The Royal Thai Air Force currently operates a fleet of Czech-made L-39ZA light combat aircraft (pictured). The two countries have recently discussed expanding collaboration in military-aerospace activities. Source: RTAF
https://www.janes.com/article/85810/thailand-czech-republic-pursue-defence-collaboration
ประเทศไทยและสาธารณรัฐเช็กได้เห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะทำงานด้วยมุมมองที่จะตั้งต้นโครงการร่วมในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน ตามที่กระทรวงกลาโหมไทยประกาศ
ตามการเข้าพบกันที่กรุงเทพมหานครระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก Andrej Babis เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
กระทรวงกลาโหมไทยกล่าวว่าทั้งสองประเทศได้มีความสนใจเป็นพิเศษโดยเฉพาะการพัฒนาความร่วมมือทางทหาร-การบิน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเช็กได้แถลงความสนใจการลงทุนใน eastern seaboard ของไทย
โดยในภาคตะวันออกของไทยนั้นรัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้มีหลายบริษัทจากนานาประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในภาคส่วนนี้กับไทย
กระทรวงกลาโหมไทยเสริมว่ามีความเป็นไปได้ที่ไทยจะร่วมมือกับสาธารณรัฐเช็กในการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาโรงงานประกอบและศูนย์อำนวยความสะดวกการซ่อมบำรุง, ซ่อมแซม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) อากาศยาน
ความเป็นไปได้อื่นๆรวมถึงการพัฒนาศูนย์ฝึกเครื่องจำลองการบิน(flight simulation) ระดับภูมิภาคในประเทศไทย และการอำนวยความสะดวกการลงทุนของสาธารณรัฐเช็กในภาคเชิงพาณิชย์ด้วย
กระทรวงกลาโหมไทยกล่าวว่าคณะทำงานใหม่นี้จะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อสนับสนุนความร่วมมือกันในกิจกรรมดังกล่าว และความร่วมมืออื่นๆในการวิจัย, พัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสาธารณรัฐเช็กแก่ไทย
ทางกระทรวงกลาโหมไทยไม่ได้มีการกล่าวถึงความเป็นไปได้ด้านการค้าทางกลาโหมระหว่างทั้งสองประเทศแต่อย่างใด(ที่ผ่านมาไทยได้ดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสาธารณรัฐเช็กขาดดุลการค้ากับไทยค่อนข้างสูง http://www.ditp.go.th/contents_attach/163675/163675.pdf)
อย่างไรก็ตาม Jane's ได้รายงานในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ว่ากระทรวงกลาโหมไทยได้แสดงความสนใจที่จะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Aero Vodochody L-39NG ที่ไม่เปิดเผยจำนวนจากสาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/l-39ng.html)
Jane's ยังได้รายงานในเวลานั้นว่านายกรัฐมนตรีเช็ก Babis มีกำหนดการเยือนไทยในเดือนมกราคม 2019 เพื่อเจรจาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นในการขายเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/l-39ng.html)
กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART Albatros จำนวน ๒๔เครื่องประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html)
โดยกองทัพอากาศไทยได้จัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จากสาธารณรัฐเช็กจำนวน ๓๖เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงระบบอาวุธและ Avionnic ให้เป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ต่อมาจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวมทั้งสิ้น ๔๐เครื่อง
ที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยได้ใช้ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART สำหรับปฏิบัติการโจมตีเบา, การตรวจการณ์ และลาดตระเวนทางอากาศเป็นหลัก โดยมีอาวุธคือปืนใหญ่อากาศสองลำกล้อง 23mm ในตัวเครื่อง และสามารถติดตั้งจรวดอากาศสู่พื้น CRV7 70mm และลูกระเบิดทำลายตระกูล Mk80s ได้
L-39ZA/ART บางส่วนได้ถูกทดแทนโดยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลี ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)
ทั้งนี้ บ.ขฝ.๒ T-50TH ชุดแรกจำนวน ๔เครื่องที่สั่งจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ได้บรรจุเข้าประจำการในฝูงบิน๔๐๑ ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๑ และจะได้รับมอบชุดที่สองจำนวน ๘เครื่องภายในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมีความต้องการจัดหาระยะที่๓ เพิ่มอีก ๔-๖เครื่องรวม ๑๖-๑๘เครื่อง
จึงมีข้อสงสัยว่ากองทัพอากาศไทยจะมีความสนใจ L-39NG จากเช็กจริงหรือไม่ในฐานะเครื่องบินฝึกไอพ่น โดยเมื่อเทียบกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่เป็นเครื่องบินรบความเร็วเหนือเสียงแล้ว L-39NG ดูจะไม่น่าจะมาทดแทนความต้องการเครื่องบินโจมตีสำหรับกองทัพอากาศไทยได้ครับ