วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Rolls-Royce จะปรับปรุงเครื่องยนต์เพื่อยืดอายุเครื่องบินลำเลียง C-130H กองทัพอากาศไทย

R-R engine upgrade to extend Thai Hercules life



Rolls-Royce has received an engine upgrade contract that will extend Thailand’s operational use of the Lockheed Martin C-130H tactical transport and also reduce the maintenance demands of its turboprop engines.
https://www.flightglobal.com/news/articles/r-r-engine-upgrade-to-extend-thai-hercules-life-459139/

บริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่จะยืดอายุการใช้งานปฏิบัติการของเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules
ด้วยการปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Lockheed C-130H Hercules สหรัฐฯ ที่จะยังช่วยลดความต้องการในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ลง

ตามการประกาศเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ข้อตกลงนี้ทำให้กองทัพอากาศไทยเป็น "ลูกค้านานาชาติรายแรกที่จะปรับปรุงฝูงบิน บ.ล.๘ C-130H ของตนด้วยเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ตระกูล T56 Series 3.5 รุ่นปรับปรุงใหม่"
บริษัท R-R สหราชอาณาจักรกล่าวว่าการปรับปรุงจะครอบคลุมเครื่องยนต์ T56 ทั้งหมด ๕๘เครื่อง โดยในขั้นแรกระยะเวลาสามปีจะครอบคลุมการปรับปรุงเครื่องยนต์จำนวน ๒๐เครื่อง วงเงิน ๙๐๖,๘๑๘,๓๐๐บาท($28,950,627)

ศูนย์ซ่อมบำรุงที่ได้รับอนุญาตจาก Rolls-Royce(AMC: Authorized Maintenance Center) คือบริษัท Segers Aero Corporation ที่ Fairhope มลรัฐ Albama สหรัฐฯจะดำเนินงานปรับปรุงแก่กองทัพอากาศไทย
ซึ่ง Rolls-Royce อังกฤษผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานรายใหญ่ของโลกกล่าวว่าจะมีการดำเนินการระหว่างช่วงระยะเวลาของกำหนดการยกเครื่อง(Overhaul)

"การปรับปรุงเครื่องยนต์ T56 เป็นรุ่น Series 3.5 จะช่วยให้กองทัพอากาศไทยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่มีผลมาจากการลดความต้องการในการซ่อมบำรุงลง และมอบศักยภาพการประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ถึงร้อยละ๑๒
ทำให้กองทัพอากาศไทยสามารถประจำการฝูงเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ของตนไปได้อย่างน้อยจนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓)" R-R อังกฤษ กล่าว

Fleets Analyzer แสดงข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ประจำการอยู่ทั้งหมด ๑๒เครื่อง ณ ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๒๖-๓๘ปี ประกอบด้วยรุ่นลำตัวสั้น C-130H ๖เครื่อง และรุ่นลำตัวยาว C-130H-30 ๖เครื่องคือ
C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 ปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), C-130H-30 60105, 60106 ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 ปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 ปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992)

ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศไทยได้ดำเนินการปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องล่าสุดคือการปรับปรุงระบบ Avionic ที่ดำเนินการโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด TAI(Thai Aviation Industries) กับบริษัท Rockwell Collins สหรัฐฯในปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
แม้ว่า บ.ล.๘ C-130H ชุดแรกจำนวน ๓เครื่องจะเข้าประจำการครบรอบ ๔๐ปีในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณกองทัพอากาศไทยจึงยังไม่มีแผนจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ในเร็วๆนี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)

การปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ T56 ได้ถูกรับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการดำเนินการปรับปรุงความทันสมัยของฝูงบินเครื่องบินลำเลียง C-130 รุ่นดั้งเดิมของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed P-3 Orion ที่ถูกใช้งานโดยสำนักงานบริหารภาคพื้นทะเลและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ(NOAA: National Oceanic and Atmospheric Administration) ครับ