วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัด T-6C สหรัฐฯ ๑๒เครื่อง

Royal Thai Air Force orders 12 Beechcraft T-6C Texan II aircraft for USD162 million


Textron Aviation Defense announced on 28 September that it has a received a USD162 million contract for the production and supply of 12 Beechcraft T-6C Texan II aircraft to the RTAF. (Textron Aviation Defense)







บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ว่าตนได้รับการประกาศสัญญาวงเงิน $162 million สำหรับการผลิตและจัดส่งของ 
เครื่องบินฝึกใบพัด/โจมตีเบาใบพัด Beechcraft T-6C Texan II จำนวน ๑๒เครื่องสำหรับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)

Textron สหรัฐฯกล่าวว่ากองทัพอากาศไทยได้ตัดสินใจที่จะจัดหาเครื่องบินฝึก T-6C Texan II ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบการฝึกบูรณาการสำหรับโรงเรียนการบินกำแพงแสน(Flying Training School Kamphaeng Saen Air Base) ของตน
โดยเสริมอีกว่าสัญญายังรวมถึงระบบการฝึกภาคพื้นดินสำหรับนักบินและช่างอากาศยาน, ระบบวางแผนและสรุปผลภารกิจ, ชิ้นส่วนอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน

งานจะได้รับการดำเนินการ ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Beechcraft ในเครือ Textron ใน Wichita มลรัฐ Kansas สหรัฐฯ โดยการฝึกสำหรับนักบินและช่างอากาศยานของกองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะเริ่มต้นที่นี้ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
เครื่องบินฝึกใบพัด T-6C จำนวน ๑๒เครื่องซึ่งจะประจำการในกองทัพอากาศไทยภายใต้การกำหนดแบบว่าเครื่องบินฝึกแบบ T-6TH คาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

Textron สหรัฐฯกล่าวว่าตนมีแผนที่จะการบินส่งมอบเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH จำนวน ๒เครื่องจากสหรัฐฯมายังประเทศไทย โดยที่เหลืออีก ๑๐เครื่องมีกำหนดจะถูกประกอบสร้างและเคลื่อนย้ายไปยังโรงเรียนการบินกำแพงแสน
Textron กล่าวว่าเครื่องบินฝึก T-6C ได้รับการจัดหาภายใต้แผนนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ระยะ ๑๐ปีของกองทัพอากาศไทยที่เผยแพร่ในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย ได้ประกาศราคากลางของโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ จำนวน ๑๒เครื่อง วงเงิน ๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($165,996,000)
ปัจจุบันโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 จำนวน ๑๘เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งบางเครื่องได้ถูกปลดประจำการแล้ว และมีแผนจะปลดประจำการลงทั้งหมดภายในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ตรงกับช่วงการรับมอบเครื่องบินฝึก T-6TH

ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020 ยังรวมถึงโครงจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาจำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็ก วงเงินราว ๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,910,000)
กองทัพอากาศไทยจัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART รวม ๔๐เครื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ จำนวน ๒๔เครื่อง แต่เป็นเข้าใจว่าจะมีเครื่องที่สามารถปฏิบัติการบินไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๖๘(2023-2025) ได้เพียง ๕เครื่อง

กองทัพอากาศไทยได้กำหนดความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใหม่ ๑๒เครื่องว่าต้องมีแบบแผนพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกใหม่ ๑๒เครื่อง จึงทำให้เข้าใจได้ว่าจะมีการสั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6E Wolverine ที่มีพื้นฐานร่วมกับ T-6C ตามมา
ซึ่งเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6 Wolverine ในประจำการกองทัพอากาศไทยจะได้รับการกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตีแบบ A-6TH ตามแผน P&D ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความทันสมัยขีดความสามารถหลักของกำลังทางอากาศ และส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย

"กองทัพอากาศไทยเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่ก้าวหน้าที่สุดในเอเชียแปซิฟิกและเป็นพันธมิตรความมั่นคงหลักของสหรัฐฯ การจัดหาระบบการฝึกบูรณาการ Beechcraft T-6C Texan II ของพวกเขามอบอำนาจให้แก่ศิษย์การบินของพวกเขา
ด้วยความได้เปรียบทางวิทยาการ ตลอดจนการฝึกบินและการเตรียมการพวกเขาเพื่อการเปลี่ยนแบบอากาศยานไปสู่เครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าและเครื่องบินโจมตีที่ประความสำเร็จ" Thomas Webster ผู้อำนวยฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Textron Aviation Defense กล่าว

"โครงการนี้เป็นก้าวกระโดดไปสู่มุมมองใหม่ของรัฐบาลไทยที่จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ที่ไม่เป็นแค่เพียงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกใหม่ โครงการนี้มองหาการมีส่วนร่วมระหว่างหุ้นส่วนที่หลากหลายระหว่างบริษัทต่างๆของต่างประเทศและไทยเป็นหลัก
ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนโดยแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ 'S-Curve 11' ปัจจุบันของรัฐบาลไทย" พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กองทัพอากาศไทย ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ กล่าว

