วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

Boeing ได้สัญญาผลิตเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon แก่สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์

Boeing awarded USD1.5 billion P-8A production contract

The full orders of four aircraft for New Zealand and six for South Korea will join a further eight for the US Navy on the P-8A Poseidon production line in Seattle under the latest USD1.5 billion award announced by the DoD. Source: Jane’s/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/95210/boeing-awarded-usd1-5-billion-p-8a-production-contract


กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ประกาศสัญญาแก่บริษัท Boeing สหรัฐฯ วงเงิน $1.5 billion เพื่อสร้างเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลพหุภารกิจ(MMA: Maritime Multimission Aircraft) แบบ Boeing P-8A Poseidon
สำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy), กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์(RNZAF: Royal New Zealand Air Force)

การประกาศสัญญาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2020 ครอบคลุมเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A MMA สายการผลิต Lot 11 จำนวน 18เครื่องที่ประกอบด้วย 8เครื่องสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ,
4เครื่องสำหรับกองทัพอากาศนิวซีแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/p-8a-4.html) และ 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/p-8a.html)

การดำเนินงานคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2023 ตามที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าว ประกาศสัญญายังรวมถึงความพยายามในการแบ่งแยกสัญญาชาติประกอบด้วย
ความล้าสมัยที่ไม่ทราบสำหรับเครื่องในสายการผลิต Lot 11, การประเมินการเปลี่ยนแปลงและการติดตามความล้าสมัย Class 1 เช่นเดียวงานวิศวกรรมที่ไม่เกิดขึ้นซ้ำสำหรับเกาหลีใต้

สัญญาวงเงิน $1.5 billion มีขึ้นตามหลัง 13เดือนที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศสัญญาแก่บริษัท Boeing วงเงิน $428.9 million เพื่อครอบคลุมวัสดุใช้เวลาดำเนินการยาวนาน
และกิจกรรมในการสนับสนุนเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A สำหรับกองทัพเรือสหรัฐ 6เครื่อง เช่นเดียวกับ 4เครื่องสำหรับนิวซีแลนด์ และ 6เครื่องสำหรับเกาหลีใต้

ในวันเดียวกับที่สายการผลิตล่าสุดได้รับการประกาศ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ประกาศสัญญาแก่บริษัท L3 Harris Technologies Inc. สหรัฐฯ วงเงิน $25.9 million
สำหรับการผลิตส่งมอบชุดจัดส่ง 35ชุดของรางติดตั้งระเบิด(bomb rack unit) แบบ BRU-75A และ BRU-76A

สัญญานี้ครอบคลุมรางติดตั้งระเบิด 13ชุดสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ, 7ชุดสำหรับสหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/p-8a-poseidon.html),
4ชุดสำหรับนิวซีแลนด์ และ 6ชุดสำหรับเกาหลีใต้ ในการสนับสนุนการส่งมอบ P-8A ในสายการผลิต Lot 9-11 งานคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2024 ครับ

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

จีนส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 12E แก่ลูกค้าต่างประเทศรายแรก

China delivered HJ-12E Red Arrow 12 antitank missile weapons to foreign customer
https://www.armyrecognition.com/march_2020_news_defense_global_security_army_industry/china_has_delivered_hj-12e_red_arrow_12_anti-tank_missile_weapon_to_foreign_customer.html

NORINCO was displayed model of Red Arrow 10A and Red Arrow 12E anti-tank weapon systems at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-norinco-vn1.html


China North Industries Group Corporation(NORINCO) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของจีนได้ส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพาขั้นก้าวหน้า HJ-12E(Red Arrow 12E ในชื่อส่งออก) แก่ลูกค้าต่างประเทศที่ไม่เป็นที่เปิดเผย
นี่เป็นสัญญาการส่งออกต่างประเทศเป็นครั้งแรกของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังยุคที่3 ที่พัฒนาโดยจีน NORINCO ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆในการแถลงเกี่ยวกับประเทศผู้ซื้อ, จำนวนที่จัดหา และวงเงินของข้อตกลง

ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-12 หรือ Red Arrow 12 จีนถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ AirShow China 2014 ณ Zhuhai จีนเมื่อวันที่ 11-16 พฤศจิกายน 2014
ชุดยิงของ Red Arrow 12 มีความคล้ายคลึงกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Rafael SPIKE อิสราเอล และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Raytheon-Lockheed Martin FGM-148 Javelin สหรัฐฯ

ชุดบรรจุตัวอาวุธปล่อยนำวิถีของ HJ-12 ถูกติดตั้งขาหยั่งพร้อมกับหน่วยควบคุมการยิง กล้องเล็งยิงถูกติดตั้งทางด้านซ้ายของชุดบรรจุลูกจรวด และหน่วยแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถียังสามารถติดตั้งบนรถรบได้
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี HJ-12 ใช้หัวค้นหาเป้าหมายแบบสร้างภาพความร้อน Infrared สำหรับทุกกาลอากาศทั้งกลางวันและกลางคืน และรุ่นหัวค้นหาเป้าหมายกล้องสร้างภาพ TV เวลากลางวันที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายังสามารถเลือกใช้ได้

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-12 รุ่นหัวค้นหาเป้าหมายกล้อง TV มีระยะยิงไกลสุด 4,000m ขณะที่รุ่นหัวค้นหาเป้าหมายกล้อง IR มีระยะยิงไกลสุดเพียง 2,000m
HJ-12 ใช้วิทยาการยิงแล้วลืม(Fire-and-Forget) ซึ่งไม่ต้องการการนำวิถีเพิ่มเติมหลังยิงเช่นการไต่ลำแสง Laser หรือเส้นลวดที่เป็นคุณสมบัติจำกัดให้ทหารหรือรถรบที่อยู่ใกล้เป้าหมายจะต้องนำวิถีให้อาวุธตลอดจนกว่าจรวดจะชนเป้าที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อื่นได้

ซื้ออาวุธต่อสู้รถถังระยะกลาง จำนวน 18 ชุด
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf2/41154.pdf
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf4/41182.pdf

กรมสรรพาวุธทหารเรือ(Naval Ordnance Department) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) มีความประสงค์จัดซื้ออาวุธต่อสู้รถถังระยะกลางสมรรถนะสูง เพื่อทดแทนอาวุธต่อสู้รถถัง M47 Dragon ของทหารราบและหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน(RTMC: Royal Thai Marine Corps)
จำนวน ๑๘ชุด วงเงิน ๘๘,๒๐๐,๐๐๐บาท($2,697,248) กำนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง)วงเงิน ๘๖,๒๐๗,๒๗๕บาท($2,637,115) แหล่งที่มาจากบริษัท ST ENGINEERING LAND SYSTEMS สิงคโปร์ และ China North Industries(NORINCO) สาธารณรัฐประชาชนจีน

คุณสมบัติเฉพาะและขีดความสามารถที่ต้องการ(Operational and Performance Characteristics and System Capabilities)
๑.เป็นอาวุธต่อสู้รถถังแบบประทับบ่ายิง สามารถเตรียมพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องทำการประกอบชุดอุปกรณ์เพื่อทำการยิงหรือทำการบรรจุลูก สามารถทำการเคลื่อนย้ายและทำการยิงโดยคนเดียว น้ำหนักรวมพร้อมทำการยิงไม่เกิน 25kg
๒.มีแรงสะท้อนต่ำ(Low Recoil Force) สามารถทำการยิงได้จากมุมอับ
๓.อาวุธ ๑ชุดยิง ประกอบด้วย ท่อยิงพร้อมสายสะพาย ลูกจรวด อุปกรณ์เล็งยิงที่ทำการยิงได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นอย่างน้อย
๔.มีระบบการนำวิถีแบบ Fire-and-Forget
๕.มีระยะยิงใกล้สุดไม่มากกว่า 50m และระยะยิงไกลสุดไม่น้อยกว่า 1,000m
๖.สามารถเจาะเกราะ ERA(Explosive Reactive Armor) ความหนาไม่น้อยกว่า 600mm ได้
๗.สามารถทำการยิงได้ในทุกสภาพอากาศ ภายในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิระหว่า -10 ถึง 50 degree Celsius ได้
๘.ไม่เป็นอุปกรณ์ต้นแบบที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการค้นคว้าวิจัย โดยต้องได้รับการทดสอบและเข้าสู่สายการผลิต(Production Line) ปกติแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๐ปี
๙.ระบบอาวุธมีอายุการใช้งาน(Shelf Life) ไม่น้อยกว่า ๑๐ปี
๑๐.ไม่ต้องการการซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งาน

