วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566

โรมาเนียจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สองระยะรวม 48เครื่อง

Romania to acquire 48 F-35s in two tranches







Romania intends to acquire 48 F-35s to be operated across three squadrons. (USAF)

โรมาเนียได้สร้างความแน่นหนาแผนการจัดซื้อจัดจ้างของตนสำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ เปิดเผยว่าโรมาเนียตั้งใจจะจัดหา 48เครื่องตลอดการจัดหาสองระยะ
กระทรวงกลาโหมโรมาเนียได้แจ้งต่อรัฐสภาโรมาเนียในแผนการจัดซื้อรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ของตนในจดหมายที่ถูกส่งในวันที่ 4 สิงหาคม 2023 และถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2023

ในจดหมายกระทรวงกลาโหมโรมาเนียร่างเค้าระยะสั้นโครงการจัดหาระยะที่1 Phase 1 ของเครื่องบินขับไล่ F-35 สองฝูงบินจำนวน 32เครื่อง ที่จะตามมาด้วยการจัดหาระยะที่2 Phase 2 ในอีกหลายปีถัดมาของอีกหนึ่งฝูงบินจำนวน 16เครื่อง
"แนวคิดที่เกี่วข้องของการบรรลุความสามารถการปฏิบัติการกับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่5...เราร้องขอรัฐสภาสำหรับการอนุมัติข้อตกลงการประกาศสัญญาขั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 (ขั้นต้น) 32เครื่อง" กระทรวงกลาโหมโรมาเนียกล่าว

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ระยะที่1 จะเริ่มต้นในปี 2023 และจะครอบคลุมการจัดซื้อเครื่องบิน, เครื่องยนต์, การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงขั้นต้น, การฝึก, เครื่องจำลองการบิน simulator, และอาวุธอากาศสู่อากาศและอาวุธอากาศสู่พื้นต่างๆเป็นวงเงินประมาณ $6.5 billion
กรอบระยะเวลา, เนื้อหา, และวงเงินสุดท้ายของการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ระยะที่2 จะถูกพิจารณาตัดสินใจหลังขั้นตอนการประกาศสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างได้รับการอนุมัติ(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/lockheed-martin-f-35.html)

ขณะที่จดหมายไม่ได้ระบุรุ่นของเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่จะจัดหา โดยน่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) ซึ่งประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) 
และลูกค้านานาชาติส่วใหญ่(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/f-35a-25.html) เครื่องบินขับไล่ F-35A เหล่านี้จะเป็นมาตรฐาน TR-3(Technology Refresh-3) Block 4 ล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/f-35a-tr-3.html)

การปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ MiG-21 LanceR ยุค Warsaw Pact (แม้ว่าภายหลังจะได้รับการปรับปรุงอย่างมากโดยอิสราเอล) ล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/mig-21-lancer.html)
ทำให้ปัจจุบันกองทัพอากาศโรมาเนีย(RoAF: Romanian Air Force) มีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM/BM Fighting Falcon จำนวน 17เครื่องได้รับมาจากโปรตุเกส(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-16.html

และล่าสุดได้ลงนามสัญญาสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM เพิ่มเติมอีกจำนวน 32เครื่องจากนอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/f-16ambm-32.html) ถ้าข้อตกลงบรรลุเสร็จสิ้นโรมาเนียจะเข้าร่วมกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 ในกลุ่มชาติยุโรป
รวมถึงเบลเยียม(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/f-35a.html), สาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/f-35a-24.html), เดนมาร์ก(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/f-35a.html), 

ฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/f-35a-hx.html), เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/rheinmetall-f-35.html), อิตาลี, เนเธอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/h225m-aargm-er-f-35a.html), 
นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16ambm-f-35a.html), โปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-35a.html), สวิตเซอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/f-35a-36.html) และสหราชอาณาจักรครับ 

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

ไต้หวันเปิดตัวเรือดำน้ำลำแรกที่สร้างเองในประเทศ SS-711 Hai Kun

Taiwan unveils first indigenously built submarine







Taiwan's first locally built submarine is seen here before it was officially unveiled by President Tsai Ing-wen at the CSBC Corporation shipbuilding company in Kaohsiung on 28 September 2023. (Sam Yeh/AFP via Getty Images, Youth Daily News)



อู่เรือบริษัท CSBC Corporation ไต้หวันได้เปิดตัวเรือดำน้ำ SS-711 ROCS Hai Kun เรือดำน้ำลำแรกที่สร้างในประเทศ ที่จะเข้าประจำการในกองทัพเรือไต้หวัน(RoCN: Republic of China Navy)
เรือดำน้ำ ROCS Hai Kun ถูกเปิดตัวโดยประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai Ing-wen เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2023 ณ อู่เรือของ CSBC ใน Kaohsiung(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/blog-post_26.html)

พิธีเปิดตัวเรือดำน้ำ Hai Kun ได้ถูกถ่ายทอดสดบนผู้ให้บริการวีดิทัศน์ online streaming ต่างๆที่ดำเนินการโดยสื่อมวลชนของไต้หวัน ในการปราศัยของเธอในพิธี ประธานาธิบดีไต้หวัน Tsai ได้กล่าวชื่นชมบางส่วนต่อภาคอุตสาหกรรมทางเรือของไต้หวันและกองทัพเรือไต้หวัน
สำหรับการบรรลุผลเหตุการณ์สำคัญแต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือดำน้ำถูกเปิดเผยนอกจากชื่อเรือดำน้ำ ROCS Hai Kun(海鯤) ซึ่งนำมาจากชื่อสัตว์ประหลาดในทะเลในตำนานจีนโบราณเมื่อเข้าประจำการ

