วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

เครื่องบินลำเลียง IL-112V รัสเซียทำการบินครั้งแรก

New Russian aircraft successfully completes its first test flight






This is the first military transport plane designed in Russia from scratch during the post-Soviet era
The press service of the Ilyushin Aviation Complex
http://tass.com/defense/1051314
https://russianplanes.net


เครื่องบินลำเลียงเบาทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ใบพัด Ilyushin IL-112V เครื่องต้นแบบได้ประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2019
ตามที่ฝ่ายประสัมพันธ์ของ Ilyushin Aviation Complex ผู้ออกแบบอากาศยานรัสเซียในเครือ United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียให้ข้อมูลกับ TASS

"เครื่องบินลำเลียงเบาทางทหาร IL-112V ดำเนินการบินครั้งแรกของตนอย่างประสบความสำเร็จ" ฝ่ายประสัมพันธ์ Ilyushin รัสเซียกล่าว โดยเป็นการบินในรูปแบบปกติ
 เครื่องบินลำเลียงเบา IL-112V ดำเนินการบินโดยหัวหน้านักบินทดสอบ Nikolai Kuimov ณ สนามบินโรงงานอากาศยาน VASO ใน Voronezh รัสเซีย

การบินครั้งแรกของเครื่องบินลำเลียง IL-112V รัสเซียเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 125 ของนักออกแบบอากาศยานรัสเซีย Sergei Ilyushin ผู้ก่อตั้งสำนักออกแบบ Ilyushin ในสมัยอดีตสหภาพโซเวียต
IL-112V นี้เป็นเครื่องบินลำเลียงทางทหารแบบแรกที่รัสเซียออกแบบใหม่ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นโดยไม่มีพื้นฐานเดิมจากเครื่องบินลำเลียงที่มีอยู่ก่อนหลังยุคอดีตสหภาพโซเวียต โดยงานดำเนินการสร้างได้เริ่มต้นในปี 2014

เครื่องบินลำเลียงเบา IL-112V ได้ถูกเลือกโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งแต่ปี 2003  เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด Antonov An-26(NATO กำหนดรหัส Curl) และ An-24 (NATO กำหนดรหัส Coke) ที่ประจำการมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
โดยมีแผนที่จะสร้างเป็นสองรุ่นคือรุ่นเครื่องบินลำเลียงทางทหาร IL-112V มากกว่า 100เครื่องเพื่อเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) และ IL-112T รุ่นพลเรือนสำหรับภาคธุรกิจการบินเอกชน

IL-112V เป็นเครื่องบินลำเลียงเบาทางยุทธวิธีที่ถูกออกแบบมาสำหรับการขนส่งกำลังพล, ยุทโธปกรณ์ทางทหาร, กระสุนและสัมภาระอื่นๆหลายแบบ ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ Klimov TV7-117ST แบบหกกลีบใบพัดจำนวนสองเครื่อง กำลังเครื่องละ 3,500 hp
IL-112V มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 5tons ทำความเร็วเดินทางได้ที่ 550km/h มีพิสัยทำการ 1,200km สามารถทำการบินได้จากสนามบินที่ไม่มีการเตรียมการทั้งแบบทางวิ่งปูคอนกรีตและดินอัด

เครื่องบินลำเลียง IL-112V เครื่องต้นแบบเครื่องแรกได้เปิดตัวออกจากโรงงานอากาศยาน Voronezh ไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2018 และได้เริ่มการทดสอบการเคลื่อนที่ในทางวิ่งในปลายเดือนธันวาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/il-112v.html)
เดิม IL-112V มีกำหนดการทำการบินครั้งแรกภายในสิ้นปี 2018(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/ilyushin-il-112v-2018.html) แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนามีความล่าช้าและถูกเลื่อนกำหนดการมาแล้วหลายครั้งก่อนการบินครั้งแรกที่มีขึ้นในเดือนมีนาคม 2019 นี้ครับ

มาเลเซียลดขนาดความต้องการเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship จีน

LIMA 2019: Malaysia downsizes Littoral Mission Ship ambitions
Malaysia’s Boustead aims to secure a new partnership with the China Shipbuilding & Offshore International Company to support Chinese-built Littoral Mission Ships (pictured https://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html). Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/87452/lima-2019-malaysia-downsizes-littoral-mission-ship-ambitions

อู่เรือบริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซีย และ China Shipbuilding & Offshore International Co (CSOC) รัฐวิสาหกิจการส่งออกอุตสาหกรรมทางเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน กำลังหารือในกรอบของการเป็นหุ้นส่วนใหม่ ตามการตีดสินใจของรัฐบาลมาเลเซียก่อนหน้าในปีนี้
ที่จะ "ลดค่าใช้จ่าย" ในโครงการเพื่อจัดหาเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship(LMS) สำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) เจ้าหน้าที่ในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงกล่าวกับ Jane's

ความเคลื่อนไหวที่จะลดค่าใช้จ่ายมีผลให้รัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจสร้างเรือตรวจการณ์ LMS ทั้ง 4ลำในจีน แทนแผนก่อนหน้าที่จะสร้างเรือ LMS 2ลำหลังที่อู่เรือ BNS ในมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/littoral-mission-ship.html)
ความต้องการนี้ได้ถูกประกาศในการยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ของมาเลเซียของบริษัท Boustead Heavy Industries Corporation(BHIC) มาเลเซีย บริษัทแม่ของอู่เรือ BNS ก่อนหน้าในเดือนมีนาคม 2019

การจัดการข้อตกลงใหม่จะยังลดวงเงินสัญญาจาก 1.17 billion Malaysian ringgit($286.1 million) เหลือ 1.05 billion Malaysian ringgit($257.7 million) จากข้อตกลงเดิมที่ลงนามไว้เมื่อเดือนเมษายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)
เจ้าหน้าที่จากบริษัท BHIC มาเลเซียกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2019 ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ LIMA 2019 ใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019 ว่า

BNS มาเลเซียและ CSOS ฝ่าการค้านานาชาติของ CSIC จีน กำลังเจรจาข้อตกลงทางอุตสาหกรรมใหม่ ผ่านการซึ่ง BNS ควรจะถูกวางตำแหน่งในการส่งมอบการสนับสนุนบำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) ที่ครอบคลุม
สำหรับเรือ LMS ทั้ง 4ลำเมื่อทั้งหมดเข้าสู่การปฏิบัติการ เขากล่าว่าข้อตกลงความร่วมมือใหม่ควรจะบรรลุผลในไม่กี่เดือน แต่ยังคงเป็นประเด็นหัวข้อที่รัฐบาลมาเลเซียจะต้องมีการอนุมัติ

"รัฐบาลจะทบทวนทุกโครงการทางกลาโหมหลัก และเราถูกแนะนำให้ลดค่าใช้จ่ายและราคาของการสร้างเรือในมาเลเซียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอด Technology และการฝึก
ข้อตกลงใหม่กำลังอยู่ภายใต้การหารือ เราได้คาดว่าจะได้รับงานภายใต้ข้อตกลงนี้เพื่อส่งมอบงานที่รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุง MRO เรือ" เจ้าหน้าที่ BHIC มาเลเซียกล่าว โดย LMS เป็นเรือหลักชั้นแรกของกองทัพเรือมาเลเซียที่มีสัญญาสร้างกับจีน

เรือตรวจการณ์ LMS มีความยาวเรือรวม 68.8m ความกว้างรวม 9m และตัวเรือกินน้ำลึก 2.8m และมีระวางขับน้ำเต็มอัตราที่ประมาณ 700tonnes ทำความเร็วได้สูงสุด 22knots และมีพิสัยทำการปกติประมาณ 2,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots
เรือสามารถติดตั้งปืนใหญ่กลขนาด 20mm หรือ 30mm ในป้อมปืน Remote(RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) เป็นปืนเรือหลัก และสามารถรองรับปืนกลหนักขนาด 12.7mm สองกระบอกที่ตำแหน่งดาดฟ้าหลังสะพานเดินเรือได้ครับ

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

Saab สวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen เป็นหนึ่งระบบที่ครบตรงความต้องการของมาเลเซีย

LIMA 2019: Saab promotes ‘one platform’ approach to meet Malaysia’s air combat needs
Saab is positioning its Gripen to meet Malaysia’s fighter aircraft requirements. Source: Saab
https://www.janes.com/article/87528/lima-2019-saab-promotes-one-platform-approach-to-meet-malaysia-s-air-combat-needs




Gripen D 70101 701st Squadron,Wing 7, Royal Thai Air Force displayed at Langkawi International Maritime and Aero Exhibition 2019 (LIMA 2019).
https://www.facebook.com/wing7RTAF/posts/2170163673071995


บริษัท Saab สวีเดนกำลังเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen เพื่อให้ตรงความต้องการการยุทธทางอากาศในระยะใกล้และระยะยาวของมาเลเซีย ผ่านการเป็น 'หนึ่งระบบ' ที่เข้าถึงความเป็นศูนย์กลาง
Saab กล่าว ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ LIMA 2019 ที่จัดขึ้นใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019