เป็นที่เข้าใจว่าในโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังใหม่ ๑๘ระบบเพื่อทดแทน M47 Dragon สหรัฐฯที่หมดอายุการใช้งานแล้วสำหรับนาวิกโยธินไทย NORINCO จีนน่าจะเสนออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 12E ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ HJ-12 ของตน
ขณะที่ ST ENGINEERING LAND SYSTEMS สิงคโปร์น่าจะเสนออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง SPIKE อิสราเอล ซึ่งมีใช้งานในกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) และได้รับสิทธิบัตรการประกอบในประเทศครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/rafael-spike-lr-ii-spike-sr.html)

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

Saab สวีเดนเริ่มสายการผลิตเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F ของบราซิลเครื่องแรก

Saab commences production of first Brazilian Gripen F
Saab has cut metal on the first two-seat Gripen F for the Brazilian air force.
https://www.flightglobal.com/fixed-wing/saab-commences-production-of-first-brazilian-gripen-f/137572.article


บริษัท Saab สวีเดนได้ทำการตัดโลหะของเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force)
ชิ้นส่วนแรกของอากาศยานที่ทำการตัดโลหะจะถูกขึ้นรูปในส่วนช่องรับอากาศของเครื่องยนต์ไอพ่นที่อยู่ด้านหลังของห้องนักบิน Saab กล่าว

"หลักก้าวย่างนี้เป็นความสำคัญสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ Gripen เพราะว่ามันแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการพัฒนากำลังดำเนินไปอย่างถูกต้อง"
นาวาอากาศเอก Renato Leite หัวหน้ากลุ่มการตรวจสอบและควบคุม(Monitoring and Control Group,GAC-Saab) กองทัพอากาศบราซิลกล่าว

"สัญญาณการเริ่มต้นของสายการผลิตของสายการผลิตเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F ซึ่งเป็นที่คาดหวังอย่างมากโดยกองทัพอากาศบราซิล" นาวาอากาศเอก Leite เสริม
เครื่องบินขับไล่ Gripen F รุ่นสองที่นั่งจะมีสองรูปแบบการทำงาน รูปแบบการฝึกสำหรับการฝึกของนักบินนายเดียว และรูปแบบซึ่งนักบินแบ่งปันภาระงานกับการตั้งค่าการแสดงผลต่างๆที่แตกต่างกัน

กองทัพอากาศบราซิลได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว Gripen E จำนวน 28เครื่อง โดยการส่งมอบจะเริ่มต้นในปี 2021 และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F จำนวน 8เครื่องโดยการส่งมอบจะเริ่มต้นในปี 2023
โดยกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F-39E เครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องแรกของกองทัพอากาศบราซิลทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/gripen-e.html)

นอกจากนี้ Saab สวีเดนประกาศว่าได้ลงนามวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนจำนวน 4 billion Swedish krona ($403 million) กับธนาคารสามแห่งของสวีเดน
"วงเงินจะเสริมความแข็งแกร่งของความยืดหยุ่นทางการเงินของบริษัท และถ้าจำเป็นจะถูกนำไปใช้กับสินเชื่อเพื่อการปลดภาระเงินกู้เก่าที่กำลังจะมีขึ้นและในอนาคต" Saab กล่าวครับ

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล MH-60R อินเดียจะใช้มาตรฐานเดียวกับซาอุดีอาระเบียเพิ่มการดัดแปลงเฉพาะตัว

Indian MH-60R helos to be Saudi-standard, plus national mods
The MH-60R helicopters to be delivered to the Indian Navy will be of the same configuration as those received by the Royal Saudi Naval Forces, plus some ‘unique’ modifications. Source: US Navy
https://www.janes.com/article/95102/indian-mh-60r-helos-to-be-saudi-standard-plus-national-mods

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sikorsky MH-60R Seahawk ที่ได้รับการสั่งจัดหาโดยอินเดียจะสร้างโดยใช้รูปแบบมาตรฐานล่าสุดของซาอุดีอาระเบีย โดยมีการดัดแปลงเฉพาะสำหรับอินเดียเพิ่มเติมบางส่วน
มาตรฐานพื้นฐานที่ริเริ่มขึ้นใหม่ของอินเดียได้ถูกเปิดเผยโดย Website ของรัฐบาลสหรัฐฯ beta.sam.gov เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2020

ซึ่งการเปิดเผยระบุว่าเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล MH-60R จำนวน 24เครื่องที่ล่าสุดได้รับการสั่งจัดหาจากรัฐบาลอินเดีย
จะถูกสร้างโดยใช้รูปแบบเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ MH-60R จำนวน 10เครื่องที่ส่งมอบให้กองทัพเรือซาอุดีอาระเบีย(RSNF: Royal Saudi Naval Forces) โดยยังรวมถึง "การดัดแปลงที่เป็นเอกลักษณ์" บางส่วน

MH-60R กองทัพเรือซาอุดีอาระเบียที่ได้รับมอบตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 มีมาตรฐานระบบสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface vessel Warfare) และสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) เช่นเดียวกับ ฮ.ล่าสุดที่ทำการบินโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)
รวมถึง ระบบชี้เป้าหมาย AN/AAS-44C(V) multi-spectral targeting system, กล้องมองกลางคืน AN/AVS-9, ทุ่น Sonar แบบ AN/SSQ-36/53/62 sonobuoy, Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Raytheon MK 54 และอาวุธของลูกเรือประจำเครื่อง

เฮลิคอปเตอร์ MH-60R มาตรฐานกองทัพเรือซาอุดีอาระเบียที่ใช้ถูกใช้เป็นรูปแบบพื้นฐานสำหรับกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) เสริมด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed Martin AGM-114R Hellfire II
และจรวดนำวิถีอากาศสู่พื้น BAE Systems Advanced Precision Kill Weapon System(APKWS) ซึ่งถูกบูรณาการเข้ากับเฮลิคอปเตอร์แต่กองทัพเรือสหรัฐฯปกติมักจะไม่ติดตั้ง

ขณะที่เอกสารแจ้งสัญญาแหล่งที่มารายเดียวไม่ได้ให้รายละเอียดการดัดแปลงเฉพาะของอินเดีย Jane's ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่ากองทัพเรืออินเดียจะนำเฮลิคอปเตอร์ MH-60R ของตนติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Kongsberg Naval Strike Missile(NSM) นอร์เวย์
(อินเดียเป็นประเทศแรกจะนำอาวุธปล่อยนำวิถี NSM ติดกับเฮลิคอปเตอร์) การดัดแปลงเฉพาะอื่นๆน่าจะประกอบด้วยระบบสื่อสารและอุปกรณ์อย่างอื่นครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/mh-60r-nsm.html)

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F เปลี่ยนจุดมุ่งเน้นการทดสอบจากการบินเป็นระบบตรวจจับ

Gripen E/F shifts focus from flight to sensor tests

Seen at its rollout in 2017, the Gripen E is now moving into testing of its tactical mission systems ahead of delivery to the Swedish and Brazilian air forces. Source: Jane’s/Gareth Jennings
https://www.janes.com/article/95118/gripen-e-f-shifts-focus-from-flight-to-sensor-tests

