วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือไทยรับมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ FK-3 จีน และ Thairung 4x4 ติด Igla-S รัสเซียแล้ว

China National Precision Machinery Import and Export Corporation (CPMIEC) was displyed model of its FK-3, export version of HQ-22 medium-range surface-to-air missile weapon system at the Defense & Security 2022 show in Bangkok during 29 August-1 September 2022. (My Own Photo)

Thailand company's Datagate co.,Ltd. is distributor for both Russian defence industry export agency Rosoboronexport and Ukrainian Ukroboronprom at Defense & Security 2022. (My Own Photo)


Royal Thai Naval Academy (RTNA) 5th year class cadets and faculty officers have visited Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) at Sattahip, Chonburi Province on 19 September 2022.
Photos shown RTN ACDC's Chinese FK-3 medium-range surface-to-air missile system launcher platform 
and Russian Dzhigit support launching unit (SLU) with two Igla-S Man-portable air-defence system (MANPADS) short-range surface-to-sir missile system mount on Thailand domestic Thairung TR Transformer 4x4 family vehicle with snorkel and add-on armoured. (Royal Thai Navy)

หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ (มฝ.นนร.) ในการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลภายในประเทศของ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2565 เข้าศึกษาดูงานหน่วยในพื้นที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ (มฝ.นนร.) ในการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลภายในประเทศของ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2565 ได้นำ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 5 เข้าศึกษาดูงานหน่วยในพื้นที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยในเวลา 09.00 น.-12.00 น. นาวาเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพรัช ทัตตะทองคำ รองผู้อำนวยการกองวิชาวิศวะกรรมศาสตร์ ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ ในฐานะต้นกลหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ นำ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 5 จำนวน 38 นาย เข้าศึกษาดูงาน ที่ อู่ราชนาวีมหิดล กรมอู่ทหารเรือ 
ต่อมาในเวลา 13.00 น.-1600 น. พลเรือตรี ประสงค์ สังข์ทอง เสนาธิการโรงเรียนนายเรือ ในฐานะผู้บังคับหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือผนำนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 5 จำนวน 38 นาย เข้าศึกษาดูงาน ที่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้การรับรอง พลเรือตรี ประสงค์ สังข์ทอง เสนาธิการโรงเรียนนายเรือ /ผู้บังคับหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ 
ในโอกาสที่นำคณะนายทหารสัญญาบัตร/นายทหารควบคุม และ นนร.ชั้นปีที่ ๕ รวมจำนวน ๕๑ นาย เยี่ยมชมยุทโธปกรณ์ประจำหน่วย สอ.รฝ. และฟังบรรยายสรุปภารกิจการจัดหน่วยของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
เพื่อให้ นนร.ชั้นปีที่ ๕ ได้มีความรู้เพิ่มเติมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติราชการในอนาคตต่อไป

การเยี่ยมชมงาน ณ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง(ACDC: Air and Coastal Defence Command) ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ของ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่๕ ประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ โรงเรียนนายเรือ(RTNA: Royal Thai Naval Academy) เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕
ซึ่งกองทัพเรือไทยได้เผยแพร่ชุดภาพช่วงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมาได้เปิดเผยว่า หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.ได้นำระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 จีน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/fk-3.html
และอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ Igla-S ความจุสองนัดในแท่นยิงแบบ Dzhigit รัสเซียบนรถยนต์บรรทุกหุ้มตระกูล Thairung TR Transformer 4x4 ไทยที่เสริมเกราะ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/datagate-manpads-4x4.html) เข้าประจำการแล้ว

ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร FK-3 ถูกจัดหาตามโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑ วงเงิน ๑,๙๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($63,982,850) สำหรับ กองพันต่อสู้อากาศยาน กรมต่อสู้อากาศยาน สอ.รฝ.(น่าจะอย่างน้อย ๑ระบบ)
FK-3 เป็นผลิตภัณฑ์ของ China National Precision Machinery Import and Export Corporation(CPMIEC) รัฐวิสาหกิจนำเข้าและส่งออกยุทโธปกรณ์กลุ่มระบบป้องกันภัยทางอากาศของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมาจัดแสดงในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022
FK-3 เป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ HQ-22 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) โดยมีพิสัยยิงระหว่าง 5-100km นับเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีพิสัยยิงไกลสุดของกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) ในปัจจุบัน

โครงการจัดหาอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ ชุดยิง วงเงิน ๒๔๕,๘๙๐,๐๐๐บาท($7,682,982.06) สำหรับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/manpads-4x4.html) ที่บริษัท Datagate ไทย เป็นผู้ชนะนั้น
ได้เห็นการบูรณาการแท่นยิงแบบ Dzhigit พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่ายิง Igla-S รัสเซียสองนัดติดตั้งบนส่วนบรรทุกด้านท้ายรถยนต์บรรทุกตระกูล Thairung Transformer 4x4 ไทยที่เสริมเกราะป้องกัน และติดท่อ Snorkel สำหรับการเคลื่อนที่ในน้ำ ซึ่งทำการติดตั้งภายในไทย
รถยนต์บรรทุก Thairung 4x4 ยังถูกใช้เป็นรถแคร่ฐานสำหรับแท่นยิงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้แบบอื่น เช่น Saab RBS 70 สวีเดน และ QW-2 จีนที่ประจำการในหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน(Security Force Command) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ด้วยครับ