการลงนามโดย NMRL อินเดียกับ Naval Group ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2023 ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลง Naval Group จะรับรองการออกแบบระบบ AIP เพื่อบูรณาการเข้ากับเรือดำน้ำ
การเพิ่มระบบเชื้อเพลิง fuel cells และส่วนประกอบอื่นๆของระบบ AIP เข้ากับเรือดำน้ำ INS Kalveri จะมีผลในฐานะตัวทวีกำลังรบแก่อำนาจการสังหารของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ตามที่ได้เพิ่มขยายระยะเวลาการดำใต้น้ำให้ยาวนานขึ้นครับ 

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

ปากีสถานรับมอบเรือดำน้ำชั้น Khalid ที่ได้รับการปรับปรุงโดยตุรกีลำที่สอง

Pakistan receives second modernised Khalid-class submarine



The file images of PNS Khalid , PNS Saad , and PNS Hamza , the Pakistan Navy's three Khalid-class submarines. 
The service recently took delivery of another modernised boat, PNS Khalid , from STM. Another vessel, PNS Hamza , completed its modernisation programme with STM in 2021. (Naval Group)

กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ได้รับมอบเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Khalid(Agosta 90B) ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยลำที่สองของตนจากบริษัท STM ตุรกี
เรือดำน้ำ S137 PNS Khalid ถูกส่งมอบให้กับกองทัพเรือปากีสถานด้วยชุด Sonar ใหม่, ชุดกล้องตาเรือใหม่ และระบบบัญชาการและควบคุมใหม่ STM ตุรกีเปิดเผยผ่านแถลงการณ์สื่อเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2023

กองทัพเรือปากีสถานมีประจำการด้วยกองเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Khalid จำนวน 3ลำ ที่เข้าประจำการระหว่างเดือนกันยายน 1999 และกันยายน 2008
เรือดำน้ำชั้น Khalid ลำแรก เรือดำน้ำ PNS Khalid ถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(เดิมรู้จักในชื่อบริษัท DCN) ใน Cherbourg ฝรั่งเศส

เรือดำน้ำชั้น Khalid ลำที่สอง และลำที่สาม เรือดำน้ำ S138 PNS Saad และเรือดำน้ำ S139 PNS Hamza ถูกสร้างโดยอู่เรือ Karachi Shipyard and Engineering Works(KSEW) ปากีสถานภายใต้ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ
เรือดำน้ำชั้น Khalid มีความเร็วสูงสุดที่ 20knots ขณะดำใต้น้ำ และ 12knots เมื่ออยู่บนผิวน้ำ เมื่อใช้ท่อ snorkel ดำใต้น้ำสามารถทำระยะปฏิบัติการได้สูงสุดราว 8,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 9knots

เรือดำน้ำชั้น Khalid สองลำติดตั้งขีดความสามารถระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) เรือดำน้ำ PNS Hamza ติดตั้งระบบ AIP oxygen เหลวแบบ MESMA กำลัง 200kW
ซึ่งเรือดำน้ำ PNS Hamza ได้ติดตั้งระบบ AIP แบบ MESMA ตั้งแต่เวลาที่เรือถูกสร้าง ขณะที่เรือดำน้ำ PNS Saad ได้รับการติดตั้ง MESMA AIP เพิ่มเติมระหว่างปี 2012-2014

ในแง่ระบบอาวุธ เรือดำน้ำชั้น Khalid ทั้งสามลำแต่ละลำติดตั้งท่อยิง torpedo ขนาด 533mm สี่ท่อยิง นอกเหนือจาก torpedo ท่อยิงเหล่านี้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet SM39
เช่นเดียวกับวัตถุระเบิดอย่างเช่นทุ่นระเบิดอิทธิพล(naval influence mine) แบบ Stonefish Mk III จากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/babur-3.html)

STM ตุรกีได้รับสัญญาการปรับปรุงความทันสมัยเรือดำน้ำชั้น Khalid ปากีสถานในเดือนมิถุนายน 2016(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/agosta-90b.html)
โดยเรือดำน้ำชั้น Khalid ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยลำแรก เรือดำน้ำ PNS Hamza ได้เสร็จสิ้นโครงการไปเมื่อปี 2021 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/hangor-pns-tasnim.html)

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566

ญี่ปุ่นและสวีเดนลงนามข้อตกลงสำหรับความเป็นไปได้ในความร่วมมือเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต GCAP

Japan, Sweden sign deal for possible GCAP co-operation

An artist's impression of the Global Combat Air Programme aircraft formed as a result of a merger of the UK-Italian Tempest and Japanese F-X projects. (Crown Copyright)