ในระยะใกล้ Saab สวีเดนวางตำแหน่งเครื่องบินขับไล่พหุบทบาทเครื่องยนต์เดียว Gripen ของตนในฐานะผู้เข้าแข่งขันสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
Saab กล่าวว่าตนได้ตอบสนองต่อเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request For Information) ในการสนับสนุนการจัดหา LCA ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่บริษัทเสนอ-สนับสนุนโดยสินเชื่อส่งออกของสวีเดนประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่นั่งเดี่ยว 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Gripen D สองที่นั่ง 2เครื่อง รวม 12เครื่อง

ก่อนหน้านี้ Saab สวีเดนได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen แก่มาเลเซียเพื่อให้ตรงตามความต้องการจัดหาเครื่องบินรบพหุบาท MRCA(Multirole Combat Aircraft) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
อย่างไรก็ตามโครงการ MRCA ได้ถูกระงับไปเนื่องจาการขาดแคลนงบประมาณ และการผลักดันโดยรัฐบาลมาเลเซียเพื่อเสริมความแข็งแกร่งขีดความสามารถการต่อต้านการก่อความไม่สงบภายในแทนการป้องกันดินแดนภายนอก(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)

ความสำคัญที่ใหม่กว่าที่ได้ถูกอุบัติขึ้นอย่างเร่งด่วนของโครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA ของกองทัพอากาศมาเลเซีย แม้ว่าโครงการนี้ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงินก็ตาม
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRCA ยังคงน่าจะเดินหน้าต่อไปแต่อาจจะไม่ปรากฏในฐานะโครงการจัดหาอย่างเป็นทางการสำหรับอีกทศวรรษข้างหน้าหรือมากกว่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

Saab กล่าวว่า Gripen เป็น 'หนึ่งระบบ' ของตนเข้าถึงการให้ความสำคัญต่อขีดความสามารถที่ตรงความต้องการขีดความสามารถทั้งโครงการ LCA และ MRCA ขณะที่กองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้ให้รายละเอียดความต้องการขีดความสามาถเต็มอัตราของ LCA
เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศมาเลเซียเน้นหนักต่อ Jane's ถึงความจำเป็นสำหรับเครื่องบินขับไล่เบาและยืดหยุ่นที่สามารถใช้ในปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดินและต่อต้านการก่อความไม่สงบ ด้วยขีดความสามารถที่บินขึ้นและลงจอดบนทางวิ่งระยะสั้นได้

เจ้าหน้าที่ Saab กล่าวว่า Gripen สามารถเติมเต็มความต้องการนี้เช่นเดียวกับบทบาทเครื่องบินขับไล่ MRCA ในระยะยาว เพื่อมอบการป้องกันทางยุทธวิธีและการป้องปรามตลอดทั้งพิ้นที่ เช่น ที่ทะเลจีนใต้
โดยในงานแสดงการบิน LIMA 2019 ปีนี้ กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Gripen D หมายเลข 70101 ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎรธานี มาจัดแสดงในงาน ซึ่งไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มชาติ ASEAN ของมาเลเซียที่มีเครื่องรุ่นนี้ใช้งาน

สำหรับโครงการ LCA นั้น Saab Gripen C/D สวีเดน 12เครื่อง จะแข่งขันกับเครื่องบินจากหลายประเทศ เช่น เครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html)
บริษัท Leonardo อิตาลี ที่น่าจะเสนอเครื่องบินขับไล่โจมตี M-346FA(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/leonardo.html) เช่นเดียวกับรัสเซียที่เสนอเครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)

รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ได้ส่งเครื่องมาแสดงการบินและจัดแสดงภาคพื้นดินในงาน LIMA 2019 ที่มาเลเซียเป็นครั้งแรก
ที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

รัสเซียกำหนดความชัดเจนสำหรับการส่งออกเครื่องบินขับไล่ Su-57

LIMA 2019: Russia set to clear Sukhoi Su-57 for export

Russia’s Su-57 fifth-generation fighter aircraft has been given clearance for export. Source: Sukhoi
https://www.janes.com/article/87519/lima-2019-russia-set-to-clear-sukhoi-su-57-for-export
https://russianplanes.net

รัฐบาลรัสเซียกำลังวางแผนที่จะกำหนดการอนุมัติการอนุญาตสำหรับส่งออกเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi Su-57 PAK FA ตามที่เจ้าหน้าที่อาวุโสในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียเปิดเผย
Viktor Kladov ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือนานาชาติและนโยบายภูมิภาคของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวว่า รุ่นส่งออกของที่จะถูกประชาสัมพันธ์ต่อลูกค้านานาชาติจะได้รับการตั้งชื่อว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57E(Export)
Kladov เสริมว่าเขาคาดว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 จะเป็นผู้เข้าชิงชัยในการแข่งขันสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในตะวันออกกลางและบางส่วนของเอเชีย-แปซิฟิก

จากการพูดคุย ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ LIMA 2019 ใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019 Kladov กล่าวว่า
"เอกสารที่จำเป็นทั้งหมด" เพื่อสนับสนุนการอนุมัติการส่งออกของ Su-57E ได้ถูกยื่นส่งต่อรัฐบาลรัสเซียโดย United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานและบริษัทแม่คือ Rostec แล้ว
การอนุมัติการส่งออกขั้นสุดท้ายคาดว่าจะได้รับการดำเนินการขึ้นโดยประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ในอีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงนี้

ตามข้อมูลจาก Kladov เครื่องบินขับไล่ Su-57E จะสามารถเปิดตัวอย่างทางการได้ ณ งานแสดงการบินนานาชาติ Dubai Air Show 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2019
และการเปิดตัวนี้จะสะท้อนเป้าหมายตลาดการส่งออกของ Su-57E "เราเชื่อว่าตะวันออกกลางเป็นตลาดที่น่าดึงดูดสำหรับเครื่องบินขับไล่นี้" Kladov กล่าว
ในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศที่น่าจะสนใจในเครื่องบินขับไล่ Su-57E ได้รวมถึงจีนและอินเดีย

"จีนได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 24เครื่องไปเมื่อเร็วๆนี้ และในอีกสองปีข้างหน้า(จีน) จะมีการตัดสินใจจะจัดหา Su-35 เพิ่มเติม, สร้าง Su-35 ในจีน หรือจะซื้อเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 นี่น่าจะเป็นอีกโอกาสสำหรับ Su-57E" Kladov กล่าว
กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รุ่นส่งออกจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/su-35s-10-mig-29.html)
ลูกค้ารายที่สองของ Su-35SK รัสเซียคือกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จำนวน 11เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)

รวมถึงรายที่สามล่าสุดคือกองทัพอากาศอียิปต์(Egyptian Air Force) ที่สั่งจัดหา Su-35SK จำนวนมากกว่า 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/su-35.html)
ในการทำตลาดส่งออกอากาศยาน Kladov กล่าว่าลูกค้าไม่น่าจะถูกยับยั้งโดยรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act) ที่รัฐบาลสหรัฐฯนำมาใช้เมื่อเดือนสิงหาคม 2017
ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคว่ำบาตลูกค้าส่งออกอาวุธรัสเซียเป็นการตอบโต้ต่อข้อกล่าวหาว่ารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐฯปี 2016 และผนวก Crimea จากยูเครนในปี 2014 เช่นที่อินโดนีเซียกำลังถูกสหรัฐฯกดดันให้เลิกซื้อ Su-35 รัสเซียครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html)

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

รัสเซียเข้าใกล้โอกาสการขายเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 เพิ่มเติมใน ASEAN

LIMA 2019: Irkut closes in on Yak-130 opportunities in Southeast Asia



Yak-130, Su-30SM and Su-30MKM fighters performance during LIMA 2019 exhibition in Langkawi(https://www.facebook.com/UAC.RUSSIA.EN/posts/2163226030655843)

Russia’s Irkut Corporation delivered an initial four Yak-130 trainer/light attack aircraft to Laos in late 2018 (one of which is pictured here). Source: Irkut
Myanmar has ordered 12 Yak-130 aircraft, all of which were scheduled for delivery by the end of 2018.
https://www.janes.com/article/87484/lima-2019-irkut-closes-in-on-yak-130-opportunities-in-southeast-asia

บริษัท Irkut Corporation ที่มีสำนักออกแบบ Yakolev ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซีย
ได้ร่างเค้าโครงโอกาสการส่งออกเพิ่มเติมในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับเครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130 Mitten

การพูดคุยที่การบรรยายสรุปต่อสื่อ ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ LIMA 2019 ใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019 เจ้าหน้าที่บริษัท Irkut รัสเซียยืนยันว่า
Yak-130 ได้ถูกวางตำแหน่งในการแข่งขันสำหรับความต้องการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) หรือเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT(Fighter Lead-In Trainer) ของมาเลเซีย

Irkut รัสเซียกล่าวว่าล่าสุดตนได้ตอบสนองต่อเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request For Information) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
เพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA/เครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่ามีความต้องการขั้นต้น 18เครื่อง และรวมทั้งหมด 36เครื่อง โดย Irkut กำลังเตรียมการแข่งขันสำหรับแต่ไม่ได้ทำอย่างละเอียดบรรจง

