วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567

อาเซอร์ไบจานประกาศว่าตนได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17C Block III ใหม่ปากีสถาน-จีนแล้ว

ADEX 2024: Azerbaijani JF-17 delivery announced







A JF-17C Block III fighter that was displayed for Azerbaijani President Ilham Aliyev at Baku's Heydar Aliyev International Airport on 25 September 2024. (President of the Republic of Azerbaijan)



อาเซอร์ไบจานได้รับมอบเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ JF-17C Block III ที่สร้างโดยปากีสถานเครื่องแรกของตนแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/jf-17.html)
เรื่องนี้ได้รับการประกาศระหว่างานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Azerbaijan International Defence Exhibition(ADEX) 2024 ที่จัดขึ้นในนครหลวง Baku ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2024

เมื่อประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน Ilham Aliyev ได้ทำการตรวจรับเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว JF-17C Block III หนึ่งเครื่องที่จัดแสดงใกล้กันกับท่าอากาศยานนานาชาติ Heydar Aliyev เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2024
สำนักงานประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานได้เผยแพร่ชุดภาพถ่ายของประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน Aliyev นั่งอยู่ในเครื่องบินขับไล่ที่ระบุว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ JF-17C Block III

"เครื่องบินรบเหล่านี้ได้ถูกบูรณาการเข้าสู่คลังแสงของกองทัพอากาศอาเซอร์ไบจาน(AzAF: Azerbaijan Air Force) แล้ว" สำนักงานประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานกล่าว
อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ JF-17C Block III ที่จัดแสดงระหว่างงานแสดง ADEX 2024 ในชุดภาพถ่ายมีการทำลวดลายในเครื่องหมายของกองทัพอากาศปากีสถาน(PAF: Pakistan Air Force) ไม่ใช่ของอาเซอร์ไบจาน

อ้างอิงจากรายงานต่างๆของปากีสถานที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ สื่อของอาเซอร์ไบจานรายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ว่าสัญญาวงเงิน $1.6 billion ได้รับการลงนามสำหรับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Block III ที่ไม่ระบุจำนวน
กองทัพอากาศปากีสถานได้เผยแพร่วีดิทัศน์ในเดือนกรกฎาคม 2024 แสดงถึงคณะเสนาธิการทหารกองทัพปากีสถานบรรยายสรุปให้กับประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน Aliyev เกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Block III

ระหว่างที่ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานทำการเดินทางเยือนอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินแห่งชาติปากีสถาน(NASTP: National Aerospace Science and Technology Park) ณ ฐานทัพอากาศ Nur Khan ใน Rawalpindi 
แต่การบรรลุผลเสร็จสิ้นของสัญญาของไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจนถึงขณะนี้(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/jf-17-29-super-tucano.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/01/jf-17b-14.html)

เครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ถูกผลิตโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานปากีสถานในความเป็นหุ้นส่วนกับ Chengdu Aircraft Industry Group(CAIG) ในเครือ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน 
อย่างไรก็ตามไม่มีมีตัวแทนของ PAC ปากีสถานคนใดที่ร่วมงานแสดง ADEX 2024 ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับสื่อ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/jf-17b-12.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/01/jf-17-block-iii-j-20.html)

แม้ว่าไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด เครื่องบินขับไล่ JF-17C Block III กองทัพอากาศปากีสถานถูกจัดแสดงในงาน ADEX 2024 ร่วมกับอุปกรณ์และอาวุธหลากหลายแบบรวมถึงกระเปาะชี้เป้าหมาย Aselpod ของบริษัท Aselsan ตุรกีที่พบว่าถูกใช้งานกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 ของไนจีเรีย
อาเซอร์ไบจานได้เข้าร่วมกลุ่มลูกค้าส่งออกของของเครื่องบินขับไล่ JF-17 ปากีสถาน-จีนอย่างเป็นทางการต่อจากกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei หรือ Tatmadaw Lay) 16เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/yak-130-jf-17.html) และไนจีเรีย 3เครื่อง รวมถึงกำลังเจรจาความเป็นไปได้กับอิรักครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567

เนเธอร์แลนด์ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM และประกาศความพร้อมเต็มอัตรา F-35A

Netherlands declares FOC for F-35, retires F-16







The F-35A (pictured) has now taken on all the roles of the F-16 (pictured) in RNLAF service. (Royal Netherlands Air Force)





กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(RNLAF: Royal Netherlands Air Force, Koninklijke Luchtmacht) ได้ประกาศความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability) ของฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter (JSF) ของตน
ในเวลาเดียวกับที่ทำการปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM/BM Block 15 MLU(Mid-Life Update) Fighting Falcon เครื่องสุดท้ายของตนจากกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-35a-f-16ambm.html)

สองเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นพร้อมกันต่อเนื่องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2024 โดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ประกาศว่า เครื่องบินขับไล่ F-35A ขณะนี้ได้เข้ามาทำหน้าที่ในภารกิจของเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM Block 15 MLU แล้ว
"ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตราน่านฟ้าของกลุ่มประเทศ Benelux(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก), ดำเนินการปฏิบัติการตัวอย่างเช่นเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย หรือเพื่อการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของ NATO เครื่องบินขับไล่ F-35 สามารถทำได้ทั้งหมด" กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กล่าว

"ในวันนี้ เครื่องบินขับไล่(F-35A)แบบนี้ได้มีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราอย่างเป็นทางการภายใต้ทุกสภาพการณ์ ในศัพท์ทางเทคนิคเฉพาะ(jargon) เครื่องบินได้มีสถานะความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา FOC แล้ว" กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์กล่าว
ในวันก่อนหน้า(25 กันยายน 2024) ผู้บังคับฝูงบินที่312(312 Squadron) ฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM Block 15 MLU ณ ฐานทัพอากาศ Volkel นาวาอากาศโท Patrick Vreeburg ประกาศว่า

"วันพรุ่งนี้(26 กันยายน 2024) จะเป็นเที่ยวบินปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของเครื่องบินขับไล่ F-16 ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ เราวางแผนที่จะทำการบินรอบทั้งประเทศเพื่อกล่าวอำลา" นาวาอากาศโท Vreeburg กล่าว
เครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องแรกมาถึงเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2019 โดยเข้าประจำการในสองฝูงบินคือฝูงบินที่322(322 Squadron) ณ ฐานทัพอากาศ Leeuwarden และฝูงบินที่313(313 Squadron) ณ ฐานทัพอากาศ Volkel

กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ขณะนี้มีเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 40เครื่องจากที่สั่งจัดหาแล้ว 52เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a.html) โดย F-35A เพิ่มเติมอีก 6เครื่องจะมีการทำสัญญาตามมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ตามที่มีการเริ่มปลดประจำการฝูงเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM ไปหลายเดือนก่อนหน้า เนเธอร์แลนด์ได้บริจาค F-16AM/BM จำนวน 18เครื่องของตนให้แก่ศูนย์ฝึก F-16 ยุโรป(EFTC: European F-16 Training Center) ในโรมาเนีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/f-35a-32.html

และได้ให้คำมั่นที่จะบริจาคเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM เพิ่มเติมอีกจำนวน 24เครื่องแก่กองทัพอากาศยูเครน(Ukrainian Air Force) เนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในชาติ NATO ยุโรปผู้ใช้งาน F-16 รายแรกร่วมกับเบลเยียม(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/nato-f-16ambm.html), เดนมาร์ก และนอร์เวย์ที่ให้คำมั่นจะส่งมอบเครื่องของพวกตนแก่ยูเครน
กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-16A/B เครื่องแรกของตนในปี 1979 ซึ่งเคยมีจำนวนรวมถึง 213เครื่อง ที่ต่อมาได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid Life Update) จำนวนราว 47เครื่อง รวมระยะเวลาประจำการ 45ปีครับ

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2567

ผู้ผลิตหลายรายจะเข้าร่วมแข่งขันโครงการเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ MRF ฟิลิปปินส์

ADAS 2024: Candidates line up for Philippines fighter contest





Saab displayed a mock-up of its Gripen E/F fighter aircraft at the ADAS 2024 show in Manila. (Philippine News Agency, Anders Dahl, Emmanuel Garcia)

ขอบเขตของผู้เข้าร่วมการแข่งขันโครงการเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ MRF(Multirole Fighter) ของฟิลิปปินส์ได้ปรากฏที่มีการเพิ่มความหลากหลายด้วยความสนใจจากผู้ผลิตสิ่งอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEM: original equipment manufacturer) หลายราย
ที่กำลังนำเสนอของเสนอของพวกตน ณ งานแสดงอาวุธยุโธปกรณ์ Asian Defense and Security Exhibition (ADAS) 2024 ในนครหลวง Manila ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2024 ที่ผ่านมา

บริษัท Saab สวีเดนเป็นเพียงบริษัทเดียวที่นำเสนอแบบจำลองขนาดเท่าของจริง mock-up ในการนำเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนในงานแสดง ADAS 2024 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปนี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/gripen-ef.html)
ยังมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการนำเสนอสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ MRF สำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/mrf.html) จาก

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีกับเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/kf-21-20.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/05/kf-21.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kf-21-40.html),
บริษัท Leonardo อิตาลีกับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/f-35-eurofighter-typhoon.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/eurofighter-typhoon-24.html),