บริษัท Saab สวีเดนได้เปลี่ยนการมุ่งเน้นของการทดสอบเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนออกจากการทดสอบการบินพื้นฐานมุ่งสู่การทดสอบชุดระบบทางยุทธวิธีและระบบตรวจจับของอากาศยาน
ตามที่โครงการเร่งการเดินหน้าสู่การส่งมอบเครื่องที่จะมีขึ้นแก่สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/saab-gripen-e.html) และบราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/gripen-e.html)

การพูดคุย ณ งานสัมมนา Gripen ประจำปีของ Saab เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2020 หัวหน้าโครงการของบริษัท Eddy de la Motte กล่าวว่า
โดยที่การทดสอบคุณลักษณะการบินต่างๆได้คืบหน้าไปตามแผน การมุ่งเน้นขณะนี้กำลังอยู่ที่การรับรองยืนยันระบบภารกิจของอากาศยาน

"เรามี 6เครื่องที่ตอนนี้อยู่ในการบินทดสอบและเราผ่าน 300ชั่วโมงเมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา การบินทดสอบคืบหน้าไปตามแผน และขณะนี้ระบบชุดทางยุทธวิธีและระบบตรวจจับอยู่ในจุดมุ่งเน้นของการทดสอบ
ทั้ง Radar, ระบบตรวจจับ Infrared Search and Track(IRST), ระบบสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) และระบบภารกิจอื่นๆ" de la Motte กล่าว

เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Selex ES-05 Raven และระบบตรวจจจับ Selex ES 60 Skyward G-IRST
ระบบสงคราม EW ภายในประกอบด้วยสายอากาศย่านความถี่ต่ำมาก, หน่วย EW กลาง, เครื่องรับและส่งสัญญาณสี่มุมที่ปลายปีกแต่ละข้าง, เครื่องรับสัญญาณและหน่วยส่งพลังงานที่ปลายปีกแต่ละข้าง และตัวส่งสัญญาณด้านหน้าและหลังบนแพนหาแนวตั้ง

ภายนอกลำตัวเครื่องจะได้รับการเตรียมการเพื่อติดตั้งกระเปาะระบบสงคราม EW เพื่อทำให้ Gripen E/F(หรือเครื่องบินรบยุคใหม่แบบอื่น) มีขีดความสามารถการโจมตี Electronic(EA: Electronic Attack) คล้ายกับเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler สหรัฐฯ
กระเปาะก่อกวนสัญญาณโจมตี Electronic แบบ Arexis EA Jammer Pod ให้การครอบคลุมทั้งด้านหน้าและหลังเพื่อสนับสนุนการเข้าพื้นที่, โจมตี และถอนตัวของชุดอากาศยานโจมตี

เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ใช้ radar ตรวจการณ์และจับเป้าหมายความถี่ VHF/UHF ในย่านความถี่ L และ S band ที่นำวิทยาการสารกึ่งตัวนำ gallium nitride(GaN) มาใช้บน AESA radar
ตามที่ de la Motte ย้ำ ผลการทดสอบเบื้องต้นที่ได้รับจนถึงปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่าระบบต่างๆได้ดำเนินการทำงาน "ดีมากกว่าที่คาดไว้" ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

กองทัพบกสหรัฐฯเลือก Bell และ Sikorsky เพื่อสร้างต้นแบบอากาศยานลาดตระเวนติดอาวุธ FARA

US Army selects Bell and Sikorsky to build FARA prototypes
Sikorsky Raider X, Source: Sikorsky

Bell 360 Invictus, Source: Bell
The US Army has selected Bell and Sikorsky to design and test Future Attack and Reconnaissance Aircraft (FARA) Competitive Prototypes.
https://www.flightglobal.com/helicopters/us-army-selects-bell-and-sikorsky-to-build-fara-prototypes/137538.article




กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ได้เลือกบริษัท Bell สหรัฐฯและบริษัท Sikorsky สหรัฐฯเพื่อออกแบบและทดสอบต้นแบบการแข่งขันโครงการอากาศยานลาดตระเวนติดอาวุธอนาคต(FARA: Future Armed Reconnaissance Aircraft)
ทั้งสองบริษัทได้ก้าวหน้าสู่ขั้นที่สองที่แต่ละฝ่ายจะเสร็จสิ้นการออกแบบรายละเอียด สร้าง และทดสอบเฮลิคอปเตอร์ ผู้ชนะในการแข่งขันโครงการ FARA จะถูกเลือกอย่างรวดเร็วภายในไม่เกินสิ้นปี 2023
วงเงินการประกาศสัญญาของแต่ละบริษัทไม่ได้รับการเปิดเผย กองทัพบกสหรัฐฯไม่ได้ตอบสนองโดยทันทีต่อการร้องขอความเห็นในขณะนี้

"อากาศยานลาดตระเวนติดอาวุธอนาคตเป็นการปรับปรุงความทันสมัยอากาศยานที่มีความสำคัญลำดับหนึ่งของกองทัพบกสหรัฐฯ และเป็นส่วนสำคัญในการแทรกซึมอย่างมีประสิทธิภาพ และสลายระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณการของฝ่ายตรงข้าม
มันจะทำให้ผู้บัญชาการกำลังรบมีขีดความสามารถทางยุทธวิธี, การปฏิบัติการ และยุทธศาสตร์ที่ดียิ่งขึ้น จากความเร็ว, พิสัยการบิน, ระยะเวลาทำการ, ความอยู่รอด และอำนาจการสังหารที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ"
Bruce Jette ผู้ช่วยรัฐมนตรีทบวงกองทัพบกด้านการจัดซื้อจัดจ้าง, การส่งกำลังบำรุง และวิทยาการกล่าว ข้อเสนอที่โดดเด่นของ Bell และ Sikorsky มาจากการแข่งขันในแต่ละฝ่ายที่นำการออกแบบเดินหน้าจากอากาศยานที่ทำการบินแล้ว

แนวคิดเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky Raider X มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์สาธิต Sikorsky S-97 Raider เป็นเฮลิคอปเตอร์ใบพัดร่วมแกนโดยมีใบพัดขับเคลื่อนด้านท้ายที่ทำการบินครั้งแรกในปี 2015
เฮลิคอปเตอร์ Raider X มีขนาดใหญ่กว่าราวร้อยละ20 จากเครื่องรุ่นก่อนหน้าของมัน ส่วนหนึ่งเพื่อให้รองรับเครื่องยนต์ที่กองทัพบกสหรัฐฯเลือกคือเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ General Electric T901-900 ของบริษัท GE Aviation สหรัฐฯ

แนวคิดเฮลิคอปเตอร์ Bell 360 Invictus(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/bell-360-invictus.html) ถูกสร้างจากการใช้ระบบใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปพลเรือนขนาดกลาง-ใหญ่ Bell 525 Relentless
อย่างไรก็ตามระบบใบพัดของ ฮ.Bell 360 มีขนาดเล็กกว่าเฮลิคอปเตอร์รุ่นพลเรือนที่เป็นญาติ และมีปีกที่สร้างแรงยกเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ใบพัดประธานสามารถสร้างพลังที่มากขึ้นในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

กองทัพบกสหรัฐฯต้องการอากาศยานปีกหมุนลาดตระเวนและโจมตีเบาเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน Bell OH-58D Kiowa Warrior ที่ปลดประจำการในปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/oh-58d-kiowa-warrior.html)
เนื่องจากกองทัพบกสหรัฐฯวาดภาพสงครามยุคอนาคตจะเกิดขึ้นภายในมหานครขนาดใหญ่ จึงต้องการอากาศยานที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดประธานสูงสุดไม่เกิน 12.2m(40ft) เพื่อให้ดำเนินกลยุทธ์เคลื่อนที่ระหว่างอาคารได้
เพื่อสามารถที่จะคงการรบได้อย่างเป็นจังหวะแม้แต่จะต้องเผชิญกับฝ่ายตรงข้ามที่มีความก้าวหน้า เช่น รัสเซียหรือจีน กองทัพบกสหรัฐฯต้องการให้อากาศยาน FARA มีความเร็วเดินทางสูงสุดอย่สงน้อย 180knots(333km/h)