Irkut รัสเซียยังได้ยืนยันการส่งออกเครื่องฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Yak-130 ในภูมิภาคนี้ที่รวมการขายให้แก่บังคลาเทศ, ลาว และพม่า โดยไม่ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของการขาย เพียงแต่แถลงว่าแต่ละประเทศจัดหาไปประเทศละมากว่า 10เครื่อง
Irkut รัสเซียกล่าวว่าตนสามารถขาย Yak-130 ได้มากว่า 160เครื่องในหกประเทศทั่วโลก ผู้ใช้งานรายอื่นยังประกอบด้วยแอลจีเรีย, เบลารุส และกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force) เอง

ตามข้อมูลจาก Jane's All the World's Aircraft กองทัพอากาศบังคลาเทศ(Bangladesh Air Force) ได้ยืนยันการรับมอบ Yak-130 จำนวน 16เครื่องซึ่งชุดสุดท้ายได้ถูกส่งมอบในปี 2016
กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) ได้สั่งจัดหา Yak-130 จากรัสเซียจำนวน 12เครื่อง ซึ่งทั้งได้ถูกส่งมองแก่พม่าครบตามกำหนดการณ์แล้วตั้งแต่สิ้นปี 2018 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/yak-130-6.html)

กรมทหารอากาศลาว(Lao People's Air Force) กองทัพประชาชนลาว(Lao People's Army) ได้รับมอบ Yak-130 ขั้นต้น 4เครื่องเมื่อปลายปี 2018 หลังจากที่สั่งจัดหาไปหนึ่งปีก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/yak-130-t-34-85.html)
จำนวน Yak-130 ที่ลาวจัดซื้อยังไม่เป็นที่ยืนยัน แต่มีรายงานว่าลาวได้สั่งจัดหา Yak-130 10เครื่องในวงเงินราว $300 million รวมถึงอะไหล่, อาวุธทางอากาศ, อุปกรณ์ภาคพื้นดิน และการฝึก(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/brdm-2m.html)

เจ้าหน้าที่ของ Irkut รัสเซียยังได้บ่งชี้ถึงโอกาสความเป็นไปได้ของเครื่องฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Yak-130 ในเวียดนาม โดยระบุว่าเวียดนามเป็นลูกค้าที่เป็นไปได้อีกรายด้วย "เรากำลังทำงานกับเพื่อนของเราในเวียนาด ซึ่งเป็นหุ้นส่วนระยะยาวของรัสเซีย" เจ้าหน้าที่ Irkut รัสเซีย กล่าว
โดยกองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(Vietnam People's Air Force) มีความต้องการเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่ทดแทน Aero L-39 Albatros สาธารณรัฐเช็ก

สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซีย ผู้เข้าแข่งขันที่ส่งเอกสาร RFI สำหรับโครงการ LCA/FLIT มาแล้วมีเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html)
และบริษัท Leonardo อิตาลี ที่น่าจะเสนอเครื่องบินขับไล่โจมตี M-346FA(Fighter Attack) ของตนที่มีพื้นฐานการพัฒนาดั้งเดิมร่วมกับ Yak-130 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/leonardo.html)

รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ได้ส่งเครื่องมาแสดงการบินและจัดแสดงภาคพื้นดินในงาน LIMA 2019 ที่มาเลเซียเป็นครั้งแรก
ที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

สหรัฐฯอนุมัติการขายและปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16V แก่โมร็อกโก

Morocco receives approval for F-16V procurement, upgrades


Morocco is to upgrade its 23 existing F-16C/D Block 50/52 aircraft to F-16V Block 70/72 standard, at the same time as procuring an additional 25 aircraft of the same standard. Source: Lockheed Martin
https://www.janes.com/article/87438/morocco-receives-approval-for-f-16v-procurement-upgrades

โมร็อกโกจะกลายเป็นลูกค้ารายล่าสุดสำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 72 Fighting Falcon โดยรัฐบาลสหรัฐฯได้ประกาศการอนุมัติการจัดหาแก่โมร็อกโกเมื่อ 25 มีนาคม 2019
การอนุมัติของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่เปิดเผยโดยสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ครอบคลุมการขายในรูปแบบ Foreign Military Sales (FMS) แก่โมร็อกโกสองรายการคือ

การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่  F-16C/D Block 72 ที่สร้างใหม่จากโรงงานจำนวน 25เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการสนับสนุนวงเงินประมาณ $3.79 billion และชุดการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52+ ที่มีอยู่ 23เครื่องวงเงินประมาณ 985.2 million
ขณะที่เอกสารแจ้งไม่ได้ตัดในส่วนเครื่องที่สร้างใหม่ออกจากเครื่องที่จะได้รับการปรับปรุงใหม่ของกองทัพอากาศโมร็อกโก(Royal Moroccan Air Force) ที่ปัจจุบันประกอบด้วยฝูงเครื่องบินขับไล่ F-16C Block 52+ ที่นั่งเดี่ยว 15เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-16D Block 52+ สองที่นั่ง 8เครื่อง

นอกเหนือจากตัวเครื่องความเป็นไปได้ในการขายยังรวมถึงหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS(Joint Helmet Mounted Cueing Systems), กระเปาะลาดตระเวนทางยุทธวิธี DB-110 Tactical Reconnaissance Pods (TRP) ของบริษัท UTC Aerospace Systems(UTAS) สหรัฐฯ
กระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper pod และกระเปาะชุดสงคราม Electronic เชิงป้องกันบูรณาการขั้นก้าวหน้า Exelis AN/ALQ-211(V)9 AIDEWS(Advanced Integrated Defensive Electronic Warfare Suite)

ระบบอาวุธที่จะจัดหามี อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120C-7 AMRAAM(Advanced Medium Range Air-to-Air Missile), ชุดระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-38 JDAM(Joint Direct Attack Munition), ชุดระเบิดนำวิถีดาวเทียม+Laser GBU-54 LJDAM,
ชุดระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39/B SDB(Small Diameter Bomb), ชุดระเบิดนำวิถี Laser ความแม่นยำสูง GBU-10/GBU-12/GBU-16 Paveway II และชุดระเบิดนำวิถี Laser+ดาวเทียม GBU-49/GBU-50 Enhanced Paveway II

ตามการเน้นโดย DSCA ข้อเสนอการขายแก่โมร็อกโกจะเพิ่มพูนการทำงานร่วมกันกับสหรัฐฯและพันธมิตรต่างๆในภูมิภาค และจะขยายขีดความสามารถของกองทัพอากาศโมร็อกโกในการดำเนินการในกองกำลังผสม
ตามที่ในอดีตกองทัพอากาศโมร็อกโกได้ส่งอากาศยานเข้าทำการบินปฏิบัติการโจมตีต่อกองกำลังติดอาวุธก่อการร้ายในซีเรียและอิรัก ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2015 กองทัพอากาศโมร็อกโกได้สูญเสีย F-16 ไป 1เครื่องระหว่างการปฏิบัติในเยเมนจากเหตุขัดข้องทางเทคนิค

ในฐานะเครื่องบินขับไล่ในตระกูล F-16 ที่ก้าวหน้าที่สุดที่มีในปัจจุบัน เครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Northrop Grumman AN/APG-83
ที่มีพื้นฐานจาก radar แบบ AN/APG-80 SABR(Scalable Agile Beam Radar) ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16E/F Block 60

รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ภารกิจใหม่ของ Raytheon, ระบบเครือข่าย Link 16 datalink, ระบบจอแสดงผลห้องนักบินยุคใหม่, ระบบสงคราม Electronic แบบเพิ่มขยาย และระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้น(GCAS: Ground-Collision Avoidance System)
โดยเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 72 จะติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW-229 เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16C Block 52+ ครับ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

อินเดียนำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F Chinook ชุดแรกเข้าประจำการ

IAF inducts first four of 15 Chinook helicopters





One of the Chinook helicopters for the IAF is seen here during pre-delivery trials. The first four of 15 such rotorcraft were inducted by the IAF on 25 March. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/87425/iaf-inducts-first-four-of-15-chinook-helicopters

กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ได้นำเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing CH-47F Chinook ชุดแรกจำนวน 4เครื่องเข้าประจำการจากที่สั่งจัดหาจำนวน 15เครื่องเมื่อปลายปี 2015
"เฮลิคอปเตอร์ Chinook จะมอบขีดความสามารถทางการรบแก่กองทัพอากาศอินเดียที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหน้านั้น" พลอากาศเอก B S Dhanoa กล่าวในขณะพิธีรับมอบเฮลิคอปเตอร์เข้าประจำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2019