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯกับเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html),
และบริษัท Turkish Aerospace(TA) ตุรกีกับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Hürkuş เครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น Hürjet(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/turkish-aerospace.html) และเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้า Kaan ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/kaan.html)

บริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศส ซึ่งยังเป็นที่เข้าใจว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ MRF กับเครื่องบินขับไล่ Rafale ของตนนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/rafale-12.html) ไม่ได้มานำเสนอในงานแสดง ADAS 2024
การแสวงหาของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์สำหรับโครงการ MRF ได้มีมาอย่างยาวนาน แต่ในเดือนสิงหาคม 2024 กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ตอกย้ำความตั้งใจของตนอีกครั้งที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 40เครื่องในโครงการที่มีมูลค่าถึงวงเงินราว $7 billion

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์กำลังมองที่จะเสริมกำลังต่แฝูงบินเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา KAI FA-50PH ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/kai-tai-mro-t-50th.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/05/fa-50.html) ในเวลาที่ความตึงเครียดกับจีนเพิ่มสูงขึ้น
แบบจำลอง mock-up ของเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F ถูกจัดแสดงพร้อมกับอุปกรณ์ประกอบและอาวุธต่างๆรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้(SRAAM: Short-Range Air-to-Air Missile) แบบ Diehl IRIS-Tเยอรมนี,

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile) แบบ MBDA Meteor ยุโรป(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/meteor-mlu-2024.html), อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Diehl-Saab RBS15 Gungnir สวีเดน-เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/saab-rbs15.htm), และปืนใหญ่อากาศ Mauser BK-27 ขนาด 27mm
แบบจำลอง mock-up ยังแสดงถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกด้วย การพูดคุยกับ Janes ในงาน ADAS 2024 โฆษกของบริษัท Saab กล่าวว่า ขั้นตอนของกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ MRF ใหม่ยังคง "ดำเนินอยู่" โดยยืนยันว่าบริษัทพร้อมที่จะส่งมอบเครื่องบินได้ "โดยเร็วที่สุดตามที่ต้องการ" ครับ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567

Lockheed Martin สหรัฐฯเปิดเผยรายละเอียดข้อเสนอชดเชยของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 แก่กองทัพอากาศไทย

Details emerge on Lockheed Martin's F-16 offsets proposal to Thailand







The Royal Thai Air Force currently operates three squadrons of F-16A Fighting Falcons. At least 12 out of 49 active F-16s are due for retirement in the next few years. (Royal Thai Air Force)

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้เสนอการปรับปรุงทางวิทยาการและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมโดยตรงในฐานะส่วนหนึ่งของข้อเสนอชดเชย(offset) ในข้อเสนอการขายของตนของเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 แก่กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) 
ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ความคุ้นเคยกับสถานการณ์นี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/f-16-block-7072-gripen-ef.html)

กองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) Fighting Falcon ที่มีอายุการใช้งานมานานบางส่วน
ที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html) เครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒เครื่องจะถูกจัดหาระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html)

Janes เข้าใจว่าเพื่อสนับสนุนข้อเสนอเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ของตนแก่กองทัพอากาศไทย บริษัท Lockheed Martin ได้เสนอการติดตั้งเข้ากับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี 
ที่จะยังคงปฏิบัติการระบบเครือข่าย datalink เข้ารหัสแบบ Link 16 แและระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบ Mode 5 IFF(Identification Friend-or-Foe) ระบบพิสูจน์ทราบด้วยพื้นฐานระบบ radar(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/f-16c-block-70-2.html)

นี่จะเป็นผลให้เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B มีความเข้ากันได้กับเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ใหม่ ตามข้อมูลจากแหล่งข่าว การผสมผสานระบบ Link 16 datalink และระบบพิสูจน์ฝ่าย Mode 5 IFF เข้าด้วยกัน
"ได้สร้างแนวทางแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันซึ่งจะทำให้ฝูงบิน(เครื่องบินขับไล่ F-16) ทั้งสองฝูงบินจะพูดคุยกับแต่ละอีกฝ่ายได้" แหล่งข่าวเสริม(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-16cd-block-70-40.html)

Lockheed Martin สหรัฐฯได้ยื่นข้อเสนอชดเชย offset ที่ได้ถูกปรับปรุงของตนแก่ไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท Lockheed Martin ได้ให้มูลค่าข้อเสนอ offset ของตนที่วงเงิน $1.7 billion ตามข้อมูลแหล่งข่าว
การปรับปรุงยังเป็นที่คาดว่าจะเพิ่มขยายการทำงานรวมกันของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ รุ่นดั้งเดิมกับ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ รวม ๔๙เครื่องที่วางกำลังในต่างกองบินในภูมิภาคอื่นที่ติดตั้งด้วยระบบ Link 16 เช่นเดียวกัน แหล่งข่าวเสริม

