Royal Thai Air Force orders 12 Beechcraft T-6C Texan II aircraft for USD162
million
Textron Aviation Defense announced on 28 September that it has a received a
USD162 million contract for the production and supply of 12 Beechcraft T-6C
Texan II aircraft to the RTAF. (Textron Aviation Defense)
บริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน
พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ว่าตนได้รับการประกาศสัญญาวงเงิน $162 million
สำหรับการผลิตและจัดส่งของ
เครื่องบินฝึกใบพัด/โจมตีเบาใบพัด Beechcraft T-6C Texan II จำนวน
๑๒เครื่องสำหรับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
Textron สหรัฐฯกล่าวว่ากองทัพอากาศไทยได้ตัดสินใจที่จะจัดหาเครื่องบินฝึก T-6C
Texan II
ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบการฝึกบูรณาการสำหรับโรงเรียนการบินกำแพงแสน(Flying
Training School Kamphaeng Saen Air Base) ของตน
โดยเสริมอีกว่าสัญญายังรวมถึงระบบการฝึกภาคพื้นดินสำหรับนักบินและช่างอากาศยาน,
ระบบวางแผนและสรุปผลภารกิจ, ชิ้นส่วนอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน
งานจะได้รับการดำเนินการ ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Beechcraft ในเครือ Textron
ใน Wichita มลรัฐ Kansas สหรัฐฯ
โดยการฝึกสำหรับนักบินและช่างอากาศยานของกองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะเริ่มต้นที่นี้ในปี
พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
เครื่องบินฝึกใบพัด T-6C จำนวน
๑๒เครื่องซึ่งจะประจำการในกองทัพอากาศไทยภายใต้การกำหนดแบบว่าเครื่องบินฝึกแบบ
T-6TH คาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๕ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
Textron สหรัฐฯกล่าวว่าตนมีแผนที่จะการบินส่งมอบเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH จำนวน
๒เครื่องจากสหรัฐฯมายังประเทศไทย โดยที่เหลืออีก
๑๐เครื่องมีกำหนดจะถูกประกอบสร้างและเคลื่อนย้ายไปยังโรงเรียนการบินกำแพงแสน
Textron กล่าวว่าเครื่องบินฝึก T-6C ได้รับการจัดหาภายใต้แผนนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and
Development ระยะ ๑๐ปีของกองทัพอากาศไทยที่เผยแพร่ในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย
ได้ประกาศราคากลางของโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙
บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ จำนวน ๑๒เครื่อง วงเงิน
๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($165,996,000)
ปัจจุบันโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9
จำนวน ๑๘เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
ซึ่งบางเครื่องได้ถูกปลดประจำการแล้ว และมีแผนจะปลดประจำการลงทั้งหมดภายในปี
พ.ศ.๒๕๖๖ ตรงกับช่วงการรับมอบเครื่องบินฝึก T-6TH
ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020 ยังรวมถึงโครงจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาจำนวน
๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART
Albatros สาธารณรัฐเช็ก วงเงินราว ๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,910,000)
กองทัพอากาศไทยจัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART รวม ๔๐เครื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994)
ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ จำนวน ๒๔เครื่อง
แต่เป็นเข้าใจว่าจะมีเครื่องที่สามารถปฏิบัติการบินไปจนถึงปี
พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๖๘(2023-2025) ได้เพียง ๕เครื่อง
กองทัพอากาศไทยได้กำหนดความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใหม่
๑๒เครื่องว่าต้องมีแบบแผนพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกใหม่ ๑๒เครื่อง
จึงทำให้เข้าใจได้ว่าจะมีการสั่งจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6E
Wolverine ที่มีพื้นฐานร่วมกับ T-6C ตามมา
ซึ่งเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6 Wolverine
ในประจำการกองทัพอากาศไทยจะได้รับการกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตีแบบ A-6TH