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F Chinook ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ หน่วยบินเฮลิคอปเตอร์126 ที่ฐานทัพอากาศ Chandigarh ซึ่งตั้งทางเหนือนครหลวง New Delhi ราว 250km
"ด้วยการติดตั้งระบบที่เพิ่มขยายโดยเฉพาะสำหรับอินเดีย ฮ.Chinook เหล่านี้สามารถดำเนินการปฏิบัติการได้ทุกเวลาและจะเป็นตัวเปลี่ยน Game สำหรับการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอินเดีย" พลอากาศเอก Dhanoa เสริม

ฮ.ลำเลียง Chinook ชุดแรก 4เครื่องได้เดินทางมาถึงท่าเรือ Mundra ทางชายฝั่งตะวันตกของอินเดียวเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2019 เป็นเวลาราว 4สัปดาห์ตามกำหนดการณ์ ซึ่งหลังจากนั้นพวกมันได้ถูกประกอบและบินเดินทางมายังฐานทัพอากาศ Chandigarh
บริษัท Boeing สหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศอินเดียกล่าวกับ Jane's ว่า การส่งมอบ ฮ.Chinook ที่เหลืออีก 11เครื่องคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2020

และ ฮ.ลำเลียง Chinook ชุดใหม่ที่จะส่งมอบตามมานั้นจะเข้าประจำการประกอบกำลังในหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนักหน่วยที่สองของกองทัพอากาศอินเดีย
ณ ฐานทัพอากาศ Dinjan ที่รัฐ Assam ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่พิพาททางพรมแดนระหว่างอินเดียกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

อินเดียได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F Chinook จำนวน 15เครื่องเป็นวงเงิน $1.1 billion ผ่านข้อตกลงรูปแบบการขายเชิงพาณิชย์โดยตรง(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/ah-64e-ch-47f.html
ที่ได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการห้องนักบินแบบบูรณาการเต็มรูปแบบ ระบบจัดการห้องบรรทุกขั้นก้าวหน้า และชุดสงคราม Electronic ตามความต้องการของกองทัพอากาศอินเดีย

ฮ.Chinook กำลังจะถูกนำมาทดแทนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mil Mi-26(NATO กำหนดรหัส Halo) สมัยอดีตสหภาพโซเวียตของกองทัพอากาศอินเดีย
ซึ่งปัจจุบัน ฮ.ลำเลียงหนัก Mi-26 จำนวน 3 เครื่องของกองทัพอากาศอินเดียใกล้จะหมดอายุการใช้งาน และคาดว่าจะได้รับการยกเครื่องในรัสเซียเพื่อยืดอายุการใช้งานทางเทคนิคโดยรวมครับ

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

ภาพเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ JF-17B รุ่นสองที่นั่งกองทัพอากาศพม่า

Photo of Myanmar Air Force's twin-seat JF-17B (FC-1B) fighter serial 1707 was spot at Chengdu Aircraft Industry Corporation (CAC) facility in China (twitter.com/dafengcao)

ภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของจีนในช่วงเดือนมีนาคม 2019 ได้แสดงถึงเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Pakistan Aeronautical Complex(PAC) JF-17B Thunder ปากีสถาน หรือ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) FC-1B Xiaolong
ในเครื่องหมายและสีพรางของกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) ขณะทำการบินขึ้น โดยภาพถูกระบุว่าถ่ายที่สนามบินโรงงานอากาศยานของ CAC ใน Chengdu สาธารณรัฐประชาชนจีน

เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง JF-17B หมายเลข 1707 ของกองทัพอากาศพม่าที่น่าจะเป็นหนึ่งในเครื่องชุดที่สองนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าพม่าน่าจะเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับเครื่องบินขับไล่ JF-17B รุ่นสองที่นั่ง ซึ่งเดิมเครื่องบินขับไล่ JF-17/FC-1 ปากีสถาน-จีนมีการพัฒนารุ่นที่นั่งเดียวมาก่อน
โดยได้มีการปรากฎภาพการทำการบินครั้งแรกของ JF-17B เครื่องต้นแบบในสื่อสังคม Online จีน เมื่อ 27 เมษายน 2017 ณ สนามบินโรงงาน CAC ในจีน(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/jf-17bfc-1b.html)

ข้อมูลคุณสมบัติที่ได้รับจากการแถลงของ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน เครื่องบินขับไล่ FC-1B รุ่นฝึกสองที่นั่งเรียงกันมีปีกขนาดใหญ่ขึ้น(9.465m) จากรุ่นที่นั่งเดี่ยว(8.5m) เช่นเดียวกับการดัดแปลงในส่วนหัวเครื่องเล็กน้อย
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง JF-17B/FC-1B มีมิติขนาดต่างจากเครื่องรุ่นที่นั่งเดี่ยวเล็กน้อยคือมีความสูง 4.6m จาก 4.7m และความยาว 14.5m จาก 14.2m มีครีบรักษาการทรงตัวแนวดิ่งขนาดใหญ่ และมีโหนกนูนลึกที่แกนกลางหลังเครื่องซึ่งจะเพิ่มความจุเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

กองทัพอากาศพม่าได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 จีน-ปากีสถานจำนวน 16เครื่อง และมีแผนที่จะเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 ภายในพม่า(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html) โดยน่าจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ชุดแรกอย่างน้อย 6เครื่องแล้ว
ตามที่ในวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่าปีที่71 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2018 ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila มีพิธีรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่นั่งเดี่ยวจำนวน 4เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/jf-17.html)

ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคม 2018 สื่อสังคม Online ของพม่าได้มีการเผยแพร่ภาพวีดิทัศน์ของ JF-17 ที่ถูกระบุว่าถูกบันทึกได้ที่ฐานทัพอากาศ Pathein ใกล้เมือง Pathein(พะสิม) ทางใต้ห่างจากนคร Yangon ไปทางตะวันตก 190km(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/jf-17.html)
เป็นที่เชื่อว่ากองทัพอากาศพม่าน่าจะนำเครื่องบินขับไล่ JF-17 เข้าประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M ที่จัดหาจากจีน(ลอกแบบเครื่องบินขับไล่ MiG-21 รัสเซีย)ในช่วงปี 1990s จำนวน 36เครื่อง ซึ่งเก่าและล่าสมัย โดยปัจจุบันมีข้อมูลว่ายังคงมีประจำการอยู่ราว 22เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าที่ปรากฎในวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ยังได้มีการจัดแสดงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-5EII นำวิถีด้วยความร้อน Infrared, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง SD-10A(PL-12 จีนรุ่นส่งออก) นำวิถีด้วย Active Radar
และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802AK ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำแบบแรกของกองทัพอากาศพม่า ที่นับเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อกองทัพเรือของประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกันในการควบคุมทะเลทางอากาศเหนืออ่าว Bengal และทะเล Andaman ครับ

Boeing ได้รับสัญญาจากกองทัพเรือสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Block III รุ่นใหม่

Boeing in $4 billion deal for F/A-18E/F Block III Super Hornets

Boeing has secured a three-year contract for 78 F/A-18E/F Block III Super Hornets, with a total contract value of approximately $4 billion.
https://www.flightglobal.com/news/articles/boeing-in-4-billion-deal-for-fa-18ef-block-iii-s-456800/

บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับสัญญาระยะเวลาสามปีจากกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet Block III จำนวน 78เครื่อง โดยมีวงเงินสัญญาที่ราวประมาณ $4 billion
"Boeing จะเริ่มต้นการเปลี่ยนแบบเครื่อง Super Hornet Block II ที่มีอยู่เป็นรุ่น Block III ในช่วงต้นทศวรรษหน้า" Boeing กล่าวในการแถลง โดยเครื่องบินขับไล่ Super Hornet Block III จะยังยืดอายุการใช้งานจากเดิม 6,000ชั่วโมงบิน เป็น 10,000ชั่วโมงบินด้วย

บริษัท Boeing กล่าวว่าสัญญาระยะเวลาผูกพันหลายปีนี้จะช่วยประหยัดวงเงินขั้นต่ำ $395 million ตามที่มีการกำหนดตารางเวลาสำหรับสายผลิตในอนาคตสำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E ที่นั่งเดี่ยว 61เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F/A-18F สองที่นั่ง 17เครื่อง
"สัญญาระยะเวลาผูกพันหลายปีมีจะมีส่วนช่วยประหยัดอย่างสำคัญสำหรับผู้เสียภาษีและกองทัพเรือสหรัฐฯ ขณะที่มอบขีดความสามารถที่จำเป็นเพื่อช่วยเพิ่มความพร้อมรบ" Dan Gillian รองประธานของโครงการ F/A-18 และ EA-18G กล่าว

"สัญญาผูกพันหลายปีช่วยให้ทีม F/A-18 แสวงหากลุ่มผู้จัดส่งด้วยการรับประกันการผลิตเป็นเวลาสามปีแทนที่การเจรจาแบบปีต่อปี มันช่วยทั้งสองฝ่ายด้วยการวางแผน
และเรายกย่องกองทัพเรือสหรัฐฯในการทำตามขั้นตอนที่เหมาะสมที่จำเป็น เพื่อการช่วยแก้ความท้ายทายด้านความพร้อมของตน" Gillian เสริม สัญญาการจัดหาในช่วงปีงบประมาณ 2019-2021 จะดำเนินสายการผลิตได้จนถึงปี 2023