ห้าบริษัทที่ได้เข้าทำการแข่งขันเพื่อให้ตนเข้าไปสู่ระยะที่สองของโครงการ FARA ได้ไม่ประสบความก้าวหน้ารวมถึงบริษัท  AVX Aircraft สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท L3Harris สหรัฐฯ,
บริษัท Boeing สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/boeing-fara.html) และบริษัท Karem Aircraft สหรัฐฯ กองทัพบกสหรัฐฯต้องการจะวางกำลังอากาศยานลาดตระเวนติดอาวุธ FARA เข้าประจำการได้ภายในปี 2028 ครับ

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนจะเลิกใช้รถถังหลัก M1A1 Abrams

USMC says goodbye to tanks and hello to long-range fires
Corporal Chance Marone, an M1A1 Abrams crewman assigned to India Company, Battalion Landing Team 3/5, 11th Marine Expeditionary Unit stands atop an M1A1 Abrams tank in September 2019.


The USMC is planning to scrap its tank battalions in the coming years as part of a force restructuring effort. Source: USMC
https://www.janes.com/article/95081/usmc-says-goodbye-to-tanks-and-hello-to-long-range-fires


นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) กำลังเตรียมการเพื่อการเป็นเจ้าภาพในการเปลี่ยนแปลงแบบกวาดล้างต่อแนวคิดการปฏิบัติการของตน ด้วยแผนที่จะสั่งลารถถังหลักขณะที่ยังขยายขีดความสามารถการยิงระยะไกลของตน
เป็นเวลาน้อยกว่าปีตั้งแต่ที่ พลเอก David Berger ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการนาวิกโยธินสหรัฐฯและได้วางการเปลี่ยนที่รวดเร็วว่านาวิกโยธินควรจะประจำการและปฏิบัติการอย่างไรภายในปี 2030 เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งอย่างจีนและรัสเซีย

"ความคิดริ่เริ่มในการออแบบกำลังรบเราถูกออกแบบมาเพื่อสร้างและดำรงการแข่งขันที่แหลมคมต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้จักเหนื่อยและต่อเนื่องของศัตรูคู่แข่ง ความมุ่งหมายการออกแบบกำลังรบเป็นภัยคุกคามตามที่ทราบ
การเข้าถึงแนวคิดพื้นฐานภายระยะเวลา 10ปี มีความตั้งใจเพื่อออกแบบกำลังรบเพื่อตรงการคัดกรองภัยคุกคามยุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ(NDS: National Defense Strategy)" นาวิกโยธินสหรัฐฯเขียนไว้ในการประกาศการออกแบบกำลังรบใหม่เมื่อ 23 มีนาคม 2020

เมื่อการออกแบบใหม่เสร็จสิ้นนาวิกโยธินสหรัฐฯคาดการมีกำลังรบที่ขนาดเล็กลงและว่องไวมากขึ้นเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสงครามทางเรือโพ้นทะเล ขณะที่ยังการกันช่องทางงบประมาณหลายเหรียญจากระบบรุ่นดั้งเดิม และมุ่งหน้าสู่การปรับปรุงความทันสมัยแทน
โครงสร้างกำลังพลและกำลังรบแนวหน้าในอีกทศวรรษหน้า นาวิกโยธินสหรัฐฯจะลดขนาดกำลังของตน 12,000นาย ของกองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่3(III MEF: III Marine Expeditionary Force)

การเปลี่ยนอัตราจัดของกองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่3 จะมุ่นเน้นไปที่หน่วยขึ้นตรงที่ประกอบด้วยสามกรมนาวิกโยธินชายฝั่ง(MLR: Marine Littoral Regiment)
ได้รับการฝึกและอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับ "การปฏิเสธการใช้ทะเล และการควบคุมทะเล" ในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับปรุงความทันสมัย กองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่3

"การจัดโครงสร้างในแปซิฟิกนี้จะถูกเสริมโดยสามหน่วยนาวิกโยธินโพ้นทะเล(MEU: Marine Expeditionary Unit) ที่วางกำลังทั่วโลก ที่มีทั้งขีดความสามารถฐานปฏิบัติการหน้าดั้งเดิมและนอกประเทศ
ที่สามารถวางกำลังด้วยกลุ่มยกพลขึ้นบกพร้อมรบแบบไม่มาตรฐาน(non-standard amphibious ready groups)" นาวิกโยธินสหรัฐฯกล่าว

นาวิกโยธินสหรัฐฯเสริมว่ากองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่1 และกองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่2 จะสร้างกำลังรบเพื่อสนับสนุนกรมนาวิกโยธินชายฝั่งและหน่วยนาวิกโยธินโพ้นทะเล ขณะที่ยังมีความพร้อมในการวางกำลังต่อ "ความท้าทาย" อื่นๆ
เมื่อมาถึงกิจกรรมที่จะยกเลิกการลงทุนหลายเหรียญ นาวิกโยธินสหรัฐฯจะเอาทรัพยากรทั้งหมดออกจากกองพันรถถัง, กองพันสารวัตรทหาร และผู้เชี่ยวชาญทางทหารที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับกองร้อยวางสะพานครับ

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศสหรัฐฯจะจัดหาเครื่องขับไล่ฝึก F/T-7X

USAF to contract F/T-7X aircraft for fighter pilot training
Having previously failed to secure the USAF’s wider T-X advanced pilot training requirement, the Lockheed Martin-KAI T-50A looks set to be adopted in limited numbers on a contracted basis for air combat training. Source: Lockheed Martin

These aircraft will be designated F/T-7X, in line with the T-7A designation recently given to the Boeing-Saab Redhawk that was selected to satisfy the USAF's wider T-X Advanced Pilot Training (APT) requirement. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/95008/usaf-to-contract-f-t-7x-aircraft-for-fighter-pilot-training


กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มีแผนจะทำสัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกจำนวนไม่มากเพื่อฝึกสอนทักษะเฉพาะต่อการรบทางอากาศภายใต้โครงการแนวคิดพิสูจน์การเปลี่ยนแปลงใหม่(RFX: Reforge Proof of Concept)
กาแจ้งเจตจำนงเพื่อประกาศสัญญาแหล่งที่มาเดียวแก่ Hillwood Aviation สำหรับเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นก้าวหน้าระหว่าง 4-8เครื่อง เพื่อเป็นแนวทางการบิน "Turn-Key" รวม
จากฐานทัพอากาศ Langley AFB(Air Force Base) ในมลรัฐ Virginia ถูกประกาศในนามของกองบัญชาการยุทธทางอากาศ(ACC: Air Combat Command)

เครื่องบินฝึกเหล่านี้จะถูกกำหนดแบบเป็น F/T-7X ในสายของการกำหนดแบบเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A ที่ล่าสุดกำหนดแบบให้กับเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab Redhawk ที่ถูกเลือก
เพื่อตอบสนองความต้องการโครงการการฝึกนักบินขั้นก้าวหน้า T-X ATP(Advanced Pilot Training) จำนวนมากของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/saab-t-7a-red-hawk.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/09/boeing-saab-t-x-t-7a-red-hawk.html)
"ACC (ได้)ร่างแนวคิดการปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนรูปแบบการฝึกเครื่องบินขับไล่ใหม่ (Reforge CONOP: Concept of Operations) ในการวางกำลังเครื่องบินขับไล่ฝึก F/T-7X ที่เป็นเครื่องบินฝึก T-7 รุ่นของ ACC ในโครงการฝึกที่มุ่งเน้น 12เดือน" เอกสารแจ้งกล่าว

