วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
การพัฒนากำลังอากาศยานจากสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020
Royal Thai Air Force (RTAF) White Paper 2020
http://www.rtaf.mi.th/th/Documents/Banner/20022020%20RTAF%20White%20Paper%20THA.pdf
Royal Thai Air Force's Pilatus PC-9 turboprop trainer aircraft from Flying Training School Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom province(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
๑.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน
จัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ ที่จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๕๖๖(2023) จำนวน ๑๒ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ การฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นพร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม
รองรับการฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๔ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๖(2020-2023) งบประมาณ ๕,๑๙๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($170,220,000)
ปัจจุบันโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 มากกว่า ๒๐เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งบางเครื่องได้ถูกปลดประจำการแล้ว โดยในงานแสดง Defense and Security 2019 ที่ผ่านมาก็มีหลายบริษัทสนใจเสนอเครื่องบินฝึกของตน
เช่น Leonardo M-346 อิตาลี, KAI KT-1 สาธารณรัฐเกาหลี และ Embraer EMB 314/A-29 Super Tucano บราซิล อาจรวมถึง Turkish Aerospace Hurkus ตุรกี(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-pc-9.html)
Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH serial 40107 and 40108, 401st Squadron, Wing 4 Takhli in Children's Day at Wing 4.(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/)
๒.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๔)
จัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จำนวน ๒ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น และการฝึกอบรม เพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการทางยุทธการ รองรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น
รวมทั้งการโจมตีทางอากาศ และการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๕(2020-2022) งบประมาณ ๒,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($80,190,000)
เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นดังกล่าวคือการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ระยะที่๓ จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี
โดยกองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหา บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH สองระยะรวม ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html) เมื่อรวมกับการจัดหาระยะที่๓ อีก ๒เครื่องจะเป็น ๑๔เครื่องอันเป็นจำนวนอัตราเครื่องบินในฝูงบินขับไล่โจมตีปัจจุบัน
Royal Thai Air Force Diamond DA42 kamphaengsaen Flying Training School at Hua Hin.(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
๓.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้นฝูงฝึกขั้นปลาย
จัดหาเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น เพิ่มเติมจำนวน ๔เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ การฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น โดยมีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจการฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น เช่นเดียวกันกับเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้นที่มีใช้งานอยู่
และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนได้อย่างปลอดภัย ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๒ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔(2020-2021) งบประมาณ ๒๒๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($7,300,00)
กองทัพอากาศไทยมีความต้องการจัดหา เครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๐ บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 ออสเตรีย เพิ่มเติม ๔เครื่อง เพื่อบรรจุเข้าประจำการ ณ ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึกการบิน โรงเรียนการบิน รวมจำนวน ๑๒ เครื่อง จากเดิมที่ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนการบินมี บ.ฝ.๒๐ DA42 ๘เครื่อง
Royal Thai Air Force's SAAB 340 AEW(Airborne Early Warning Radar) Erieye 702nd Squadron, Wing 7 Surat Thani.(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
๔.โครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ค.๑
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่ ๑ บ.ค.๑ SAAB 340 AEW(Airborne Early Warning Radar) แบบ Erieye สวีเดน มีอายุการใช้งานนาน มีข้อจำกัดในการปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งการส่งกำลังและซ่อมบำรุง ครบกำหนดการรับรองมาตรฐานความสมควรเดินอากาศใน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
จำเป็นต้องได้รับปรับปรุงระบบและและเพิ่มขีดความสามารถการบัญชาการและควบคุม พร้อมอะไหล่ อาคารและสาธารณูปโภค ระบบสนับสนุน รวมทั้งการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศให้มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจตามขีดความสามารถของอากาศยานที่ได้รับการปรับปรุง
ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๗(2021-2024) งบประมาณ ๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,079,710) ปัจจุบันฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี มี บ.ค.๑ SAAB 340 AEW ERIEYE ประจำการอยู่ ๒เครื่องคือหมายเลข 70201 และ 70203
Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai, Royal Thai Air Force
๕.โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา
จัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๑๒เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบสนับสนุน การฝึกและการฝึกอบรม เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็กที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994)
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ จำนวน ๘เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) งบประมาณ ๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,079,710) ระยะที่๒ จำนวน ๔เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๗(2022-2024) วงเงินตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ
กองทัพอากาศไทยจัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART รวม ๔๐เครื่อง ได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ จำนวน ๒๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/blog-post_20.html)
Royal Thai Air Force's RTAF U1 unmanned aerial vehicle (UAV) based-on RV Connex's Sky Scout was displayed at Defense and Security 2019.(My Own Photo)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-rv-connex-sky.html)
๖.โครงการผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ (ระยะที่ ๒)
ปรับปรุงอากาศยานไร้คนขับให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนและปฏิบัติการรบจากอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ (RTAF U1) พร้อมระบบอุปกรณ์และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๓ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕(2021-2023)
งบประมาณ ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($14,322,087) ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยได้นำอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1 เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๗เครื่อง ที่ได้ถูกนำมาวางกำลัง ณ ฝูงบิน๒๐๖ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
SAAB Gripen C 701st Tactical Fighter Squadron, Wing 7 Surat Thani, Royal Thai Air Force in Children's Day at Wing 6.