ชุดการปรับปรุง Super Hornet Block III ประกอบด้วยการปรับปรุงโครงสร้างและระบบตรวจจับหลายอย่าง แต่ที่สำคัญมากคือการเพิ่มความสามารถในการรับและส่งข้อมูลขนาดใหญ่
ที่ได้จากระบบตรวจจับกับเครื่องบินขับไล่ Super Hornet เครื่องอื่นๆ และเครื่องแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Northrop Grumman E-2D Advanced Hawkeye

มันยังเพิ่มระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track) ยุคที่2 ที่ทำให้ Super Hornet จะตรวจจับและติดตามอากาศยานข้าศึกโดยปราศจากการบอกตำแหน่งของตนด้วยการเปิดใช้ Radar
IRST สามารถที่จะตรวจจับได้แม้เป้าหมายที่ตรวจจับได้ยาก Stealth ต่อ radar ในระยะไกล แต่อย่างไรก็ตามระบบตรวจจับเดี่ยวบนเครื่องบินเครื่องเดียวไม่สามารถให้ความชัดเจนของข้อมูลมากพอที่จะชี้เป้าหมายให้อาวุธปล่อยนำวิถีได้

ชุดปรับปรุง Super Hornet Block III ยังเพิ่มระบบวิทยุและหน่วยประมวลผลวิทยาการเครือข่ายชี้เป้าหมายทางยุทธวิธี Rockwell Collins TTNT(Tactical Targeting Network Technology)
การปรับปรุงนี้ทำให้เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F สองเครื่องหรือมากกว่าจะแลกเปลี่ยนข้อมูลจากระบบตรวจจับ IRST ทำให้เครื่องบินขับไล่ Super Hornet เครื่องเดียวมีข้อมูลเพียงพอสำหรับกำหนดการชี้เป้าหมาย

การเพิ่มถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกแบบแนบลำตัวเครื่อง CFT(Conformal Fuel Tank) ได้ช่วยเพิ่มพิสัยการบินของ F/A-18E/F Super Hornet Block III ขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งยังลดภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) ของเครื่องลงด้วย
ห้องนักบินของ Super Hornet Block III ยังเป็นแบบ Glass Cockpit ที่ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ LAD(Large Area Display) ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอลสาขาสหรัฐฯ และระบบ Avionic ยุคหน้า ที่จะส่งมอบแก่กองทัพเรือสหรัฐฯได้จนถึงปี 2034 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

ภาพเปิดเผยพม่าสร้างรถถังเบาติดปืนใหญ่ 105mm ต้นแบบ

Photo reveal Myanmar's new prototype of light tank like be base on chassis of Ukrainian MT-LB tracked armoured personnel carrier same as 2S1 Gvozdika self-propelled howitzer and 105mm tank gun turret of Chinese PTL-02 wheeled self-propelled assault gun 6x6.
https://www.facebook.com/210114122377899/photos/a.742204619168844/2062368103819149/

ภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของพม่าได้แสดงถึงสิ่งที่น่าจะเป็นยานเกราะสายพานติดปืนใหญ่รถถังจู่โจมหรือรถถังเบาแบบใหม่ของกองทัพบกพม่า(Myanmar Army, Tatmadaw) ซึ่งน่าจะเป็นรถต้นแบบที่พม่าประกอบสร้างขึ้นเองในประเทศ
เป็นที่เข้าใจว่ารถถังเบาต้นแบบใหม่ของกองทัพบกพม่านี้อาจจะมีการเปิดตัวในพิธีสวนสนามวันกองทัพแห่งชาติพม่า(Tatmadaw Day) ครบรอบการก่อตั้งปีที่74 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2019 นี้

ยานเกราะพิฆาตรถถัง(Tank Destroyer), ยานเกราะปืนใหญ่จู่โจม(Assault Gun) หรือรถถังเบา(Light Tank) รถต้นแบบใหม่ของกองทัพบกพม่าที่ปรากฎในภาพ ดูเหมือนน่าจะมีที่มาของระบบในส่วนต่างๆจากรถรบที่มีประจำการในกองทัพบกพม่าก่อนหน้าแล้ว
โดยส่วนรถแคร่ฐานน่าจะมีพื้นฐานจากรถเกราะสายพานลำเลียงพล MT-LBMSh APC(Armoured Personnel Carrier) ที่ได้รับการปรับปรุงโดยยูเครน ติดตั้งป้อมปืน Shturm ที่มีอาวุธประกอบด้วยเช่น ปืนใหญ่กลขนาด 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm ซึ่งมีการดำเนินการประกอบในพม่า

ส่วนป้อมปืนใหญ่รถถังที่ติดตั้งน่าจะมีพื้นฐานในตระกูลเดียวกับป้อมปืนใหญ่รถถังลำกล้องเกลียวขนาด 105mm ที่ติดตั้งกับยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง PTL-02(WMA301) ที่ผลิตโดย Norinco รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุธของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่ง PTL-02 มีพื้นฐานติดตั้งบนรถแคร่ฐานยานเกราะล้อยาง WZ551 6x6 เช่นเดียวกับรถรบทหารราบล้อยาง Type 92 IFV(Infantry Fighting Vehicle) และรถเกราะกู้ซ่อมล้อยาง XJZ92 WZ531M 6x6 ที่มีประจำการในกองทัพบกพม่าเช่นกัน

ที่เห็นจากภายนอกป้อมปืนของรถถังเบาใหม่พม่ามีการติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดควันชุด 4นัดที่ข้างป้อมปืนสองแต่ละด้านรวม 8นัดเช่นเดียวกับยานเกราะล้อยาง PTL-02 6x6  แต่ยังไม่ปรากฎว่าจะมีการติดตั้งปืนกลหนักขนาด 12.7mm บนหลังคาป้อมเช่นกันด้วยหรือไม่
และในส่วนรถแคร่ฐานนั้นมีล้อกดสายพานจำนวน 7ล้อ มีขนาดยาวกว่า รสพ.MT-LBMSh พม่าที่มีล้อกดสายพาน 6ล้อ โดยมีขนาดเทียบเท่ากับปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน 2S1 Gvozdika ขนาด 122mm รัสเซียที่ใช้พื้นฐานรถแคร่ฐานรถสายพาน MT-LB เช่นกัน

ตามที่รายงานไปก่อนหน้าว่าUkrspecexport หน่วยงานด้านการจัดการนำเข้าส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ในเครือ Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความั่นคงของรัฐบาลยูเครนได้ลงนามข้อตกลงการร่วมทุนกับพม่าสำหรับการสร้างโรงงานประกอบยานเกราะในพม่า
ประกอบด้วยสายการผลิตเพื่อการประกอบยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-4U 8x8 APC และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน 2S1U ขนาด 122mm รุ่นปรับปรุงของยูเครนที่จะเปิดสายการผลิตได้ในช่วงกลางปี 2020 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/btr-4u-2s1u.html)

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

อังกฤษจัดหาเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม E-7

UK signs for E-7 AEW&C aircraft

An artist's impression of how the E-7 AEW&C aircraft will appear in UK service. The RAF is acquiring five such aircraft to replace its current E-3D Sentry platforms. Source: Crown Copyright
https://www.janes.com/article/87390/uk-signs-for-e-7-aew-c-aircraft

สหราชอาณาจักรได้ลงนามสัญญาสำหรับจัดหาเครื่องบินแจ้งแตือนทางอากาศและควบคุม E-7 AEW&C(Airborne Early Warning and Control) จำนวน 5เครื่องวงเงิน $1.98 billion ตามที่กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรประกาศเมื่อ 22 มีนาคม 2019
E-7(หรือ E-737) ได้ถูกจัดหาเพื่อทดแทนเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Boeing E-3D Sentry AEW1 จำนวน 6เครื่องของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force)

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้จัดหาเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Sentry AEW1 จำนวน 7เครื่องในเดือนตุลาคม 1987 เข้าประจำการในฝูงบินที่8 และฝูงบินที่23(ยุบฝูงในปี 2009)
เครื่อง Sentry AEW1 อังกฤษได้มีความทันสมัยตามหลังเครื่องบินแจ้งแตือนทางอากาศและควบคุม E-3 Block 40/45 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ที่ได้รับการปรับปรุง และกำลังจะไม่สามารถใช้งานประจำการได้มากขึ้น

ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรไม่ได้เปิดเผยอย่างชัดเจนว่าการส่งมอบเครื่องจะมีขึ้นเมื่อไร โดยมีการกล่าวว่ามันควรจะมีการส่งมอบได้ในระหว่างต้นปี 2020s และไม่ได้เปิดเผยว่า E-7 ที่เข้าประจำการในอังกฤษจะได้รับการตั้งชื่อเครื่องว่าอะไร
เมื่อมาถึง E-7 น่าจะเข้าร่วมกับอากาศยานที่เหลือใน กองกำลังข่าวกรอง, ตรวจการณ์, จับเป้าหมาย และลาดตระเวน(ISTAR: Intelligence, Surveillance, Target Acquisition, and Reconnaissance) ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่ Waddington ใน Lincolnshire