"เราภูมิใจที่จะมอบแก่กองทัพอากาศไทยด้วยขีดความสามารถการฝึกที่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในตลาดอุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก ขณะนี้กองทัพอากาศไทยจะมีเครื่องบินฝึกทางทหารยุคหน้าที่ราคาเหมาะสม ความเสี่ยงต่ำ ออกแบบเพื่อการฝึกทุกระดับ ให้จังหวะที่มั่นคงแก่ศิษย์การบิน
ในการเปลี่ยนผ่านจากนักบินฝึกหัดเป็นนักบินรบ ผมทราบว่า T-6 ในตำนานจะสนับสนุนกองทัพอากาศไทยด้วยความน่าเชื่อ, ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ และการบูรณาการเต็มรูปแบบของเครื่องจำลองการบิน, ระบบวิชาการบน Computer และการส่งกำลังบำรุงที่ยั่งยืนในระยะยาว" Brett Pierson รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการขาย Textron Aviation Defense ย้ำ

ปัจจุบันเครื่องบินฝึก T-6 Texan II มีบันทึกชั่วโมงบินมากกว่า 4.1ล้านชั่วโมงบินตลอดทั้งฝูงบินทั่วโลกเกือบ 1,000เครื่อง แต่ละปีนักบินมากกว่า 300นายจาก 42ประเทศได้สำเร็จการฝึกจาก T-6 ผ่านโครงการฝึกบิน NATO ในแคนาดา, 
โครงการฝึกนักบินไอพ่นร่วม NATO ยุโรป(ENJJPT: Euro NATO Joint Jet Pilot Training Program) ณ ฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐ Texas และโครงการผู้นำการบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force)

นักบินที่สำเร็จการฝึกจากโครงการ T-6 เพิ่มเติมอีก 2,000นายทั่วทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯ, กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: U.S. Navy), นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps), กองทัพบกสหรัฐฯ(U.S. Army) และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: U.S.Coast Guard)
ขณะที่นักบินมากกว่า 2,700นายสำเร็จการฝึกจาก T-6 ตลอดทั้งกองทัพอากาศกรีซ, กองทัพอากาศอาร์เจนตินา, กองทัพอากาศอิสราเอล, กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, กองทัพอากาศอิรัก, กองทัพอากาศแคนาดา, กองทัพเรือเม็กซิโก, กองทัพอากาศเม็กซิโก, กองทัพอากาศโมร็อกโก และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์

T-6 Texan II ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านขีดความสามารถที่หลากหลาย ในการเตรียมนักบินทหารสำหรับภารกิจในโลกความเป็นจริง นักบิน 10นายจาก 1,000นายทั่วโลกได้เริ่มต้นการฝึกบินของพวกเขาจาก T-6 Texan II 
Textron Aviation Defense ได้ออกแบบขีดความสามารถแต่ละการฝึกตั้งแต่การคัดนักบินขั้นต้นจนถึงการฝึกปฏิบัติการขั้นก้าวหน้า เพื่อสนับสนุนความต้องการทางทหาร, มอบความเชี่ยวชาญและความมั่นใจแก่นักบินเพื่อสำเร็จการศึกษาและบรรลุความสำเร็จในการฝึกขั้นต่อไปของพวกเขาครับ

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

สวิตเซอร์แลนด์ผ่านการลงประชามติอย่างหวุดหวิดสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ Air2030

Swiss narrowly vote for new fighter in national referendum



With this narrow approval for the Air2030 fighter procurement, the Swiss Air Force can proceed with efforts to replace its Tiger II and Hornet (pictured) fleets. (Janes/Patrick Allen)



สวิตเซอร์แลนด์ได้ผ่านการออกเสียงลงคะแนนอย่างหวุดหวิดเพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในการลงประชามติระดับชาติที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/2020.html)
ด้วยจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิที่เกี่ยวข้องสูงเกือบจะร้อยละ60 ผู้มีสิทธิลงประชามติที่ออกเสียงให้ผ่านสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ Air2030 วงเงินหลายพันล้าน Swiss Franc อยู่ที่เพียงร้อยละ50.1

ผลการลงประชามติล่าสุดได้พลิกผันผลการลงประชามติครั้งก่อนที่มีขึ้นในปี 2014 ซึ่งเป็นการตั้งงบประมาณสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E สวีเดนที่มีคะแนนเสียงคัดค้านราวร้อยละ53(https://aagth1.blogspot.com/2014/05/gripen.html
อย่างไรก็ตามขณะที่ผลการลงคะแนนก่อนหน้าได้กล่าวเป็นผลสำรวจโดยพฤตินัยต่อตัวเครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดนเอง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/saab-gripen-e.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/saab-gripen-e.html)

การลงประชามติล่าสุดนี้เป็นการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไปเพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D Hornet ที่มีอายุการใช้งานมานานของกองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์(Swiss Air Force)
โดยแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่จะได้รับการตัดสินใจโดยรัฐบาลสมาพันธรัฐสวิสในภายหลัง ด้วยผลลัพธ์ที่น่าพอใจนี้ขณะนี้กองทัพอากาศสวิสได้ผ่านที่จะดำเนินการกับข้อเสนอผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ต่างๆที่มีขึ้นโดย