ตามแผน P&D
ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความทันสมัยขีดความสามารถหลักของกำลังทางอากาศ
และส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
"กองทัพอากาศไทยเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่ก้าวหน้าที่สุดในเอเชียแปซิฟิกและเป็นพันธมิตรความมั่นคงหลักของสหรัฐฯ
การจัดหาระบบการฝึกบูรณาการ Beechcraft T-6C Texan II
ของพวกเขามอบอำนาจให้แก่ศิษย์การบินของพวกเขา
ด้วยความได้เปรียบทางวิทยาการ
ตลอดจนการฝึกบินและการเตรียมการพวกเขาเพื่อการเปลี่ยนแบบอากาศยานไปสู่เครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าและเครื่องบินโจมตีที่ประความสำเร็จ"
Thomas Webster ผู้อำนวยฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Textron Aviation Defense
กล่าว
"โครงการนี้เป็นก้าวกระโดดไปสู่มุมมองใหม่ของรัฐบาลไทยที่จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
ที่ไม่เป็นแค่เพียงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกใหม่
โครงการนี้มองหาการมีส่วนร่วมระหว่างหุ้นส่วนที่หลากหลายระหว่างบริษัทต่างๆของต่างประเทศและไทยเป็นหลัก
ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนโดยแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ 'S-Curve
11' ปัจจุบันของรัฐบาลไทย" พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
กองทัพอากาศไทย ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ กล่าว
"เราภูมิใจที่จะมอบแก่กองทัพอากาศไทยด้วยขีดความสามารถการฝึกที่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในตลาดอุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก
ขณะนี้กองทัพอากาศไทยจะมีเครื่องบินฝึกทางทหารยุคหน้าที่ราคาเหมาะสม
ความเสี่ยงต่ำ ออกแบบเพื่อการฝึกทุกระดับ ให้จังหวะที่มั่นคงแก่ศิษย์การบิน
ในการเปลี่ยนผ่านจากนักบินฝึกหัดเป็นนักบินรบ ผมทราบว่า T-6
ในตำนานจะสนับสนุนกองทัพอากาศไทยด้วยความน่าเชื่อ,
ค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ
และการบูรณาการเต็มรูปแบบของเครื่องจำลองการบิน, ระบบวิชาการบน Computer
และการส่งกำลังบำรุงที่ยั่งยืนในระยะยาว" Brett Pierson
รองประธานฝ่ายยุทธศาสตร์และการขาย Textron Aviation Defense ย้ำ
ปัจจุบันเครื่องบินฝึก T-6 Texan II มีบันทึกชั่วโมงบินมากกว่า
4.1ล้านชั่วโมงบินตลอดทั้งฝูงบินทั่วโลกเกือบ 1,000เครื่อง แต่ละปีนักบินมากกว่า
300นายจาก 42ประเทศได้สำเร็จการฝึกจาก T-6 ผ่านโครงการฝึกบิน NATO
ในแคนาดา,
โครงการฝึกนักบินไอพ่นร่วม NATO ยุโรป(ENJJPT: Euro NATO Joint Jet Pilot
Training Program) ณ ฐานทัพอากาศ Sheppard AFB ในมลรัฐ Texas
และโครงการผู้นำการบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force)
นักบินที่สำเร็จการฝึกจากโครงการ T-6 เพิ่มเติมอีก
2,000นายทั่วทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯ, กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: U.S. Navy),
นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps), กองทัพบกสหรัฐฯ(U.S. Army)
และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: U.S.Coast Guard)
ขณะที่นักบินมากกว่า 2,700นายสำเร็จการฝึกจาก T-6 ตลอดทั้งกองทัพอากาศกรีซ,
กองทัพอากาศอาร์เจนตินา, กองทัพอากาศอิสราเอล, กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร,
กองทัพอากาศอิรัก, กองทัพอากาศแคนาดา, กองทัพเรือเม็กซิโก, กองทัพอากาศเม็กซิโก,
กองทัพอากาศโมร็อกโก และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์
T-6 Texan II ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ด้านขีดความสามารถที่หลากหลาย
ในการเตรียมนักบินทหารสำหรับภารกิจในโลกความเป็นจริง นักบิน 10นายจาก
1,000นายทั่วโลกได้เริ่มต้นการฝึกบินของพวกเขาจาก T-6 Texan II
Textron Aviation Defense
ได้ออกแบบขีดความสามารถแต่ละการฝึกตั้งแต่การคัดนักบินขั้นต้นจนถึงการฝึกปฏิบัติการขั้นก้าวหน้า
เพื่อสนับสนุนความต้องการทางทหาร,
มอบความเชี่ยวชาญและความมั่นใจแก่นักบินเพื่อสำเร็จการศึกษาและบรรลุความสำเร็จในการฝึกขั้นต่อไปของพวกเขาครับ