วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

ห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ F-35 จะย้ายออกจากตุรกีในเดือนมีนาคม 2020

Majority of F-35 supply chain will be out of Turkey by March


The Pentagon will have removed most of its F-35 supply chain from Turkey by March, aside from a handful of Lockheed Martin and Pratt & Whitney contracts that will extend to the end of 2020. Source: Lockheed Martin
https://www.janes.com/article/93703/majority-of-f-35-supply-chain-will-be-out-of-turkey-by-march

Malaysia looking into joint production of defence equipment with Turkey





The proposals are related to state-owned Turkish Aerospace’s indigenous fighter and jet trainer programmes, the TF-X and Hürjet respectively, according to Malaysian government officials.
https://www.janes.com/article/93720/malaysia-looking-into-joint-production-of-defence-equipment-with-turkey

ห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Petagon จะถูกย้ายออกจากตุรกีภายในเดือนมีนาคม 2020
ตามที่สหรัฐฯได้เดินหน้าตัดตุรกีออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/f-35.html) จากการที่ตุรกีจัดซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/s-400.html)

นาง Ellen Lord รัฐมนตรีช่วยด้านการจัดหาและดำรงสภาพกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2020 ว่าผู้รับสัญญาหลัก บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
และผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น F135 บริษัท Pratt & Whitney สหรัฐฯ มีสัญญาจำนวนหนึ่งในมือที่น่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นได้สิ้นปี 2020 เธอไม่ได้ให้การอธิบายรายละเอียดของสัญญาเหล่านี้ต่อสื่อมวลชน

บริษัท Pratt & Whitney ผัดผ่อนที่จะให้ความเห็นต่อสำนักงานโครงการร่วม F-35(JPO: Joint Program Office) ซึ่งควบคู่ไปกับ บริษัท Lockheed Martin ที่ไม่ได้ตอบรับการร้องขอสำหรับความเห็นในช่วงที่บทความเผยแพร่
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนของตนจากเดือนสิงหาคม 2019 ที่ว่า ตุรกีได้โอกาสจำกัดที่จะกลับเข้าร่วมโครงการ F-35 นอกเสียจากถ้าตุรกีจะละทิ้งการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 รัสเซียอย่างสมบูรณ์

"ตุรกีไม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวใดๆเกี่ยวกับ S-400 ดังนั้นเราจึงเดินหน้าเปลี่ยนผ่านงานออกจากตุรกี" นาง Lord กล่าวในเวลาอาหารเช้าของกลุ่มนักเขียนกลาโหม Defense Writers Group
 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ใช้งบประมาณในช่วงระหว่าง $500-$600 million เพื่อเปลี่ยนย้ายห่วงโซ่อุปทานของโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 ออกจากตุรกี

ชิ้นส่วนของอากาศยานเกือบ 900ส่วน รวมถึงโครงสร้างลำตัวส่วนกลาง และจอแสดงผลห้องนักบิน ได้ถูกผลิตในตุรกี รวมถึงแผนจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน 100เครื่อง
นักบินและช่างอากาศยานราว 25นายของกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) ได้ถูกแจ้งให้ทราบในวันที่ 17 กรกฎาคม 2019 ว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ F-35 JPO อีกต่อไป และมีกำหนดที่ต้องเดินทางกลับตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-35a.html)

ตามที่ตุรกีถูกตัดออกจากโครงการ F-35 JSF ที่นำโดยสหรัฐฯ Turkish Aerospace รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกีได้มีโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตและเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบาของตนเอง
คือเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Turkish Fighter หรือ TF-X(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/tf.html) และเครื่องบินฝึกไอพ่น Hürjet(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/tai-hurjet.html) ตามลำดับ

ตุรกีได้เสนอโอกาสความร่วมมือกับมาเลเซียในการพัฒนาและผลิตทั้งเครื่องบินขับไล่ TF-X และเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Hürjet สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ในอนาคต
ความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศมาเลเซียจะมีขึ้นในปี 2030 โดยคาดว่ามีการตัดสินใจเลือกแบบในปี 2035 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM รัสเซีย และ Boeing F/A-18D Hornet สหรัฐฯครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/su-30mkm.html)