บริษัท Airbus สาขาเยอรมนีสำหรับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon, บริษัท Dassault ฝรั่งเศสสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale, บริษัท Boeing สหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet 
และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) บริษัทต่างๆที่เข้าแข่งขันได้รับสัญญาผ่านตัวแทนรัฐบาลได้ถูกร้องขอเพื่อส่งข้อเสนอที่มีความได้เปรียบสูงสุดสำหรับสวิตเซอร์แลนด์

ข้อเสนอควรจะรวมราคาสำหรับเครื่องบินขับไล่จำนวน 36เครื่อง และ 40เครื่อง(รวมถึงการส่งกำลังบำรุงและระบบอาวุธ) เช่นเดียวกับการกำหนดด้านอุตสาหกรรมอื่นๆของการแข่งขันรวมถึงข้อตกลงชดเชย ข้อตกลงรวมทั้งหมดมีมูลค่าที่วงเงิน 6 billion Swiss Franc($6.49 billion)
ภายใต้กรอบระยะเวลาที่เผยแพร่ก่อนหน้า การเลือกเครื่องบินขับไล่แบบใหม่จะมีขึ้นในปี 2020 แม้ว่าผลกระทบจาก Covid-19 ตอนนี้จะเลื่อนเป็นปี 2021 การอนุมัติของและการประกาศงบประมาณโดยรัฐสภาสวิสมีกำหนดในปี 2022 โดยการส่งมอบเครื่องบินจะมีตามมาตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไปครับ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

เครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯวางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth อังกฤษ

USMC F-35s embark aboard HMS Queen Elizabeth



One of 10 US Marine Corps F-35Bs from VMFA-211 that embarked aboard HMS Queen Elizabeth on 22 September. (Crown Copyright)

Lockheed Martin to perform ‘unique sea trials' of F-35 for non-US customers


A US F-35B about to be joined by a UK aircraft on the deck of HMS Queen Elizabeth. (Crown Copyright)


Besides these two nations and Italy, other potential operators have expressed interest in the ‘pocket carrier’ capability that the STOVL jet could afford them. (Fincantieri)


To this end, Lockheed Martin is to perform a series of ‘unique sea trials’ of the F-35 for non-DoD participants of the wider programme. (Crown Copyright)





เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)ได้วางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบิน R08 HMS Queen Elizabeth กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) เป็นครั้งแรกก่อนการฝึกผสมนานาชาติที่จะจัดขึ้นในทะเลเหนือ
เครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 10เครื่องจากฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธินที่211(Marine Fighter Attack Squadron 211,VMFA-211) กองบินอากาศยานนาวิกโยธินที่3(3rd Marine Aircraft Wing, 3rd MAW) ได้มาถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2020

ร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 4เครื่องจากฝูงบินที่617(617 Squadron) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ทั้งฝูงบิน VMFA-211 'The Wake Island Avengers' นาวิกโยธินสหรัฐฯ และฝูงบิน 617 'Dambusters' สหราชอาณาจักร
ทั้งสองฝูงบินตามลำดับจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกผสมนานาชาติรหัส 'Joint Warrior' ประจำปี 2020 เช่นเดียวกับโอกาสในการฝึกอื่นๆในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าที่จะมาถึง(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/f-35-huawei-5g.html)

"ด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B รวม 14เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ Merlin(AgustaWestland AW101) รวม 8เครื่อง มันเป็นแสดงความตั้งใจที่ใหญ่ที่สุดของเครื่องบินขับไล่
ที่จะปฏิบัติการในทะเลจากเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Hermes ในปี 1983 และกลุ่มกำลังทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ในทะเลทุกหนแห่งในโลก" กองทัพเรือสหราชอาณาจักรกล่าว

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ทำการบินมาลงจอดและทำการบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth ก่อนหน้านี้ระหว่างการทดลองการบูรณาการ นี่เป็นครั้งแรกที่หน่วยบินปฏิบัติการวางกำลังบนเรือเพื่อการฝึก

ช่วงการวางกำลังนี้ ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน VMFA-211 สหรัฐฯได้เดินทางมาถึงที่ตั้งของหน่วยบิน Lightning Force สหราชอาณาจักรที่ฐานทัพอากาศ RAF Marham 
จากที่ตั้งของตนสถานีอากาศนาวิกโยธิน(MCAS: Marine Corps Air Station) Yuma มลรัฐ Arizona เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-35b-marham.html)

นักบินฝูงบิน VMFA-211 นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ทำการฝึกสังเคราะห์ในเครื่องฝึกจำลองการบินที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ฐานทัพอากาศ RAF Marham เพื่อสร้างความคุ้นเคยตนเองกับห้วงอากาศและขั้นตอนการปฏิบัติของอังกฤษ
ก่อนไปยังท้องฟ้าเหนือ Norfolk เพื่อทำการบินเที่ยวบินฝึกควบคู่ไปกับฝูงบิน617 สหราชอาณาจักร ในการเตรียมการสำหรับการวางกำลังของตนบนเรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ทำสัญญากับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯเพื่อดำเนินการทดสอบเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตนบนเรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับผู้ใช้งานนานาชาติที่มีความเป็นไปได้
ประกาศสัญญาเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2020 เป็นส่วนหนึ่งของหลายสัญญาสนับสนุนการพัฒนาวงเงิน $245.5 million สำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและผู้ใช้งานนานาชาติของ F-35 ที่จะดำเนินการไปจนถึงเดือนมีนาคม 2022