E-7 AEW&C มีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสาร Boeing 737 เช่นเดียวกับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลพหุภารกิจ P-8A Poseidon ที่กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรสั่งจัดหา 9เครื่องและกำลังจะได้รับมอบในปี 2019 นี้ E-7 ได้เข้าประจำการในกองทัพประเทศอื่นแล้วคือ
กองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ในชื่อ Wedgetail 6เครื่อง, กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ในชื่อ Peace Eye 4เครื่อง และกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) ในชื่อ Peace Eagle 4เครื่อง

ไม่เหมือนกับ Radar เชิงกล(mechanically-scanned) ของ E-3D Sentry เครื่อง E-737 AEW&C ถูกสร้างโดยใช้ Radar พหุภารกิจ MESA(Multirole Electronically Scanned Array)
ที่ครอบคลุมทิศทาง 360องศา มีพิสัยการตรวจจับเกิน 322km สำหรับเป้าหมายทางอากาศ และ 241km สำหรับเป้าหมายผิวน้ำขนาดเรือตรวจการณ์

(พิสัยตรวจจับเหล่านี้สามารถเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้าพลังงานของ Radar ได้ถูกมุ่งเน้นไปที่ทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ แทนที่จะใช้ในการกวาดค้นหาทั่วไป)
radar แบบ Northrop Grumman MESA ยังทำให้ E-7 มีพื้นที่ตรวจจับครอบคลุมถึง 4ล้านตารางกิโลเมตร โดยเครื่องมีระยะเวลาปฏิบัติการนาน 10ชั่วโมงครับ

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

เฮลิคอปเตอร์ Sikorsky-Boeing SB>1 DEFIANT สหรัฐฯทำการบินครั้งแรก

Sikorsky-Boeing SB>1 DEFIANT Helicopter Achieves First Flight
The Sikorsky-Boeing SB>1 DEFIANT helicopter achieved first flight March 21, 2019. With its two coaxial main rotors and a rear mounted pusher propulsor, DEFIANT is unlike production rotorcraft available today. (Photo: Sikorsky-Boeing)

This flight marks a key milestone for the Sikorsky-Boeing team and is the culmination of significant design, simulation and test activity to further demonstrate the capability of the X2 Technology. (Photo: Sikorsky-Boeing)
https://boeing.mediaroom.com/2019-03-21-Sikorsky-Boeing-SB-1-DEFIANT-TM-Helicopter-Achieves-First-Flight


วันที่ 21 มีนาคม 2019 เฮลิคอปเตอร์ Sikorsky-Boeing SB>1 DEFIANT ประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรก ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Sikorsky สหรัฐฯใน West Palm Beach มลรัฐ Florida
นี่คืออากาศยานที่เป็นการปฏิวัติที่พัฒนาโดย Sikorsky ในเครือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Boeing สหรัฐฯ จะช่วยแจ้งข้อมูลของยุคหน้าของเฮลิคอปเตอร์ทางทหารในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการ Future Vertical Lift(FVL) กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)

"การออกแบบและการพัฒนาของ DEFIANT ได้เปิดเผยขีความสามารถความก้าวหน้าที่เป็นไปได้อย่างแท้จริงสำหรับโครงการอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งอนาคต Future Vertical Lift เป็นที่ชัดเจนว่า สมรรถนะ, ความเร็ว และความคล่องแคล่วของ DEFIANT
จะเป็นตัวเปลี่ยน Game ในสนามรบ และเรามองไปข้างหน้าเพื่อการสาธิตสำหรับกองทัพบกสหรัฐฯถึงขีดความสามารถอันมหาศาลของอากาศยานนี้"  David Koopersmith รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง Boeing Vertical Lift กล่าว

ด้วยสองใบพัดประธานร่วมแกนและใบพัดขับเคลื่นผลักดันท้ายเครื่อง DEFIANT ไม่เหมือนอากาศยานปีกหมุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน มันแสดงถึงก้าวกระโดดของวิทยาการเพื่อบรรลุความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯในการเพิ่มความเร็วและพิสัยขณะที่เพิ่มความคล่องแคล่วและความอยู่รอดในต้นทุนที่ประหยัด
DEFIANT ที่ใช้วิทยาการจากเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบสาธิต X2 จะทำให้กองทัพบกสหรัฐฯจะแทรกซึมจากการเผชิญหน้าทางยุทธศาสตร์ และสร้างการใช้ประโยชน์จากช่องว่างในระบบการปฏิเสธการเข้าถึงพื้นที่ที่ซับซ้อน เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้ามที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน

"DEFIANT ถูกออกแบบเพื่อบินที่ความเร็วเกือบสองเท่าและมีพิสัยทำการเป็นสองเท่าของเฮลิคอปเตอร์ตามแบบขณะที่ยังคงส่วนที่ดีที่สุดหรือดีกว่าในสมรรถนะความเร็วต่ำและการลอยตัวของ ฮ.ตามแบบ การออกแบบนี้ให้ประสิทธิภาพที่เป็นพิเศษในพื้นที่เป้าหมาย
สถานที่ที่ซึ่งมีกิจกรรมของศัตรูที่มีศักยภาพบนความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่, ความอยู่รอด และความยืดหยุ่น เราตื่นเต้นกับผลการบินวันที่และมองไปข้างหน้าไปยังโครงการทดสอบการบินที่น่าตื่นเต้น" Dan Spoor รองประธานแผนก Sikorsky Future Vertical Lift กล่าว

เฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT กำลังเข้าร่วมโครงการสาธิตทางเทคโนโลยี JMR-TD(Joint Multi-Role Technology Demonstrator) ของกองทัพบกสหรัฐฯ ข้อมูลที่ได้จะช่วยกองทัพบกสหรัฐฯพัฒนาความต้องการสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปใหม่ที่คาดว่าจะเข้าประจำการในต้นปี 2030s
การบินครั้งแรกนี้เป็นก้าวย่างหลักสำคัญสำหรับทีม Sikorsky-Boeing และเป็นจุดสูงสุดของการออกแบบที่สำคัญ, การจำลอง และกิจกรรมทดสอบเพื่อสาธิตขีดความสามารถเพิ่มเติมของวิทยาการ X2

วิทยาการ X2 สามารถปรับขนาดได้ตามภารกิจทางทหารที่หลากหลาย เช่น การโจมตีและจู่โจม, การขนส่งระยะไกล, การแทรกซึมและส่งกำลัง DEFIANT เป็นอากาศยานในวิทยาการ X2 ที่พัฒนาขึ้นในระยะเวลาน้อยกว่า 10ปี
ตามที่ ฮ.SB>1 DEFIANT มีรหัสทะเบียน N100FV ได้ปรากฎภาพการจอดอยู่บนทางวิ่งที่โรงงานอากาศยาน Sikorsky ใน West Palm Beach เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/sikorsky-boeing-sb1-defiant.html)

เฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT กำลังทำการแข่งขันกับอากาศยานใบพัดกระดก Bell V-280 Valor ที่พัฒนาโดยบริษัท Bell Helicopter สหรัฐฯ ในเครือบริษัท Textron Inc. สหรัฐฯ ที่เป็นผู้เข้าแข่งขันอีกรายในโครงการ JMR-TD ของกองทัพบกสหรัฐฯ
โดย Bell V-280 Valor ที่ทำการบินครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/bell-v-280-valor.html) ได้ผ่านการทดสอบการบินไปแล้วหลายรายการ รวมถึงการทำความเร็วสูงสุดที่ 280knots เมื่อเดือนมกราคม 2019 ครับ

ญี่ปุ่นจะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกล ASM-3 รุ่นใหม่

Japan to develop long-range air-to-surface cruise missiles

A Japanese F-2 fighter carrying a pair of indigenously developed ASM-3 anti-ship missiles. Source: ATLA
https://www.janes.com/article/87346/japan-to-develop-long-range-air-to-surface-cruise-missiles

ญี่ปุ่นมีแผนที่จะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกลเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศต่อหมู่เกาะที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Takeshi Iwaya กล่าวเมื่อ 19 มีนาคม 2019
Iwaya กล่าวว่าแผนนี้มุ่งเป้าไปที่การเสริมสร้างการป้องปรามโดยการขยายพิสัยการยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียง ASM-3 ให้มีระยะยิงมากกว่า 400km

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ASM-3 ซึ่งคาดว่าจะมีความเร็วสูงสุดที่ Mach 3 และมีพิสัยยิงไกลสุด 200km เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น และกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
ในฐานะระบบที่จะมาทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำตระกูล Type 93 คาดว่า ASM-3 จะถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Mitsubishi F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)