"CONOP ตั้งใจพัฒนาและให้ประสบการณ์นักบินขับไล่ด้วยทักษะทางยุทธวิธีที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะไปต่อหน่วยการฝึกทางการ(FTU: Formal Training Unit) ของเครื่องบินขับไล่พวกเขา
เหล่านักบินที่ได้รับการขึ้นรูปใหม่จะมีความเหมาะสมสำหรับหลักสูตร  FTU/Track-1 ที่มีระยะเวลาราวครึ่งหนึ่งของความยาวหลักสูตรพื้นฐาน"ตามการเน้นโดย ACC เครื่องบินฝึกใหม่ความจะมีขีดความสามารถเช่นเดียวกับเครื่องบินฝึก T-7A Redhawk
ที่ปัจจุบันอยู่ในขั้นการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต (EMD: Engineering and Manufacturing Development) และได้ทำการบินประมาณ 3,000เที่ยวบิน/4,500ชั่วโมงบิน หรือทำการบิน 1วันสั้นๆทุกวันต่อปีต่อเนื่อง5ปี

การแจ้งแถลงว่าศูนย์การบูรณาการจัดการการจัดซื้อจัดจ้าง(AMIC: Acquisition Management Integration Center) ได้ระบุให้ Hillwood Aviation ที่มีที่ตั้งใน Dallas ในฐานะแหล่งที่มาเดียวที่มีขีดความในการส่งมอบเครื่องบิน
ด้วย active radar ที่สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ในระยะไม่เกิน 20miles หรือสามารถติดตั้ง Radar ได้โดยปราศจากเสียเวลาหรือยุดชะงักของบริการภายในหนึ่งปี,
ด้วยระบบการฝึกแบบฝังรวม(สังเคราะห์) หรือขีดความสามารถในการติดตั้งระบบการฝึกโดยปราศจากเสียเวลาหรือยุดชะงักของบริการภายในหนึ่งปี และมี closure rate อย่างน้อย 1,100knots เมื่อดำเนินการฝึกการรบอากาศ-สู่-อากาศในหน่วย

จากผู้เข้าแข่งขันที่ได้พ่ายแพ้ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ต่อเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-7A Redhawk(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-saab-t-x.html)
เครื่องบินฝึกไอพ่น Lockheed Martin-Korean Aerospace Industries(KAI) อาจจะถูกมองเพื่อจัดหามาใช้ในจำนวนจำกัดสำหรับการฝึกการรบทางอากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/kai-t-50-t-x.html)
เช่นเดียวกับเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกไอพ่น Leonardo M-346 Master ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/leonardo-t-100-t-x.html)

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศสหรัฐฯทดสอบเครื่องยนต์อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนราคาถูก Gray Wolf

USAF tests engine for Gray Wolf low-cost cruise missile
The Air Force Research Laboratory working with Northrop Grumman and Technical Directions Inc. (TDI) recently tested a new turbojet engine under the low-cost cruise missile programme known as Gray Wolf. Source: AFRL
https://www.janes.com/article/95019/usaf-tests-engine-for-gray-wolf-low-cost-cruise-missile

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ทดสอบเครื่องยนต์ไอพ่น Turbojet ราคาถูกใหม่ที่จะเป็นระบบขับเคลื่อนของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นที่กำลังได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ Gray Wolf
ห้องทดลองวิจัยพัฒนากองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFRL: Air Force Research Laboratory) ประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 ว่าตนร่วมกับบริษัท Northrop Grumman และ Technical Directions Inc.(TDI) ได้ทำการทดสอบการบินเครื่องยนต์ TDI-J85 เป็นครั้งแรก

ห้องทดลองวิจัยพัฒนากองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าวว่า การทดสอบนี้ได้มีการนำการติดเครื่องยนต์ขณะบินโคจรหลายครั้ง เช่นเดียวกับการปฏิบัติการในเพดานบินสูง
"เครื่องยนต์มีสมรรถนะตรงตามที่คาดสำหรับแรงขับและประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่เหนือกว่าที่คาด เครื่องยนต์ได้ถูกทดสอบในเวลาปฏิบัติการบินเพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจในการออกแบบความทนทาน" AFRL กล่าว

ตามการย้ำจาก AFRL การออกแบบเครื่องยนต์มุ่งเน้นไปที่การทำให้มีราคาเหมาะสมที่จะจัดหาได้และง่ายต่อการผลิต "มันเป็นเครื่องยนต์แรกในระดับนี้และตั้งเป้าเพื่อประสบความสำเร็จการปฏิบัติการในระดับความสูง
ด้วยความสำเร็จในการทดสอบนี้ AFRL ได้ย่างก้าวเข้าใกล้อย่างสำคัญเพื่อเปิดตัวส่งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนราคาต่ำ" ห้องทดลองวิจัยพัฒนากองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว

อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนราคาถูก Gray Wolf เป็นการผลิตและสาธิตต้นแบบโดยตรงของสำนักงานรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ(OSD: Office of Secretary of Defense) "อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนราคาถูกเหล่านี้จะมอบแนวทางแก้ปัญหาระยะไกลด้วยขีดความสามารถการบรรทุกหลายรูปแบบ
หมายถึงอาวุธปล่อยนำวิถีได้ถูกออกแบบให้บินร่อนโคจรเป็นระยะทางมากว่า 250nmi และสามารถรองรับตั้งค่ารูปแบบภารกิจได้หลายแบบ" ตามที่ AFRL กล่าว

"นอกเหนือจากนี้ โครงการ(จะ)สำรวจการใช้อาวุธปล่อยนำวิถี Gray Wolf หลายในการยิงเป็นฝูงเครือข่ายเพื่อให้ตรงความต้องการภารกิจเครื่องบินรบที่มีการพัฒนา" AFRL เสริม
ในคำสั่งเพื่อให้ตรงความต้องการกรอบระยะเวลาและราคา AFRL กำลังพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนและเครื่องยนต์โดยรวมกัน นี่จึงได้เป็นความท้าทาย ผู้อำนวยการ AFRL นาวาอากาศเอก Garry Haase กล่าวครับ

บ่น๓

ผู้เขียนมีเรื่องที่ต้องชี้แจงให้ท่านผู้อ่านทราบว่า จากเหตุไฟฟ้าดับและกระชากที่บ้านพักของผู้เขียนเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓
เป็นเหตุให้ Hard Disk ที่เก็บข้อมูลงานในเครื่อง PC และเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS ของผู้เขียนเสียใช้งานไม่ได้
และด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้เขียนไม่สามารถหาร้านซ่อม Computer เพื่อแก้ปัญหาได้ในช่วงเร็วๆนี้(ปิดหมดอย่างน้อยจนถึงหลังวันที่ ๑๒ เมษายน)
ดังนั้นระหว่าการใช้ข้อมูลที่สำรองไว้ล่วงหน้าบางส่วนในการดำเนินการลงบทความใน Blogspot ต่อไป ผู้เขียนต้องขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านล่วงหน้าถ้ามีข้อบกพร่องใดๆเกิดขึ้นด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

อินโดนีเซียชี้ความต้องการเครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯ

Update: Indonesia points to F-35 ambitions



Indonesia has indicated a potential bid to procure Lockheed Martin's F-35 Lightning II Joint Strike Fighter through an inter-governmental agreement with the United States. (US Air Force)
https://www.janes.com/article/94968/update-indonesia-points-to-f-35-ambitions


รองรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Sakti Wahyu Trenggono ได้บ่งชี้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียอาจจะมองเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ
เพื่อให้ตรงความต้องการเครื่องขับไล่ยุคหน้าของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)

ในการให้ความเห็นต่อสถานีข่าว CNN Indonesia เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020 Trenggono กล่าวว่าอินโดนีเซียไม่ได้ยุติแผนของกองทัพอากาศอินโดนีเซียในการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) จากรัสเซีย
แม้ว่าถ้าโครงการจัดหาเผชิญความท้าทายก็ตาม "เราไม่สามารถซื้อ(เครื่องบินขับไล่ Su-35) ตอนนี้เพราะมันมีอุปสรรคบ้างอย่าง" เขากล่าวโดยปราศจากการให้รายละเอียด(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/su-35.html)

