วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตชั้น Maya ลำที่สองลงน้ำ DDG-180 Haguro

Japan launches second Maya-class destroyer


JMU launched Haguro, the second Maya-class destroyer on order for the JMSDF, in a ceremony held on 17 July at the company’s facility in Yokohama. Source: Japan Marine United Corporation
https://www.janes.com/article/89914/japan-launches-second-maya-class-destroyer


บริษัท Japan Marine United Corporation(JMU) อู่ต่อเรือญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Maya(เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Atago รุ่นปรับปรุง) ลำที่สอง
คือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-180 JS Haguro ตามคำสั่งจัดหาของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2019

เรือพิฆาต DDG-180 Haguro ความยาวตัวเรือ 170m ได้ถูกปล่อยลงน้ำในพิธีที่จัดขึ้น ณ อู่เรือของบริษัท JMU ในเมือง Yokohama และคาดว่าเรือจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2021
DDG-180 Haguro เป็นเรือพิฆาตลำที่8 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่จะติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis สหรัฐฯ มีความยาวมากกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago สองลำคือ DDG-177 Atago และ DDG-178 Ashigara ที่เข้าประจำการแล้วอยู่ 5m

เรือพิฆาต Haguro จะใช้ระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ phased array radar แบบ Lockheed Martin/Raytheon AN/SPY-1D(V)
และ Radar ควบคุมการยิงความละเอียดสูงแบบ Northrop Grumman AN/SPQ-9B ย่านความถี่ X-band (NATO กำหนดย่านความถี่ I-band) ความถี่ 8-12.5GHz

เรือพิฆาต DDG-180 Haguro ซึ่งมีราคาการสร้างที่ราว 173.4 billion Yen($1.6 billion) จะติดตั้งระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้เรือพิฆาตทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธ ที่ทำให้เรือที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นยังวางแผนที่จะให้เรือพิฆาตชั้น Maya ลำแรกของชั้นคือ DDG-179 Maya ซึ่งถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/ddg-179-maya.html) และคาดว่าจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2020
ด้วยขีดความสามารถจะต่อต้านภัยคุกคามต่างๆที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการถูกวางไว้สำหรับการรับมือภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/sm-6-maya.html)

เรือพิฆาตชั้น Maya มีระวางขับน้ำปกติที่ 8,200tonnes มากกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago อยู่ 450tonnes ติดตั้งเครื่องยนต์กังหัน gas turbines แบบ General Electric LM2500 ในรูปแบบ COGLAG(Combined Gas turbine-Electric and Gas turbine) ทำความเร็วได้สูงสุด 30knots
เรือพิฆาตชั้น Maya แต่ละลำมีกำลังพลประจำเรือประมาณ 300นาย และยังมีขีดความสามารถติดตั้งระบบ Sonar ลากท้าย MFTA(Multifunction Towed Array) และระบบสงคราม electronic(EW: Electronic Warfare) ตามข้อมูลจาก JMU ญี่ปุ่นครับ