เรือดำน้ำ SS-711 ROCS Hai Kun มีความยาวเรือรวมราว 70m มีความกว้างรวมราว 8m และน่าจะมีระวางน้ำเต็มที่ประมาณ 2,700 tonnes รายงานนโยบายรายสองปีที่เผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมไต้หวันเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2023 ระบุว่า
เรือดำน้ำ Hai Kun ถูกวางกระดูกงูเรือเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 และมีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี 2024 เรือดำน้ำมีกำหนดที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไต้หวันในปี 2025

ชุดภาพจากพิธียืนยันว่านักวางแผนทางกลาโหมของไต้หวันได้นำหางเสือท้ายเรือรูปทรงตัวอักษร X มาใช้กับเรือดำน้ำ SS-711 ROCS Hai Kun ของตนแทนที่จะเป็นรูปแบบหางเสือทรงเครื่องหมาย + ตามแบบ 
นี่น่าจะมีการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้เรือดำน้ำ Hai Kun มีความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ที่เหนือชั้นในเขตน้ำตื้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/2020.html)

สัญลักษณ์ตราดวงอาทิตย์เปล่งรัศมี 12แฉกที่เป็นธงชาติไต้หวันขนาดใหญ่ถูกคลุมปิดส่วนหัวของเรือดำน้ำ SS-711 ROCS Hai Kun สันนิษฐานว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับท่อยิง torpedo ของเรือ
เรือดำน้ำ Hai Kun มีการเขียนหมายเลขตัวเรือ 711 แสดงถึงเป็นเรือลำแรกของเรือดำน้ำชั้น Hai Kun ภายใต้โครงการเรือดำน้ำกลาโหมภายในประเทศ(IDS: Indigenous Defence Submarine) ที่มีแผนจะสร้างทั้งหมด 8ลำ

เรือดำน้ำชั้น Hai Kun มีจุดประสงค์ที่จะทดแทนเรือดำน้ำชั้น Hai Shih สองลำสำหรับการฝึกซึ่งเป็นเรือดำน้ำชั้น GUPPY II ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง(เรือดำน้ำชั้น Tench) และเป็นเรือดำน้ำตามแบบที่เก่าที่สุดยังประจำการในปัจจุบัน
และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hai Lung(เรือดำน้ำชั้น Zwaardvis) สองลำที่จัดหาจากเนเธอร์แลนด์ในปี 1987-1988 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน ตามที่ไม่มีผู้ผลิตเรือดำน้ำนานาชาติรายใดกล้าขายเรือดำน้ำให้ไต้หวันเนื่องจากแรงกดดันจากจีนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่เจ็ดลงน้ำ FFM-7 Niyodo

Japan’s MHI Launches 7th Mogami-class Frigate for JMSDF 



Japanese shipbuilder Mitsubishi Heavy Industries (MHI) launched today the seventh (of a planned fleet of 12) Mogami-class multirole frigate for the Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF). 



บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Mogami ลำที่7 จากแผนทั้งหมด 12ลำสำหรับสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) 
เรือฟริเกตชั้น Mogami ลำที่7 เรือฟริเกต FFM-7 JS Niyodo(によど) ได้ลงสู่น้ำระหว่างพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2023 ณ อู่เรือ Nagasaki Shipyard & Machinery Works ของบริษัท MHI ในจังหวัด Nagasaki 
คาดว่าเรือฟริเกต FFM-7 JS Niyodo จะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในช่วงปีงบประมาณ 2024 หลังขั้นระยะการติดตั้งสิ่งอุปกรณ์ประจำเรือและหลากหลายการทดลองสมรรถนะเรือ

เรือฟริเกต FFM-7 Niyodo ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำ Niyodo ในเกาะ Shikoku ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น เรือฟริเกตชั้น Mogami ทุกลำถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญในญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/mogami-ffm-6-agano.html)
Niyodo เคยถูกตั้งเป็นชื่อเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมาก่อนหน้าคือเรือพิฆาคุ้มกัน DE-221 JDS Niyodo ซึ่งเป็นเรือพิฆาตคุ้มกันชั้น Chikugo ลำที่7 โดยถูกปล่อยเรือลงน้ำในเดือนสิงหาคม 1973 เข้าประจำการในเดือนกุมภาพันธ์ 1974 และปลดประจำการในเดือนมิถุนายน 1999
เรือฟริเกต JS Niyodo ถูกสร้างภายใต้การประกาศสัญญาเป็นวงเงินราว 47.4 billion yen($318 million) ในเดือนมีนาคม 2022 ตามข้อมูลที่ได้รับจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นและบริษัท MHI

เช่นเดียวกับเรือฟริเกตชั้น Mogami ลำอื่น เรือฟริเกต FFM-7 Niyodo มีระวางขับน้ำเต็มที่ประมาณ 5,500tons(ระวางขับน้ำปกติที่ 3,900tons) มีความยาวเรือ 132.5m ความกว้าง 16.3m และตัวเรือกินน้ำลึก 9m ตามข้อมูลจาก MHI ญี่ปุ่น
ตัวเรือที่มีขนาดกะทัดรัดทำให้เรือทำความเร็วได้สูงและคล่องแคล่วโดยมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30knots เรือฟริเกตชั้น Mogami มีกำลังพลประจำเรือน้อยที่ราว 90นาย(10นายนี้เป็นทหารเรือหญิง) บ่งชี้ว่าเรือนำระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นระบบบนเรือที่ระดับสูง
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเน้นย้ำหลายครั้งว่า เรือฟริเกตชั้น Mogami เป็นเรือชั้นแรกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่มุ่งเป้าที่การประหยัดกำลังพลและลดค่าใช้จ่ายการสร้างเรือ 
โดยคำนึงถึงการขาดแคลนกำลังพลของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น และสภาพการเงินที่ตึงตัวของญี่ปุ่นที่เป็นผลจากอัตราการเกิดที่ต่ำและจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/jsdf-uav.html)