Iwaya กล่าวว่าญี่ปุ่นได้เสร็จสิ้นการพัฒนา ASM-3 แล้ว แต่ยังคงกำลังพัฒนาคอมพิวเตอร์ภารกิจขั้นก้าวหน้า(AMC: Advanced Mission Computer) ใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-2 นั่นหมายความว่าตัวอาวุธปล่อยนำวิถียังไม่ถูกบูรณาการเข้ากับระบบเครื่องบินที่ติดตั้งมันได้
"เราจะสร้างความพยายามที่ดีที่สุดของเราเพื่อพัฒนาและนำ AMC มาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในระหว่างนี้เรามุ่งเป้าที่จะขยายพิสัยการยิงของอาวุธปล่อยนำวิถี ASM-3" Iwaya กล่าวในการสัมมนากับสื่อ

รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่าอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนใหม่ยังมีจุดประสงค์สำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะมาทดแทน F-2 ซึ่งจะถูกปลดประจำการในปี 2030s(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-2.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/07/northrop-grumman-f-2.html)
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังได้ลงนามสัญญาจัดหาสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Kongsberg JSM(Joint Strike Missile) นอร์เวย์เพื่อนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/jsm-f-35.html)

แม้ว่า Iwaya จะไม่ได้กล่าวถึงประเทศใดเฉพาะเจาะจง แต่มันได้ปรากฎว่าความเคลื่อนไหวนี้เป็นการตอบสนองต่อการขยายการเติบโตของกิจกรรมทางทะเลของจีนในทะเลจีนตะวันออก
ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะ Senkaku ในจังหวัด Okinawa ญี่ปุ่น หรือที่จีนเรียกว่าหมู่เกาะ Diayu หมู่เกาะที่เป็นพื้นที่พิพาทดังกล่าวอยู่ในการควบคุมโดยญี่ปุ่นแต่ยังถูกอ้างสิทธิโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

ญี่ปุ่นทำพิธีประจำการเรือดำน้ำชั้น Soryu ลำที่10 SS-510 Shoryu

Japan commissions 10th Soryu-class submarine



JS Shoryu, the JMSDF's 10th Soryu-class submarine, pictured at its commissioning ceremony on 18 March. The last two boats of the class will have lithium-ion batteries instead of lead-acid ones. (KHI)
https://www.janes.com/article/87293/japan-commissions-10th-soryu-class-submarine


กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำโจมตีดีเซลไฟฟ้า(SSK) ชั้น Soryu ลำที่10 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2019 ในจังหวัด Hyogo ทางตะวันตกตอนกลางของญี่ปุ่น
เรือดำน้ำ SS-510 JS Shoryu ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ กองเรือดำน้ำที่1 ฐานทัพเรือ Kure จังหวัด Hiroshima อย่างรวดเร็วหลังการส่งมอบโดยอู่ต่อเรือบริษัท Kawasaki Heavy Industries(KHI) ใน Kobe

บริษัท KHI ญี่ปุ่นกล่าวในแถลงการณ์ต่อสื่อว่าเรือดำน้ำ SS-510 Shoryu ซึ่งได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำในเดือนพฤศจิกายน 2017 เป็นเรือดำน้ำลำที่5 ของเรือดำน้ำชั้น Soryu ที่สร้างโดยอู่เรือ KHI โดยเรืออีก 5ลำถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น
วงเงินรวมทั้งหมดของการจัดหาเรือดำน้ำอยู่ที่ราว 56 billion Yen($502 million) โฆษกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's เมื่อ 18 มีนาคม 2019

ตามข้อมูลจาก Jane’s Fighting Ships เรือดำน้ำชั้น Soryu มีความยาวเรือ 84m กว้าง 9.1m กินน้ำลึก 8.4m และมีระวางขับน้ำ 2,947tonnes ที่ผิวน้ำ และมีระวางขับน้ำ 4,100tonnes เมื่อดำใต้น้ำ ทำความเร็วสูงสุด 20knots ที่ใต้น้ำ และ 12knots ที่ผิวน้ำ
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล Kawasaki 12V 25/25 สองเครื่อง และเครื่องยนต์ระบบขับเครื่องแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) แบบ Stirling แบบ Kawasaki Kockums V4-275R  สี่เครื่อง

เรือดำน้ำชั้น Soryu ติดท่อยิง Torpedo ขนาด 533m จำนวน 6ท่อยิงที่หัวเรือที่สามารถยิงTorpedo หนักแบบ Type 89 ที่ญี่ปุ่นพัฒนาเองได้ เรือยังสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยกลาง UGM-84C Harpoon ต่อต้านเป้าหมายผิวน้ำ
เรือดำน้ำชั้น Soryu แต่ละลำตั้งแต่ลำที่8 ของชั้นยังได้รับการติดตั้งระบบเป้าลวงต่อต้านที่ไม่ระบุจำนวน ตามที่โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

เรือดำน้ำชั้น Soryu ลำที่11 ของชั้นและเป็นลำที่6ที่ต่อโดยอู่เรือบริษัท MHI ญี่ปุ่นคือ SS-511 JS Oryu ที่ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/soryu-11-ss-511-oryu.html)
และเป็นเรือดำน้ำชั้น Soryu ลำแรกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่จะได้รับการติดตั้ง Battery แบบ Lithium-Ion แทนที่ Battery แบบตะกั่ว-กรด(lead-acid) ดั้งเดิมที่ใช้ในเรือดำน้ำลำก่อนหน้าครับ

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

Putin พิจารณาว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียเป็นอากาศยานทหารที่ดีที่สุดในโลก

Putin says he considers Su-57 as world’s best military plane

Su-57 fighter jet
According to the Russian leader, the multirole fighter is the world’s best plane "by all its operational characteristics and by its armament"
http://tass.com/defense/1049414

ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin กล่าวเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2019 ว่า เขาพิจารณาว่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียเป็นอากาศยานทางทหารที่ดีที่สุดในโลก
"นี่เป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดในวันนี้เครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก" ประธานาธิบดีรัสเซีย Putin กล่าวในการเข้าพบกับผู้ชนะการแข่งขันของเหล่าผู้นำรัสเซีย
นี่เป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก "โดยทุกคุณสมบัติการปฏิบัติการและโดยอาวุธของมัน" Putin เสริม "ไม่มีอากาศยานอื่นสามารถบินได้ดีเท่าเช่นเดียวกับเครื่องบินของเรา" ประธานาธิบดีรัสเซียย้ำอย่างหนัก

Su-57 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่5 ที่ออกแบบมาเพื่อทำลายเป้าหมายทางอากาศทุกรูปแบบในระยะไกลและระยะใกล้ และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินและเป้าหมายทางเรือของข้าศึก ด้วยการเอาชนะขีดความสามารถระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึกของมัน
Su-57 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2010 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องรุ่นก่อนหน้า Su-57 ผสมผสานการทำงานทั้งเครื่องบินโจมตีและเครื่องบินขับไล่ ขณะที่ใช้รูปแบบวัสดุผสมและนวัตกรรมวิทยาการและอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินขับไล่
ทำให้มั่นใจต่อระดับสัญญาณที่ต่ำต่อการถูกตรวจจับด้วย Radar และ Infrared ระบบอาวุธของ Su-57 จะประกอบด้วยอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก Hypersonic

รัสเซียได้ประสบความสำเร็จในการวางกำลังเครื่องบินขับไล่ Su-57 ทดสอบในเงื่อนไขการรบจริงแล้วในซีเรียมาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/su-57-su-35.html)
คาดว่า Su-57 จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ในปี 2019 โดยเครื่องชุดแรกที่จะเป็นชุดนำร่องในการสั่งจัดหาจะมีจำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-57-fgfa.html)
ทั้งนี้รัสเซียยังได้พร้อมที่จะทำการหารือกับอินเดียเกี่ยวกับการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-57 แก่กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/su-57.html)

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562

อียิปต์สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย

Egypt reportedly orders Su-35 fighters
Egypt has ordered a number of Su-35 multirole fighters, the Russian business newspaper Kommersant reported on 18 March.
https://www.janes.com/article/87282/egypt-reportedly-orders-su-35-fighters

People's Liberation Army Air Force Sukhoi Su-35SK fighters

อียิปต์ได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35 จากรัสเซียจำนวนหนึ่ง ตามที่หนังสือพิมพ์ธุรกิจรัสเซีย Kommersant รายงานเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2019 อ้างถึงเจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงที่กล่าวว่า
การสั่งซื้อสำหรับเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 'มากกว่า 24เครื่อง' ได้บรรลุผลเสร็จสิ้นในปลายปี 2018 โดยการส่งมอบคาดว่าจะเริ่มต้นได้ในช่วงปี 2020-2021 และเสริมว่าข้อตกลงนี้คาดว่าจะมีมูลค่าราว $2 billion

Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดของรัสเซีย โดยนอกจากเครื่องบินขับไล่ Su-35S ที่ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) แล้ว
เครื่องบินขับไล่ Su-35SK รุ่นส่งออกยังได้รับการสั่งจัดหาโดยกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) จำนวน 24เครื่องซึ่งได้ถูกส่งมอบตั้งแต่ปี 2018 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/su-35s-10-mig-29.html)