องค์ประกอบอื่นของชุดข้อเสนอ offset รวมถึงข้อเสนอการเพิ่มทักษะ(upskill) ผ่านความเป็นหุ้นส่วนกับสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยด้วย แหล่งข่าวกล่าว 
Janes ได้รายงานไปก่อนหน้าว่า กองทัพอากาศไทยประกาศเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ว่าตนได้เลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab JAS 39 Gripen E/F สวีเดนเหนือเครื่องบินขับไล่ F-16V สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/gripen-ef.html)

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพอากาศไทยได้ยืนยันความตั้งใจของตนในการให้คำแนะนำการเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F เป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะประจำการ ณ ฝูงบินขับไล่สกัดกั้นที่๑๐๒(102nd FIS: Fighter Interceptor Squadron) กองบิน๑ โคราชต่อกระทรวงกลาโหมไทยและรัฐบาลไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
ซึ่งสื่อไทยได้รายงานว่ากองทัพอากาศไทยมีแผนจะแถลงการณ์รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนในราวเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ นี้ อย่างไรก็ตามการอนุมัติการจัดหาที่จะนำไปสู่การลงนามสัญญาเป็นกระบวนการที่จะต้องถูกพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรีไทยและรัฐสภาไทย ซึ่งยังสามารถมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นผลดีกับ Lockheed Martin สหรัฐฯได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567

ญี่ปุ่นจะปรับปรุงรถถังหลัก Type 10

Japan to upgrade Type 10 MBT





Japan's Type 10 MBT weighs 44 tonnes but can be stripped down to 40 tonnes to improve transportability. (Japanese Ground Self-Defence Force)



กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในกรุง Tokyo ได้เผยแพร่เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างที่ร่างเค้าโครงความตั้งใจที่จะปรับปรุงรถถังหลัก Mitsubishi Type 10 MBT(Main Battle Tank) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/type-74.html)
เอกสารแจ้งที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2024 มุ่งเน้นที่การจัดหาระบบป้องกันเชิงรุก APS(Active Protection System) และการบูรณาการปืนใหญ่กลขนาด 30mm ติดตั้งบนป้อมปืน remote(RWS: Remote Weapon Station)

ตามข้อมูลจากเอกสารแจ้ง ระบบป้องกันเชิงรุก APS จำเป็นที่ต้องบูรณาการเข้ากับระบบตรวจจับต่างๆที่สามารถที่จะตรวจจับกระสุน จรวด และอาวุธต่อสู้รถถังชนิดและขนาดต่างๆได้ ขณะที่ป้อมปืน RWS ควรจะต้องติดตั้งกับสายอากาศที่จะสามารถตรวจจับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ต่างๆได้
แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ยืนยัน มีระบบป้องกันเชิงรุก APS สามแบบที่ได้รับการรายงานว่าอยู่ภายในการพิจารณาโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ระบบเหล่านี้รวมถึงระบบป้องกันเชิงรุก APS แบบ Trophy ของบริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/merkava-barak.html), 

ระบบป้องกันเชิงรุก APS แบบ StrikeShield ของบริษัท Rheinmetall เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/leonardo-rheinmetall.html) และระบบป้องกันเชิงรุก APS แบบ Iron Fist ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/blr-mk-2.html)
ป้อมปืน RWS ที่มีรายงานว่าอยู่ภายในการพิจารณาคือป้อมปืน Kongsberg RS6 Protector RWS ของบริษัท Kongsberg Defence & Aerospace นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/hyundai-rotem-kongsberg.html)

การปรับปรุงติดตั้งด้วยระบบป้องกันเชิงรุก APS และ ป้อมปืน RWS อาจจะตามมาด้วยโครงการปรับปรุงความทันสมัยต่างๆเพิ่มเติมสำหรับรถถังหลัก Type 10 MBT
ในเดือนมิถุนายน 2024 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เผยแพร่เอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) เช่นเดียวกันซึ่งกล่าวว่าตนกำลัง "พิจารณามาตรการทางเทคนิคที่จะเพิ่มพูนขีดความสามารถต่างๆของรถถังหลัก Type 10"

เอกสารขอข้อมูล RFI เสริมว่า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลัง "ร้องขอให้บริษัทต่างๆมีความประสงค์จะมอบข้อมูล" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับปรุงขีดความสามารถต่างๆของรถถังหลัก Type 10
เอกสาร RFI ไม่ได้ระบุว่าโครงการการปรับปรุงความทันสมัยต่างๆที่มุ่งเน้นมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามกล่าวว่าบริษัทต่างประเทศหลายรายที่จะถูกพิจารณาสำหรับความต้องการต่างๆเหล่านี้ "มีหรือมีแผนจะมี" การตั้งโรงงานการผลิตในญี่ปุ่น