"(นอกเหนือหลายงานสนับนุนการพัฒนา)การแก้ไขสัญญานี้มอบการทดลองในทะเลที่เป็นเอกลักษณ์บนเรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ" เอกสารแจ้งการประกาศสัญญากล่าว
แม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวการทดลองบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้รับการเปิดเผย แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing)

ปัจจุบันนาวิกโยธินสหรัฐฯ, กองทัพเรือสหราชอาณาจักรและกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, MMI: Marina Militare Italiana)(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/f-35b.html)
ได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B เพื่อใช้งานบนเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม(Amphibious Assault Ship) และเรือบรรทุกเครื่องบินของตนตามลำดับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/lhd-thaon-di-revel.html)

ขณะที่ลูกค้าเครื่องบินขับไล่ F-35A ปัจจุบันคือ ออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35a.html), ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a-f-35b-105.html), 
สิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/f-35-4-8.html), สเปน และสาธารรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/f-35b-f-35a.html) ทั้งหมดแสดงความสนใจในขีดความสามารถเรือบรรทุกเครื่องบินไอพ่น STOVL มาตลอดหลายปีล่าสุด

เช่นเดียวกับตุรกีที่เคยสนใจจะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B มาปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L408 TCG Anadolu LHD(Landing Helicopter Dock) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/harrier-f-35b-lhd-tcg-anadolu.html
ก่อนถูกตัดออกจากโครงการ JSF ในหลายๆส่วน(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-35-2020.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/07/f-35.html)

ออสเตรเลียเคยมีรายงานว่าตนสนใจเครื่องบินขับไล่ F-35B สำหรับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra LHD ระวางขับน้ำ 27,800tonne ทั้งสองลำของกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) ที่ย้อนกลับไปได้ถึงปี 2014
โดย L02 HMAS Canberra และ L01 HMAS Adelaide กองทัพเรือออสเตรเลียมีพื้นฐานเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน(Spanish Navy) เช่นเดียวกับเรือ TCG Anadolu กองทัพเรือตุรกี(Turkish Naval Forces, Türk Deniz Kuvvetleri) ครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

สหภาพยุโรปเห็นชอบการย้ายสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์ H155 ไปยังเกาหลีใต้

Update: Korean, European agencies agree on relocation of H155 production

Airbus Helicopters and Korea Aerospace Industries are planning to collaborate on the production in South Korea of the H155 helicopter, which forms the base design of South Korea’s Light Attack Helicopter and Light Civil Helicopter (pictured). (Airbus Helicopters)





กระทรวงที่ดิน, โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมสาธารณรัฐเกาหลี(MOLIT: Ministry of Land, Infrastructure and Transport) ได้ลงนามข้อตกลงกับองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป(EASA: European Union Aviation Safety Agency)
เพื่อสนับสนุนการผลิตของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา Airbus Helicopters H155(เฮลิคอปเตอร์ EC155 B1 เดิม) ในสาธารณรัฐเกาหลี

MOLIT เกาหลีใต้กล่าวในสื่อประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2020 ว่า ข้อตกลงใหม่ที่อำนวยความสะดวกการย้ายที่ตั้งสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์ H155 จาก Marseille ฝรั่งเศส มายังโรงงานอากาศยานใน Sacheon ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐเกาหลี
กระทรวงที่ดิน, โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมเกาหลีใต้กล่าวว่าการย้ายที่ตั้งสายการผลิต ฮ.H115 จะมีขึ้นในปี 2021 โดยมุ่งเป้าที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินแห่งชาติของเกาหลีใต้

กระทรวงที่ดิน, โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมเกาหลีใต้เสริมว่า "Airbus วางแผนที่จะย้ายที่ตั้งสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์(H155) ของตนไปยัง Sacheon ภายในปี 2021 
และข้อตกลงทางธุรกิจนี้ประกอบด้วยรายละเอียดของความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายที่จะสนับสนุนสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์ที่ราบลื่นในเกาหลี"

สำนักข่าว Yonhap กล่าวว่าโรงงานสายการผลิตเฮลิคอปเตอร์จะเป็นการดำเนินการร่วมโดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีที่มีตั้งใน Sacheon และบริษัท Airbus Helicopters ยุโรป
เจ้าหน้าที่ของกระทรวง MOLIT ที่ถูกอ้างโดย Yonhap กล่าวว่า "Airbus และ KAI จะจัดตั้งบริษัทร่วมภายในปี 2020 นี้ในเกาหลีใต้ เพื่อบริหารสายการผลิตและการส่งมอบของเฮลิคอปเตอร์(H155)"