๗.โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข.๒๐/ก (เครื่องบินขับไล่แบบ SAAB Gripen 39 C/D) (โครงการปกติ)
ปรับปรุงระบบปฏิบัติการบินของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D สวีเดน ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๑๑เครื่อง ให้ทันสมัยเป็นรุ่น MS 20รวมทั้งดำรงขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุง งบประมาณ ๕๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($16,216,216)
ในงาน Defense and Security 2019 บริษัท SAAB สวีเดนกล่าวว่าการปรับปรุงมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยชุดคำสั่ง MS20 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เช่น การใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะยิงนอกสายตา MBDA Meteor กำลังอยู่ในการหารือกับกองทัพอากาศไทย
(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/gripen-cd-ms20.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html)
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin C-130H Hercules 601st Squadron, Wing 6 Don Mueang demonstrated cargo air drop mission in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2020 at Chandy Range (https://aagth1.blogspot.com/2019/12/blog-post_21.html)
๘.โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทน
จัดหาเครื่องบินเลียงทดแทนเครื่องลำเลียงแบบที่ ๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules สหรัฐฯ ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง จำนวน ๑๒เครื่อง และระบบที่เกี่ยวข้อง พร้อมการฝึกอบรมสำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจในการลำเลียงทางอากาศ
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025) จำนวน ๔เครื่อง, ระยะที่๒ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๖๙(2024-2026) ๔เครื่อง, ระยะที่๓ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๙-๒๕๗๒(2026-2029) จำนวน ๔เครื่อง
กองทัพอากาศไทยมีแผนในการยืดอายุการใช้งาน บ.ล.๘ C-130H โดยการปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ T56 เป็นรุ่น Series 3.5 ๒๐เครื่อง ทำให้มีอย่างน้อย ๕เครื่องที่จะใช้งานได้จนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)
อย่างไรก็ตามในงาน Defense and Security 2019 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯมองว่าในที่สุดกองทัพอากาศไทยตั้งจัดหาเครื่องลำเลียงใหม่คือ C-130J ของตน เช่นเดียวกับบริษัท Embraer บราซิล ที่มองเห็นโอกาสสำหรับ C-390 Millennium(KC-390) ของตนเช่นกัน
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A ADF 102nd Squadron, Wing 1 Korat.(https://www.facebook.com/people/Tanapol-Arunwong/100002183542138)
๙.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน
จัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีจำนวน ๑ฝูงบิน จำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช พร้อมอุปกรณ์ เครื่องช่วยฝึก อะไหล่ ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการบิน และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
การถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี(TDL: Tactical Datalink) การพัฒนาและทดสอบระบบอาวุธ ตลอดจนการบำรุงรักษาอากาศยานได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) จำนวน ๖เครื่อง, ระยะที่๒ ผูกพันงบประมาณ ๔ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) จำนวน ๖เครื่อง
ในงาน Defense and Security 2019 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้เสนอเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Fighting Falcon(Viper) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
SAAB was displayed model of its Gripen C 701st Tactical Fighter Squadron, Wing 7 Surat Thani, Royal Thai Air Force at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
๑๐.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทน บ.ข.๑๘ ก/ข
จัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen 39 C/D จำนวน ๑ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการบิน พร้อมทั้งการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ มีเครื่องครบอัตราโครงสร้างกำลังรบ ๑๒เครื่อง(ทดแทน Gripen C 70108 ที่สูญเสียไป)
ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025) โดยในงาน Defense and Security 2019 บริษัท SAAB สวีเดน ยืนยันว่าตนพร้อมที่จะทำการเปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ได้ใหม่ถ้ามีการสั่งจัดหาจากลูกค้า
แม้ว่าปัจจุบัน SAAB จะให้ความสำคัญกับเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F รุ่นใหม่เช่นการแข่งขัน HX ฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/saab-gripen-e.html) แต่กองทัพอากาศสวีเดนเองไม่มีเครื่องบินขับไล่ JAS-39C/D ที่เก็บสำรองไว้เนื่องจากภัยคุกคามจากรัสเซียที่เพิ่มขึ้น
Royal Thai Air Force's Bell 412 helicopter 201st Squadron Royal Guard, Wing 2 in exercise SAREX 2019.(Thanawat Wongsaprom)
๑๑.โครงการจัดหา ฮ.ทดแทน
จัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทั้งในพื้นที่การรบและมิใช่การรบจำนวน ๖เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการบิน พร้อมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๓ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025)
เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ข/ค/ง ฮ.๖ ข/ค/ง Bell 412/Bell 412SP/Bell 412EP ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ กองบิน๒ โคกกระเทียม ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕(1982) มีเทคโนโลยีล้าสมัย ครบกำหนดปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
Royal Thai Air Force domestic RTAF U1-M Tactical UAS (Unmanned Aerial System), 404th Squadron, Wing 4 Takhli with two Thales's Freefall Lightweight Multirole Missiles (FFLMM) underwings(https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/2593972217366866)
๑๒.โครงการจัดหาหรือผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ
จัดหาหรือผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนและการปฏิบัติการรบ ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่ ๑ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025) ระยะที่ ๒ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ - ๒๕๗๐(2025-2027)
ในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2020 ที่สิงคโปร์ กองทัพอากาศไทยได้จัดแสดงระบบอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1-M ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี FFLMM ของบริษัท Thales Air Defence สหราชอาณาจักรใต้ปีกทั้งสองข้างรวมสองนัดด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html)
Royal Thai Air Force CT-4E Airtrainer.
๑๓.โครงการจัดหาเครื่องบินฝึก ฝูงบิน ๖๐๔ (ระยะที่ ๒)
จัดหาเครื่องบินฝึกแบบ Diamond DA-40 ออสเตรีย เพิ่มเติมจำนวน ๖เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ และการฝึกอบรม ผูกพันงบประมาณ ๒ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๖๙(2025-2026) เครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๖/ก บ.ฝ.๑๖/ก CT-4B ฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖
๑๔.โครงการจัดหาเครื่องบินทดแทน บ.ฝ.๑๖/ก
จัดหาเครื่องบินฝึกนักบิน รวมจำนวน ๒๔ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ และการฝึกอบรม เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๖/ก บ.ฝ.๑๖/ก CT-4E ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๒(1999) ครบกำหนดปลดประจำการใน พ.ศ.๒๕๗๔(2031)
เครื่องบินขนาดเล็กแบบ ๑ เครื่องยนต์ แบบที่นั่งเคียงกัน และมีที่นั่งรวม ๒ที่นั่ง(รวมนักบิน นักบินผู้ช่วย) ที่มีขีดความสามารถเหมาะสำหรับใช้ในการปฏิบัติภารกิจการฝึกศิษย์การบิน ฝูงฝึกบินขั้นต้น โรงเรียนการบิน เครื่องวัดประกอบการบินแบบพื้นฐาน เพื่อใช้ในการฝึกบินขั้นพื้นฐาน
การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษาเพื่อให้สามารถบำรุงรักษาอากาศยานได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่ ๑ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๙-๒๕๗๑(2026-2028) ระยะที่ ๒ ผูกพันงบประมาณ ๓ปี ปีงบประมาณ ๒๕๗๐-๒๕๗๒(2027-2029)
Royal Thai Air Force's SAAB 340B 702nd Squadron, Wing 7 in Children's Day 2020 at Wing 56.