เอกสารแจ้งต่างๆของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นไม่ได้ระบุว่าจะมีรถถังหลัก Type 10 จำนวนเท่าไรที่จะได้รับการปรับปรุง กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) มีประจำการด้วยรถถังหลัก Type 10 จำนวน 130คัน
รถถังหลัก Type 10 ถูกนำเข้าประจำการในปี 2012 และยังคงมีสายการผลิตโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น มีน้ำหนักรถ 44tonnes แต่สามารถลดลงได้เป็น 40tonnes เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งไปวางกำลังอย่างรวดเร็วได้ทั่วทั้งเกาะหลักของญี่ปุ่นครับ

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567

สิงคโปร์ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำชั้น Invincible สองลำแรก RSS Invincible และ RSS Impeccable

Singapore commissions first two Invincible-class submarines







The Republic of Singapore Navy's first two Invincible (Type 218SG)-class submarine, RSS Invincible and RSS Impeccable, seen here at their commissioning ceremony on 24 September 2024 at Changi Naval Base. (Janes/Ridzwan Rahmat, Singapore Ministry of Defence)



กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Invincible(Type 218SG) สองลำแรก เรือดำน้ำ RSS Invincible และเรือดำน้ำ RSS Impeccable แล้ว
เรือดำน้ำ RSS Invincible และเรือดำน้ำ RSS Impeccable ได้ถูกนำเข้าประจำการกองทัพเรือสิงคโปร์พร้อมกันในพิธีขึ้นระวางประจำการพิธีเดียวกันที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2024 ณ ฐานทัพเรือ RSS Singapura ฐานทัพเรือ Changi

เรือดำน้ำชั้น Invincible สองลำแรกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จะนำเรือดำน้ำแบบ Type 218SG ทั้งหมดจำนวน 4ลำเข้าประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/invincible-rss-invincible.html)
เรือดำน้ำชั้น Invincible ได้รับการสั่งจัดหาภายใต้สองสัญญาที่แยกต่างหากกันที่ได้รับการลงนามระหว่างบริษัท thyssenkrupp Marine Systems(tkMS) เยอรมนีผู้สร้างเรือ และกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ในปี 2013 และปี 2017 ตามลำดับ

"เรือดำน้ำ RSS Invincible และเรือดำน้ำ RSS Impeccable ขณะนี้ได้พร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราแล้ว" ตามข้อความที่อ่านได้จากแถลงการณ์ที่ออกเผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงพิธีขึ้นระวางประจำการเรือ
เรือดำน้ำ RSS Invincible ถูกปล่อยลงน้ำโดยอู่เรือ tkMS ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tkms-type-218sg-rss-invincible.html) แต่ยังคงอยู่ในเยอรมนีตั้งแต่นั้นมาสำหรับวัตถุประสงค์ในการฝึกนักดำเรือดำน้ำกองทัพเรือสิงคโปร์

เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สอง เรือดำน้ำ RSS Impeccable และเรือลำที่สาม เรือดำน้ำ RSS Illustrious ถูกปล่อยลงน้ำพร้อมกันในเดือนธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/invincible-rss-impeccable-rss.html)
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย เรือดำน้ำ RSS Inimitable ถูกปล่อยลงน้ำในเดือนเมษายน 2024 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/invincible-rss-inimitable.html)

เรือดำน้ำ RSS Impeccable เป็นเรือลำแรกที่ถูกส่งมอบให้กองทัพเรือสิงคโปร์ โดยเรือได้ถูกขนส่งมาบนเรือขนส่งหนัก MV Rolldock Storm มาถึงฐานทัพเรือ Changi ในเดือนกรกฎาคม 2023 และได้เริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลในน่านน้ำของสิงคโปร์ในระหว่างเดือนเดียวกัน
ขณะที่เรือขนส่งหนัก MV Rolldock Star ได้ทำการบรรทุกเรือดำน้ำ RSS Invincible มาถึงสิงคโปร์ในเดือนสิงหาคม 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/tkms-invincible-rss-invincible.html) เรือดำน้ำที่เหลืออีกสองลำคาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลที่เยอรมนีและขนส่งมาถึงสิงค์โปร์ภายหลัง

เรือดำน้ำชั้น Invincible มีความยาวเรือรวมที่ 70m และมีเส้นผ่าศูนย์กลางตัวเรือถังความดันที่ 6.3m มีระวางขับน้ำที่ 2,200tonnes เมื่อดำใต้น้ำ และมีระวางขับน้ำที่ 2,000tonnes เมื่ออยู่บนผิวน้ำ ติดตั้งด้วยระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) 
สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 10knots ขณะอยู่บนผิวน้ำ และที่ 15knots ขณะดำใต้น้ำ มีคุณลักษณะหางเสือรูปทรงตัว X เพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ในน่านน้ำชายฝั่งที่ตื้น และแผงควบคุมระบบของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบนเรือที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับสรีระของกำลังพลกองทัพเรือสิงคโปร์ครับ