อ้างอิงจากเรือพิฆาตชั้น Asahi เรือพิฆาต DD-120 JS Shiranui ที่สร้างที่อู่เรือ Nagasaki ของ MHI ที่เดียวกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/asahi-dd-120-shiranui.html) ที่มีระวางขับน้ำปกติที่ 5,100tons มีความยาวเรือ 151m และกว้าง 18.3m
ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเรือฟริเกต FFM มีขนาดกะทัดรัดแค่ไหน นอกจากนี้เรือพิฆาตชั้น Asahi ยังมีกำลังพลประจำเรือที่ราว 230นาย หมายความว่าเรือฟริเกตชั้น Mogami ต้องการกำลังพลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่จะปฏิบัติการเรือได้
เหนือสิ่งอื่นใดค่าใช้จ่ายการสร้างของเรือฟริเกตชั้น Mogami ยังมีราคาเพียงราวสองในสามของเรือพิฆาตชั้น Asahi ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 70 billion yen($470 million) ต่อลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/asahi-dd-120-shiranui.html)

เรือฟริเกตชั้น Mogami ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ CODAG(Combined Diesel and Gas) ประกอบด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MAN 12V28/33D STC สองเครื่องและเครื่องยนต์ gas turbine แบบ Rolls-Royce MT30 ซึ่งให้กำลังขับทั้งหมด 70,000hp เป็นเรือชั้นแรกของ JMSDF ที่นำระบบ CODAG มาใช้ 
ระบบอาวุธของเรือฟริเกตชั้น Mogami ประกอบด้วย ปืนเรือ BAE Systems 5inch(127mm)/62caliber ที่ด้านหน้าเรือ, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ MHI Type 17 หรือ SSM-2 สองแท่นยิงจำนวน 8นัด,
ระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) แบบ Raytheon SeaRAM ความจุ 11ท่อยิง ซึ่งรองรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-116C Block 2 RAM(Rolling Airframe Missile)
เรือฟริเกตชั้น Mogami ยังติดตั้ง sonar ลากท้าย VDS/TASS(Variable Depth Sonar/Towed Array Sonar System) แบบ OQQ-25 สำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) และยังติดแท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launch System)

นอกจากสงครามต่อต้านอากาศยาน, สงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ และสงครามปราบเรือดำน้ำ เรือฟริเกตชั้น Mogami ยังได้รับการออกแบบเพื่อดำเนินการปฏิบัติการเป็น "เรือแม่" สำหรับยานใต้น้ำไร้คนขับ UUV(Unmanned Underwater Vehicle) 
และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV(Unmanned Surface Vessel) ซึ่งทั้งสองระบบเป็นครั้งที่ถูกติดตั้งในเรือฟริเกตญี่ปุ่น นี่มุ่งเป้าที่การเพิ่มขยายการทำงานต่อต้านทุ่นระเบิด(MCM: mine countermeasure) ของ UUV
สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้กล่าวว่าเรือฟริเกตชั้น Mogami จะติดตั้ง MHI OZZ-5 UUV ที่ถูกใช้ในปฏิบัติการต่อต้านทุ่นระเบิด

ระบบ UUV ได้ใช้การทำงานการตรวจจับและพิสูจน์ทราบอัตโนมัติเพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมได้ OZZ-5 UUV มีความยาว 4m และกว้าง 0.5m โดยมีระวางขับน้ำ 950kg 
ติดตั้ง Synthetic Aperture Sonar (SAS) ความถี่ต่ำที่สร้างโดยบริษัท NEC ญี่ปุ่น และ SAS ความถี่สูงที่สร้างโดยบริษัท Thales ฝรั่งเศส ซึ่งออกแบบผสมผสานที่ทำให้มั่นใจถึงความแข็งแกร่งของขีดความสามารถการต่อต้านทุ่นระเบิด
สำหรับการตรวจจับและพิสูจน์ทราบภัยคุกคามทุ่นระเบิดต่างๆที่แตกต่างกันในหลากหลายสภาพแวดล้อม UUV ใช้พลังงานจาก lithium-ion battery แบบประจุไฟฟ้าใหม่ได้

ตามข้อมูลจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เรือฟริเกตชั้น Mogami มีวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจตรวจการณ์ในน่านน้ำโดยรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นรวมถึงทะเลจีนตะวันออก ได้รับการติดตั้งขีดความสามารถอเนกประสงค์ที่เพิ่มขยาย
รวมถึงความสามารถการทำปฏิบัติการสงครามต่อต้านทุ่นระเบิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ได้ถูกดำเนินการปฏิบัติโดยเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดเดินสมุทรของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ตามที่จีนประเทศเพื่อนบ้านขยายขนาดและขีดความสามารถกองทัพเรือของตน
เรือฟริเกตชั้น Mogami มีวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจตรวจการณ์ในน่านน้ำโดยรอบหมู่เกาะญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่จะขยายความมั่นคงทางทะเลเพื่อป้องกันทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะ Nansei
รวมถึงหมู่เกาะ Senkaku/Diaoyu ในทะเลจีนตะวันออก โดยเสริมสร้างกิจกรรมการลาดตระเวนโดยการใช้เรือฟริเกตอเนกประสงค์ FFM ที่มีขนาดกะทัดรัด หมู่เกาะ Senkaku/Diaoyu ถูกควบคุมโดยญี่ปุ่น แต่ยังถูกอ้างสิทธิ์โดยจีนและไต้หวัน

