วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

CSOC จีนเปิดตัวแบบเรือดำน้ำใหม่สำหรับส่งออกพร้อม S26T กองทัพเรือไทย

China Shipbuilding and Offshore International Company(CSOC) and China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy
and unveiled New Three Submarine design Models at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)




CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy and New S1100 1100tons Conventional Submarine at Defense and Security Thailand 2017.((My Own Photos)


CSOC has showcased Model of New 600tons Conventional Submarine and MS200 200tons Conventional Submarine at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)



Specification of S26T, S1100, S600 and MS200 Conventional Submarines.(My Own Photos)



CSOC has also showcased Products include Model of 4000tons Frigate, CV-16 Liaoning Aircraft Carrier, 3000tons Frigate and 68m Patrol Vessel or Littoral Mission Ships(LMS) for Royal Malaysian Navy.(My Own Photos)

CSOC(China Shipbuilding and Offshore International Company) รัฐวิสาหกิจด้านการส่งออกเรือซึ่งมีบริษัท CSIC(China Shipbuilding Industry Corporation) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือรายใหญ่ในความควบคุมของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในเครือ
ได้เปิดตัวแบบจำลองเรือดำน้ำสามแบบใหม่สำหรับส่งออกร่วมกับผลิตภัณฑ์เรือรบอื่นๆเป็นครั้งแรก ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

แบบจำลองเรือดำน้ำที่ออกแบบใหม่ล่าสุดนี้ได้ตั้งแสดงร่วมกับเรือดำน้ำแบบ S26T ที่กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy)ได้ลงนามสัญญาจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)
ล่าสุด คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน และเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย ได้เดินทางไปปฏิบัติราชการที่จีนเพื่อเตรียมการควบคุมการออกแบบสร้าง ฝึกอบรมกำลังพล และรับมอบเรือเป็นระยะเวลาอีก ๖ปีข้างหน้าแล้ว

แบบเรือดำน้ำใหม่ของ CSOC จีนสามแบบนี่มีรูปแบบคล้ายคลึงโดยย่อส่วนจากเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039B รุ่นปรับปรุงล่าสุดที่มีหอเรือทรงโค้งมนรูปแบบเดียวกับเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Virginia กองทัพเรือสหรัฐฯ
แต่ขณะที่ S26T ของกองทัพเรือไทยเป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือสองชั้น(Double-Hull) ที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Type 039B ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy) เรือดำน้ำสามแบบใหม่เป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือชั้นเดียว(Single-Hull) เหมือนเรือดำน้ำชาติตะวันตก

เรือดำน้ำใหม่แบบแรกที่แสดงคู่กับ S26T ของไทยคือเรือดำน้ำแบบ S1100 ติดตั้งท่อยิง Torpedo 4ท่อยิง มีความยาวประมาณ 60m กว้าง 5.6m สูง 6.8m ระระวางขับน้ำปกติประมาณ 1,100tons ทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 15knots
ติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP(Air Independent Propulsion) มีพิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำต่อเนื่อง 800nmi พิสัยทำการไกลสุด 3,000nmi เมื่อเดินทางใต้น้ำและบนผิวน้ำรวมกัน ดำได้ลึกสุด 200m ระยะเวลาปฏิบัติการนาน 30วัน กำลังประจำเรือ 18นาย อายุการใช้งานตัวเรือ 25ปี

เรือดำน้ำใหม่แบบที่สองคือเรือดำน้ำแบบ S600 ติดตั้งท่อยิง Torpedo 4ท่อยิง มีความยาวประมาณ 50m กว้าง 4.6m สูง 5.6m ระระวางขับน้ำปกติประมาณ 600tons ทำความเร็วได้สูงสุดขณะดำใต้น้ำประมาณ 15knots ความเร็วได้สูงสุดที่ผิวน้ำประมาณ 9knots
พิสัยทำการไกลสุด 2,000nmi เมื่อเดินทางใต้น้ำและบนผิวน้ำรวมกัน พิสัยทำการเมื่อใช้ AIP ดำใต้น้ำต่อเนื่อง 400nmi ดำได้ลึกสุด 200m กำลังประจำเรือ 15นาย ระยะเวลาปฏิบัติการนาน 20วัน