Trenggono กล่าวว่าจากอุปสรรคเหล่านี้ขณะนี้อินโดนีเซียยังกำลังพิจารณาการร้องขอจัดหาสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35 ตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลกับสหรัฐฯ "เรากำลังสำรวจ(ความเป็นไปได้)ของการเปลี่ยนการจัดหาไปยัง F-35 จากสหรัฐฯ" เขากล่าว
Trenggono ได้ถูกถามจาก CNN Indonesia ต่อความเห็นเกี่ยวกับรายงานของ Bloomberg เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2020 ซึ่งอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียที่ไม่ระบุตัวตน "ที่คุ้นเคยในเรื่องนี้" ว่าล่าสุดอินโดนีเซียได้ตัดสินใจยกเลิกการเดินหน้าแผนการจัดหา Su-35 รัสเซีย

ข้อตกลงจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 11เครื่องวงเงิน $1.1 billion ของอินโดนีเซียได้รับความเห็นชอบเฉพาะกาลกับรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
แต่ได้กลายเป็นประเด็นของความล่าช้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-16v-su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html)

ปัจจัยความล่าช้าได้ถูกรายงานว่ารวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่มีขึ้นในเดือนเมษายน 2019, ปัญหาทางงบประมาณและการค้าต่างตอบแทน และข้อกังวลในอินโดนีเซียที่สหรัฐฯอาจจะนำมาตรการคว่ำมาใช้
ด้วยรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ซึ่งสหรัฐฯมองหาทางที่จะลงโทษกลุ่มลูกค้าทางทหารของรัสเซีย

กองทัพอากาศอินโดนีเซียต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจสมัยใหม่เพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II ของตนที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1980
โครงการจัดหาได้ถูกแสดงเน้นในรายการเค้าโครงลำดับความสำคัญปี 2020-2024 โดยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในปลายปี 2019 ครับ

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563

อินเดียเสร็จสิ้นการเจรจาราคาสำหรับรถถังหลัก Arjun Mk 1A จำนวน 118คัน

Indian MoD concludes price negotiations for 118 Arjun Mk 1A MBTs


This images show the Arjun Mk 2 MBT, which is currently under development.


The Mk 1A variant, for which price negotiations have recently concluded, is an interim step between this and the original Mk 1. It is understood that the Mk 1A incorporates some of the Mk 2 improvements, including mine ploughs and additional ERA. Source: DRDO
https://www.janes.com/article/94937/indian-mod-concludes-price-negotiations-for-118-arjun-mk-1a-mbts

กระทรวงกลาโหมอินเดียได้เสร็จสิ้นการเจรจากับโรงงานสรรพาวุธ(OFB: Ordnance Factory Board) หน่วยงานของกองการผลิตกลาโหมในความควบคุมของรัฐบาลอินเดีย
เพื่อจัดหารถถังหลัก Arjun Mk1A ที่พัฒนาในประเทศจำนวน 118คันสำหรับกองทัพบกอินเดีย(IA: Indian Army) วงเงินประมาณ 66 billion Indian Rupee($888.7 million)

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อินเดียกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2020 ว่า "คำสั่งเจตจำนง"(order of intent) จะมีใน "เร็วๆนี้" โดยกระทรวงกลาโหมอินเดียกับโรงงานยานยนต์หนัก(HVF: Heavy Vehicles Factory) ใน Avadi ทางใต้ของอินเดีย
สำหรับรุ่นปรับปรุงของรถถังหลัก Arjun ซึ่งมีคุณสมบัติปรับปรุงเพิ่ม 72รายการ รวมถึงการปรับปรุงหลัก 14รายการที่เหนือกว่ารถถังหลัก Arjun Mk 1 รุ่นก่อน

คำสั่งจัดหาที่ใกล้จะมีขึ้นยังมีชุดทางวิศวกรรมและการสนับสนุน 2ปีที่รวมถึงการซ่อมบำรุง, อะไหล่ และเครื่องจำลองการฝึกสำหรับพลประจำรถถัง การส่งมอบคาดว่าจะเริ่มต้นภายใน 30เดือนหลังที่สัญญาลงนามและเสร็จสิ้นการส่งมอบใน 4-5ปี เจ้าหน้าที่ OFB อินเดียกล่าวกับ Jane's
เมื่อเข้าประจำการรถถัง Arjun Mk 1A รุ่นปรับปรุงซึ่งได้รับการอนุมัติจัดซื้อโดยกองทัพบกอินเดียในปลายปี 2018 หลังการทดสอบยืนยันจะเสริมกำลังรถถัง Arjun Mk 1 จำนวน 124คันที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2004

วิศวกรของสถาบันวิจัยและพัฒนารถรบ(CVRDE: Combat Vehicles Research and Development Establishment) ขององค์การวิจัยและพัฒนากลาโหมอินเดีย(DRDO: Defence Research and Development Organisation) ซึ่งออกแบบรถถังหลัก Arjun กล่าวว่า
การเพิ่มขยายขีดความสามารถของรถถังหลัก Arjun Mk 1A รวมถึงกล้องสร้างภาพความร้อนขั้นก้าวหน้าสำหรับการรบในเวลากลางคืน, ระบบนำร่องรุ่นปรับปรุง, ระบบบังคับควบคุม Digital และผานไถทุ่นระเบิด

ตามข้อมูลจาก Dr P Shiv Kumar ผู้ที่เคยเป็นหัวหน้าสถาบัน CVRDE ถ.หลัก Arjun Mk 1A ซึ่งเหมือรุ่น Mk 1 ที่มีพลประจำรถ 4นาย(ผู้บังคับรถ, พลขับ, พลยิง, พลบรรจุ) ยังติดตั้งกล้อง panoramic สำหรับ ผบ.รถ, เครื่องกำเนิดพลังงานเสริมที่ทรงพลังมากขึ้น(กำลัง 8.5 kW)
และเพิ่มขยายขีดความสามารถการส่งข้อมูลแบบเวลาจริงของระบบสื่อสาร รถแคร่ฐานและป้อมปืนของรุ่น Mk 1A ยังได้รับการดัดแปลงให้มีความโดดเด่นภาพเงาดำต่ำเพื่อทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้น Dr P Shiv Kumar กล่าวครับ

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

ญี่ปุ่นทำพิธีประจำการเรือพิฆาตชั้น Maya ลำแรก DDG-179 Maya

Japan commissions first Maya-class guided-missile destroyer





The JMSDF commissioned JS Maya, the first of two Improved Atago-class destroyers, on 19 March in Yokohama, Kanagawa Prefecture. Source: Kosuke Takahashi
https://www.janes.com/article/94978/japan-commissions-first-maya-class-guided-missile-destroyer




กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Maya(เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Atago รุ่นปรับปรุง) ลำแรกจากทั้งหมด 2ลำ
คือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-179 JS Maya ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2020 ณ เมือง Yokohama จังหวัด Kanagawa ญี่ปุ่น

เรือพิฆาต DDG-179 Maya ความยาวเรือ 170m ได้ถูกนำเข้าประจำการใน หมวดเรือคุ้มกันที่1 กองเรือคุ้มกันที่1 กองเรือคุ้มกันภาคที่1 ณ ฐานทัพเรือ Yokosuka อย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ได้รับมอบเรือจากผู้สร้างเรือบริษัท Japan Marine United(JMU) Corporation โฆษกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's

เรือพิฆาต Maya ซึ่งขณะนี้เป็นเรือพิฆาตลำที่7 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis ถูกวางกระดูกงูเรือในเดือนเมษายน 2017 และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อกรกฎาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/ddg-179-maya.html)
เรือพิฆาตชั้น Maya ลำที่สองคือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-180 JS Haguro ถูกทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/maya-ddg-180-haguro.html) และคาดว่าจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2021