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเดิมมีแผนที่จะสร้างเรือฟริเกตชั้น Mogami ทั้งหมด 22ลำ ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo เร่งความพยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งกำลังรบทางเรือของญี่ปุ่นภายใต้โครงการกลาโหมระยะกลาง(MTDP: Mid-Term Defense Program) 
สำหรับปีงบประมาณ 2019-2023 ซึ่งได้รับการอนุมัติในเดือนธันวาคม 2018 อย่างไรก็ตามในปลายเดือนสิงหาคม 2023 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้อธิบายเป็นครั้งแรกที่การร้องของบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2024 
ที่ตนได้ตัดสินใจล่าสุดในการจัดซื้อเรือฟริเกตชั้น Mogami ทั้งหมดเพียง 12ลำ จนถึงปี 2023 โดยวางแผนที่จะสร้างเรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ 12ลำตั้งแต่ปีงบประมาณ 2024(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/mogami.html)
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะเป็นการเพิ่มพูนจากเรือฟริเกตชั้น Mogami อย่างมาก ตามรายงานก่อนหน้านี้โดย Naval News เรือ FFM ชั้นใหม่จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกล, ขีดความสามารการปราบเรือดำน้ำที่เพิ่มขยาย และเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติการทางทะเลที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงจากเรือที่เป็นรุ่นปรับปรุงจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 12 SSM และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยิงจากเรือใหม่(A-SAM) จะติดตั้งบนเรือ FFM ชั้นใหม่ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

เอกสารของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่เผยแพร่ในวันที่ 31 สิงหาคม 2023 กล่าวว่า เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่ จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,500tons ขณะเดียวกันข้อเสนอของ MHI ของเรือ FFM ชั้นใหม่ ซึ่งเผยแพร่โดย ATLA เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2023 ระบุว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีระวางขับน้ำปกติ 4,880tons ความยาวเรือราว 142m และกว้าง 17m เรือ FFM ชั้นใหม่จะมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30knots แม้ว่าข้อเท็จจริงเรือชั้นใหม่จะใหญ่กว่าเรือชั้น Mogami แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่า
เรือฟริเกต FFM ชั้นใหม่จะมีกำลังพลประจำเรือเพียง 90นายเท่ากับเรือฟริเกตชั้น Mogami เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้ นักวางแผนทางเรือญี่ปุ่นน่าจะมีการนำระบบอัตโนมัติระดับสูงมาใช้บนเรือชั้นใหม่ และนำแนวคิดการจำกัดขนาดกำลังพลอย่างมากมาใช้ตลอดทั้งเรือครับ

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

การซ่อมบำรุงที่ไม่เพียงพอทำให้เครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯมีอัตราความพร้อมต่ำกว่าเป้าหมายมาก

GAO says deficient maintenance leaves US F-35s well below mission-capable rate goal





Grounded: the US Marine Corps' Lockheed Martin F-35Bs have lower mission-capable rates than their US Air Force counterparts; all types are well below their goals. (Lockheed Martin)



เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 มีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจตามกำหนดที่ร้อยละ55 จากเวลาทั้งหมด ตามรายงานสำนักงานตรวจสอบบัญชีความรับผิดชอบรัฐบาลสหรัฐฯ(GAO: Government Accountability Office) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2023
สำนักงานตรวจสอบบัญชีสหรัฐฯ GAO  พบความผิดพลาดในแนวทางระเบียบปฏิบัติและคลังการบำรุงรักษาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/f-35-technology.html)

รายงานวัดขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจ(MC: mission-capable) ของเครื่องบินขับไล่ F-35 จนถึงเดือนมีนาคม 2023 GAO สหรัฐฯให้เหตุผลว่าอัตราขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจ MC ที่ต่ำส่วนใหญ่มาจากปัญหาการบำรุงรักษา
อ้างอิงการวิเคราะห์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ รายงาน GAO สหรัฐฯเขียนว่าการมีขีดความสามารถการซ่อมบำรุงแบบเต็มรูปแบบจะทำให้มีอัตรา MC ที่ร้อยละ65 สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35B ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)

และอัตราขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจ MC ที่ร้อยละ65 สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35C ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) และอัตราขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจ MC ที่ร้อยละ75 สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
10อันดับต้นเหตุความผิดพลาดที่อยู่เบื้องหลังการไม่มีอัตราขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจรวมถึงเครื่องยนต์, ระบบตรวจจับ Distributed Aperture System(DAS), แหล่งจ่ายไฟหน่วยประมวลผลหลักบูรณาการ และหน่วยควบคุมระบบจัดการความร้อนพลังงาน

สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่สามารถทำการซ่อมทำได้โดยศูนย์ซ่อมบำรุงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และจำเป็นต้องส่งกลับไปยังผู้ผลิตต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/lockheed-martin-f-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35-1000.html)
ขีดความสามารถศูนย์ซ่อมบำรุงแบบเต็มรูปแบบไม่ได้ถูกคาดการณ์ว่าจะมีความพร้อมจนกว่าจะถึงปี 2027 รายงาน GAO สหรัฐฯเขียน(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/rheinmetall-f-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/northrop-grumman-radar-f-35.html)