Janes ได้เคยรายงานก่อนหน้านี้ว่า Airbus Helicopters กำลังวางแผนที่ย้ายสายการประกอบเฮลิคอปเตอร์ H155 ของตนไปยังเกาหลีใต้โดยมีกำหนดจะดำเนินสายการผลิตไปจนถึงปี 2050
เฮลิคอปเตอร์ H155 ถูกใช้เป็นระบบพื้นฐานของเฮลิคอปเตอร์พลเรือนเบา Light Civil Helicopter(LCH) และเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Light Armed Helicopter(LAH) ของ KAI เกาหลีใต้

เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH เครื่องต้นแบบที่ทำการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2019 ได้รับการพัฒนาสำหรับกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(ROKA: Republic of Korea Army) ที่มีความต้องการมากกว่า 200เครื่อง ซึ่งมีกำหนดจะนำเข้าประจำการในปี 2022-2023 ครับ

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

เครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องแรกของบราซิลทำการบินในบราซิลครั้งแรก

The first Brazilian Gripen has flown in Brazil






The first Brazilian Gripen E, designated by Brazilian Air Force (FAB) as F-39 Gripen, concluded its first flight in Brazil.









วันที่ 24 กันยายน 2020 เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E เครื่องแรกของบราซิลที่ได้รับการกำหนดแบบโดยกองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force, FAB: Forca Aerea Brasileira) ว่าเครื่องบินขับไล่ F-39E Gripen ได้เสร็จสิ้นการทำการบินครั้งแรกในบราซิล
เครื่องบินขับไล่ Gripen E บราซิลทำการบินจากสนามบินใน Navegantes(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/gripen-e.html) มายังโรงงานอากาศยานของบริษัท Embraer บราซิลใน Gavião Peixoto

เครื่องบินขับไล่ Gripen E หมายเลข FAB4100 เครื่องแรกของบราซิลได้รับการขนส่งทางเรือจาก Norrköping ในสวีเดน เดินทางมาถึงบราซิลเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2020 ที่ผ่านมา 
การส่งมอบเครื่องอย่างเป็นทางการมีกำหนดการจะจัดขึ้นระหว่างวันนักบิน(Aviator's Day) และวันกองทัพอากาศบราซิล ที่จะมีพิธีฉลองใน Brasília วันที่ 23 ตุลาคม 2020

"การมาถึงและการบินครั้งแรกของ Gripen ในบราซิลเป็นหลักก้าวย่างที่สำคัญในโครงการ Gripen ของบราซิล เราภูมิใจในการเดินทางนี้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณวุฒิและความมุ่งมั่นจำนวนมากจากทั้งสองประเทศ
เรากำลังเป็นไปตามกำหนดการส่งมอบสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen และเราจะเดินหน้าอย่างเนื่องเพื่อดำรงความมุ่งมั่นระยะยาวต่อบราซิล" Micael Johansson ประธานและผู้อำนวยการบริหารบริษัท Saab สวีเดนกล่าว

Jackson Schneider ประธานและผู้อำนวยการบริหารภาคกลาโหมและความมั่นคงบริษัท Embraer บราซิล เน้นถึงขอบเขตการเป็นหุ้นส่วนนี้ว่า "Embraer จะเล่นบทบาทผู้นำในการดำเนินการปฏิบัติของโครงการ Gripen ในบราซิล
และจะรับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบ, การบูรณาการ, การบินทดสอบ, การประกอบขั้นสุดท้าย และการส่งมอบเครื่องในการสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอากาศบราซิล ในแง่การถ่ายทอดวิทยาการ Gripen เป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มองค์ความรู้ของเราในการพัฒนาและผลิตเครื่องบินรบขั้นก้าวหน้า"

รัฐมนตรีกลาโหมบราซิล Fernando Azevedo e Silva ยังเน้นย้ำความสำคัญของการแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างบราซิลและสวีเดน 
"Gripen เพิ่มขีดความสามารถการปฏิบัติการของกองทัพอากาศบราซิลและส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่ที่อุ้มชูการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมในทั้งสองประเทศ" รัฐมนตรีกลาโหมบราซิลประกาศ

ด้านผู้บัญชาการกองทัพอากาศบราซิล พลอากาศเอก Antonio Carlos Moretti Bermudez การมาถึงของเครื่องบินขับไล่ F-39 Gripen เครื่องแรกเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับโครงการ "มันเป็นความสมปรารถนาอันยิ่งใหญ่สำหรับกองทัพอากาศบราซิลที่เห็นเครื่องบินนี้บินบนอาณาเขตของชาติ
F-39 Gripen เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจใหม่ของกองทัพอากาศบราซิลจะเป็นกระดูกสันหลังของการบินขับไล่และยืนยันความมุ่งมั่นของกองทัพอากาศบราซิลที่จะดำรงอธิปไตยของประเทศและป้องกันพื้นที่ 22 million square kmภายใต้ความรับชอบของตน" พล.อ.อ.Bermudez ชี้ให้เห็น