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-C รุ่นใหม่กองทัพเรือไทยทดสอบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร








Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development and X-Treme Composites was demonstrated new Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System (MARCUS) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) Unmanned Aerial Vehicle (UAV), "MARCUS-B (2024)" now also referred as "MARCUS-C" take off and landing on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier.
Admiral Adoong Pan-Iam, the Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy was inspected MARCUS-C VTOL UAV on CVH-911 HTMS Chakri Naruebet during fleet review for farewell RTN commissioned officers and non-commissioned officers in end of Fiscal Year 2024 at Gulf of Thailand on 19 September 2024. (Combat Zones, Panupong Khoomcin)



ภาพและวิดีโอของอากาศยานไร้นักบิน MARCUS-B (2024) สาธิตการขึ้นลงบน รล.จักรีนฤเบศร เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับชม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567
ข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B รุ่นผลิตทดลองประจำการ งป.67 (codename MARCUS-C) 
ผลการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (MARCUS : Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) ของกองทัพเรือจากรุ่นแรก MARCUS ซึ่งได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจาก วช. จำนวน 10,000,000 บาทในห้วงปี 61-63 มาสู่รุ่นที่สอง MARCUS-B ได้รับทุน สนับสนุนการวิจัยจาก วช. จำนวน 5,900,000 บาทในห้วงปี 64-65 
ในห้วงปี 66 ทร. ได้เสนอพิจารณาขอรับงบประมาณเพื่อทำการผลิต MARCUS-B นำไปทดลองใช้งาน ประจำการจำนวน 1 ระบบ เป็นจำนวนเงิน 36,000,000 บาท โดยมีคณะกรรมการ สกพอ. (EEC) พิจารณาให้ความเห็นชอบตามกรอบนโยบายโครงการบูรณาการ ด้วยเห็นว่าเป็นการนำผลงานวิจัยเข้าสู่ สายการผลิต เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย
ตอบสนองแนวทางในการส่งเสริม อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเป้าหมายในอนาคตของประเทศ (ปัจจุบันมี พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ เป็น ประธาน กพอ.ทร. หรือ EEC ทร.) อีกทั้ง ทร. ยังได้มีการพัฒนาและวางแนวทางการใช้งาน MARCUS-B ในอนาคต หากผ่านการทดสอบผลิตใช้งานแล้ว มีแผนสั่งผลิตเข้าประจำการเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว 
อีกทั้ง ยังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้มีความสามารถในการขึ้นลงบนเรือได้อย่างอัตโนมัติ พร้อมกำหนดจำนวนเรือเป้าหมายที่ต้องการให้มี MARCUS-B เข้าประจำการเรียบร้อยแล้ว 
ในห้วงปี 67 ทร. โดยสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ได้ดำเนินกระบวนการคัดเลือกผู้ประกอบการ สัญชาติไทยเพื่อจ้างผลิต MARCUS-B ตามคุณลักษณะที่ ทร. กำหนด โดยมีผู้ประกอบการที่ร่วมงานวิจัย ในโครงการมาตั้งแต่รุ่นแรก ยื่นข้อเสนอและผ่านการคัดเลือกแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอ ขออนุมัติให้ลงนามในสัญญา 
(เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ผู้ประกอบการและกลุ่มนักวิจัย ให้ความร่วมมือแก่ ทร. ลงทุนและดำเนินการผลิต MARCUS-B รุ่นใหม่ ลำสาธิตให้ ทร. ได้ชมก่อนลงนามในสัญญา โดยไม่มี ข้อผูกมัดประการใดกับทางราชการ มีผู้ร่วมผลิตคือ B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development และ X-Treme Composites เป็นผู้ร่วมผลิตให้กับกองทัพเรือ) 

