Lockheed Martin was displayed model of its F-16V Block 70/72 Fighting Falcon (Viper) 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat and C-130J Super Hercules tactical transport aircarft for Royal Thai Air Force at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
Lockheed Martin also presented F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator Simulator in Thailand for first time at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
https://www.facebook.com/JUSMAGTHAILAND/
SAAB was displayed model of its Gripen C 701st Tactical Fighter Squadron, Wing 7 Surat Thani, Royal Thai Air Force at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
Embraer was displayed model of its KC-390 multi-mission tactical transport jet aircraft that redesignation with Boeing to "C-390 Millennium" at Defense and Security 2019.(My Own Photo)
China National Aero-Technology Import & Export Corporation (CATIC) was displayed model of its products include Shaanxi Y-9 transport aircraft at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้จัดแสดงแบบจำลองของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Fighting Falcon(Viper) และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด C-130J Super Hercules ในเครื่องหมายของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ๑๔เครื่อง ที่เคยประจำการในกองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ เคยกล่าวว่าจะยังไม่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่ในอีกสองปีข้างหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/software.html) แม้ว่า F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จะเข้าสู่การหมดอายุโครงสร้างในราวปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ขึ้นไปก็ตาม
ตัวแทนของ Lockheed Martin สหรัฐฯกล่าวกับผู้เขียนว่าเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ที่แบบจำลองที่มาจัดแสดงในงานถูกทีสีเครื่องหมายของฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่ ๑๐๒ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการจะทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF สำหรับกองทัพอากาศไทย
โดยที่กองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ตระกูล F-16 รายใหญ่ชาติหนึ่งในกลุ่มชาติ ASEAN ที่ล่าสุดกองทัพอากาศอินโดนีเซียก็มีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 72 Viper สองฝูงบินจำนวน 32เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-16v-su-35.html)
เมื่อรวมการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๘เครื่อง ที่ Lockheed Martin สหรัฐฯดำเนินการร่วมกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ประเทศไทย
และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบินขับไล่๑๐๓ กองบิน๑ จำนวน ๒๑เครื่อง การจัดหา F-16V ใหม่หรือปรับปรุงเครื่องที่มีอยู่ให้เป็นมาตรฐานล่าสุดนี้ จะมีความเข้ากันได้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการปฏิบัติการที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่เดิมแล้ว
โดยที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาแนวคิดความต้องการโครงการ(COPR: Concept of Project Requirements) ตามนโยบาย "จัดหาและพัฒนา"(Purchase and Development) กองทัพอากาศไทยได้ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดวิทยาการส่วนร่วมในการทำงานกับชุดคำสั่งสำหรับเครื่องบินขับไล่
ทำให้ดูเหมือนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen C/D ที่ประจำการในฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฏร์ธานีแล้ว ๑๑เครื่อง ที่มีความเข้ากันได้กับ Link-T Datalink ที่พัฒนาในไทยดูจะมีข้อได้เปรียบเมื่อพิจารณาความต้องการด้านนี้(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/link-t.html)
