วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียของอินโดนีเซียเผชิญอุปสรรคการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ

Indo Defence 2018: Indonesia’s Su-35 procurement faces CAATSA hurdle
Indonesia plans to procure the Sukhoi Su-35 fighter aircraft from Russia (pictured) but is concerned that it will face sanctions from the United States if it goes ahead with the programme. Source: Sukhoi
https://www.janes.com/article/84427/indo-defence-2018-indonesia-s-su-35-procurement-faces-caatsa-hurdle

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) จากรัสเซียของอินโดนีเซียกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกยกเลิกโครงการ
เนื่องจากความเป็นไปได้ของผลที่ตามมาจากการบัญญัติกฎหมายของสหรัฐฯที่พยายามจะดำเนินการลงโทษประเทศที่จัดหาระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย

พลอากาศจัตวา Novyan Samyoga หัวหน้าฝ่ายข้อมูลกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) กล่าวกับ Jane's
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Indo Defence 2018 ณ Jakarta อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 7-10 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมาว่า

ถ้าสหรัฐฯวางข้อจำกัดที่เอาแต่ใจเพื่อยกตนข่มอินโดนีเซียผ่านการออกกฎหมาย กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะถูกบังคับให้ต้องจัดหา "เครื่องบินขับไล่ตะวันตก" แทน
ถ้าสิ่งดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น Jane's เข้าใจว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Viper สหรัฐฯน่าจะเป็นตัวเลือกที่จะมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียโดยกองทัพอากาศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 11เครื่องจากรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
เป็นเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่สหรัฐฯได้ออกกฎหมายรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act)

ซึ่งรัฐบัญญัติ CAATSA มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษคว่ำบาตรประเทศลูกค้าที่จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางความมั่นคงจากรัสเซีย เพื่อตอบโต้การที่รัสเซียเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 และผนวก Crimea จากยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี 2014
พล.อ.จ.Samyoga กล่าวว่าแม้ว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหากับรัสเซียแล้วก็ตาม แต่อินโดนีเซียจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยกเลิกโครงการจัดหา Su-35 ถ้ารัฐบาลสหรัฐฯตัดสินใจที่จะนำมาตรการคว่ำบาตรมาบังคับใช้กับอินโดนีเซีย

รัฐบาลสหรัฐฯเคยดำเนินการคว่ำบาตรอินโดนีเซียเป็นเวลานานในช่วงปี 1990s จนถึงปี 2005 ที่เป็นผลจากที่รับทราบกันว่ากองทัพอินโดนีเซียในขณะนั้นได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออก(East Timor)
การคว่ำบาตรในช่วงนั้นส่งผลกระทบสำคัญต่อกองทัพอากาศอินโดนีเซียให้ไม่สามาารถจัดหาจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับอากาศยานที่ผลิตโดยสหรัฐฯของตนได้ เช่น เครื่องบินขับไล่ F-16 และเครื่องบินลำเลียง C-130 Hercules เป็นต้น

"เราจำเป็นที่ต้องมีเครื่องบินขับไล่ตะวันออกและเครื่องบินขับไล่ตะวันตกปฏิบัติการผสมกัน การเมืองเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเราจำเป็นต้องรักษาสมดุล เพราะถ้าเรามีปัญหากับตะวันตกเรายังสามารถใช้อากาศยานที่สร้างในตะวันออกได้
เราเคยมีประสบการณ์การถูกมาตรการคว่ำบาตรมาก่อน ดังนั้นเรารู้ดีว่าเราจำเป็นต้องรักษาสมดุลนั้น" พลอากาศจัตวา Samyoga กล่าวครับ