วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อินโดนีเซียวางแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V สหรัฐฯ แต่ยังจัดหา Su-35 รัสเซียอยู่

Indonesia plans to buy two squadrons of F-16s, but also Su-35s
Rendering of F-16V Block 72 aircraft for the Indonesian Air Force

The Indonesian air force plans to buy two squadrons of Lockheed Martin F-16 Block 72 Viper fighters, while also following through on its plan to purchase a squadron of Russian’s Sukhoi Su-35s.
https://www.flightglobal.com/news/articles/indonesia-plans-to-buy-two-squadrons-of-f-16s-but-461957/

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) วางแผนจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 72 Viper สหรัฐฯจำนวนสองฝูงบิน
ขณะที่ยังคงทำตามแผนของตนที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)

รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนที่จะร้องขออย่างเป็นทางการสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16V ต่อสหรัฐฯในวันที่ 1 มกราคม 2020 พลอากาศเอก Yuyu Sutisna ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอินโดนีเซียกล่าวต่อสำนักข่าวอินโดนีเซีย Antara เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2019
"หากพระเจ้าทรงประสงค์(อินชาอัลลอฮฺ) เราจะซื้อสองฝูงบินในแผนยุทธศาสตร์หน้าปี 2020-2024 เราจะซื้อ F-16V Block 72 Viper รุ่นใหม่ล่าสุด" พลอากาศเอก Sutisna กล่าว

"ข้อเท็จจริงนั้นคือมีหลายประเทศใช้งานพวกมัน(F-16) และจำนวนเครื่องที่ใหญ่มากหมายความว่าพวกมันมีความน่าเชื่อถือสูง" พลอากาศเอก Sutisna เสริม
กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 OCU และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 25 ประจำการอยู่แล้วรวม 33เครื่อง เขากล่าว

F-16V Block 72 เป็นเครื่องบินขับไล่ตระกูล F-16 รุ่นล่าสุดที่มาพร้อมกับถังเชื้อเพลิงเสริมแนบลำตัว CFT(Conformal Fuel Tank) และการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องซึ่งอายุการใช้งานได้ถึง 12,000ชั่วโมงบิน มากกว่าเครื่องในสายการผลิตก่อนหน้าร้อยละ50 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯกล่าว
เครื่องมาพร้อมกับระบบอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงเช่น AESA(Active Electronically Scanned Array) radar, สถาปัตยกรรม Avionic ใหม่, ระบบ Datalink ขั้นก้าวหน้า, กระเปาะชี้เป้าหมาย และระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้น GCAS(Ground-Collision Avoidance System) อัตโนมัติ

Lockheed Martin สหรัฐฯเชื่อว่าคำสั่งซื้อที่ค้างอยู่สำหรับ F-16 จำนวน 30เครื่องควรจะมากขึ้นกว่าสามเท่าตามความต้องการจากประเทศในตะวันออกกลางและเอเชีย บริษัทกล่าวในการแถลงผลประกอบการเมื่อ 22 ตุลาคม 2019
แม้จะมีแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 72 สหรัฐฯ อินโดนีเซียจะยังจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35SK รัสเซียในอีก 5ปีข้างหน้าด้วย พลอากาศเอก Sutisna กล่าว

ในเดือนสิงหาคม 2017 อินโดนีเซียกล่าวว่าตนจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 11เครื่องวงเงิน $1.14 billion ด้วยเงินสดและข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนที่น่าจะรวมการแลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตรหลายอย่างของอินโดนีเซีย เช่น น้ำมันปาล์มและกาแฟ
อย่างไรก็ตามความสนใจในการจัดซื้อ Su-35 รัสเซียของอินโดนีเซียดูไม่แน่นอนหลักจากที่สหรัฐฯออกกฎหมายรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ต่อรัสเซียในปี 2017

Victor Kladov ผู้อำนวยการความร่วมมือนานาชาติและนโยบายภูมิภาคของ Rostec กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสากรรมความมั่นคงรัสเซียซึ่งมี United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียบริษัทแม่ของ Sukhoi
เขาได้ให้ความเห็นต่อสื่อในงานแสดงการบินและอวกาศนานาชาติ MAKS 2019 ที่ Moscow รัสเซียระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม-1 กันยายน 2019 ที่ผ่านมาว่า

"เรารู้สึกว่าบางประเทศมีความระมัดระวังมากขึ้น อย่างเช่นเมื่อวานผมพูดคุยกับผู้บัญชาการกองทัพอากาศอินโดนีเซียและเขาพูดถึงกฎหมาย CAATSA สหรัฐฯ จากที่เขาพูดผมเข้าใจว่าพวกเขาถูกคุกคาม พวกเขาต้องไม่พึ่งพายุทโธปกรณ์รัสเซีย พวกเขาพึ่งพายุทโธปกรณ์ส่วมมากจากสหรัฐฯ
หากมาตรการลงโทษบอกให้ผู้ผลิตสหรัฐฯหยุดการจัดส่งอะไหล่, หยุดการสนับสนุนยุทโธปกรณ์สหรัฐฯ จากนั้นนั่นจะเป็นการสร้างช่องโหว่ในการรักษาความมั่นคงทางกลาโหมแห่งชาติของอินโดนีเซีย ดังนั้นเรากำลังระมัดระวัง" Kladov กล่าว

นอกจากเครื่องบินขับไล่ F-16A/B/C/D จำนวน 33เครื่อง กองทัพอากาศอินโดนีเซียยังประจำการเครื่องบินขับไล่ Su-27SK จำนวน 5เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Su-30MK/Su-30MK2 จำนวน 11เครื่อง
การปฏิบัติการด้วยฝูงเครื่องขับไล่จากรัสเซียและสหรัฐฯผสมกันช่วยอินโดนีเซียในการเล่นบืบาททางการทูตต่อทั้งสองประเทศแยกจากกัน ขณะที่ป้องกันความเสี่ยงที่จะให้อินโดนีเซียไม่ต้องพึ่งพาการจัดหาจากเพียงรายเดียว

อย่างไรก็ตามการมีฝูงเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียและสหรัฐฯผสมกันมีความยุ่งยากมากกว่าในการบำรุงรักษา เนื่องจากเครื่องจากทั้งสองประเทศไม่สามารถแบ่งปันอะไหล่ระหว่างกันได้และใช้ช่างอากาศร่วมกันได้น้อยมาก
เครื่องบินขับไล่รัสเซียและเครื่องบินขับไล่สหรัฐฯยังไม่สามารถที่จะใช้ระบบวิทยุสื่อสารร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้ ทำให้การบินปฏิบัติการร่วมกันมีความยุ่งยากมากขึ้นครับ