บริษัท SAAB สวีเดนกล่าวว่าการปรับปรุงมาตรฐานเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยชุดคำสั่ง MS20 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เช่น การใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะยิงนอกสายตา MBDA Meteor เช่นเดียวกับในการจัดหาเครื่องเพิ่มเติม
กำลังอยู่ในการหารือแนวทางความเป็นได้กับกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/gripen-cd-ms20.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html) แต่ก็ยังไม่สามารถบอกความชัดเจนได้ในขณะนี้ขึ้นอยู่กับอนาคต
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะเลือกยืดอายุการใช้งานเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง โดยการปรับปรุงเครื่องยนต์กับบริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักร ที่จะประจำการอย่างน้อย ๕เครื่องไปจนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓) ก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)
แต่ตัวแทน Lockheed Martin สหรัฐฯกล่าวกับผู้เขียนว่ากองทัพอากาศไทยควรจะทดแทนเครื่องบินลำเลียง Hercules ด้วย Super Hercules เช่นเดียวกับที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียให้ความสนใจจะจัดหา 5เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/c-130j.html)
อย่างไรก็ตาม Philip Windsor ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจภาคเอเชียแปซิฟิกของบริษัท Embraer บราซิลกล่าวกับผู้เขียนเกี่ยวการเปลี่ยนการกำหนดแบบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ไอพ่น KC-390 เป็น C-390 Millennium โดยการทำตลาดร่วมกับบริษัท Boeing สหรัฐฯ
Embraer มองเห็นโอกาสอย่างมหาศาลในกลุ่ม ASEAN สำหรับเครื่องบินลำเลียง C-390 ที่เป็นอากาศยานพหุภารกิจแห่งศตวรรษที่๒๑ ที่รองรับภารกิจได้หลากหลายทั้งการขนส่งและเติมเชื้อกลางอากาศด้วยการเปลี่ยนรูปแบบในเครื่องเดียว ขณะที่ C-130J เป็นเครื่องยุค 1990s ที่กำลังจะล้าสมัยแล้ว
นอกจากกองทัพอากาศบราซิลที่รับมอบเครื่องแรกเข้าประจำการแล้วจากที่สั่งจัดหา 30เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/embraer-kc-390.html) กองทัพอากาศโปรตุเกสยังสั่งจัดหา C-390 จำนวน 6เครื่องด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/embraer-kc-390.html)
ในงาน China National Aero-Technology Import & Export Corporation(CATIC) รัฐวิสาหกิจการส่งออกอากาศยานของจีนยังได้นำแบบจำลองของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Shaanxi Y-9 มาจัดแสดง ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะสร้างความสนใจแก่ไทยหรือชาติ ASEAN ได้หรือไม่
งานแสดง Defense & Security 2019 ยังเป็นปีแรกที่ Lockheed Martin สหรัฐฯได้นำเครื่องจำลองการบิน F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator มาทำการสาธิตให้ผู้เข้าชมงานที่ได้รับเชิญ โดยก่อนหน้าได้มีการนำเครื่องไปแสดงในหลายงานมาแล้ว เช่น TADTE 2019 ที่ไต้หวัน
ซึ่งเครื่องจำลองการบิน F-16 Simulator ไม่ใช่ระบบเดียวกับที่ใช้ในการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบของกองทัพอากาศจริง ดังนั้นทางบริษัท Lockheed Martin จึงเรียกระบบนี้ว่า "เครื่องสาธิต"(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/f-16v.html)
ห้องนักบิน F-16 ในเครื่องจำลองการบินนี้มีความต่างจากเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM EMLU ที่เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 50/52 ของกองทัพอากาศไทยตรงที่เพิ่มจอแสดงผลขนาดใหญ่(CPD: Center Pedestal Display) แทนกลุ่มชุดเครื่องวัดประกอบการบินแบบเข็มเดิม
