วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยประกาศเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F สวีเดน

Thai air force announces Gripen selection





The Royal Thai Air Force seeks an initial acquisition of four JAS 39 Gripen E/Fs. (Saab/Marcus Wandt)


The Impression images of Royal Thai Air Force future Saab Gripen E serial number 10201 of 102nd Squadron, Wing 1 Korat RTAF base. (Defense Info TH/Noppasin P.)



Most Suitable To Protect Our National Interest

กองทัพอากาศได้คัดเลือก JAS 39 Gripen E/F ให้เข้าบรรจุในฝูงบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่

ตามที่กองทัพอากาศได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ 2568-2572 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19/ก หรือ F-16 A/B ณ ฝูงบิน 102 กองบิน 1 ซึ่งบรรจุประจำการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นเวลามากกว่า 36 ปีแล้วนั้น โครงการจัดหาฯ ดังกล่าวเป็นโครงการที่กองทัพอากาศให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 
โดยได้กำหนดไว้ในสมุดปกขาวกองทัพอากาศ พ.ศ.2567 (RTAF Whitepaper 2024) เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณสูงจากภาษีของพี่น้องประชาชน ดังนั้นคณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบและกำหนดวิธีการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนของกองทัพอากาศ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารอากาศ 
จึงตระหนักว่าการพิจารณาดำเนินโครงการดังกล่าว จะต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีในการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศไปอีกอย่างน้อย 30 ปี

ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนต้องเป็นเครื่องบินที่มีขีดความสามารถดีกว่าเครื่องบินขับไล่โจมตี ที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบัน มีความเหมาะสมในด้านคุณสมบัติร่วมและความต่อเนื่อง (Commonality & Continuity) สามารถพัฒนาต่อยอดตามยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศและกองทัพไทยได้ในอนาคต 
รวมถึงต้องมีการดำเนินการตามนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์ (Offset Policy) เพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ

จากหลักการสำคัญและข้อพิจารณาข้างต้น คณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบฯ ได้กำหนดขั้นตอนและเกณฑ์การพิจารณาที่ละเอียดรอบคอบโดยใช้ระยะเวลากว่า 10 เดือนในการดำเนินการ จึงสามารถสรุปได้ว่าเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ JAS 39  Gripen E/F มีขีดความสามารถที่ตอบสนองความต้องการทางยุทธการตามหลักนิยมและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ 
ทั้งยังมีอิสระในการใช้งาน และสามารถพัฒนาต่อยอดนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการปฎิบัติการร่วมหลายมิติ (Multi-Domain Operations) ระหว่างกองทัพอากาศร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ภายใต้แนวความคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงสอดคล้องกับกรอบงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรร 
ตลอดจนมีข้อเสนอตามนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์ทั้งทางตรงในการสร้างโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เพื่อยกระดับมาตรฐานเข้าสู่ในระดับสากลและการชดเชยทางอ้อมในการให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากรในต่างประเทศทั้งภายในกองทัพอากาศและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะความชำนาญขั้นสูง 
รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเกษตรกรรม ตลอดจนการสร้างศูนย์นวัตกรรมที่นำไปสู่การเสริมสร้างผลผลิตในการสร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆในระยะยาวต่อไป

กองทัพอากาศจึงขอให้ความเชื่อมั่นกับพี่น้องประชาชนว่าจะดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี JAS 39 Gripen E/F ให้เกิดความคุ้มค่าต่องบประมาณที่ได้รับจากภาษีของประชาชน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ จะนำมาซึ่งการได้ยุทโธปกรณ์ที่มีสมรรถนะสูงเพื่อใช้ในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศ 
สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามตามสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามสถานภาพด้านงบประมาณ และแนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป

กองประชาสัมพันธ์ 
สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ 
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 
27 สิงหาคม 2567

กองทัพอากาศได้คัดเลือก JAS 39 Gripen E/F ให้เข้าบรรจุในฝูงบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่
หน้าตา..จะเป็นอย่างไรครับ..เมื่อมาเป็นห่าง STARS ... แห่งถ้ำพยัคฆ์ ลองมาดูกันครับผม ...