รายงานพบว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมีขีดความสามารถที่จะดำเนินการทำงานที่เพียง 44งานจาก 68งานที่จำเป็นของศูนย์คลังบำรุงรักษา นอกจากนี้ GAO สหรัฐฯพบว่ามีบันทึกรายการสำหรับการใช้เวลาซ่อมทำที่ 141วัน เกินไป 81วันจากเป้าหมายที่ 60วันของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ผู้ซึ่งกล่าวกับสำนักงานตรวจสอบบัญชีความรับผิดชอบรัฐบาลสหรัฐฯ GAO ให้เหตุผลความล่าช้าว่าส่วนใหญ่มาจากการขาดแคลนวัสดุสิ่งอุปกรณ์ แม้ว่าการเข้าถึงวัสดุสิ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้คาดว่าจะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจนถึงสิ้นปี 2023 

"เจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังกล่าวกับเราว่า มันยังคงใช้เวลาอีกหลายปีหลังจากนี้ในบรรลุผลเป้าหมาย(ระยะเวลา)ของโครงการ" สำนักงานตรวจสอบบัญชีความรับผิดชอบรัฐบาลสหรัฐฯ GAO กล่าว
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯทุกเครื่องยังคงถูกสั่งงดบิน(Grounded) หลังเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2023 ที่เกิดเหตุนักบินตัดสินใจดีดตัวออกขณะทำการบินและเครื่องหายไปในมลรัฐ South Carolina และพบซากชิ้นส่วนเครื่องที่ตกในเวลาต่อมาครับ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

DTI ฝึกอบรมการใช้งานต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A แก่กองทัพบกไทย








Thailand's Defence Technology Institute (DTI) was On the Job Training (OJT) for its prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher to personnels of 711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regiment, Artillery Division, Royal Thai Army (RTA) at Queen Sirikit Camp, Lopburi Province, Thailand on 18-21 September 2023. 
The DTI D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher is based on Israeli Elbit Systems' PULS system. (Defence Technology Institute)

เมื่อวันที่ 18-21 กันยายน. 2566 อบรมฝึกการใช้งาน (OJT) ต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ณ กองพัน 711 จ.ลพบุรี
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ไปทดสอบทดลองใช้งาน และเข้ารับการทดสอบและประเมินผลโครงการฯ โดย ทบ. ต่อไป สทป. โดย โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี (D11A) 
จึงได้จัดการฝึกอบรมภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้หน่วยผู้ใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการวิจัยพัฒนาและการใช้งานรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องฯ นอกจากนี้นักวิจัยและหน่วยผู้ใช้ได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการใช้งานทางยุทวิธี 
ระหว่างวันที่ 18-21 ก.ย. 66 ณ กองพัน 711 จ.ลพบุรี โดยมี พ.อ. พิทักษ์ภูมิ รูปทอง ผบ.ป.71 พัน.711 ได้กรุณาเข้าร่วมสังเกตการณ์ และทดลองใช้งานต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องฯ 
โดยผลการอบรมดังกล่าวฯ ได้รับความสนใจ จากหน่วยผู้ใช้ และต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องฯ มีขีดความสามารถเป็นไปตามความต้องการด้านการใช้งานของหน่วยผู้ใช้เป็นอย่างดี

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทยได้ทำการอบรมฝึกการใช้งาน(OJT: On the Job Training) สำหรับต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี
แก่กำลังพลของกองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ ป.๗๑ พัน.๗๑๑(711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regimen) กองพลทหารปืนใหญ่ พล.ป.(Artillery Division) กองทัพไทย(RTA: Royal Thai Army) ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
ณ ที่ตั้งกองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ พล.ป. ค่ายสิริกิติ์ จังหวัดลพบุรี เป็นความคืบหน้าล่าสุดหลังการทดสอบสมรรถนะและทดสอบทางยุทธวิธีต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/dti-d11a.html)

ต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A มีพื้นฐานพัฒนาบนระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายขนาดลำกล้องอัตตาจรแบบ PULS(Precise and Universal Launching System) ในความหุ้นส่วนระหว่าง DTI ไทยกับบริษัท Elbit Systems อิสราเอล
ซึ่งรถยนต์บรรทุก Tatra สาธารณรัฐเช็กได้ถูกใช้เป็นรถแคร่ฐานของ D11A เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง M758 ATMG ขนาด 155 mm/52calibre ที่มีประจำการในกองทัพบกไทย และนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
โดยเปิดตัวระบบต้นแบบต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d11a.html)

กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ กองพลทหารปืนใหญ่ เป็นหน่วยใช้จรวดหลายลำกล้องของกองทัพบกไทยโดยมีประจำการด้วยจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 ขนาด 122mm, จรวดหลายลำกล้องอัตตาจร DTI-1 และจรวดหลายลำกล้องนำวิถีอัตตาจร DTI-1G ขนาด 302mm,
และแท่นยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ๒๐ท่อยิง บนจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ บนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/dti-122mm.html) ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการที่พัฒนาโดย DTI ไทยยกเว้น จลก.SR4 ที่มาจากจีน
การฝึกอบรมกำลังพลของ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ พล.ป.กองทัพไทยจะมีขึ้นก่อนหน้าการส่งมอบต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ไปทดลองใช้งาน และนำไปสู่ประเมินค่าเพื่อการเปิดสายการผลิตเข้าประจำการต่อไป(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/atmos-puls.html)