นอกนั้นการจัดวางต่างๆทั้งจอแสดงผลตรงหน้า(HUD: Head-Up Display), แผงควบคุมUFC(Up-Front Control), จอแสดงผลอเนกประสงค์สี Common Colour Multi-Function Display (CCMFD) สองจอ และอื่นๆแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก F-16C Block 50/52 นัก
การควบคุม F-16 Block 70/72 ผ่านคันบังคับและคันเร่ง HOTAS(Hands-On Throttle and Stick) นั้นง่ายสำหรับผู้เขียนที่มีประสบการณ์ใน Flight Simulator มาตั้งแต่ยุค MS-DOS และ Windows 95 มากกว่า ๒๕ปี ทุกอย่างเป็นโลหะแข็งแรงแต่ไม่ต้องออกแรงมากด้วยระบบ Fly-By-Wire
คันเร่งเมื่อผลักไปข้างหน้าจากตำแหน่ง Idel จนสุดจะเป็นการใช้กำลังสูงสุดของ Military Power และเมื่อยกคันเร่งพับไปท้างซ้ายและยกขึ้นไปขั้นที่สองจะเป็นการเข้าสู่การใช้สันดาปท้าย Afterburner วิ่งบนทางวิ่งด้วยความเร็ว 150knot เชิดหัวขึ้นเบาๆยกคันเก็บฐานล้อ F-16 บินขึ้นแล้ว
F-16 Block 70/72 ได้เพิ่มระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ AGCAS(Automatic Ground-Collision Avoidance System) ถ้าเครื่องอยู่ในท่าทางและความสูงที่เสี่ยงจะชนพื้นระบบจะกู้เครื่องให้กลับสู่ท่าทางการบินที่เพดาบินปลอดภัยอัตโนมัติเพื่อรักษาชีวิตนักบิน
ในเครื่องสาธิตนี้ F-16 จะติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM ๒นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9M Sidewinder ๒นัด และปืนใหญ่อากาศ M61A1 20mm ๕๑๒นัด
คันบังคับของ F-16 จะประกอบด้วยปุ่มไกถ้ากดครึ่งหนึ่งโดยที่เครื่องติดกระเปาะชี้เป้าและเลือกใช้จะเป็นการยิง Laser เพื่อนำวิถีให้อาวุธ กดเต็มไกจะเป็นการยิงปืนใหญ่อากาศถ้าเปิด Master Arm และเลือกใช้, ปุ่ม Weapons Release สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถี/ทิ้งระเบิดที่เลือก
ปุ่ม Trim สี่ทิศทางเพื่อปรับสมดุลเครื่อง, Target Management Switch(TMS) สี่ทิศทางสำหรับการกำหนดเป้าหมาย, Display Management Switch(DMS) สี่ทิศทางสำหรับการเลือกการแสดงผลข้อมูล, Countermeasures Management Switch(CMS) สี่ทิศทางสำหรับการควบคุมเป้าลวง และปุ่ม Expand/FOV เพื่อเปลี่ยน Mode มุมมอง Sensor ที่เลือก
คันเร่งของ F-16 จะประกอบด้วยปุ่มเลือกวิทยุ UHF/VHF สี่ทิศทาง, ปุ่มหมุน Manual Range/Uncage/Gain สำหรับการย่อขยาย Sensor ที่เลือกเช่นกระเปาะชี้เป้า Sniper เป็นการ Zoom ภาพเข้าออก กดปุ่มหมุนลงไปถ้าเลือก Sidewinder หรือ Maverick จะเป็นการเปิด Seeker จรวด
ปุ่มผลักสามตำแหน่ง DOGFIGHT Switch สำหรับ Mode การรบทางอากาศ ผลักไปข้างหน้าสุดเพื่อเปิดใช้ปืนใหญ่อากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ ผลักไปหลังสุดเพื่อเปิดใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, ปุ่มหมุน Radar, ปุ่มผลักกางยืดพับ Speed Break และปุ่มเลื่อน Cursor
ด้วยขีดความสามารถของ AN/APG-83 AESA(Active Electronically Scanned Array) radar และ Link 16 Datalink ที่แสดงตำแหน่งเป้าหมาย เริ่มจากกด DMS ซ้ายเพื่อเลือกจอ MFD ซ้ายที่เปิด FCR(Fire Control Radar) เป็น Sensor of Interest(SOI) ในการควบคุมการทำงานหลัก เปิด Master Arm
ผลักปุ่ม DOGFIGHT เพื่อเลือก Mode อาวุธอากาศสู่อากาศ เลื่อนปุ่ม Cursor ที่จอ Radar เหนือเป้าหมายกด TMS บนเพื่อ Lock เป้าแรก ตามด้วยเป้าสอง AIM-120 ก็จะมีเป้าพร้อมยิงสองเป้า กด DMS ล่างเพื่อทำงานกับกับจอ CPD เช่นเปิดจอแสดงการหยั่งรู้สถานการณ์ รอให้เป้าหมายเข้ามาในระยะยิงจากข้อมูลบนจอ HUD
โดยที่ผู้เขียนรอจนเป้าเข้าถึง No Escape Zone กดปุ่ม WPN REL "Fox three" ตามด้วยเป้าที่สอง "Fox three" AMRAAM ทั้งสองนัดพุ่งเข้าทำลายเป้าหมาย MiG-29 ข้าศึกตกทั้งสองเครื่อง เนื่องไม่มีอาวุธอากาศสู่พื้นเลยจึงบินกลับมาลงลงจอดบนสนามบินเป็นการจบการสาธิต
น่าเสียดายที่ปีนี้ SAAB ไม่ได้นำเครื่องจำลองการบิน Gripen มาแสดงเหมือนปีก่อนหน้า จึงไม่ได้เปรียบเทียบกัน โดยผู้อ่านที่พลาดโอกาสไปลองขับ F-16 ในงาน(ไม่รู้ว่างานปี 2021 จะเอามาอีกหรือไม่) ไปซื้อ DCS: F-16C Viper มาเล่นเพราะสมจริงใกล้เคียงที่สุดและทำอะไรได้หลายอย่างกว่าครับ