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ประกาศว่าตนได้เลือกการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab JAS 39 Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
เหนือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html) โฆษกกองทัพอากาศไทย (พลอากาศตรี บุญเลิศ อันดารา) กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ว่า 

กองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน ๔เครื่อง ขณะที่กองทัพอากาศไทยได้ประกาศการตัดสินใจของตนในแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/saab-gripen-e.html
คณะกรรมการพิจาณาเลือกแบบของกองทัพอากาศไทยได้ประเมินว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F มีความเหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บนพื้นฐานจากข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัท Saab สวีเดน และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล กล่าว

กองทัพอากาศไทยกล่าวว่า หลักเกณฑ์สำคัญในการสร้างการตัดสินใจรวมถึงความจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โดยมีขีดความสามารถต่างๆที่เหนือกว่าเครื่องบินรบที่ปัจจุบันมีประจำการในกองทัพอากาศไทยขณะที่ยังมี "คุณสมบัติร่วมและความต่อเนื่อง(commonality and continuity)"
การเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ของกองทัพอากาศไทยยังมีพื้นฐานบนการพิจารณาในด้านต่างๆอื่นๆ เช่น ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมทางอุตสาหกรรมกับ Saab สวีเดน กองทัพอากาศไทยเสริมในแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/f-16-block-7072-gripen-ef.html)

"บนพื้นฐานการพิจาณาต่างๆในข้างต้น คณะกรรมการพิจาณาเลือกแบบได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณา ซึ่งได้ใช้ระยะเวลามากกว่า๑๐เดือนในการเสร็จสิ้น จึงได้ข้อสรุปว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/E มีขีดความสามารถที่จะตรงตามความต้องการทางยุทธวิธีที่วางไว้หลักนิยมและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ"
กองทัพอากาศไทยกล่าวโดยเสริมว่า Gripen E/F จะยังเป็นที่คาดว่าจะดำเนินการปฏิบัติการเป็นเวลา "อย่างน้อย ๓๐ปี" เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช โดยฝูงบิน๑๐๓ ได้นำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU เครื่องแรกเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) เป็นเวลา ๓๖ปีแล้ว

"Saab ยืนยันว่ากองทัพอากาศไทยได้ประกาศความปรารถนาของตนที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F นี่เป็นแง่บวกอย่างมากที่ชัดเจนสำหรับ Saab และสำหรับสวีเดน แต่ ณ จุดนี้มันยังไม่มีสัญญาหรือคำสั่งซื้อใดๆเกิดขึ้น
Saab กำลังมองไปข้างหน้าที่จะเดินหน้าการหารือของเรากับกองทัพอากาศไทยและตัวแทนผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ในอนาคตสำหรับประเทศไทย" Saab สวีเดนกล่าวในการร้องขอความเห็นจาก Janes และสื่ออื่นๆ

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพอากาศไทยปัจจุบันมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab JAS 39 Gripen C/D จำนวน ๑๑ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่จัดหาตามโครงการ "PEACE SUVARNABHUMI" ในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) 
และได้รับมอบชุดแรก ๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) และชุดที่สองอีก ๖เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๖-2013) รวมจำนวน ๑๒เครื่อง และต่อมาได้รับการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)

ตามสมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ที่เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(Fiscal Year FY2025-2034) 
มีเนื้อหาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง รวมถึงระบบอาวุธต่างๆ และอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน และการฝึกที่เกี่ยวข้อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) โดยจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ระยะ๑ ชุดแรกจำนวน ๔เครื่องคาดว่าจะมีวงเงินที่ราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($539 million)

ไทยจะเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองต่อจากบราซิลที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว F-39E Gripen E จำนวน ๒๘เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-39F Gripen F จำนวน ๘เครื่อง พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการและสิทธิบัตรการผลิตในบราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/f-16-24.html)
เมื่อรวมกับที่สวีเดนได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E จำนวน ๖๐เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/fmv-gripen-e.html) จะทำให้สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จากปัจจุบันที่มีคำสั่งจัดหา ๙๖เครื่อง ถ้ารวมกับของไทยจะเพิ่มเป็นอย่างน้อย ๑๐๐เครื่อง หรือสูงสุดถึง ๑๐๘-๑๑๐เครื่อง

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ฮังการียังกำลังหารือกับสวีเดนถึงความเป็นไปได้ของการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E เพื่อเสริมต่อเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่ตนมีประจำการอยู่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/gripen-e.html)
กองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้งานรายเดียวในโลกขณะนี้ที่มีประจำการด้วยทั้งเครื่องบินขับไล่ F-16 สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html) อย่างไรก็ตามตามที่ขณะนี้ยังไม่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทยชุดใหม่ กระบวนการที่จะนำไปสู่การลงนามสัญญาจัดหาอาจจะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ครับ