60 Gripen C/Ds to remain in service with Swedish Air Force through to 2035. (Saab)

ญี่ปุ่นและสวีเดนได้ลงนามข้อตกลงที่ที่สามารถทำให้สวีเดนประเทศในเขต Scandinavia ของยุโรปจะมีบทบาทในโครงการการรบทางอากาศทั่วโลก(GCAP: Global Combat Air Programme)(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/gcap.html)
ทั้งสองประเทศได้ลงนาม 'ข้อตกลงเกี่ยวกับการถ่ายทอดยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหม' ในปลายเดือนธันวาคม 2022 ราวสองสัปดาห์หลังหุ้นส่วนโครงการ GCAP อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรประกาศโครงการเครื่องบินขับไล่ร่วมในวันที่ 9 ธันวาคม 2022

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่าข้อตกลงได้มอบกรอบการทำงานอย่างเป็นทางการสำหรับการมีส่วนร่วมด้านวิทยาการกลาโหมทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสวีเดน
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่าข้อตกลงจะอำนวยความสะดวกการเจรจาขั้นต้นระหว่างญี่ปุ่นและสวีเดนที่จะระบุพื้นที่ของความร่วมมือ รวมถึงศักยภาพความเป็นไปได้ของโครงการ GCAP

"รายละเอียดต่างๆของความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหมกับสวีเดนรวมถึงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตจะถูกตัดสินใจผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่าง(สองประเทศ)ในอนาคต
ดังนั้น ณ ตอนนี้ มันเร็วเกินไปที่จะกล่าวถึงว่าอะไรคือภาคส่วนพื้นที่ที่เป็นไปได้ที่มีอยู่ในความร่วมมือ" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่า "สวีเดนเป็นหุ้นส่วนสำคัญกับญี่ปุ่นซึ่งแบ่งปันคุณค่าหลักพื้นฐาน และ(มัน)มีวิทยาการขั้นก้าวหน้าต่างๆในภาคส่วนกลาโหม
...กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นจะแลกเปลี่ยนมุมมองกับสวีเดนในคำสั่งที่จะให้ความร่วมมือด้านความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหมบรรลุผลเป็นรูปธรรม"

รัฐมนตรีช่วยฝ่ายสื่อประสัมพันธ์ของรัฐมตรีกลาโหมสวีเดน Pål Jonson ไม่ได้ตอบสนองต่อการถามคำถามจาก Janes ณ เวลาที่บทความนี้ถูกเผยแพร่
GCAP เป็นการควบรวมโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Tempest สหราชอาณาจักร-อิตาลี และโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ญี่ปุ่น โดยมุ่งเป้าที่จะส่งมอบขีดความสามารถการบินรบทางอากาศเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ภายในกลางปี 2030s 

ซึ่งในช่วงเวลานั้นเครื่องบินขับไล่ Saab JAS-39 Gripen C/D จำนวน 60เครื่องของกองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska flygvapnet) 
จะยังคงประจำการไปจนถึงปี 2035 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/saab-gripen-cd.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/06/saab.html)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566

กองทัพเรือไทยทำพิธีปล่อยเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สามลงน้ำ เรือหลวงตาชัย








Royal Thai Navy (RTN) held launching ceremony for YTM-859 HTMS Ta Chai, new thrid Panyi-class Tugboat at Asian Marine Service PCL (ASIMAR) shipyard in Samut Prakan Province, Thailand on 25 January 2023. (Royal Thai Navy)


พิธีปล่อยเรือหลวงตาชัย ลงน้ำ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) อ.พระสมุทรเจดีย์ จว.สมุทรปราการ

กองทัพเรือ จัดพิธีปล่อยเรือหลวงตาชัยลงน้ำ
วันที่ 25 มกราคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือหลวงตาชัยลงน้ำ โดยมี นางจตุพร  ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ เป็นสุภาพสตรี ผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ 
ณ อู่ต่อเรือ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ในเวลา 14.00 น. ผู้บัญชาการทหารเรือได้เดินทางถึงบริเวณพิธี 
โดยมี พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือโท ชาติชาย  ทองสะอาด รองเสนาธิการทหารเรือ /ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลาง พลเรือตรี เสนอ  เงินสลุง ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ 
พลเรือตรี สมบัติ  แย้มดอนไพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิต อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ /ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโครงการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลาง และ นายสุรเดช  ตัณฑ์ไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) 
ร่วมให้การต้อนรับ จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยอาราธนาพระอาจารย์มหาราเชน ธัมมปาโล รักษาการเจ้าอาวาส วัดเอี่ยมประชามิตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ต่อมาในเวลา 14.49 น. ซึ่งเป็นเวลาฤกษ์อันเป็นมหามงคล 
นางจตุพร  ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ /สุภาพสตรีผู้ประกอบพิธี ได้ตัดเชือกปล่อยเรือหลวงตาชัยลงน้ำ จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ และสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีฯ 
ได้ลงนามในสมุดที่ระลึก ร่วมบันทึกภาพ และเยี่ยมชมนิทรรศการทางเรือ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)

ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 - 2567 โครงสร้างกำลังรบ ได้กำหนดให้มีเรือลากจูงสำหรับใช้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8 ลำ ซึ่งในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือลากจูงปฏิบัติราชการแล้ว จำนวน 6 ลำ และมีแผนปลดระวางประจำการ 1 ลำ ทำให้เหลือเรือลากจูงใช้ในราชการ เพียง 5 ลำ กองทัพเรือจึงมีความจำเป็นในการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพื่อมาทดแทน ซึ่งการต่อเรือหลวงตาชัย เรือลากจูงขนาดกลางลำนี้ จะทำให้มีเรือลากจูงที่เพียงพอต่อการสนับสนุนเรือขนาดใหญ่ และเรือดำน้ำที่กองทัพเรือจะได้รับมอบมาใช้ปฏิบัติราชการในปี 2567 
นอกจากนี้การต่อเรือหลวงตาชัย กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกจากบริษัท อู่ต่อเรือภายในประเทศ คือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) 
เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือภายในประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์ความรู้ และช่วยลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ 
อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
ทั้งนี้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐทุกประการ 
โดยมีกำหนดส่งมอบภายใน 540 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา หรือภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 และเข้าประจำการที่กองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ กองเรือยุทธการ

พิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำ แบบสากลให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธี โดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ 
การนี้ สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน 
คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีได้รับบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ 
จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 
ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น 
สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดย กรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1) 
ซึ่งมี คุณหญิงวิจิตรา  ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2500

คุณลักษณะของเรือลากจูงขนาดกลาง 
1. ขนาดของเรือเป็นไปตามแบบเรือ Ramparts 3200 SD
- ความยาวตลอดลำ 31.50 เมตร
- ความกว้าง   12.60 เมตร
- ความลึกเรือ 5.40 เมตร
- กินน้ำลึก 4.50 เมตร 
2. ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ไม่น้อยกว่า 12.1 นอต โดยกำลังของเครื่องยนต์ต้องไม่เกินร้อยละ 100 ของ MCR 
3. มีการจัดแบ่งห้องพักอาศัยของกำลังพล จำนวน 20 นาย
4. มีสถานที่จัดเก็บเสบียงอาหาร และระบบน้ำจืดเพียงพอต่อการปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง
5. ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็ว 8 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ
1. สามารถเข้าดึงและดันเรือขนาดใหญ่ของกองทัพเรือ และรวมไปถึงเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ได้อย่างคล่องตัวปลอดภัย และสามารถเคลื่อนที่ไปทางข้างได้ โดยมีขีดความสามารถทางการลากจูง และเรือมีกำลังดึง ไม่น้อยกว่า 
55 เมตริกตัน
2. สามารถปฏิบัติงานในท่าเรือ และชายฝั่งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเรือมีความคงทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3 
3. สามารถดับเพลิงไหม้ในเรือ ทั้งในเขตฐานทัพ ท่าเรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ตลอดชายฝั่งได้
4. สามารถขจัดคราบน้ำมันในทะเลบริเวณท่าเรือและบริษัทได้
5. สามารถสนับสนุนภารกิจอื่นๆ ด้วยความสามารถที่มีอยู่ได้ หากมีความจำเป็น เช่น การลากเป้าในการฝึกยิงอาวุธ
ระบบขับเคลื่อน 
1. เครื่องจักรใหญ่ดีเซลแบบที่ใช้งานในเรือที่มีมาตรฐานการปล่อยก๊าซตามข้อกำหนดขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศที่ใช้ฉบับบล่าสุดในระดับ IMO Tier II compliant จำนวน 2 เครื่อง
2. เครื่องจักรใหญ่แต่ละเครื่อง มีระบบควบคุมความเร็วที่ตัวเครื่อง และมีระบบเลิกเครื่องฉุกเฉิน รุ่น MTU BLUE VISION LOP 14 
3. ในการณีฉุกเฉิน สามารถขับเคลื่อนเรือได้ด้วยเครื่องจักรใหญ่เพียงเครื่องเดียว โดยไม่ก่อให้เกิดความชำรุดเสียหายใด ๆ ต่อระบบขับเคลื่อนที่เหลือ
4. ชุดขับเคลื่อนเป็นแบบ Azimuth Thruster แบบ Azimuth Stern Drive ประกอบ Kort Nozzle ตราอักษร SHOTTEL รุ่น SCHOTTEL SRP400 การหมุนของใบจักร เมื่อมองจากท้ายเรือ ใบจักรขวาจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ใบจักรซ้าย
จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา สามารถบังคับเรือให้ไปทางข้างได้ ทั้งซ้ายและขวา ใช้ส่วนหัวเรือ ทั้งดึงและดันได้โดยไม่ต้องกลับลำเรือ และเน้นการใช้งานสำหรับการดันเรือเป็นหลัก

กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สาม เรือหลวงตาชัย เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ อู่เรือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)(ASIMAR: Asian Marine Service PCL) ไทย
ซึ่งได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/tugboat.html) โดยคาดว่าจะสร้างเสร็จเพื่อส่งมอบขึ้นระวางประจำการได้ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ตามความล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์ระบาด Covid-19

เรือลากจูง ร.ล.ตาชัย ยังคงใช้แบบเรือลากจูง Ramparts 3200 SD ของ บริษัท Robert Allan Ltd.แคนาดา เรือลากจูงขนาดกลางชุด ร.ล.ปันหยี ๒ลำก่อนหน้าที่ถูกสร้างโดย บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด(Italthai Marine Limited) ไทย
คือ เรือหลวงปันหยี(857) ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) และเรือหลวงหลีเป๊ะ(858) ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/blog-post_24.html)

ปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือลากจูงขนาดกลาง(Medium Tugboat) ประจำการอยู่ใน กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) รวม ๕ลำคือ
เรือลากจูงชุดเรือหลวงริ้น ๑ลำคือ ร.ล.ริ้น(853)  เรือลากจูงชุดเรือหลวงแสมสาร ๒ลำคือ ร.ล.แสมสาร(855) และเรือหลวงแรด(856) และเรือลากจูงชุดเรือหลวงปันหยี ๒ลำ โดยเรือหลวงรัง(854) เรือลากจูงชุด ร.ล.ริ้นลำที่สอง ถูกปลดประจำการไปแล้วเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ๒๕๖๕

ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๗(2015-2024) ที่ต้องการเรือลากจูงไว้ใช้งานรวม ๘ลำ ทำให้เข้าใจว่ากองทัพเรือไทยจะมีการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพิ่มเติมอีก ๓ลำต่อจาก ร.ล.ตาชัย ที่ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำไป และทดแทน ร.ล.ริ้น ที่น่าจะปลดประจำการในปี ๒๕๖๖ นี้
รวมถึงเรือลากจูงขนาดเล็กชุดเรือหลวงกลึงบาดาร ๒ลำที่ปลดประจำการลงหมดแล้ว เรือลากจูงชุด ร.ล.ปันหยี ใช้แบบเรือตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ ติดตั้งอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือเช่นเครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V 4000 M54 เยอรมนี และเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างเรือของไทยครับ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

สหรัฐฯและตุรกีเดินหน้าเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทเครื่องบินขับไล่ F-35

US, Turkey continue talks to settle F-35 dispute







The first of six F-35As that Turkey officially received before being expelled from the programme in 2019. Washington and Ankara are now holding talks to settle outstanding legal issues. (Lockheed Martin)

สหรัฐฯและตุรกีจัดการเจรจารอบที่สองเพื่อเร่งการยุติปัญหาที่ค้างคามานานเกี่ยวกับการขับรัฐบาลตุรกีใน Ankara ออกจากโครงการนานาชาติเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) 

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศการเดินหน้าการเจรจาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2023 กล่าวว่าการเจรจาได้ถูกจัดขึ้น ณ Washington, DC สหรัฐฯ ตามที่การเจรจาครั้งก่อนหน้าจัดขึ้นใน Ankara ตุรกี
โดยการเจรจารอบที่สองนี้ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2023 การเจรจารอบที่สามมีกำหนดการที่จะจัดขึ้นใน Ankara ในไตรมาสที่สองของปี 2023

ตุรกีได้ถูกขับออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 ในปี 2019 ตามที่ตุรกีได้ปฏิเสธความต้องการของสหรัฐฯที่ไม่ให้ตนจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน S-400 รัสเซีย
สำหรับความกลัวที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-400 อาจจะเป็นอันตรายต่อการรักษาความปลอดภัยของ 'เครื่องบินขับไล่ยุคที่5' stealth ไอพ่น(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/s-400.html)