เรือพิฆาต Maya ที่มีราคาการสร้างที่ราว 172 billion Yen($1.61 billion) มีความยาวมากกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago สองลำคือ DDG-177 Atago และ DDG-178 Ashigara ที่เข้าประจำการแล้วอยู่ 5m
เรือติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ที่สนับสนุน phased array radar แบบ Lockheed Martin/Raytheon AN/SPY-1D(V) และ Radar ควบคุมการยิงความละเอียดสูงแบบ Northrop Grumman AN/SPQ-9B ย่านความถี่ X-band (NATO กำหนดย่านความถี่ I-band) ความถี่ 8-12.5GHz

เรือพิฆาต Maya ติดตั้งระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เรือพิฆาตทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธ ที่ทำให้เรือและอากาศยานทางทหาร เช่น
เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-2D Advanced Hawkeye(AEW&C: Airborne Early Warning & Control) ที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้ ด้วยขีดความสามารถนี้เรือจะสามารถต่อต้านภัยคุกคามเช่นขีปนาวุธของเกาหลีเหนือได้ดีขึ้น

เรือพิฆาตชั้น Maya ทั้งสองลำจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SM-3 Block IIA (Standard Missile 3) ที่ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยใกล้(SRBM: Short-Range Ballistic Missile) และขีปนาวุธพิสัยปานกลาง(IRBM: Intermediate-Range Ballistic Missile)
เรือพิฆาตชั้น Maya ยังคาดว่าจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ Standard Missile 6 (SM-6) ในอนาคตอันใกล้ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/sm-6-maya.html)

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

สหภาพแรงงานเตือนรัฐบาลเยอรมนีไม่ให้เลือกเครื่องบินขับไล่ FA-18E/F Super Hornet สหรัฐฯ

Union warns Germany against Super Hornet selection







One of Germany’s biggest aerospace employee unions has warned the country’s government that it risks jeopardising the entire European defence industry if it selects a US-built fighter to replace the Luftwaffe’s Panavia Tornado fleet.
https://www.flightglobal.com/defence/union-warns-germany-against-super-hornet-selection/137368.article


หนึ่งในสหภาพแรงงานลูกจ้างภาคอุตสาหกรรมอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีได้เตือนรัฐบาลเยอรมนีว่า มันเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดหายนะต่อภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงทั่วทั้งยุโรป
ถ้ารัฐบาลเยอรมนีเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่สหรัฐฯเพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่โจมตี Panavia Tornado ของกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe)

รัฐบาลเยอรมนีกำลังชั่งน้ำหนักทางเลือกสำหรับการทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตี Tornado โดยคาดว่าจะมีการตัดสินใจในต้นปี 2020 ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon
อย่างไรก็ตามการจัดหามีความซับซ้อนในการทดแทน Tornado ในหลายภารกิจ เช่น การโจมตีภาคพื้นดิน, สงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) และการป้องปรามทางนิวเคลียร์ยังได้รับการดำเนินการ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/typhoon-growler-tornado.html)

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Typhoon ควรจะเป็นเครื่องทดแทนโดยธรรมชาติสำหรับภารกิจโจมตี แต่ปัจจุบัน Eurofighter ยังไม่มีขีดความสามารถ EW(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/eurofighter-typhoon.html)
และระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯที่ควรจะติดกับเครื่องบินรบเยอรมันไม่ได้รับการบูรณาการกับเครื่องบินที่ใช้โดยนานาชาติ ความเป็นไปได้จึงเปิดประตูแก่เครื่องบินขับไล่ Super Hornet หรือเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler

แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ Super Hornet จะไม่สามารถติดอาวุธนิวเคลียร์ได้ แต่งานบูรณาการพิจารณาได้ว่าจะใช้เวลาน้อยกว่าเครื่องบินขับไล่ Eurofighter ตามรายงานถ้าสหรัฐฯอนุมัติให้ดำเนินการได้ทั้งหมด
แต่จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีกลาโหมและเศรษฐกิจเยอรมนี กับประธานรัฐสภาเยอรมนี(Heads of the Chancellery) สหภาพแรงงาน IG Metall ได้เตือนเพื่อต่อต้านการเลือกเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F สหรัฐฯแม้แต่เป็นส่วนหนึ่งของการแยกซื่อ

IG Metall กล่าวว่างาน 25,000 ตำแหน่งในเยอรมนี และ 100,000 ตำแหน่งในยุโรปโดยรวมขึ้นอยู่กับสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Eurofighter การตัดสินใจต่อต้านโครงการ "ที่จะเป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของแรงงานเรา"
การพัฒนาขีดความสามารถใหม่สำหรับเครื่องบินที่สร้างในยุโรปเช่น EW หรือระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้ายังเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างทักษะแรงงานที่เหมาะสมสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ Future Combat Air System(FCAS) ฝรั่งเศส-เยอรมนี สหภาพแรงงานกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/fcas.html)

"การซื้อเครื่องบินขับไล่ F/A-18 สหรัฐฯไม่เพียงแต่จะเป็นการเสียเงินหลายพันล้านจากภาษีชาวเยอรมันให้สหรัฐฯ แต่จะยังสร้างความเสี่ยงต่ออนาคตการบินทางทหารในเยอรมนี การแก้ปัญหาแบบแบ่งแยกไม่สามารถเป็นตัวเลือกที่ดีได้
การตัดสินใจที่ต่อต้านกลุ่มบริษัทเยอรมันและยุโรปไม่สามารถอธิบายต่อลูกจ้างเราและผู้เสียภาษีชาวเยอรมันได้" IG Metall เป็นตัวแทนแรงงานจากบริษัท Airbus Defence & Space, Hensoldt ผู้ผลิตระบบตรวจจับ, MTU ผู้ผลิตเครื่องยนต์ และ Premium Aerotec ผู้จัดส่งโครงสร้างอากาศยานครับ

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

Hyundai เกาหลีใต้ได้สัญญาสร้างเรือฟริเกตชั้น Ulsan FFX Batch III ลำแรก

Hyundai receives USD325 million contract for first Ulsan-class Batch III frigate





Computer-generated imagery of the Ulsan class Batch III Source: Hyundai Heavy Industries
https://www.janes.com/article/94892/hyundai-receives-usd325-million-contract-for-first-ulsan-class-batch-iii-frigate

บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) สาธารณรัฐเกาหลีได้รับสัญญาวงเงิน 400 billion Korean Won($325 million) เพื่อออกแบบและสร้างเรือฟริเกตชั้น Ulsan(FFX Batch III) สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy)
สัญญาดังกล่าวซึ่งได้รับการลงนามโดยสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี ได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2020

เรือในสัญญานี้เป็นเรือฟริเกตขนาดระวางขับน้ำ 3,500tonne ลำแรกจากทั้งหมด 6ลำที่มีการวางแผน สัญญาครอบคลุมงานการออกแบบรายละเอียดและการสร้าง บริษัท HHI ได้รับสัญญาเพื่อดำเนินงานออกแบบพื้นฐานสำหรับโครงการเรือฟริเกต FFX Batch III ในปี 2016
โดยโครงการเรือฟริเกตชั้น Daegu(FFX Batch II) รุ่นก่อนหน้ามีแผนการสร้างทั้งหมด 8ลำ ซึ่งบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) และอู่เรือ HHI จะทำการสร้างบริษัทละ 4ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/ffx-ii-ffg-818-daegu.html)

