วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศมาเลเซียจะลดแบบอากาศยานลงตามแผนการปรับโครงสร้าง

Malaysia reduces aircraft types in air force transformation roadmap
A Royal Malaysian Air Force Airbus A400M transport aircraft, seen here at Langkawi in 2017. Source: IHS Markit/Ridzwan Rahmat
https://www.janes.com/article/82245/malaysia-reduces-aircraft-types-in-air-force-transformation-roadmap

https://www.facebook.com/PortalTUDM/

จำนวนแบบของอากาศยานที่จะถูกใช้ปฏิบัติการโดยกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จะถูกลดลง
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระยะยาวที่มุ่งเป้าไปยังการดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการของกองทัพอากาศมาเลเซียจนถึงปี 2055

รายละเอียดของโครงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างซึ่งได้ถูกอ้างอิงในชื่อ 'Capability 55' หรือ 'CAP55' ในเอกสารทางการได้ถูกเปิดเผยในภาพ infographic ที่เผยแพร่โดยกองทัพอากาศมาเลเซียผ่านช่องทางสื่อสังคม Online เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา
"CAP55 จะทำให้เรามีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการบริหารสิ่งอุปกรณ์, การนำไปใช้ในการปฏิบัติการ และจะทำให้มีความได้เปรียบที่ยิ่งใหญ่กว่าต่อประเทศ" สื่อประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้กล่าว โครงการ CAP55 จะเริ่มต้นในปลายปี 2018 และดำเนินการไปจนถึงปี 2055

ฝูงบินขับไล่ของกองทัพอากาศมาเลเซียประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่รัสเซียสองแบบคือ Sukhoi Su-30MKM(NATO กำหนดรหัส Flanker-H) 18เครื่อง และ MiG-29N(NATO กำหนดรหัส Fulcrum-A) 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D สหรัฐฯ 8เครื่อง
แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ MiG-29N ทุกเครื่องขณะนี้กำลังถูกงดบิน และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM จะมีสภาพทำการบินได้เพียง 4เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html) ทำให้ F/A-18D เป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีความพร้อมรบสูงสุด

กองทัพอากาศมาเลเซียยังประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่ง BAE Systems Hawk Mk 108/เครื่องบินโจมตีไอพ่นที่นั่งเดียว Hawk Mk 208 สหราชอาณาจักร
และเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi MB-339 อิตาลี ซึ่งเครื่องบินไอพ่นความเร็วต่ำกว่าเสียงทั้งสามแบบถูกใช้ในภารกิจโจมตีเบาและการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบ

ในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างจะมีการปรับลดเครื่องบินรบลงให้เหลือเพียงสองแบบคือ เครื่องบินรบพหุภารกิจ MRCA(Multirole Combat Aircraft)(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html)
และเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer)(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)

เครื่องบินขับไล่ในโครงการ MRCA จะถูกจัดวางกำลังประจำการในสองฝูงบิน ขณะที่เครื่องบินโจมตีเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึกในโครงการ LCA/FLIT จะถูกวางกำลังประจำการในสามฝูงบิน
ฝูงบินอากาศยานปีกหมุนของกองทัพอากาศมาเลเซียที่ปัจจุบันประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Airbus Helicopters EC 725 ฝรั่งเศส และ Sikorsky S-61A Nuri สหรัฐฯ จะยังถูกลดให้เหลือ ฮ.แบบเดียวที่จะประจำการในสองฝูงบิน

ขณะเดียวกันฝูงบินลำเลียงของกองทัพอากาศมาเลเซียจะถูกลดแบบอากาศยานลงเหลือสองแบบคือ เครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์/เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศพหุภารกิจ(MRTT: Multirole Tanker Transport) หนึ่งฝูงบิน และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองฝูงบิน
โดยปัจจุบันกองทัพอากาศมาเลเซียมีเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ Airbus A400M สเปน 4เครื่อง, เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Lockheed C-130H สหรัฐฯ 10เครื่อง และ CASA CN-235 สเปน 7เครื่อง และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-130H สหรัฐฯ 4เครื่อง

การปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศมาเลเซียยังรวมถึงโครงการจัดหาอากาศยานแบบใหม่ประกอบด้วย เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) หนึ่งฝูงบิน
อากาศยานรบไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UCAV:Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Combat Aerial Vehicle) หนึ่งฝูงบิน และเครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากา(AEW&C: Airborne Early Warning and Control) หนึ่งฝูงบินครับ