โครงการการบินทดสอบจะได้รับการเพิ่มขยายจะรวมถึงศูนย์การบินทดสอบ Gripen(GFTC: Gripen Flight Test Center) ที่ Embraer ใน Gavião Peixoto ซึ่งจะถูกบูรณาการเต็มรูปแบบกับโครงการทดสอบที่ดำเนินการแล้วในขั้นตอนเต็มรูปแบบที่โรงงานอากาศยานของ Saab ใน Linköping ตั้งแต่ปี 2017
กิจกรรมในบราซิลจะรวมถึงการทดสอบระบบควบคุมการบิน, ระบบควบคุมสภาพแวดล้อม, เช่นเดียวกับการทดสอบเครื่องในสภาวะสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้น

นอกเหนือจากการทดสอบที่มีความเป็นส่วนร่วมเดียวสำหรับโครงการ Gripen E คุณสมบัติเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องของบราซิล เช่น การบูรณาการระบบอาวุธ เช่นเดียวกับระบบสื่อสาร Link BR2 ซึ่งให้การเข้ารหัสการสื่อสารข้อมูลและเสียงระหว่างเครื่องบินจะได้รับการทดสอบในบราซิล
เครื่องบินขับไล่ F-39 Gripen ในสายการผลิตจะถูกส่องมอบให้กองทัพอากาศบราซิล ณ กองบินที่2 ใน Anápolis (รัฐ Goiás) ภายในสิ้นปี 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/saab-gripen-ef.html)

ความเป็นหุ้นกับบราซิลในโครงการ Gripen ได้เริ่มต้นในปี 2014 ด้วยสัญญาสำหรับการพัฒนาและเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จำนวน 36เครื่องสำหรับกองทัพอากาศบราซิล รวมถึงระบบ, การสนับสนุน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Gripen E จำนวน 28เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F จำนวน 8เครื่อง ที่ถูกกำหนดแบบในกองทัพอากาศบราซิลเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว F-39E และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-39F ตามลำดับ

โครงการถ่ายทอดวิทยาการที่ครอบคลุมซึ่งได้รับการส่งมอบในช่วงเวลามากกว่าสิบปีได้กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินภายในบราซิลผ่านการมีส่วนร่วมของบริษัทหุ้นส่วนต่างๆในโครงการ Gripen ของบราซิล
เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของบราซิลได้รับการพัฒนาและผลิตในความร่วมมือกับช่างเทคนิคและวิศวกรบราซิล ความพยายามร่วมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการถ่ายทอดวิทยาการซึ่งมุ่งที่จะผลิตองค์ความรู้เชิงปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อการดำเนินการงานเช่นเดียวกันนี้ในบราซิล

ในปี 2021 เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์จำนวน 15เครื่องจะได้รับการดำเนินการภายในบราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/saab-gripen-f.html)
การพัฒนาเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Gripen F กำลังมีความก้าวหน้าด้วยกิจกรรมจำนวนมากที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนา Gripen(GDDN: Gripen Design and Development Centre) ใน Gavião Peixoto ครับ

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศไทยทำพิธีครบรอบ ๔๐ปีเครื่องบินลำเลียง C-130H

























Air Chief Marshal Manat Wongwat Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) was attended to 40th Anniversary ceremony for Lockheed Martin C-130H Hercules tactical trasport aircrafts at 601st Squadron, Wing 6 Don Muang, Thailand in 24 September 2020.

งานเกียรติยศ ๔๐ ปี เครื่องบินลำเลียง C-130H ...งานกองทัพอากาศ จัดงานเกียรติยศ ๔๐ ปี การบรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๘ (C-130H) เข้าประจำการในกองทัพอากาศ 
....วันนี้ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานใน “งานเกียรติยศ ๔๐ ปี การบรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๘ (C-130H) เข้าประจำการในกองทัพอากาศ” ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง 
...ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวให้โอวาทเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่กับเครื่องบิน C-130H จากนั้นได้เปิดแผ่นป้าย “กองทัพอากาศ เคียงข้างประชาชน” บริเวณด้านข้างลำตัวเครื่องบิน C-130H 
เยี่ยมชมนิทรรศการ และถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ และข้าราชการกองบิน ๖ โดยการจัดงานฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชื่นชมและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการและครอบครัว 
ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานกับเครื่องบิน C-130H ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ได้เสียสละทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบิน C-130H รวมถึงการสนับสนุนรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ จนทำให้เครื่องบินดังกล่าวเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากประชาชน

...สำหรับเครื่องบิน C-130H บรรจุเข้าประจำการที่ฝูงบิน ๖๐๑ กองบิน ๖ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยตลอดระยะเวลา ๔๐ ปีที่ผ่านมา เครื่องบิน C-130H ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญหลากหลายภารกิจ 
อาทิ เป็นเครื่องบินพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อเสด็จฯ เยี่ยมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งประชวรอยู่ที่ พระตําหนักดอยตุง ภารกิจลำเลียงทางอากาศรับคนงานไทยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ การควบคุมไฟป่า 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน สนับสนุนการลำเลียงสิ่งของและคณะค้นหาช่วยชีวิตจากหน่วยงานต่างๆ ในภารกิจช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย 
การเสริมสร้างสันติสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภารกิจลำเลียงของบริจาคเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัย ลำเลียงผู้บาดเจ็บและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งในและต่างประเทศ 
นอกจากนี้เครื่องบิน C-130H ยังได้เข้าร่วมการฝึกทางทหารที่สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การฝึกร่วม/ผสม COBRA GOLD การฝึกผสม COPE TIGER และการฝึกผสม RED FLAG ณ มลรัฐอลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา 
ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประเทศที่ได้เข้าสู่การฝึกระดับนานาชาติ นำพาชื่อเสียงให้กับประเทศเป็นอย่างมากอีกด้วย …Photo Sompong Nondhasa