เป็นที่เข้าใจว่ารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A จะเริ่มต้นสายการผลิตในไทยได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้หลังผ่านการทดสอบรับรองระบบ ควรจะถูกจัดหาเข้าประจำการในทั้งความต้องการในส่วนของกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทย ที่มีระบบพื้นฐานร่วมกัน(common)
เมื่อถูกนำเข้าประจำการรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่ใช้แท่นยิงแบบ modular จะสามารถทำการยิงระบบจรวดนำวิถีและจรวดไม่นำวิถีได้หลายแบบในขนาดลำกล้องที่แตกต่างกันในสองชุดยิง โดยคาดว่านอกจากจรวด DTI-2 ขนาด 122mm ที่พัฒนาในไทยแล้ว
ยังรวมถึง จรวดนำวิถี Accular ขนาด 122mm ระยะยิงหวังผล 40km ชุดยิง ๑๘นัด, จรวดนำวิถี EXTRA ขนาด 306mm ระยะยิงหวังผล 150km ชุดยิงละ ๔นัด และจรวดนำวิถี Predator Hawk ขนาด 370mm ระยะยิงหวังผล 300km ชุดยิง ๒นัด ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

อิสราเอลเปิดตัวรถถังหลัก Merkava Barak ยุคอนาคตรุ่นใหม่

Israel unveils next-generation Barak tank






Three of the new Barak tanks at the Merkava and Armored Vehicles Directorate in Tel HaShomer. (Israeli Ministry of Defense)





กระทรวงกลาโหมอิสราเอลเป็นตัวรถถังหลัก Merkava Mark IV รุ่นใหม่ที่เรียกว่ารถถังหลัก Merkava Barak เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2023 "รถถังหลัก Barak นำวิทยาการที่ก้าวล้ำยุคมาใช้ซึ่งมอบขีดความสามารถเชิงรับและเชิงรุกต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์
แก่เหล่าทหารยานเกราะ(Armored Corps) ที่เพิ่มพูนความคล่องแคล่วการดำเนินกลยุทธอย่างมหาศาล" แถลงการณ์กระทรวงกลาโหมอิสราเอลอ้างคำกล่าวของผู้บัญชาการกองทัพบกอิสราเอล พลตรี amir Yadai

กระทรวงกลาโหมอิสราเอลเผยแพร่วีดิทัศน์แสดงถึงรถถังหลัก Barak ที่สร้างเสร็จแล้ว 3คัน ณ กรมการรถถัง Merkava และยานเกราะ(Merkava and Armored Vehicles Directorate) ใน Tel HaShomer
และกล่าวว่ารถถังหลักใหม่คันแรกได้ถูกส่งมอบให้กองพันที่52(52nd Battalion) กองพลน้อยยานเกราะที่401(401st Armoured Brigade) เมื่อต้นเดือนกันยายน 2023

กระทรวงกลาโหมอิสราเอลเสริมว่ารถถังหลัก Barak ใหม่จะทดแทนรถถังหลัก Merkava 4 ในฐานะรถถังหลักสำหรับกองกำลังยานเกราะของกองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defense Forces) 
วีดีทัศน์ที่สองแสดงภาพสร้างจาก computer(CGI: Computer-Generated Imagery) เพื่ออธิบายคุณสมบัติใหม่ต่างๆที่ติดตั้งในรถถังหลัก Barak

คุณลักษณะใหม่เหล่านี้รวมถึงกล้องเล็งใหม่สำหรับพลยิงและผู้บังคับรถพร้อมขีดความสามารถกล้องมองกลางคืนขั้นก้าวหน้าที่อย่างหลังเชื่อมโยงกับหมวก ผบ.รถ เพื่อสร้างภาพมุมมอง 360degree และข้อมูลเสมือนจริง(augmented reality) 
เมื่อฝาเปิดปิดป้อมรถถังอยู่ในตำแหน่งปิดป้อม บริษัท Elbit Systems อิสราเอลระบุว่านี่คือหมวกติดจอแสดงผล(head-mounted display) แบบ IronVision ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/elbit-ironvision.html)

สถานีผู้บังคับรถยังมีจอ touchscreen ซึ่งปรากฎว่าเป็นแบบเดียวกับจอแสดงผล Nir-Or ที่ได้รับการติดตั้งกับยานเกราะล้อยาง Eitan 8x8(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/eitan-iron-fist.html
และรถรบทหารราบ Namer IFV(Infantry Fighting Vehicle) ใหม่ของกองทัพอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/namer-30mm-tank-biathlon-2017-3-4.html)

วีดิทัศน์ CGI ระบบชุดระบบตรวจจับที่ด้านบนของกล้องเล็งของพลยิงว่าเป็นระบบ Safir แม้ว่าระบบนี้ไม่เคยถูกพบว่าติดบนรถถัง Merkava Barak ที่ Tel HaShomer หรือชุดภาพที่เผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมอิสราเอล
รถถังใหม่ยังขาดการติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดควันและปืนกลหนักขนาด .50cal ที่ด้านบนป้อมปืน ระบบอาวุธหลักน่าจะยังคือปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ MG253 ขนาด 120mm อยู่ รวมถึงมีการติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System) แบบ Trophy แล้วด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566

DTI และกองทัพบกไทยยิงทดสอบต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 105mm








Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Artillery Center, Royal Thai Army (RTA) have test firing two prototypes of 105mm light howitzer CS/AH2 at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand on 22 September 2023.
Chinese state-owned company Norinco has technology transfer on its CS/AH2 105mm light howitzer to DTI, the Ministry of Defence of Thailand agency for RTA's new 105mm howitzer requirement. (Defence Technology Institute)



สทป. ยิงทดสอบต้นแบบปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง (ปบค.) ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 โดยมี พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป. พล.อ.ชูชาติ บัวขาว ผอ.สทป. และ พล.ต.นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ ผบ.ศป. 
ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การยิงทดสอบต้นแบบ ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป. จ.ลพบุรี 

ตามที่ ทบ. โดย ศป. และ สทป. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในโครงการร่วมวิจัย และพัฒนาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การออกแบบ สร้างชิ้นส่วน ประกอบรวม 
และทดสอบต้นแบบ ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 นำมาพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมขีดความสามารถในการผลิตและส่งกำลังบำรุงชิ้นส่วนย่อยสำหรับ ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 ต่อยอดไปสู่การวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่ หรือส่วนประกอบ ที่เกี่ยวข้อง 
สทป. ได้ดำเนินการประกอบชิ้นส่วนย่อย ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 จำนวน 2 กระบอก ณ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก จ.นครราชสีมา 
และดำเนินการทดสอบสมรรถนะการทำงานของ ปบค. ตามขอบเขต งานที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในโครงการร่วมวิจัยและพัฒนา ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 ในระหว่างวันที่ 28 ส.ค. – 6 ต.ค. 66 ณ ศป. จ.ลพบุรี 
โดยในวันนี้ ได้ยิงทดสอบ ต้นแบบ ปบค. จำนวน 2 ภารกิจ ได้แก่
1. ยิงทดสอบที่ระยะยิง 1.5 กม. เป้าหมายเนิน 100 จำนวนกระบอกละ 3 นัด และ 
2. ยิงทดสอบที่ระยะยิง 11.4 กม. เป้าหมายที่ราบเชิงเขาสลัดได จำนวนกระบอกละ 2 นัด 

ซึ่งผลการยิงทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต้นแบบ ปบค. ขนาด 105 มม. แบบ CS/AH2 สามารถทำการยิงได้ มีความแม่นยำทั้ง 2 ภารกิจ ทั้งนี้ สทป. จะนำต้นแบบเข้าสู่กระบวนการทดสอบ ตามขั้นตอนของ ทบ. ต่อไป    

การยิงทดสอบต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 ขนาด 105mm ซึ่งเป็นโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาระหว่างระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) และศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป.(Artillery Center) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
ที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคม Online เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) เป็นความคืบหน้าสุดหลังจากที่ DTI ไทยและศูนย์การทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/dti-csah2-105mm.html)

DTI ไทยได้ประกาศสัญญากับบริษัท POLY TECHNOLOGIES, INC. สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับโครงการวิจัยร่วมและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105mm แบบ CS/AH2 ระยะที่๑ วงเงิน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,439,712) ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
โดย CS/AH2 เป็นปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105mm ที่พัฒนาสำหรับการส่งออกโดย Norinco(China North Industries Group Corporation) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมกลาโหมของสาธารณรัฐประชาชนจีน(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/dti-csah2-105mm.html)

จากภาพที่เผยแพร่ใน page Facebook ทางการของ DTI ไทย ต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.CS/AH2 105mm มีความแตกต่างจากปืนใหญ่ลากจูง CS/AH2A 105mm ที่ Norinco จีนเคยนำมาจัดแสดงในงานแสดงการบินนานาชาติ Airshow China 2021 ที่ Zhuhai จีนหลายจุด
ที่เห็นได้จากภายนอกต้นแบบ ปบค.CS/AH2 105mm ของ DTI ไทยมีปลอกลดแรงถอย(muzzle brake) เครื่องปิดท้าย(breech mechanism) และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆที่ดูคล้ายคลึงกับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๔๙ BAE Systems M119(L119) ซึ่งทำการประกอบรวมในไทยจำนวน ๒๒กระบอก

ต้นแบบ ปบค.CS/AH2 105mm ของ DTI ที่สร้างขึ้นมา ๒กระบอก ยังพบว่าติดตั้งจอแสดงผลที่ตัวปืน ที่ดูคล้ายคลึงกับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง NEXTER LG1 Mk III 105mm จำนวน ๑๒กระบอกที่เพิ่งได้รับมอบล่าสุดด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/lg1-mk3-105mm.html)
ทำให้พิจารณาได้ว่าปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.CS/AH2 105mm น่าจะมีคุณสมบัติระบบควบคุมการยิง Digital ระบบหาพิกัดดาวเทียม ระบบตรวจวัดอุณหภูมิดินขับกระสุนกระแสลม และการเชื่อมโยงกับผู้ตรวจการณ์หน้า(FOO: Forward Observation Officer) เช่นเดียวกัน

ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๔๙ M119 ประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่๓๑ รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค. LG1 Mk III ประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์
กองทัพบกไทยยังมีความต้องการปืนใหญ่เบาขนาด 105mm ใหม่เพื่อทดแทนระบบเก่าที่ใช้งานมานานและล้าสมัยเป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งลากจูง M425 จำนวน ๑๒กระบอก และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งลากจูง M618A2 ๓๒กระบอก ที่สร้างในไทยเป็นต้นครับ

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

กองทัพอากาศไทยและสหรัฐฯเสร็จสิ้นการฝึกผสม Enduring Partners 2023












KC-135R of 141st Air Refueling Wing, Washington Air National Guard coducted aerial refueling with Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockhhed Martin F-16A/B Block 15 OCU/ADF of 103rd Squadron, Wing 1 Korat; F-16AM/BM EMLU of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli; and Boeing F-15 Eagle of 123d Fighter Squadron, 142nd Wing, the Oregon Air National Guard during first ever exercise Enduring Partners Engagement in Thailand. (Defense Info TH/Sukasom Hiranphan) 
U.S.Air Force (USAF) and Royal Thai Air Force have concluded exercise Enduring Partners Engagement 2023 at Wing 1 Korat RTAF base in Nakhon Ratchasima Province, Thailand on 11-21 September 2023.