และลูกค้ารายที่สองของเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รัสเซียคือกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ที่ได้ลงนามสัญญาจัดหาจำนวน 11เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
แม้ว่าจะถูกกดดันจากสหรัฐฯให้ยกเลิกการจัดหา(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html) แต่กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะนำ Su-35 เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน14(Skadron Udara 14) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II ที่ปลดประจำการไปเมื่อเดือนตุลาคม 2018

ก่อนหน้านี้ในปี 2017 รัสเซียได้ทำการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29M/M2 จำนวน 46เครื่องแก่อียิปต์ ที่ลงนามสัญญาวงเงินประมาณ $2 billion ตั้งแต่ปี 2015 โดยมีกำหนดที่จะเสร็จสิ้นการส่งมอบภายในปี 2020
โดยปัจจุบันกองทัพอากาศอียิปต์(Egyptian Air Force) ยังคงมีเครื่องบินขับไล่เก่าที่ล้าสมัยรอการปลดประจำการและทดแทนด้วยเครื่องรุ่นใหม่อีกจำนวนมากเช่น เครื่องบินขับไล่ Mikoyan-Gurevich MiG-21 รัสเซีย และเครื่องบินขับไล่ Chengdu F-7M จีน(ลอกแบบ MiG-21)

นอกจากเครื่องบินขับไล่ Su-35SK และเครื่องบินขับไล่ MiG-29M/M2 กองทัพอากาศอียิปต์ยังได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 จำนวน 46เครื่องวงเงินมากว่า $1 billion นับเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับ ฮ.โจมตีรุ่นนี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/ka-52k-lhd-mistral-ka-52-3.html)
รวมถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52K Katran รุ่นใช้งานทางทะเล 32เครื่องที่จะมาใช้ปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock) ชั้น Mistral ของกองทัพเรืออียิปต์(Egyptian Navy) คือ L 1010 Gamal Abdel Nasser และ L 1020 Anwar El Sadat ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

มาเลเซียแก้ไขสัญญาใหม่สำหรับเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship จีน

Malaysia revises contract for Littoral Mission Ships
A model of the Littoral Mission Ship displayed by China Shipbuilding Industry Corporation at LIMA 2017. (IHS Markit/Ridzwan Rahmat)
https://www.janes.com/article/87277/malaysia-revises-contract-for-littoral-mission-ships

สัญญาเพื่อการสร้างเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship(LMS) สำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ได้รับการแก้ไขใหม่แล้ว
ในส่วนหนึ่งของแก้ไขสัญญาใหม่ อู่เรือบริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซียจะไม่มีการสร้างเรือ LMS สองลำในมาเลเซียอีกต่อไปตามที่เคยมีการเจรจาเดิมในปี 2017

เช่นนั้นเรือตรวจการณ์ LMS ทั้ง 4ลำที่ได้รับการสั่งจัดหาภายใต้สัญญาขณะนี้จะถูกต่อในจีนทั้งหมด ราคาสัญญายังได้รับการแก้ไขจาก 1.17 billion Malaysian ringgit($286.1 million) เหลือเป็น 1.05 billion Malaysian ringgit($257.7 million)
ตามที่บริษัท Boustead Heavy Industries Corporation(BHIC) มาเลเซียกล่าวในการยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ของมาเลเซียเมื่อวันที่ 15 มีนาคม โดยบริษัท BHIC มาเลเซียเป็นบริษัทแม่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอู่เรือ BNS มาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียชุดก่อนซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารโดยอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak ได้ลงนามสัญญาสำหรับเรือตรวจการณ์ LMS จำนวน 4ลำจาก China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนเมษายน 2017
LMS เป็นเรือหลักชั้นแรกของกองทัพเรือมาเลเซียที่มีสัญญาสร้างกับจีน ภายใต้สัญญาเรือ LMS 2ลำแรกในโครงการจะถูกสร้างในจีนโดยอู่ต่อเรือในเครือ CSIC จีน(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)

ขณะที่เรือ LMS 2ลำหลังจะถูกสร้างโดยอู่เรือ BNS ในมาเลเซียโดยมีจีนให้ความช่วยเหลือในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงการถ่ายทอด Technology เรือ LMS ลำแรกของมาเลเซียถูกทำพิธีตัดแหล็กแผ่นแรกในเดือนสิงหาคม 2018 ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding
ต่อมาเรือ LMS มาเลเซียลำแรกได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือในเดือนตุลาคม 2018 ขณะที่เรือ LMS ลำที่2 มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในวันเดียวกัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/littoral-mission-ship.html)

เรือตรวจการณ์ LMS มีความยาวเรือรวม 68.8m ความกว้างรวม 9m และตัวเรือกินน้ำลึก 2.8m และมีระวางขับน้ำเต็มอัตราที่ประมาณ 700tonnes ทำความเร็วได้สูงสุด 22knots และมีพิสัยทำการปกติประมาณ 2,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots
เรือสามารถติดตั้งปืนใหญ่กลขนาด 20mm หรือ 30mm ในป้อมปืน Remote(RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) เป็นปืนเรือหลัก และสามารถรองรับปืนกลหนักขนาด 12.7mm สองกระบอกที่ตำแหน่งดาดฟ้าหลังสะพานเดินเรือได้

แก้ไขสัญญาใหม่สำหรับโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship นี้เป็นกรณีล่าสุดในหลายชุดการตรวจทานโครงการร่วมระหว่างจีน-มาเลเซียที่ดำเนินการโดยรัฐบาลมาเลเซียชุดใหม่ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งในกลางปี 2018
โดยรัฐบาลมาเลเซียชุดปัจจุบันภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Mahathir Mohamad กำลังอยู่ระหว่างสอบสวนคดีทุจริตจำนวนมากของอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak ครับ

กาตาร์รับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E สหรัฐฯชุดแรก

Qatar on track to receive Apaches from 2019


Qatar is to receive the first of its 24 Apache helicopters in 2019, and has options for a further 24 to follow. Source: Boeing
https://www.janes.com/article/82320/qatar-on-track-to-receive-apaches-from-2019
https://twitter.com/abdulmoiz1990/status/1106442798423773184

กาตาร์กำลังอยู่ในเส้นทางการรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian ที่สั่งจัดหาไปล่าสุดตั้งแต่ช่วงปี 2019 จนถึงกลางปี 2020 ตามที่เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2019 ได้มีการทำพิธีส่งมอบเครื่องแรกแก่กาตาร์
โดยมีรองนายกรัฐมนตรีกาตาร์และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกาตาร์ Khalid bin Mohamed Al Attiyah ร่วมพิธีส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian ของกาตาร์เครื่องแรก ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท Boeing สหรัฐฯใน Mesa มลรัฐ Arizona

เจ้าหน้าที่โครงการของกองทัพอากาศกาตาร์(QEAF: Qatar Emiri Air Force) กล่าวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2019 ว่า เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E ชุดแรกจากจำนวน 24เครื่องที่สั่งจัดหาในวงเงิน $667 million ในปี 2016
กองทัพอากาศกาตาร์จะได้รับมอบเครื่องภายในก่อนสิ้นปี 2020 โดยการส่งมอบจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2020

ตามข้อมูลจากพลอากาศจัตวา(นักบิน) Ghanem bin Abdul Hadi Al Shahwani ข้อตกลงยังประกอบด้วยการฝึกนักบิน 70นายและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน 100นาย เช่นเดียวกับตัวเลือกในการจัดหา ฮ.โจมตี AH-64E เพิ่มอีกถึง 24เครื่อง
กาตาร์ได้ร้องขอการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache สหรัฐฯครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2012 ระบบอาวุธที่มีการร้องขอในเอกสารแจ้งการขายแบบ Foreign Military Sales(FMS) ของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency)

ประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถี Laser แบบ Lockheed Martin AGM-114R Hellfire จำนวน 576นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Raytheon FIM-92H Stinger จำนวน 295นัด และจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70mm จำนวน 4092นัด
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2018 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติการขายชุดจรวดนำวิถี BAE Systems Advanced Precision Kill Weapon Systems II(APKWS II) จำนวน 5,000นัด วงเงิน $300 million สำหรับจรวด Hydra ที่จะติดตั้งกับ ฮ.โจมตี Apache ด้วย

นอกจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E บริษัท Boeing สหรัฐฯยังได้รับสัญญาการสั่งจัดหาจากกาตาร์สำหรับเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15QA(Qatar Advanced) จำนวน 36เครื่อง วงเงิน $12 billion
กองทัพอากาศกาตาร์จะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-15QA สหรัฐฯชุดแรกของตนภายในก่อนวันที่ 30 ธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/boeing-f-15qa-36.html)

ทั้งนี้กองทัพอากาศกาตาร์เพิ่งจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเครื่องแรกจากที่สั่งจัดหารวมทั้งหมด 36เครื่อง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/dassault-rafale.html)
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon 24เครื่องจากสหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/eurofighter-typhoon.html) ที่จะทำให้ในอนาคตกองทัพอากาศกาตาร์จะมีเครื่องบินขับไล่แบบต่างๆรวมกันถึง 96เครื่องครับ