คุณลักษณะของ MARCUS-B รุ่นใหม่ (codename MARCUS-C) 
MARCUS-B จำนวน 1 ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับจำนวน 2 ลำและชุดควบคุม ภาคพื้นจำนวน 1 ชุด (2 Bird – 1 Ground)
MARCUS-B ที่ทำการผลิตจะใช้พื้นฐานองค์ความรู้และรูปร่างรูปทรงที่เป็นผลมาจากการวิจัย มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาสตร์และพื้นที่การใช้งานที่ดีขึ้น มิติโดยประมาณมี ความยาวระหว่างปลายปีกทั้งสองข้างประมาณ 4.8 เมตร มีความยาวหัวลำถึงท้ายลำประมาณ2.8 เมตร น้ำหนักขึ้นบินสูงในระหว่าง 35-50 กิโลกรัม
o ขึ้นลงทางดิ่งด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 4 ตัวที่สามารถผลิตแรงยกได้สูงสุดเกือบ 120 กิโลกรัม บินเดินทางด้วยเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงแบบ 2 สูบ 4 จังหวะ 125 cc (UAV Graded) ควบคุม การจ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีดอิเลคทรอนิกส์ EFI ควบคุมแรงดัน อุณหภูมิ และการทำงาน อื่นๆ แบบอัตโนมัติ มีระบบ electronic starter / alternator สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ากลับมา ใช้ได้ตลอดห้วงระยะเวลาการบิน 
สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในอัตราประมาณ 1.2-1.8 ลิตรต่อชั่วโมง ติดตั้งถังน้ำมันความจุ 11 ลิตร (หากไม่มีการติดตั้ง payload เพิ่มเติมจะสามารถติดตั้งถังน้ำมัน เพิ่มเดิมได้อีกประมาณ 8-10 ลิตร) 
ติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบ EO/IR กำลังขยาย 30 เท่า พร้อม Laser Range Finder ระยะ 5 กิโลเมตร 
ติดตั้งระบบ ADS-B ที่สามารถเปิด-ปิด การทำงานได้เมื่อต้องการ
Automatic Dependent Surveillance Broadcast (ADS-B) เป็นระบบแจ้งพิกัดตนเองแบบอัตโนมัติ ที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสากลไปทั่วโลก สำหรับอากาศยานโดยทั่วไป ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ MARCUS-B ไม่ได้เป็นสิ่งแปลกปลอมในห้วงอากาศสาธารณะ เป็นการให้ความร่วมมือกับ CAAT ในการบริหารจัดการห้วงอากาศ แต่เมื่อมีความจำเป็นก็สามารถปิดระบบนี้ ทำให้ MARCUS-B ล่องหนได้เมื่อมีความจำเป็น
ระบบการสื่อสารแยกเป็น อากาศยาน 1 ลำ มีระยะทำการไม่ต่ำกว่า 50 NM และอีก 1 ลำมี ระยะทำการไม่ต่ำกว่า 10 NM (จำกัดด้วยงบประมาณที่ได้รับ) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
GCS ติดตั้งระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Phased Array (Military Graded) ระยะ ปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตร ป้องกันการตรวจจับ และต่อต้านการรบกวน (Anti UAV Jammer)

