วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Defense & Security 2019: RV Connex ไทยเปิดตัวอากาศยานรบไร้คนขับ Sky Scout-X UCAV สำหรับกองทัพอากาศไทย



Thailand company's RV Connex unveiled Sky Scout-X unmanned combat aerial vehicle (UCAV) with two Thales's Freefall Lightweight Multirole Missiles (FFLMM) underwings for Royal Thai Air Force (RTAF) at Defense and Security 2019.(My Own Photos)

Royal Thai Air Force's RTAF U1 unmanned aerial vehicle (UAV) based-on RV Connex's Sky Scout was displayed at Defense and Security 2019.(My Own Photo)



D&S 2019: Thai military charts course towards armed UAVs
https://www.shephardmedia.com/news/uv-online/ds-2019-thai-military-charts-course-towards-armed-/

แม้ว่ากองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จะยังไม่มีอากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ที่ติดอาวุธโจมตีได้ประจำการในปัจจุบันนี้ แต่ก็มีแผนที่จะวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กติดอาวุธ(Small Tactical Unmanned Aerial System)
ตามที่บริษัท RV Connex ประเทศไทยได้นำระบบอากาศยานไร้คนขับ Sky Scout-X ติดอาวุธมาจัดแสดงในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา

ระบบอากาศยานไร้คนขับ Sky Scout-X UAS ได้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ FreeFall Lightweight Multirole Missiles(FFLMM) ของบริษัท Thales Air Defence สหราชอาณาจักรใต้ปีกทั้งสองข้างรวมสองนัด ซึ่งมีพื้นฐานจากอาวุธปล่อยนำวิถี LMM โดยตัดส่วนชุดดินขับ Motor จรวดออกไป
เจ้าหน้าที่ RV Connex ไทยกล่าวว่าอาวุธปล่อยนำวิถี FFLMM ถูกออกแบบมาสำหรับติดตั้งกับอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กเนื่องจากมีขนาดเบาไม่มีแรงถีบขณะทำการยิง มีความแม่นยำสูง และสร้างความเสียหายข้างเคียง(collateral damage) ต่ำต่อเป้าหมายตามแบบและอสมมาตร

Thales FFLMM ยังสามารถติดตั้งกับอากาศยานเบาและขนาดกลาง เช่น อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี หรืออากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE: Medium-Altitude Long-Endurance), อากาศยานปีกหมุนและอากาศยานปีกตรึงทางยุทธวิธีราคาประหยัด
โดยที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 6kg มีความยาวเพียง 700mm นำวิถีด้วยแรงเฉื่อย INS เสริมด้วยดาวเทียม GPS ระหว่างโคจร และ Semi-Active Laser(SAL) และหัวรบหนักเพียง 2kg อาวุธปล่อยนำวิถี FFLMM มีระยะยิงที่มากกว่า 4km เมื่อทำการยิงจากเพดานบินสูง 10,000feet

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีบรรจุประจำการอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 ที่สั่งจัดหาจำนวน ๑๗เครื่อง ซึ่งมีพื้นฐานจากอากาศยานไร้คนขับ Sky Scout ของ RV Connex(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
เป็นที่เข้าใจว่า RTAF U1 UAV จะถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน๒๐๖ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ขณะที่ระบบอากาศยานไร้คนขับ Aeronautics Aerostar อิสราเอลที่กองทัพอากาศไทยจัดหามาก่อนนั้นประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

อากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 UAV ปีกกว้าง 6.2m ต้องการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในสถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) ๒นายในรูปแบบรถยนต์บรรทุกผ่านช่องสัญญาณความถี่ C-Band โดยมีความถี่ UHF สำรอง สามารถทำการบินขึ้นหรือลงแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบได้
U1 เป็นอากาศยานไร้คนขับที่ผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนภายในไทยถึงร้อยละ๙๐ ยกเว้นเพียงเครื่องยนต์ลูกสูบนอน boxer engine กำลัง 25HP, กล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infrared) และระบบสื่อสารเท่านั้นที่จัดหาจากต่างประเทศ โดย RV Connex กำลังทำการปรับปรุงชุดคำสั่งควบคุมการบินให้ดีขึ้น

แม้ว่าอากาศยานรบไร้คนขับ Sky Scout-X จะยังไม่ได้รับการลงนามสัญญาจัดหาอย่างเป็นทางการจากกองทัพอากาศไทยในขณะนี้ แต่ พีรพล ตระกูลช่าง กรรมการผู้จัดการของ RV Connex กล่าวว่างานพัฒนาได้รับการดำเนินการแล้ว โดยจะแบ่งเป็นสามขั้นหลักคือ
หนึ่งการวิเคราะห์ว่าการติดตั้งอาวุธจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอากาศยานหรือไม่ สองการดัดแปลงระบบอากาศยานให้เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้จากขั้นแรกรวมถึงโครงสร้างอากาศยานและระบบควบคุมการบิน และสามการทดสอบและประเมินค่า ซึ่งจะใช้เวลาราวสองปีครึ่งหรือ พ.ศ.๒๕๖๕(2022)

อากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 เป็นหนึ่งในสองโครงการแรกของกองทัพอากาศไทยที่ดำเนินการตามนโยบาย "จัดหาและพัฒนา"(Purchase and Development) และบริษัทยังหวังที่ให้กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) สนใจจัดหาด้วย
ทั้งนี้อากาศยานรบไร้คนขับ Sky Scout-X ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของแนวคิดสงครามยุคใหม่ที่ใช้ระบบไร้คนขับในสนามรบเพื่อรักษาชีวิตของฝ่ายเรา ตอบสนองภัยคุกคามที่อุบัติขึ้นทันทีได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายข้างเคียงให้น้อยที่สุดครับ