เรือฟริเกตชั้น Ulsan FFX Batch III มีความยาวเรือ 129m และกว้าง 15m มีคุณสมบัติใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า Hybrid Electric และ Gas Turbine และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 30knots
เรือฟริเกต FFX Batch III สามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าของตนระหว่างปฏิบัติการสงครามปราบเรือดำน้ำเพื่อทำให้เรือมีสัญญาณเสียงน้อยที่สุด ตามข้อมูลที่ HHI กล่าว เรือฟริเกต FFX Batch III จะอาศัยระบบขับเคลื่อน Gas Turbine เมื่อจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการด้วยความเร็วสูง

HHI เกาหลีใต้ยังย้ำว่าเรือฟริเกตชั้น Ulsan FFX Batch III จะได้รับการติดตั้ง multifunction phased array radar แบบจานสัญญาณติดตรึงสี่ด้าน "ที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับ, ติดตาม และโจมตีเป้าหมายได้รอบทิศทาง 360องศา"
ระบบ multifunction phased array radar และระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลี

เรือฟริเกตชั้น Ulsan FFX Batch III น่าจะได้รับการติดตั้งระบบแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) แบบ K-VLS ที่พัฒนาในประเทศ
คาดว่าเรือฟริเกตชั้น Ulsan FFX-III ลำแรกคาดว่าจะเข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีภายในปี 2024 ครับ

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

รัสเซียโต้แย้งการอ้างว่าอินโดนีเซียยกเลิกแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35

Russia rebuts claims that Indonesia has dropped Su-35 fighter procurement plans


Moscow said on 16 March that Indonesia’s planned procurement of Russian-made Su-35 fighter aircraft is “still active”. Source: Sukhoi
https://www.janes.com/article/94907/russia-rebuts-claims-that-indonesia-has-dropped-su-35-fighter-procurement-plans

แผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จากรัสเซียยังคง "ดำเนินการอยู่"
Dmitry Shugayev ผู้อำนวยการกองบริการด้านความร่วมมือทางทหารและเทคนิคสหพันธรัฐรัสเซีย(Federal Service for Military-Technical Cooperation, FSVTS) กล่าวเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2020

Shugayev ปฏิเสธรายงานของสื่อที่ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้การกดดันของสหรัฐฯได้ยกเลิกแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียจำนวน 11เครื่องวงเงินราว $1.1 billion
(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-16v-su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)

"ยังไม่มีการยกเลิกอย่างเป็นทางการของคำสั่งซื้อ(ของอินโดเซียสำหรับ Su-35) เรายังไม่ได้รับเอกสารใดๆเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวและไม่ได้การบอกเกี่ยวกับเรื่องนี้" Shugayev กล่าวกับสถานีข่าวโทรทัศน์ Russia 24
Shugayev กล่าวว่าอินโดนีเซียยังคงสนใจจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 โดยเสริมว่า "เราหวังว่าสัญญาจะได้รับการดำเนินการ" ไม่มีการให้รายละเอียดอื่นเพิ่มเติม

สำนักข่าว Bloomberg สหรัฐฯได้รายงานอ้างเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียที่ไม่ระบุชื่อ "ที่คุ้นเคยในเรื่องนี้" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2020 ว่าล่าสุดรัฐบาลอินโดนีเซียได้ตัดสินใจยกเลิกการเดินหน้าแผนการจัดหา Su-35 รัสเซีย 11เครื่อง
เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียที่ถูกอ้างถึงยังกล่าวอีกว่า ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 รัฐบาลสหรัฐฯยังได้กดดันอินโดนีเซียให้ออกจากการเจรจากับจีนเพื่อการจัดหาเรือตรวจการณ์จำนวนหลายลำวงเงินประมาณ $200 million

เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเสริมว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ "เป็นการแสดงภาพให้เห็นว่าสหรัฐฯได้ประสบความสำเร็จบางส่วนในการใช้กลไกทางการเงินและเศรษฐกิจเป็นบางครั้ง
เพื่อเป็นเครื่องมือในการกดดันประเทศต่างๆที่มีข้อตกลงกับรัสเซียและจีน ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ได้ระบุว่ารัสเซียและจีนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐฯ

Jane's ได้รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ว่าแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 ของอินโดนีเซียได้หยุดชะงักลงเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่มีขึ้นในเดือนเมษายน 2019, ปัญหาทางงบประมาณและการค้าต่างตอบแทน
และข้อกังวลของอินโดนีเซียเกี่ยวกับกฎหมายของสหรัฐฯที่รู้จักในชื่อ รัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯมองหาทางที่จะลงโทษกลุ่มลูกค้าด้านความมั่นคงของรัสเซียครับ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

เครื่องบินโจมตีลำเลียง AC-130W Stinger II สหรัฐฯทดสอบการต่อต้านเป้าหมายในทะเล

US trials Stinger II gunships in anti-surface warfare role



The US military has for the first time trialled the use of the AC-130W Stinger II in the maritime anti-surface warfare role. Source: US Air Force
https://www.janes.com/article/94890/us-trials-stinger-ii-gunships-in-anti-surface-warfare-role


กองทัพสหรัฐฯกำลังทดลองการใช้เครื่องบินลำเลียงและโจมตีแบบ Lockheed Martin AC-130W Stinger II ในภารกิจสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare) ในตะวันออกกลาง กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2020 ว่า
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชั้น Cyclone(PC) และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลพหุภารกิจ(MMA: Maritime Multimission Aircraft) แบบ Boeing P-8A Poseidon กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) สังกัดกองกำลังทางเรือกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ(NAVCENT: Naval Forces Central Command)
ได้ดำเนินการฝึกร่วม "ลักษณะนี้ครั้งแรก" กับเครื่องบินลำเลียงและโจมตี AC-130W กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) สังกัดกองปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการกลาง(SOCCENT: Special Operations Command Central) เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2020

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ การฝึกได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถของกองกำลังสหรัฐฯเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามเรือผิวน้ำ
และการนำเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8 ปฏิบัติการลาดตระเวนระยะไกลล่วงหน้าเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชั้น Cyclone ที่กำลังเลือกกลุ่มเป้าหมายผิวน้ำจำลองสำหรับเครื่องบินลำเลียงและโจมตี AC-130W เพื่อโจมตี
"การฝึกนี้เป็นการแสดงถึงครั้งแรกที่ทรัพยากรเหล่านี้ได้ถูกบูรณาการในการสนับสนุนโดยตรงของปฏิบัติการรักษาความปลอดภับทางทะเลในอ่าวอาหรับ" กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าว

AC-130W Stinger II(เดิมรู้จักในชื่อ Dragon Spear) เป็นรุ่นเครื่องบินโจมตี Gunship ของเครื่องบินลำเลียง C-130 Hercules และปฏิบัติการบินโดยกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFSOC: Air Force Special Operations Command)
AC-130W ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ GAU-23 Bushmaster ขนาด 30mm, ปืนใหญ่อากาศขนาด 105mm และอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงพิสัยยิงไกล เช่น
ระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 SDB(Small Diameter Bomb) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Raytheon AGM-176A Griffin(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gunship.html)

กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐฯมีเครื่องบินลำเลียงและโจมตี AC-130W จำนวน 12เครื่องทำการบินควบคู่กับ C-130 รุ่น Gunship อื่น เช่น เครื่องบินลำเลียงและโจมตี AC-130J Ghostrider(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/ac-130j-block-30-ghostrider.html)
การฝึกร่วมนี้เป็นการสนับสนุนกองเรือพิฆาตที่50(DESRON 50: Destroyer Squadron 50)/กองเรือเฉพาะกิจผสมที่55(CTF 55: Combined Task Force 55) ซึ่งดำเนินการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในการสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค
ในพื้นที่ความรับผิดชอบ(AoR: Area of Responsibility) ของกองเรือที่5(5th Fleet) ที่ครอบคลุมพื้นที่ราว 6.5ล้านตาางกิโลเมตรทั่วทั้งอ่าวเปอร์เซีย, ทะเลอาหรับ, อ่าวโอมาน, ทะเลแดง และส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดียครับ