Thailand's Defence Technology Institute (DTI) hands-on modified chinese
Norinco Type 85 Self-Propelled Artillery Rocket Launcher (YW306) with 30 tube
130mm rocket that replaced with domestic DTI-2 20 tube 122mm rocket to Royal
Thai Army (RTA) at Artillery Division, Fort Sirikit, Lopburi province in 23
September 2021.
Defence Technology Institute also test firing domestic DTI-2 122mm wheeled
self-propelled Multiple Launch Rocket System at Royal Thai Army Artillery
Center's special range, Lopburi province.
วันที่ 23 กันยายน 2654
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ส่งมอบ จลก. 31
ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ให้กับ กองพลทหารปืนใหญ่
เพื่อนำไปทดลองใช้งาน
โดยมี น.อ.คมสันต์ ประพันธ์กาญจน์ รอง ผอ.สทป. เป็นผู้แทน ผอ.สทป.
ในการส่งมอบให้กับ พล.ต.วีระพงษ์ ศรีรัตน์ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่
ให้เกียรติรับมอบ ณ กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายสิริกิติ์ จ.ลพบุรี
สำหรับ จลก. 31 ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. นี้
เกิดขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง ขนาด 122
มม. แบบอัตตาจร ระหว่าง กองทัพบก และ สทป.
โดย สทป. ได้รับมอบ รถสายพานติดเครื่องยิงจรวดขนาด 130 มม. (จลก.31)
ที่มีระยะยิงไกล 10 กม.
ของกองทัพบกที่ใช้ในราชการอยู่เดิมและมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน
มาดำเนินการวิจัยพัฒนาปรับปรุงเพิ่มสมรรถนะและติดตั้งแท่นยิงจรวดหมายลำกล้องขนาด
122 มม. ทดแทนแท่นยิงจรวดขนาด 130 มม.
เดิม ซึ่ง สทป. มีขีดความสามารถในการผลิตลูกจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม.
ที่เป็นลูกจรวดสมรรถนะสูงที่มีระยะยิงไกลสุด 40 กม. ได้เองภายในประเทศ
เป็นการเพิ่มระยะยิงและขีดความสามารถของอาวุธรวมทั้งเป็นแนวทางสู่การพึ่งพาตนเองและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่สำคัญ
การดำเนินการได้เปลี่ยนแท่นยิงจรวดขนาด 130 มม.
แบบควบคุมด้วยมือที่ใช้งานอยู่เดิม เป็นแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม.
จำนวน 20 ลำกล้อง
แบบควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าพร้อมติดตั้งระบบจุดจรวดและระบบระบุพิกัดและชี้ทิศยิงอัตโนมัติ
ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบเกียร์ พร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะให้สามารถรองรับแท่นยิงและการใช้งานของระบบจรวดขนาด
122 มม.ได้ โดยใช้กระบวนการวงจรการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle
Management) ในการออกแบบวิจัยและพัฒนาจนเสร็จสิ้น
ผลของการวิจัยพัฒนา จลก.31 ที่ได้รับการปรับปรุง สามารถใช้งานยิงลูกจรวดขนาด
122 มม. ที่มีระยะยิงไกลสุด 40 กม. ได้
โดยผ่านการทดสอบสมรรถนะและการยิงทดสอบด้วยลูกจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม. ระยะยิง
10 กม. และ ระยะยิง 40 กม.
สามารถทำการยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและแบบต่อเนื่อง
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการวิจัยและสามารถส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้ทดลองใช้งานเพื่อประกอบการพิจารณาขอรับรองต้นแบบยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกต่อไป
ทั้งนี้เป็นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
โดยศึกษาและพัฒนาการทดสอบสมรรถนะและการใช้งาน การปรับปรุงซ่อมบำรุงฟื้นฟูสภาพ
เพื่อเสริมสร้างบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ
และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศในการพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
ซึ่งหลังจากการวิจัยจนได้ต้นแบบ จลก.31 ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122
มม.
จะทำให้กองทัพบกจะมีจรวดหลายลำกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมบนแท่นยิงที่ทันสมัยขึ้น
ซึ่งติดตั้งบนรถสายพานลำเลียงพลที่กองทัพบกมีใช้งานอยู่แล้ว
โดยถ้ามีความต้องการ สทป.
สามารถใช้ขีดความสามารถด้านการวิจัยและการผลิตในประเทศทำการปรับปรุง จลก.31
เพื่อเข้าประจำการในกองทัพบกได้อย่างรวดเร็ว
DTI ดำเนินการทดสอบจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. แบบ DTI-2 ระยะยิง 30 กม.
เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้การดำเนินการทดสอบ เป็นไปตามมาตรการควบคุมการระบาดของ
covid-19 อย่างเคร่งครัด
DTI โดยโครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2
ดำเนินการยิงทดสอบจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม. ระยะยิง 30 กม.
เพื่อทดสอบดินขับจรวด ท่อจรวด โปรแกรมอำนวยการยิงและหัวรบจรวด
ซึ่ง สทป. วิจัยพัฒนาขึ้นเองในประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก พอพล
มณีรินทร์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และพลอากาศเอก ดร.ปรีชา
ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์
ซึ่งการทดสอบนี้เป็นไปตามขั้นตอนการวิจัย โดยทำการยิงจริงที่ระยะ 19 กม. จำนวน
10 นัด มีทั้งการยิงแบบทีละนัด และแบบซัลโว 3 นัด ทำการยิงจากรถฐานยิง DTI-2
ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการทดสอบจรวด
โดยได้รับการสนับสนุนพื้นที่สนามทดสอบ ยุทโธปกรณ์ และการสนับสนุนต่างๆ
จากศูนย์การทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ และกรมสรรพาวุธทหารบก
ผลการทดสอบประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
จรวดกระทบในพื้นที่เป้าหมายที่ได้ตามที่คำนวณไว้ ณ
สนามยิงกระปืนใหญ่กระสุนพิเศษ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ. ลพบุรี
การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. แบบ DTI-2
เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. แบบอัตตาจร
ระหว่างกองทัพบกและ สทป.
เพื่อให้ สทป. มีขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องส่งมอบ
ให้ ทบ. นำไปใช้งาน
โดยใช้ศักยภาพด้านการผลิตและองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาจรวดซึ่งได้รับจากโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องแบบ
DTI-1 และ DTI-1G
ในผลิตจรวดขนาด 122 มม. ขึ้นในประเทศ
และให้สามารถใช้งานกับระบบจรวดหลายลำกล้องที่กองทัพบกมีใช้งานและประจำการอยู่
ซึ่ง DTI ได้ใช้ศักยภาพและองค์ความรู้ที่มีในการพัฒนาจรวดขนาด 122 มม.
ขึ้นในประเทศด้วยฝีมือของนักวิจัยไทยจนเป็นผลสำเร็จ
โครงการนี้จะทำให้กองทัพบกมีจรวดที่มีสมรรถนะทัดเทียมกับจรวดที่จัดหาจากต่างประเทศใช้งานได้ตลอดทั้งปี
ทั้งการใช้งานทางยุทธการและการฝึกตามระยะยิงและจำนวนที่ต้องการ
ในราคาที่ประหยัดกว่า
และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยอย่างเต็มรูปแบบ
จรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ ที่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย(RTA: Royal
Thai Army) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) มีพื้นฐานบนรถแคร่ฐานรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐
Type 85 ที่ผลิตโดย Norinco จีน ซึ่งประจำการในกองทัพบกไทยมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๓๐(1987)
ขณะที่ รสพ.๓๐ Type 85 ได้รับการปรับปรุงและจะประจำการต่อไป
แต่แท่นยิงจรวดหลายลำกล้องแบบ Type 82 ขนาด 130mm ๑๐ท่อยิงที่ติดตั้งกับระบบ
จลก.๓๑ เดิมนั้นเป็นระบบที่ล้าสมัยคือมีระยะยิงเพียง 10km
อีกทั้งมีอายุการใช้งานมานานจดตัวจรวดหมดอายุขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว
โครงการดัดแปลง จลก.๓๑ Type 85 ติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ๒๐ท่อยิง ระยะยิง 40km ก็มาถึงขั้นส่งมอบให้กองทัพบกไทยทดลองใช้งานได้เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/dti-black-widow-spider-8x8.html)
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute)
ได้มีการทดสอบการยิงแท่นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 122mm ที่ติดตั้งบน
จลก.๓๑ Type 85 มาแล้วหลายครั้ง(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/first-win-dti-2-type-85.html)
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงของ DTI
จรวด DTI-2 ขนาด 122mm เป็นระบบที่ไทยพัฒนาด้วยตนเองทั้งหมด โดยมีการทดสอบยิงกับระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 ขนาด 122mm
๔๐ท่อยิงจีนของกองทัพบกไทยมาแล้วหลายครั้งเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/dti-dti-2-122mm.html)
นอกจากนี้ DTI ยังมีโครงการจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ร่วมกับกองทัพเรือไทย(RTN:
Royal Thai Navy) ที่มีพื้นฐานจากระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร PULS ของ
Elbit Systems อิสราเอลด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/dti.html)