วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

DTI ไทยทดสอบต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A สำหรับกองทัพบกไทย




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has testing performance capabilities and tactical manuever on prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher, which is based on Israeli Elbit Systems PULS 
at Royal Thai Army (RTA) Artillery Center's firing range, Lopburi province during 20-21 September 2022. (DTI)




Defence Technology Institute demonstrated firing domestic DTI-2 122mm on wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System at Royal Thai Army Artillery Center's Special Range, Lopburi province, 21 February 2022. (DTI)

เมื่อวันที่ 20 – 21 กันยายน 2565
สทป. ดำเนินการทดสอบสมรรถนะและทดสอบทางยุทธวิธีต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ณ สนามทดสอบ ศป. จ.ลพบุรี

โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี (D11A) ได้วิจัยและพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ที่สามารถรองรับจรวดขนาด 122 มม. ระยะยิง 40 กม. จรวดขนาด 306 มม. ระยะยิง 150 กม. และจรวดขนาด 370 มม. ระยะยิง 300 กม.  
โดยส่วนงานวิศวกรรมยานรบ มุ่งเน้นการออกแบบ สร้างชิ้นส่วน การประกอบรวมรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนารถฐานยิงจรวด DTI2 DTI1 และ D1G 
ร่วมกับเทคโนโลยีด้านการออกแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องขั้นสูงจากประเทศอิสราเอล เพื่อออกแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ให้เป็นไปตามความต้องการกองทัพบก 
โดยการทดสอบครั้งนี้เป็นการดำเนินการทดสอบสมรรถนะการขับเคลื่อนและทดสอบทางยุทธวิธี เพื่อตรวจสอบสมรรถนะต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ที่วิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการกองทัพบก

โดยมี พล.ต.นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ ผบ.ศป. และประธานคณะทำงานร่วมวิจัยและพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และร่วมทดสอบทางยุทธวิธีพร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนา 
ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามความต้องการตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ (Multi - purpose launcher) ระหว่าง ทบ. กับ สทป.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทยได้เปิดตัวต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมา
ที่พัฒนาบนพื้นฐานระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายขนาดลำกล้องอัตตาจรแบบ PULS(Precise and Universal Launching System) ในความหุ้นส่วนกับบริษัท Elbit Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d11a.html)

โครงการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และเริ่มต้นใหม่ในปี ๒๕๖๕ หลังหยุดชะงักเพราะการระบาด Covid-19 ได้มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการระบบแท่นยิงจรวดเข้ากับรถยนต์บรรทุก Tatra 6x6 ขนาด 10 tonne จากสาธารณรัฐเช็ก
ซึ่งรถยนต์บรรทุก Tatra สาธารณรัฐเช็กได้ถูกใช้เป็นรถแคร่ฐานสำหรับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง M758 ATMG ขนาด 155 mm/52calibre ที่มีประจำการในกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

ด้วยการถ่ายทอดวิทยาการจาก Elbit Systems อิสราเอล เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG(Autonomous Truck-Mounted Gun) ที่มีพื้นฐานจากระบบปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-atmg-atmm.html)
สายการผลิตรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A น่าจะดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC: Weapon Production Center, DIEC: Defence Industry and Energy Center) กระทรวงกลาโหมไทย เช่นกัน

DTI ไทยได้พัฒนาจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2 สำหรับระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122mm ระยะยิง 40km ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยตนเองในไทยทั้งหมด โดยได้ถูกนำไปทดสอบยิงจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 ขนาด 122mm ๔๐ท่อยิง ของกองทัพบกไทย
เช่นเดียวกับการปรับปรุงติดตั้งแท่นยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ๒๐ท่อยิง บนจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑ บนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/dti-122mm.html) กองทัพบกไทย และรถฐานยิงของ DTI เอง

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research & Development Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ยังมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A นี้ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/dti.html)
จึงเป็นที่เข้าใจว่ารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่จะเริ่มต้นสายการผลิตในไทยได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) หลังผ่านการทดสอบรับรองระบบ ควรจะถูกจัดหาเข้าประจำการในทั้งความต้องการในส่วนของกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทย ที่มีระบบพื้นฐานร่วมกัน(common)

เมื่อถูกนำเข้าประจำการรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A ที่ใช้แท่นยิงแบบ modular จะสามารถทำการยิงระบบจรวดนำวิถีและจรวดไม่นำวิถีได้หลายแบบในขนาดลำกล้องที่แตกต่างกันในสองชุดยิง โดยคาดว่านอกจากจรวด DTI-2 ขนาด 122mm ที่พัฒนาในไทยแล้ว
ยังรวมถึง จรวดนำวิถี Accular ขนาด 122mm ระยะยิงหวังผล 40km ชุดยิง ๑๘นัด, จรวดนำวิถี EXTRA ขนาด 306mm ระยะยิงหวังผล 150km ชุดยิงละ ๔นัด และจรวดนำวิถี Predator Hawk ขนาด 370mm ระยะยิงหวังผล 300km ชุดยิง ๒นัด ด้วยครับ