นักวิจัยของกองทัพเรือร่วมกับผู้ประกอบการสัญชาติไทย (B.J.Supply 2017, Oceanus R&D, X-Treme Composites) ทำการผลิต MARCUS-B (2024) ลำต้นแบบเพื่อทำการบินสาธิตให้ผู้บัญชาการทหารเรือได้ชมการขึ้นลงจากเรือที่ออกปฏิบัติการในทะเล ก่อนทำการผลิตและส่งมอบให้กองทัพเรือเพื่อนำไปทดลองประจำการ
ถูกต้องครับ ... การทำให้ระบบขับเคลื่อนระบบเดียวทำงานได้ทั้งขึ้น-ลงทางดิ่งและบินเดินทางได้นั้น มันมีความคุ้มค่า (airworthiness) มากกว่า แต่ด้วยข้อจำกัดในหลายๆด้าน จากการร่วมพิจารณาจึงได้ข้อตกลงใจที่ดีที่สุดของรุ่นนี้ออกมาว่า ต้องมีระบบขับเคลื่อนทั้งสองแบบทำงานประสานกัน โดยมีเหตุผลประกอบหลักๆ เช่น
- การมีระบบขับเคลื่อนสองระบบที่ทำงานสำรองแทนกันได้ (redundant) จะปลอดภัยกว่า เราเคยมีประสบการณ์เครื่องดับกลางอากาศ เราก็ได้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยชีวิตไว้ รวมถึงการแก้อาการทรงตัวผิดปกติ ป้องกันไม่ให้เครื่องพลิกหรือตกเมื่อเจอพายุหนัก
- การสร้างกลไล (mechanic) เพื่อทำให้ระบบขับเคลื่อนเปลี่ยนทิศได้กับเครื่องบินที่มีน้ำหนักมากกว่า 50 กก. ขึ้นไปเป็นเรื่องที่ซับซ้อน อีกทั้งการทำให้เครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปทำงานประสานกันได้ภายในเสี้ยววินาที เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก แต่การใช้มอเตอร์ไฟฟ้านั้นจะหลีกเลี่ยงปัญหาทุกอย่าง
- ทีมงานตระหนักดีว่า สิ่งที่เราเสียไป (tradeoff) กับน้ำหนักของระบบขึ้น-ลงทางดิ่งนั้น "คุ้มค่าที่จะแลก" เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้งานของกองทัพเรือ
- เราแก้ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการบินให้นานขึ้น โดยการปรับแบบโครงสร้างภายนอกเพื่อให้ได้ค่าอากาศพลศาสตร์ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงสมรรถนะสูงที่มีความประหยัดมาก
ทีมงานตระหนักดี ในเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขอให้ข้อมูลว่าเรานำรุ่นนี้เข้าสายการผลิต เพราะมีความมั่นใจในเสถียรภาพและมีความน่าเชื่อถือ (stable / reliable) ในส่วนของเทคโนโลยีหรือ configuration ใหม่ๆ นั้น เรายังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (ออกแบบเอง, สร้างขึ้นมาเองกับมือ, บินเอง, สอนเอง เราจึงมั่นใจว่าจะปรับจะแก้อะไรอย่างไรก็ได้) 
เพียงแต่การจะนำรุ่นใดมาผลิตใช้งานจริงนั้น ต้องมีความมั่นใจ ว่าจะต้องใช้งานได้จริง ไม่มีปัญหา (การวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แบบคู่ขนานกัน)
ทีมงานมีความมั่นใจว่า learning curve ในช่วงปลายของมนุษย์เรานั้นจะสูงมาก เราจะสามารถพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันเราเริ่มได้รับความไว้วางใจจากหลายฝ่าย เรายืนยันว่าจะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง
ขอขอบคุณแรงสนับสนุนในทางบวกจากทุกๆ ท่าน ขอให้เป็นการติเพื่อก่อ การ discredit กันไม่ได้ช่วยให้สังคมดีขึ้นมาแต่อย่างใด คนไทยไม่ได้มีแค่ทีมงานของเราเท่านั้นที่ทำเรื่องแบบนี้ได้ ประเทศเรายังมีคนเก่งอยู่อีกมาก ขอแค่ให้ช่วยกันสนับสนุนคนเก่ง "ที่เป็นคนดี" ให้ได้มีโอกาส ให้ได้รับการสนับสนุน หยุดความขัดแย้ง หันหน้ามาร่วมมือกันตามความถนัดและโอกาสที่ตนเองมี ประเทศชาติเราย่อมเจริญครับ
:Captain Panupong Khoomcin นาวาเอก ภาณุพงศ์ ขุมสิน ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

โครงสร้างอากาศยาน(Airframe) ของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B (2024) รุ่นใหม่ หรือที่ขณะนี้รู้จักในชื่อ MARCUS-C ถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรก งาน 'นาวีวิจัย 2024' ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/dpv.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/08/chaiseri-awav-8x8.html)
สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท Oceanus Research and Development ไทย, บริษัท X-Treme Composites ไทย และบริษัท B.J.Supply 2017 ไทยเป็นผู้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-C รุ่นใหม่นี้

MARCUS-C ถือว่าเป็นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) ในตระกูลอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) รุ่นที่สาม ต่อจากรุ่นแรก MARCUS ที่มีการทดสอบบนเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓)(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html
และรุ่นที่สองอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B ที่ได้มีการทดสอบบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/marcus-b.html) ซึ่งโครงการได้รับอนุมัติวงเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อการสร้าง ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ UAV จำนวน ๔เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน ๑ระบบ

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-C ล่าสุดที่มีการทดสอบการปฏิบัติการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรที่ลอยลำในกระบวนหมู่เรือสวนสนามกับเรือหลายลำของกองทัพเรือไทยในอ่าวไทยเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งได้เห็นครั้งแรกที่อากาศยานไร้คนขับตระกูล MARCUS ปฏิบัติจากดาดฟ้าบินของเรือขณะที่เรือลอยลำในทะเล ต่างจากการทดสอบก่อนหน้าที่ดำเนินการขณะเรือจอดเทียบท่า
ขณะที่ MARCUS-B โครงสร้างลำตัว(fuelselage) ในรูปแบบ Blend wings กับแพนหางท้ายแบบ twin-tail boom แต่ MARCUS-C ใช้โครงสร้างลำตัวรูปแบบ conventional high wings แต่ยังคงระบบขับเคลื่อนผสมผสานใบพัดผลักดันท้ายเครื่องกับใบพัดปีกหมุนสี่ชุดที่ให้แรงยกแนวดิ่งอยู่ พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือไทยได้รับทราบจากนายทหารโครงการว่าระบบต้นแบบนี้มีงบประมาณในการผลิตเพียง ๓๖,๐๐๐,๐๐๐๐บาท($1,093,080) เท่านั้น ขณะที่ระบบ VTOL UAV รูปแบบเดียวกันของต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($9,120,255) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/dp6-pathum-4.html)