ณ ช่วงเวลาที่ตุรกีถูกขับออกจากโครงการ ตุรกีได้ตรวจรับเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 6เครื่อง จาก 100เครื่องที่ตั้งใจจะจัดหาสำหรับกองทัพอากาศตุรกี(TuAF: Turkish Air Force)
แม้ว่าได้มีการตรวจจับแล้ว เครื่องบินขับไล่ F-35A เหล่านี้ยังคงอยู่ในสหรัฐฯ และตามมาด้วยการถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) แทน

การเจราจาที่มีขึ้นขณะนี้ระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯและรัฐบาลตุรกีได้มุ่งเป้าไปที่การหาข้อยุติการชดเชยและการฟ้องร้องทางกฎหมายอื่นโดยประมาณ $1.4 billion 
ที่รัฐบาลตุรกีกล่าวว่าตนได้จ่ายให้สำนักงานโครงการร่วม F-35(JPO: Joint Program Office) จนถึงก่อนที่ตนจะถูกขับออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 JSF

ตรุกีได้ถูกตัดออกจากโครงการ JSF อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2019 ตามด้วยห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่ของ F-35 ได้ถูกย้ายออกจากตุรกีในเดือนมีนาคม 2020
นักบินและช่างอากาศยานราว 25นายของกองทัพอากาศตุรกีได้ถูกแจ้งให้ทราบตามมาในเดือนกรกฎาคม 2019 ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ F-35 JPO อีกต่อไปและต้องเดินทางกลับตุรกีครับ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

การฝึกทางอากาศ Veer Guardian 2023 ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI อินเดียทำให้ญี่ปุ่นมีโอกาสศึกษาเครื่องบินรบรัสเซีย

Sukhoi secrets: Indian deployment gives Japan opportunity to study Russian fighter jets















Indian Air Force Sukhoi Su-30MKIs from No 220 Squadron assemble at Hyakuri Air Base in Japan on 10 January 2023. 
The airbase, which is located 80 km northwest of Tokyo, hosts several Japan Air Self-Defense Force units, including a squadron of Mitsubishi F-2 combat jets. (Indian Air Force)



การวางกำลังของอากาศยานกองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ยังญี่ปุ่นได้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo มีโอกาสที่จะศึกษาขีดความสามารถและวิทยาการ
ของเครื่องบินรบที่มีต้นกำเนิดจากรัสเซียในรายละเอียด ขณะนี้เพิ่มความแนบแน่นด้านความสัมพันธ์ทางทหารของญี่ปุ่นกับอินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/su-30mki.html)

กองทัพอากาศอินเดียได้วางกำลังเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKI(NATO กำหนดรหัส Flanker-H) จำนวน 4เครื่อง จากฝูงบินที่220(No 220 Squadron), เครื่องบินลำเลียง Boeing C-17A Globemaster III จำนวน 2เครื่อง
และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Ilyushin Il-78 Midas ไปที่ฐานทัพอากาศ Hyakuri ในญี่ปุ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือ 80km จาก Tokyo ในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกร่วมผสมทางอากาศ Veer Guardian 2023

เครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดียได้ทำการฝึกร่วมทางอากาศหลายชุดกับเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น Mitsubishi F-2A/B จำนวน 4เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15J/DJ จำนวน 4เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-15j-f-35b.html
ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ระหว่างวันที่ 12-26 มกราคม 2023 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

ตามข้อมูลจากรัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo และรัฐบาลอินเดียใน New Delhi นี่เป็นการฝึกร่วมทางอากาศครั้งแรกที่อากาศยานทางทหารของอินเดียมีส่วนร่วมเหนือน่านฟ้าญี่ปุ่น แผนที่จะจัดการฝึกทางอากาศได้รับการประกาศโดยรัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม 2022
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-2A/B จำนวน 4เครื่องมาจากกองบินที่7(7th Air Wing) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ซึ่งปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศ Hyakuri,

เครื่องบินขับไล่ F-15J/DJ จำนวน 4เครื่องอยู่ในสังกัดกองบินพัฒนายุทธวิธีทางอากาศ(Air Tactics Development Wing) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้เผยแพร่ภาพที่แสดงว่าเครื่องบินขับไล่ F-15J/DJ มาจากฝูงบินข้าศึกสมมุติ(Aggressor Squadron) ของกองการฝึกเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธี(Tactical Fighter Training Group) 

ฝูงบินข้าศึกสมมุติ กองการฝึกเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธี กองบินพัฒนายุทธวิธีทางอากาศ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักในชื่อ Hiko Kyodotai มีที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ Komatsu 
กองการฝึกเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีมอบการฝึกการรบทางอากาศที่แตกต่างกันแก่หน่วยต่างๆของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ตามข้อมูลที่จัดทำโดย Janes ครับ