และเรือดำน้ำใหม่แบบที่สามคือเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำหรับปฏิบัติการพิเศษแบบ MS200 ติดตั้งท่อยิง Torpedo 2ท่อยิง มีความยาวประมาณ 30m กว้าง 3.6m สูง 4.4m ระระวางขับน้ำปกติประมาณ 200tons ทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 8knots
พิสัยทำการขณะดำใต้น้ำสูงสุด 120nmi พิสัยทำการไกลสุด 1,500nmi เมื่อเดินทางใต้น้ำและบนผิวน้ำรวมกัน ดำได้ลึกสุด 200m ระยะเวลาปฏิบัติการนาน 15วัน อายุการใช้งานตัวเรือ 25ปี กำลังประจำเรือ 6นาย และรองรับหน่วยรบพิเศษไปกับเรือได้ 8นาย

ตัวแทนของ CSOC จีนเปิดเผยข้อมูลเล็กน้อยว่านอกจากที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกเรือดำน้ำแบบ S20P ให้กองทัพเรือปากีสถาน ๘ลำซึ่งจะต่อที่อู่เรือ Karachi ในปากีสถาน ๔ลำ และส่งออกเรือดำน้ำแบบ S26T ๑ลำให้กองทัพเรือไทยแล้ว
เรือดำน้ำของจีนยังได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีรายชื่อปรากฎภายหลัง เช่น ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ แอลจีเรีย ลิเบีย เวเนซูเอลา และกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy)

สำหรับทางเลือกของประเทศที่มีงบประมาณจำกัดมากแต่ต้องการจะมีเรือดำน้ำประจำการ CSOC ก็พร้อมเสนอเรือดำน้ำชั้น Type 035(NATO กำหนดรหัส Ming) ที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนแล้วมาปรับปรุงใหม่ขายต่อ
โดยจีนได้ส่งมอบเรือดำน้ำ Type 035G มือสอง ๒ลำให้กองทัพเรือบังคลาเทศเข้าประจำการแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/type-035-2.html) และมีรายงานล่าสุดว่ากองทัพเรือพม่าอาจจะสั่งจัดหาเรือดำน้ำ Type 035 มือสองจากจีน ๒ลำเข้าประจำการในเร็วๆนี้ด้วย

ซึ่งในกรณีของกองทัพเรือไทย จีนได้ให้การสนับสนุนการจัดการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการซ่อมบำรุงเรือ และฝึกอมรบกำลังพลพร้อมการถ่ายทอด Technology เรือดำน้ำให้ไทยด้วย(ผู้เขียนได้ข้อมูลส่วนใหญ่จากสื่อประสมและวิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ที่ตัวแทนบริษัทจีนเชิญให้ชมด้วยตนเอง
ว่ากันตรงๆ บริษัทของประเทศเอเชียบางประเทศที่มาออกงานไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับสื่อ Online นัก ต่างจากบริษัทตะวันตกที่ให้ความสำคัญและให้ข้อมูลอย่างดี อะไรที่ตอบไม่ได้ก็จะปฏิเสธอย่างทางการแบบสุภาพ บางบริษัทมีภาพข้อมูลประชาสัมพันธ์กับของที่ระลึกแจกให้เยอะแยะ)

ทั้งนี้นอกจากการเปิดตัวแบบเรือดำน้ำใหม่สามรุ่นแล้ว CSOC ยังได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์เรือรบของตนอีกหลายแบบ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning แบบเรือฟริเกตขนาด 4000tons และแบบเรือฟริเกตขนาด 3000tons สำหรับส่งออกที่เสนอให้หลายประเทศ
รวมถึงแบบเรือตรวจการณ์ขนาด 68m คือเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship(LMS) ที่กองทัพเรือมาเลเซียลงนามสัญญาจากจีน ๔ลำ โดย ๒ลำแรกจะต่อที่จีน และอีก ๒ลำหลังจะต่อในมาเลเซียครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)