วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

รัสเซียโต้แย้งการอ้างว่าอินโดนีเซียยกเลิกแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35

Russia rebuts claims that Indonesia has dropped Su-35 fighter procurement plans


Moscow said on 16 March that Indonesia’s planned procurement of Russian-made Su-35 fighter aircraft is “still active”. Source: Sukhoi
https://www.janes.com/article/94907/russia-rebuts-claims-that-indonesia-has-dropped-su-35-fighter-procurement-plans

แผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จากรัสเซียยังคง "ดำเนินการอยู่"
Dmitry Shugayev ผู้อำนวยการกองบริการด้านความร่วมมือทางทหารและเทคนิคสหพันธรัฐรัสเซีย(Federal Service for Military-Technical Cooperation, FSVTS) กล่าวเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2020

Shugayev ปฏิเสธรายงานของสื่อที่ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้การกดดันของสหรัฐฯได้ยกเลิกแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียจำนวน 11เครื่องวงเงินราว $1.1 billion
(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-16v-su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)

"ยังไม่มีการยกเลิกอย่างเป็นทางการของคำสั่งซื้อ(ของอินโดเซียสำหรับ Su-35) เรายังไม่ได้รับเอกสารใดๆเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวและไม่ได้การบอกเกี่ยวกับเรื่องนี้" Shugayev กล่าวกับสถานีข่าวโทรทัศน์ Russia 24
Shugayev กล่าวว่าอินโดนีเซียยังคงสนใจจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 โดยเสริมว่า "เราหวังว่าสัญญาจะได้รับการดำเนินการ" ไม่มีการให้รายละเอียดอื่นเพิ่มเติม

สำนักข่าว Bloomberg สหรัฐฯได้รายงานอ้างเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียที่ไม่ระบุชื่อ "ที่คุ้นเคยในเรื่องนี้" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2020 ว่าล่าสุดรัฐบาลอินโดนีเซียได้ตัดสินใจยกเลิกการเดินหน้าแผนการจัดหา Su-35 รัสเซีย 11เครื่อง
เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียที่ถูกอ้างถึงยังกล่าวอีกว่า ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 รัฐบาลสหรัฐฯยังได้กดดันอินโดนีเซียให้ออกจากการเจรจากับจีนเพื่อการจัดหาเรือตรวจการณ์จำนวนหลายลำวงเงินประมาณ $200 million

เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเสริมว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้ "เป็นการแสดงภาพให้เห็นว่าสหรัฐฯได้ประสบความสำเร็จบางส่วนในการใช้กลไกทางการเงินและเศรษฐกิจเป็นบางครั้ง
เพื่อเป็นเครื่องมือในการกดดันประเทศต่างๆที่มีข้อตกลงกับรัสเซียและจีน ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ได้ระบุว่ารัสเซียและจีนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐฯ

Jane's ได้รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ว่าแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 ของอินโดนีเซียได้หยุดชะงักลงเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่มีขึ้นในเดือนเมษายน 2019, ปัญหาทางงบประมาณและการค้าต่างตอบแทน
และข้อกังวลของอินโดนีเซียเกี่ยวกับกฎหมายของสหรัฐฯที่รู้จักในชื่อ รัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯมองหาทางที่จะลงโทษกลุ่มลูกค้าด้านความมั่นคงของรัสเซียครับ