วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Defense & Security 2019: หลายประเทศสนใจเสนอเครื่องบินฝึกใหม่แก่กองทัพอากาศไทยทดแทน PC-9



Leonardo was displayed model of its M-345 High Efficiency Trainer (HET), C-27J Spartan military transport aircraft and RAT 31DL/M air-defence radar system at Defense and Security 2019.(My Own Photos)





Korea Aerospace Industries (KAI) was displayed model of its FA-50 multi-role light combat aircraft and KT-1 turboprop multi-role basic trainer at Defense and Security 2019.(My Own Photos)


Embraer was displayed model of its EMB 314/A-29 Super Tucano turboprop trainer/light attack aircraft at Defense and Security 2019.(My Own Photo)



Turkish Aerospace was displayed model of its products include Turkish Fighter, AKSUNGUR and ANKA UAV and Hurkus turboprop trainer at Defense and Security 2019.(My Own Photos)


D&S 2019: Leonardo positions M-345 for Thailand
Leonardo sees an opportunity to supply its M-345 jet trainer to Thailand to meet a requirement for a modern trainer/light attack aircraft. Source: Leonardo
https://www.janes.com/article/92673/d-s-2019-leonardo-positions-m-345-for-thailand

บริษัท Leonardo อิตาลี กำลังวางตำแหน่งเครื่องบินฝึกไอพ่น Alenia M-345 High Efficiency Trainer(HET) ของตนให้ตรงในความต้องการของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ทางบริษัทยืนยันต่อ Jane's และผู้แปลในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
ความเคลื่อนไหวนี้เป็นไปตามการขยายตนเองของ Leonardo ในไทยที่แสดงให้เห็นจากการได้รับสัญญาจัดหาระบบ radar ป้องกันภัยทางอากาศใหม่แบบ RAT 31DL/M แก่กองทัพอากาศไทย ๑ระบบวงเงิน ๖๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($22,375,018.10) ที่จะติดตั้ง ณ Radar Station เกาะสมุย

ตัวแทนของ Leonardo อิตาลีกล่าวว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น M-345 กำลังจะวางตำแหน่งสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ของกองทัพอากาศเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นมัธยม บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์
โรงเรียนการบินกำแพงแสนของกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 มากกว่า ๒๐เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งมีบางเครื่องถูกปลดประจำการแล้ว คาดว่าโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทนอย่างเป็นทางการจะรูปร่างได้ในอีกสองปีข้างหน้า(2021)
Leonardo กล่าวว่า M-345 สามารถที่จะใช้ในภารกิจโจมตีเบาได้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่กองทัพอากาศไทยที่เหนือกว่าระบบเครื่องบินฝึกแบบอื่น M-345 HET ทำการบินครั้งแรกในปี 2018 พัฒนาจากพื้นฐาน M-345 ซึ่งเป็นการกำหนดแบบใหม่ของเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi M-311

โครงการเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทน บ.ฝ.๑๙ PC-9 เป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของกองทัพอากาศไทยที่จะปรับปรุงความทันสมัยของกำลังเครื่องบินฝึกและเครื่องบินโจมตีเบาของตน
ตัวแทนจากแผนกอากาศยาน(Aircraft Division) ของ Leonardo อิตาลีกล่าวกับผู้แปลในงาน Defense & Security 2019 ว่าแม้ว่า M-345 ของตนจะเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นที่มีค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการสูงกว่าเครื่องบินฝึกใบพัดเช่น PC-9 แต่ก็มีสมรรถนะสูงกว่า
ซึ่งโรงเรียนการบินกำแพงแสนก็เคยมีเครื่องบินฝึกไอพ่น บ.ฝ.๑๒ Cessna T-37 Tweet สหรัฐฯที่ปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) แต่ทั้งนี้บริษัทจะยังรอการตั้งโครงการอย่างเป็นทางการจากกองทัพอากาศไทยก่อน และถ้าหากว่า M-345 ไม่ตรงข้อกำหนดความต้องการก็จะไม่เสนอเข้าแข่งขัน

ในหลายปีก่อนหน้านั้นกองทัพอากาศไทยยังได้จัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีจำนวน ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html)
บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็กที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นเข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยมีแผนจะจัดหา T-50TH เพิ่มอีก ๔เครื่อง
ผู้แปลได้พูดคุยกับตัวแทนของบริษัท KAI เกาหลีใต้กล่าวว่า กองทัพอากาศไทยอาจจะจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก T-50TH เพิ่ม ๒เครื่องซึ่งนั้นจำทำให้จำนวนเครื่องในฝูงบิน๔๐๑ รวมเป็น ๑๔เครื่อง ซึ่งนั่นน่าจะเป็นอัตราการจัดขนาดกำลังฝูงบินขับไล่/โจมตีในปัจจุบันของกองทัพอากาศไทย

ตัวแทน KAI เกาหลีใต้ยังได้ให้ข้อมูลกับผู้แปลถึงการเพิ่มขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ด้วยการบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod เพื่อใช้ระเบิดนำวิถี Laser เช่น GBU-12 Paveway II ว่าการพัฒนาจะเสร็จสิ้นภายในปี 2020
ซึ่ง KAI ยินดีที่จะให้การปรับปรุงความทันสมัยด้วยขีดความสามารถนี้แก่ลูกค้าใน ASEAN ถ้าต้องการทั้ง T-50TH ไทย, FA-50PH ฟิลิปปินส์ และ T-50I อินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/kai-fa-50.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50-asean.html)
ด้านโครงการทดแทน บ.ฝ.๑๙ PC-9 ทาง KAI กล่าวว่าถ้ามีกองทัพอากาศไทยมีการตั้งโครงการอย่างเป็นทางการตนก็อาจจะเสนอเครื่องบินฝึกใบพัด KT-1 ที่ได้รับการจัดหาจากอินโดนีเซียแล้ว รวมถึงความเป็นไปได้ในการถ่ายทอดวิทยาการประกอบสร้างให้ไทยถ้าต้องการเช่นเดียวกับเปรูด้วย

เครื่องบินฝึกใบพัด/โจมตีเบา Embraer EMB 314/A-29 Super Tucano บราซิลก็เป็นอีกแบบที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกแก่กลุ่มชาติ ASEAN คือกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่จัดหา 16เครื่อง และกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่สั่งจัดหา 6เครื่องที่จะได้รับมอบในไตรมาสแรกปี 2020(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/super-tucano.html)
โดย Philip Windsor ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจภาคเอเชียแปซิฟิกของ Embraer กล่าวกับผู้แปลว่า Super Tucano มีคุณสมบัติมากกว่า PC-9 ที่สวิสไม่อนุญาตให้ติดอาวุธเนื่องจากขัดต่อความเป็นกลางของประเทศ และบินขึ้นลงบนทางวิ่งที่ไม่เตรียมการ(Unpaved Runway) ได้
ซึ่งเครื่องบินโจมตีใบพัด บ.จ.๕ North American Rockwell OV-10C Bronco ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศไทย หลายประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ก็ทดแทน OV-10 ด้วย Super Tucano แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่ากองทัพอากาศไทยมีความต้องการเครื่องบินโจมตีหรือเครื่องบินฝึกอย่างเดียว

บริษัท Turkish Aerospace(TAI: Turkish Aerospace Industries) ตุรกีก็ได้นำแบบจำลองผลิตภัณฑ์อากาศยานหลายแบบของตนมาจัดแสดงในงาน Defense & Security 2019 รวมถึงเครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus เช่นกัน
โดย Turkish Aerospace ตุรกีมีการพัฒนาเครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus มนสามรุ่นคือ เครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus-A รุ่นพื้นฐานสำหรับพลเรือน, เครื่องบินฝึกใบพัดขั้นก้าวหน้า Hurkus-B สำหรับฝึกนักบินของกองทัพ และเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Hurkus-C รุ่นติดอาวุธ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีคำสั่งจัดหาจากกองทัพตุรกีแล้วจำนวนหนึ่ง(https://aagth1.blogspot.com/2014/07/hurkus.html) แต่ขณะนี้เครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus ตุรกียังไม่มีลูกค้าส่งออกครับ