ประวัติความเป็นมาของฝูงบิน 601 และประวัติในการบรรจุ บ.ล.8 ( C-130H) 
...ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด จากการถูกล่วงล้ำอธิปไตยอยู่บ่อยครั้ง กองทัพอากาศจึงได้จัดตั้ง “กองบินน้อยที่ 6” ขึ้น ในวันที่ 12 เม.ย. พ.ศ.2484 ซึ่งถือเป็นกองบินที่บรรจุฝูงบินทิ้งระเบิดแห่งแรกของกองทัพอากาศไทย 
ประกอบด้วยฝูงบิน 61 (จัดตั้งในเดือน ส.ค.) บรรจุเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 3 และฝูงบิน 62 (จัดตั้งในเดือน ก.ย.) บรรจุเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 4 โดยมี นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นผู้บังคับการกองบินน้อยที่ 6 
ในเดือน พ.ย.2484 ฝูง.61 ได้เคลื่อนย้ายฝูงบินไปราชการ ณ บ้านแพะ จว.สระบุรี และกองบินน้อยที่ 6 ได้อยู่ในบทบาทของกองบินทิ้งระเบิด 

จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองบังคับการกองบิน รวมถึงฝูงบิน ได้เคลื่อนย้ายกลับสู่ ณ ที่ตั้งปกติ ที่สนามบินดอนเมือง กองทัพอากาศ และบทบาทของกองบินลำเลียงได้ถือเริ่มขึ้นจากการบิน บ.เมล์ 
ในปี พ.ศ. 2489 โดยมีฝูงบิน 61,62 และ 63 อยู่ในบังคับบัญชา ในปี พ.ศ.2490 ได้จัดตั้งกองบังคับการกองบินน้อยที่ 6 ขึ้นถาวร โดยมี นาวาอากาศเอก หาญ กฤษณสมิต เป็นผู้บังคับการกองบินน้อยที่ 6 
และเริ่มปฏิบัติภารกิจการลำเลียง และฝึกนักบินส่วนกลาง บรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 1 และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 และเริ่มพิมพ์ “ROYAL THAI AIR FORCE” ที่ลำตัวเครื่องบิน 
ในปี พ.ศ.2492 กองบินน้อยที่ 6 เปลี่ยนชื่อเป็น “กองบินลำเลียง” โดยฝูง.61 มีภารกิจลำเลียงทางอากาศบรรจุเครื่องบินแบบ C-45 และ C-47 และเริ่มสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังพลในสงครามเกาหลี ในปี พ.ศ.2493 
ในปี พ.ศ.2506 ฝูง.61 ได้รับการบรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 หรือ C-123 เข้าประจำการ ปฏิบัติภารกิจ ลำเลียงทางอากาศ และเข้าบรรจุเป็นหน่วยบิน VICTORY ในวันที่ 29 ก.ย. พ.ศ.207 ในสงครามเวียดนาม และเดินทางกลับจากสงครามในปี พ.ศ.2514 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กองบินลำเลียง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองบิน 6” และฝูง. 61 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ฝูงบิน 601 กองบิน 6” โดยมี นาวาอากาศโท อุดมศักดิ์ มหาวสุ ฝูง. 601ฯ บรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 (C-123) และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 6 (MERLIN IV) 

ในเวลาต่อมาเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 ใกล้ครบกำหนดประจำการ และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 6 ได้รับการย้ายเข้าสู่ครอบครองของฝูงบิน 603 กองทัพอากาศจึงได้มีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ทดแทน 
ซึ่งเครื่องบินแบบ C-130H มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการลำเลียงทางอากาศ กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องบิน C-130H จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ จำนวน 3 เครื่อง 
โดยมี นาวาอากาศโท อุดมศักดิ์ มหาวสุ ผู้บังคับฝูงบิน 601 ณ ขณะนั้นเป็นหัวหน้าชุดเดินทางไปฝึก และรับเครื่อง C-130H จำนวน 3 ลำแรก กลับมาประจำการในกองทัพอากาศ โดยบรรจุเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หรือ บ.ล.8 
โดยเครื่องบินลำแรกที่กลับมาถึงสนามบินดอนเมือง คือ เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หมายเลข 03/23 เมื่อวันที่ 4 ก.ย. พ.ศ. 2523 และเข้าพิธีบรรจุประจำการเมื่อ 17 ต.ค. พ.ศ. 2523 โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีรับมอบ 

โดยกองทัพอากาศได้บรรจุ บ.ล.8 เข้าประจำการจำนวนทั้งสิ้น 12 ลำ โดย บ.ล.8 หมายเลข 12/35 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 28 ธ.ค. พ.ศ. 2535 โดยแต่ละลำมีรายละเอียดในการบรรจุดังนี้ 
…60101 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 1/23 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ ก.ย. 2523 น.ท.อุดมศักดิ์ มหาวสุ เป็น หน.ชุดเดินทางไปรับเข้าประจำการเมื่อ 17 ต.ค. 2523 
…60102 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 2/23 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ ก.ย. 2523 เข้าประจำการเมื่อ 17 ต.ค. 2523 
…60103 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 3/23 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 4 ก.ย. 2523 เข้าประจำการเมื่อ 17 ต.ค. 2523 
…60104 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 4/23 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 28 พ.ค. 2526 
…60105 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 5/31 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 23 ธ.ค. 2531 
…60106 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 6/31 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 23 ธ.ค. 2531 
…60107 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 7/33 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 10 ธ.ค. 2533 เข้าประจำการเมื่อ 12 ธ.ค. 2533 
…60108 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 8/33 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 10 ธ.ค. 2533 เข้าประจำการเมื่อ 12 ธ.ค. 2533 
…60109 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 9/35 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 19 พ.ย. 2535 
…60110หมายเลข ทอ. บ.ล.8 10/35 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 19 พ.ย. 2535 
…60111 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 11/35 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 28 ธ.ค. 2535 
…60112 หมายเลข ทอ. บ.ล.8 12/35 เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อ 28 ธ.ค. 2535 

...ภารกิจสำคัญที่ บ.ล.8 ได้เคยปฏิบัติที่ผ่านมา 
... พ.ศ.2534 ลำเลียงสิ่งของอุปโภค บริโภค เวชภัณฑ์ในเหตุการณ์อุทกภัยในหลายประเทศ เช่น บังกลาเทศ จีน กัมพูชา ฟิลิปปินส์ 
…2540 อพยพคนไทยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศกัมพูชา 
...พ.ศ.2540 อพยพคนไทยจากเหตุการณ์รุกล้ำน่านน้ำในประเทศพม่า 
...พ.ศ.2542 บินปล่อยนักกระโดดร่มเกาะหมู่จำนวนมากที่สุดในโลก ลงหนังสือกินเนสส์ 
...พ.ศ.2546 อพยพคนไทยจากเหตุการณ์จลาจลในประเทศกัมพูชา (ยุทธการโปเชนตง) 
...พ.ศ.2547 ลำเลียงสิ่งของอุปโภค บริโภค เวชภัณฑ์ และผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์สึนามิ จังหวัดภูเก็ต
...พ.ศ.2561 ลำเลียงสิ่งของ อุปกรณ์สนับสนุนทีมช่วยเหลือ เหตุการณ์ 13 หมูป่า ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน 
...พ.ศ.2562 บินควบคุมไฟป่า พื้นที่ป่า พรุครวนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

......ในเดือนกันยายนปี 2563 นี้ บ.ล.8 เข้าสู่การทำงานปีที่ 40 ในการรับใช้กองทัพอากาศ ประเทศชาติ และประชาชน และยังเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการฝึกทางทหารในระดับนานาชาติ นำพาชื่อเสียงให้กับประเทศ และความภาคภูมิใจให้กับประชาชนชาวไทย 
จึงถือเป็นเครื่องบินที่ทำงานหนักที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศ และจะคงทำงานให้กับประเทศชาติ กองทัพอากาศ และประชาชนสืบไป “ 40 ปี ที่อยู่เคียงข้างคนไทยในทุกเหตุการณ์ตลอดมา และจะอยู่เคียงข้างประชาชนตลอดไป ” 
….ANYTIME ANYWHERE ANY MISSION …Photo Sompong Nondhasa

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) มีเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H ประจำการอยู่ทั้งหมด ๑๒เครื่อง ณ ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๒๘-๔๐ปี ประกอบด้วยรุ่นลำตัวสั้น C-130H ๖เครื่อง และรุ่นลำตัวยาว C-130H-30 ๖เครื่องคือ
C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 ปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), C-130H-30 60105, 60106 ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 ปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 ปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992)
กองทัพอากาศไทยมีแผนในการยืดอายุการใช้งาน บ.ล.๘ C-130H โดยการปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ T56 เป็นรุ่น Series 3.5 ๒๐เครื่อง ทำให้มีอย่างน้อย ๕เครื่องที่จะใช้งานได้จนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓)(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)

ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) กองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทน บ.ล.๘ C-130H Hercules จำนวน ๑๒เครื่อง และระบบที่เกี่ยวข้อง พร้อมการฝึกอบรมสำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจในการลำเลียงทางอากาศ
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025) จำนวน ๔เครื่อง, ระยะที่๒ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๖๙(2024-2026) ๔เครื่อง, ระยะที่๓ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๙-๒๕๗๒(2026-2029) จำนวน ๔เครื่อง
อย่างก็ตามการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงจากผลกระทบการระบาดของ coronavirus Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/covid-19.html) น่าจะส่งผลให้กองทัพอากาศไทยอาจจะพิจารณาเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่เพื่อแทน C-130H ออกไปก่อนครับ