วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี SM-6 กับเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Maya ใหม่

Japan’s Improved Atago-class to field SM-6 air-defence missiles
Japan will equip 'Maya' , the first of two Improved Atago-class destroyers on order for the JMSDF, with SM-6 air-defence missiles. (Kosuke Takahashi)
https://www.janes.com/article/82721/japan-s-improved-atago-class-to-field-sm-6-air-defence-missiles

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะให้เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Maya ใหม่ 2ลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ซึ่งเป็นเรือรุ่นปรับปรุงจากเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Atago
ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ Standard Missile 6 (SM-6) ตามที่โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2018

การเปิดเผยนี้มีขึ้นสี่วันให้หลังจากที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ร้องของบประมาณวงเงิน 11.1 billion Yen($99.9 million) ในงบประมาณกลาโหมประจำปี 2019 ต่อรัฐบาลญี่ปุ่น
สำหรับการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีสกัดกั้นป้องกันภัยทางอากาศ SM-6 ที่ไม่ระบุจำนวน และงบประมาณวงเงิน 2.1 billion Yen เพื่อการจัดหาเพิ่มเติมสำหรับการทดสอบ

การตัดสินใจนี้มีขึ้นหลักจากพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-179 Maya เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2018 ซึ่งเป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Maya ลำแรกจาก 2ลำ(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/ddg-179-maya.html)
เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ DDG-179 Maya ความยาวเรือ 170m ถูกปล่อยลงน้ำ ณ อู่เรือบริษัท Japan Marine United(JMU) ญี่ปุ่นใน Yokohama และคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในเดือนมีนาคม 2020 ขณะที่เรือลำที่สองของชั้นที่เป็นเรือน้องสาวคาดว่าจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2021

เรือพิฆาตชั้น Maya จะได้รับการติดตั้งคุณสมบัติระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้พวกเธอทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธที่ทำให้เรือที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้

เรือพิฆาตชั้น Maya ซึ่งมีความยาวตัวเรือยาวกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago ที่ 5m จะยังได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SM-3 Block IIA (Standard Missile 3)
ที่ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยใกล้(SRBM: Short-Range Ballistic Missile) และขีปนาวุธพิสัยปานกลาง(IRBM: Intermediate-Range Ballistic Missile)

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังเดินหน้านการสร้างขีดความสามารถการป้องกันภันทางอากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีบูรณาการ(IAMD: Integrated Air and Missile Defence) ของญี่ปุ่น
โดยการใช้การผสมผสานเรือพิฆาตติดระบบอำนวยการรบ Aegis, เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ, Radar และยุทโธปกรณ์อิ่นๆร่วมกัน เรือพิฆาตชั้น Maya คาดว่าจะใช้ระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ซึ่งรองรับการใช้งาน Radar แบบ Lockheed Martin AN/SPY-1D

ทั้งนี้ที่ฐานทัพเรือ Yokosuka ในจังหวัด Kanagawa ญี่ปุ่น กองเรือที่7 กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้มีการวางกำลังเรือที่ติดตั้งระบบ Aegis(เรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke และเรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga) ที่มีขีดความสามารถ CEC ซึ่งยิง SM-6 ได้แล้ว
การประจำการเรือพิฆาต DDG-179 Maya ในปี 2020 คาดว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลกับเรือรบสหรัฐฯ และเพิ่มขยายความร่วมมือระหว่างกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Force) กับกองทัพสหรัฐฯ

การเปิดเผยล่าสุดนี้มีขึ้นหกวันหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างอิงในสมุดปกขาวการป้องกันทางกลาโหมของญี่ปุ่น 2018(Defense of Japan 2018 White Paper)
ถึงโครงการพัฒนาขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีว่า เกาหลีเหนือเป็น "ภัยคุกคามที่ร้ายแรงและใกล้ตัวอย่างกระชั้นชิดต่อความมั่นคงของญี่ปุ่น" ครับ