กองทัพอากาศไทยและสหรัฐร่วมทำการฝึกเติมน้ำมันกลางอากาศร่วมกันในการฝึกEnduring Partners2023

“ถึงแม้ไทยและสหรัฐจะอยู่ห่างไกลกัน แต่เมื่อเราต้องการเราก็ได้แสดงให้เห็นได้ว่า เราพร้อมจะเดินทางมา และปฏิบัติงานร่วมกันในทันที  การที่เครื่องบินของทั้งสองชาติสามารถปฏิบัติงานร่วมกันในอากาศ ด้วยระยะห่างเพียงแค่3เมตร ในอากาศ 
ดังที่ทุกคนได้เห็นกัน นั่นก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อกัน  จึงทำให้การทำงานของเราต่างประสบความสำเร็จ และเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่เราต่างมีร่วมกันมาอย่างยาวนาน” 
เป็นคำกล่าวส่วนหนึ่งของ พลอากาศจัตวา เจนต์ เวลซ์  ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศรัฐวอชิงตัน ในฐานะผู้อำนวยการฝึกร่วม Enduring Partners2023 ฝ่ายสหรัฐ 
ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนไทยหลังจากเสร็จสิ้นการสาธิตการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้กับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทย ณ กองบิน1 จังหวัดนครราชสีมา 
โดยมีเอกอัครราชทูต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยขึ้นบินกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบKC-135สตราโตแท๊งค์เกอร์  ร่วมสังเกตการณ์ฝึกในครั้งนี้ด้วย

การฝึก Enduring Partners2023 เป็นการฝึกร่วมผสมระหว่างกองทัพอากาศไทยและสหรัฐที่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยเฉพาะการเสริมขีดความสามารถในการปฏิบัติงานทางอากาศร่วมกันด้วยการฝึกเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 
อันเป็นสิ่งที่เสริมสมรรถนะของการบินในอากาศของเครื่องบินรบให้เพิ่มมากขึ้น แม้อากาศยานหลายแบบของกองทัพอากาศไทยจะมีขีดความสามารถในการรับเชื้อเพลิงทางอากาศ แต่ยังขาดเครื่องเติมเชื้อเพลิง เพื่อสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์ในการเติมเชื้อเพลิงในอากาศ 
สหรัฐอเมริกาจึงได้จัดส่งเครื่องKC-135จำนวน2ลำ จากกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศรัฐวอชิงตัน(WAANG)เดินทางมาเพื่อการฝึกครั้งนี้ ร่วมกับเครื่องบินรบแบบF-15C อีเกิ้ลจากกองกำลังรักษาดินแดนออริกอน(ORANG) จำนวน5ลำ 
เพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์ร่วมกับกับนักบินรบจาก4ฝูงบินของกองทัพอากาศไทย ได้แก่ F-16A/Bจากฝูง103,F-16A/B eMLUจากฝูง403,F-5 TH จากฝูงบิน211 และJAS-39C/Dจากฝูงบิน701 ในระหว่างวันที่11ถึง21กันยายน 2566นี้
ไม่เพียงแต่การฝึกเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศให้กับเครื่องบินรบของไทย กองกำลังของสหรัฐยังเปิดโอกาสให้กำลังพลฝ่ายต่างๆของกองทัพอากาศไทยได้ร่วมปฏิบัติงานและสังเกตการณ์ในเครื่องบินแบบKC-135อย่างใกล้ชิด 
เพื่อสร้างประสบการณ์เบื้องต้นในขั้นตอนของการปฏิบัติงานกับระบบท่อเติมเชื้อเพลิงในอากาศด้วยเช่นกัน

Defense Info ขอขอบคุณ กองทัพอากาศไทยและสหรัฐอเมริกา ,สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

การฝึกผสมทางอากาศ Enduring Partners Engagement 2023 ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ กองบิน ๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมาระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรัฐหุ้นส่วน State Partnership Program ที่สนับสนุนโดยกองกำลังรักษาดินแดนสหรัฐฯ(US National Guard) โดยจัดกำลังจากกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศสหรัฐฯ(ANG: Air National Guard) มาวางกำลังฝึกในประเทศไทยที่เป็นครั้งแรก

ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15C Eagle จำนวน ๕เครื่องจาก ฝูงบินขับไล่ที่123(123d Fighter Squadron) กองบินที่142(142nd Wing) กองกําลังรักษาดินแดนทางอากาศ Oregon ANG(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/enduring-partners-engagement-2023.html
และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-135R Stratotanker จำนวน ๒เครื่องจากฝูงบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่116(116th Air Refueling Squadron) กองบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่141(141st Air Refueling Wing) กองกําลังรักษาดินแดนทางอากาศ Washington

หนึ่งในหัวข้อการฝึกรวมถึงการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศโดยเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135R สหรัฐฯกับเครื่องบินขับไล่ F-15C สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช, 
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ELMU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี กองทัพอากาศไทย ซึ่งทั้งเครื่องบินขับไล่ F-15 และเครื่องบินขับไล่ F-16 นั้นใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ boom ซึ่งมีความเข้ากันได้กับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135R อยู่แล้ว

ขณะที่เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab JAS-39 Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ใช้ระบบ probe-and-drogue สามารถเติมเชื้อเพลิงกับเครื่องบิน KC-135R ได้ผ่านการติดตั้งชุดแปลง boom drogue adapter ซึ่งเห็นได้จากการฝึกอื่นๆร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯก่อนหน้า
ส่วนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ไม่มีขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ทั้งนี้กองทัพอากาศไทยมีการฝึกเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศกับกองทัพมิตรประเทศมาแล้วหลายครั้งจนมีความชำนาญครับ