๑๕.โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทดแทน บ.ล.๑๗
จัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางเพิ่มเติม จำนวน ๒เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๓ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๗๐-๒๕๗๒(2027-2029) ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๗ บ.ล.๑๗ SAAB 340B สวีเดน ที่ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ จำนวน ๔เครื่อง(70202, 70204, 7020, 70206)
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16A 10311, 103rd Squadron, Wing 1 Korat in Children's Day 2020.
๑๖.โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน
จัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จำนวน ๑ฝูงบิน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ พร้อมอุปกรณ์เครื่องช่วยฝึก อะไหล่ ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการบิน และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่๑ จำนวน ๖เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๔ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๗๑-๒๕๗๔(2028-2031) ระยะที่๒ จำนวน ๖เครื่อง ผูกพันงบประมาณ ๔ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๗๓-๒๕๗๖(2030-2033) มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับที่เหมาะสม
การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL) การพัฒนา และทดสอบระบบอาวุธ ตลอดจนการบำรุงรักษาอากาศยานได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง เป็นโครงการจัดหาในระยะยาว ซึ่งในช่วงสิบปีนี้น่าจะเป็นระยะเวลาสุดท้ายสำหรับ F-16A/B กองบิน๑ แล้ว
Royal Thai Air Force commissioned ceremony 17 RTAF U1 domestic Tacticl Tactical UAS(Unmanned Aerial System) by Thailand company RV Connex in 14 November 2019.(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
๑๗.โครงการจัดหา/ผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ ทดแทน U1
จัดหาหรือผลิตอากาศยานไร้คนขับเพื่อทดแทนอากาศยานไร้คนขับแบบ U1 ตามโครงสร้างกำลังรบ ซึ่งครบกำหนดปลดประจำการในปี ๒๕๗๑(2028) เป็นการสะท้อนถึงข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานของอากาศยานไร้คนขับลักษณะนี้
โดย UAV ใหม่ที่มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนและการรบ ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิต การทดสอบ และการติดตั้งระบบอาวุธ รวมทั้งการพัฒนาระบบปฏิบัติการบิน(OFP) สำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับ
Royal Thai Air Force's BT-67 46157 20 Anniversary, 461st Sqadron, Wing 46 Phitsanulok at Wing 56.
๑๘.โครงการจัดหา บ.ลำเลียงขนาดกลางทดแทน
จัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ก บ.ล.๒ก Basler BT-67 จำนวน ๔เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุงและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินการ ผูกพันงบประมาณ ๓ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๗๑-๒๕๗๓(2028-2030)
ปัจจุบัน บ.ล.๒ก BT-67 ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก มีพื้นฐานปรับปรุงมาจาก บ.ล.๒ Douglas C-47 Dakota ซึ่งถูกใช้งานอย่างหนักมานานโดยเฉพาะการดับไฟป่าและลดปัญหาหมอกควันฝุ่น PM 2.5
กองทัพอากาศไทยเป็นเหล่าทัพที่ต้องวางนโยบายล่วงหน้าในระยะยาว เนื่องจากมีอาวุธยุทโธปกรณ์หลักคืออากาศยานที่ต้องมีความทันสมัยตลอดเวลานั้นมีราคาสูงมาก ประกอบกับนโยบาย "จัดหาและพัฒนา" แนวทาง Purchase and Development (P&D)
แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณที่สวนทางกับอากาศยานที่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือปลดประจำการเป็นจำนวนมาก แต่การเปิดเผยสมุดปกขาวประจำปี ๒๕๖๓ ได้แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสของกองทัพอากาศไทยต่อนโยบายและแผนงานพัฒนาและจัดหาของตนต่อประชาชนครับ