วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นมองหลายเส้นทางสำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-2

Tokyo eyes multiple routes for new fighter jet
Japan’s Acquisition, Technology, & Logistics Agency (ATLA) continues to weigh ideas for a futuristic fighter to replace the nation’s Mitsubishi F-2 aircraft.
https://www.flightglobal.com/news/articles/tokyo-eyes-multiple-routes-for-new-fighter-jet-447911/

Mitsubishi F-2B in flight(wikipedia.org)

สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าชั่งน้ำหนักของแนวคิดต่างๆ
สำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ในอนาคตของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2

"เราได้ดำเนินการทำขั้นตอนเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) อย่างต่อเนื่อง และคำถามของเราได้รับการเปลี่ยนแปลง" เจ้าหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของญี่ปุ่นที่น่าจะถูกกำหนดแบบว่า F-3 กล่าว
เขายังได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อสำนักข่าว Reuters ที่ได้รายงานพิเศษอ้างถึงแหล่งข้อมูลนิรนามว่า บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯต้องการที่จะเสนอเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ที่ลูกผสมระหว่าง F-22 Raptor และ F-35 Lightning II สำหรับความต้องการของญี่ปุ่นในระยะยาว

Reuters ได้รายงานอ้างจากแหล่งข่าวรายหนึ่งว่าเครื่องขับไล่ลูกผสมแบบใหม่ที่ Lockheed Martin สหรัฐฯจะมีการพัฒนาขึ้นนั้นมี "ความเหนือกว่าต่อทั้งเครื่องบินขับไล่สองแบบ"(F-22 และ F-35)
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่ามีข้อเสนอหลายจำนวนที่กำลังถูกชั่งน้ำหนัก รวมถึงที่ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรยังได้กำลังทำการศึกษาร่วมกันเพื่อมองไปยัง "โอกาสความเป็นไปได้สำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่อนาคต"

ญี่ปุ่นได้สำรวจแนวทางสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่อย่างจริงจังมานานหลายปี ทั้งแนวทางการพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทั้งหมดภายในประเทศ, ร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่, จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่หรือปรับปรุงเครื่องที่มีอยู่
การพัฒนาอากาศยานที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่สหรัฐฯไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นที่เครื่องบินขับไล่ F-2 ญี่ปุ่นที่มีพื้นฐานขยายแบบจากเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon สหรัฐฯ

เครื่องบินขับไล่ F-2 ถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้นสำหรับภารกิจโจมตีโดยเฉพาะการติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ โดย F-2 มีพื้นที่ปีกที่ใหญ่กว่า F-16 ร้อยละ25 และมีการดัดแปลงในส่วนอื่นอย่างมากเช่นการใช้วัสดุผสม
แต่โชคร้ายที่ F-2 นั้นมีราคาที่แพงเกินไปซึ่งญี่ปุ่นได้สั่งจัดหาเพียง 94เครื่องจากแผนที่จะจัดหา 144เครื่อง แบบเครื่องที่มีคุณสมบัติผสมระหว่าง F-35 และ F-22 จึงควรจะมีประสิทธิภาพที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่ของญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้สูงมากสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

เดิมนั้นกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-22 สหรัฐฯเพื่อแทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-15J ซึ่งญี่ปุ่นได้สิทธิบัตรการผลิตในประเทศจากบริษัท Boeing สหรัฐฯ(เดิม McDonnell Douglas) ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1980s
แต่ในปี 1998 สภา Congress สหรัฐฯได้มีมติห้ามการส่งออกและขายสิทธิบัตร F-22 แก่ต่างประเทศ การจัดหา F-22 รุ่นลดสมรรถนะสำหรับการส่งออกแก่ญี่ปุ่นยังคงดูมีการสรุปความเป็นไปได้ในปี 2006

แต่สหรัฐฯได้แสดงความกังวลต่อญี่ปุ่นเกี่ยวกับขีดความสามารถในการรักษาความลับของ Technology ตน จากกรณีที่ในปี 2002 มีการรั่วไหลของข้อมูลระบบอำนวยการรบ Aegis จากญี่ปุ่น
ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) ได้นำระบบอำนวยการรบ Aegis มาติดตั้งในเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Kongo ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1990s เป็นชั้นแรก

ขณะที่บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นได้รับสิทธิบัตรการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35A 38เครื่องจาก 42เครื่องที่โรงงานสายการประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้าย(FACO: Final Assembly and Check Out) ที่ Nagoya(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าอีกนานแค่ไหนที่รัฐบาลสหรัฐฯจะอนุมัติการถ่ายทอด Technology ที่จำเป็นในการนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ลูกผสมระหว่าง F-22 และ F-35 ร่วมกันกับญี่ปุ่น

ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นได้ยืนยันว่างานพัฒนาสำหรับเครื่องบินสาธิตทางเทคโนโลยี Mitsubishi X-2 Shinshin ได้เสร็จสิ้นลงแล้วหลังทำการบินมา 34เที่ยวบินจากแผนเดิมที่โครงการวางการทดสอบการบินไว้มากกว่า 50เที่ยวบิน
"เราได้เสร็จสิ้นการทดสอบตามที่เราวางแผนแล้ว ยังไม่มีการกำหนดเกี่ยวกับอนาคตของ X-2 เราอาจจะทำการทดสอบเพิ่มเติม" เขากล่าว

เครื่องบินต้นแบบสาธิต X-2 ซึ่งเดิมถูกเรียกว่าโครงการ ATD-X ยังคงอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Gifu หลังจากทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/04/mitsubishi-x-2-shinshin.html)
โครงการ X-2 เป็นส่วนหนึ่งของการตั้งต้นทางอุตสาหกรรมและสำรวจ Technology ที่จำเป็นของญี่ปุ่นสำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 หรือเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth)

การพัฒนาเครื่องบินต้นแบบสาธิต X-2 ยังประกอบไปด้วยโครงการแยกย่อยอีก 15โครงการในการแสวงหา Technology เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น ห้องเก็บอาวุธภายในตัวเครื่อง, ระบบตรวจจับ, Data Link, และอื่นที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้า
โครงการ X-2 Shinshin ยังได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการส่งต่อองค์ความรู้จากวิศวกรอากาศยานอาวุโสไปสู่คนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นด้วยครับ