วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567

KAI เกาหลีใต้และ TAI ไทยลงนามจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง MRO สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH

KAI and Thai counterpart sign T-50TH MRO support pact



The Final acceptance ceremony for latest two KAI T-50THs (40113 and 40114) held at Wing 4 Takhli in Nakhon Sawan Province, Thailand on 19 August 2024. 
Thailand is an important market for KAI in Southeast Asia. Source: Royal Thai Air Force

กองบิน ๔ ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก เสกสรร  คันธา เสนาธิการทหารอากาศ และคณะ
นาวาอากาศเอก ชาคริต  ศักดิ์ชัยศรี ผู้บังคับการกองบิน ๔ ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก เสกสรร  คันธา เสนาธิการทหารอากาศ และคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ขั้นต้น ในโอกาสเดินทางมาประชุมตรวจรับพัสดุขั้นสุดท้ายโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ขั้นต้น โครงการ T-50TH phase ๔ ณ ฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๗

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยได้เข้าสู่การทำข้อตกลงร่วมกันที่สนับสนุนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา 
บันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ระหว่างบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีและบริษัท TAI ไทยได้ครอบคลุมการจัดตั้งฐานศูนย์ซ่อมบำรุง, ซ่อมแก้ และซ่อมใหญ่(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) ในอนาคตในไทย KAI กล่าว

บริษัท KAI เสริมว่าบันทึกความเข้าใจ MOU มีขึ้นในฐานะที่เป็นการเตรียมการจะลงนามสัญญาการส่งกำลังบำรุงบนพื้นฐานประสิทธิภาพ(PBL: Performance-Based Logistics) สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH กับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
"การเริ่มต้นกับข้อตกลงนี้ KAI และ TAI วางแผนที่จะขยายความร่วมมือซึ่งกันและกันที่จะเพิ่มพูนอัตราการปฏิบัติการของ บ.ขฝ.๒ T-50TH และเสริมความแข็งแกร่งขีดความต่างๆตามมา และเพื่อจะระบุแผนความร่วมมือต่างๆในระยะกลางถึงระยะยาว เช่น การจัดตั้งฐานซ่อมบำรุงอากาศยานในเอเชียและสำรวจตลาดที่เป็นไปได้" KAI กล่าว

KAI สาธารณรัฐเกาหลีเสริมอีกว่าข้อตกลงการส่งกำลังบำรุงที่กำลังรอการดำเนินการกับกองทัพอากาศไทยถูกสร้างบนพื้นฐานข้อตกลงเดียวกับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force)
ซึ่งเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่ที่สุดในโลกของในรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50, เครื่องบินฝึกและโจมตีเบา TA-50 และเครื่องบินขับไล่และโจมตีเบา FA-50(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/fa-50.html)

กองทัพอากาศไทยมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH Golden Eagle จำนวน ๑๔เครื่อง ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ในจังหวัดนครสวรรค์ทางตอนกลางของประเทศไทย
KAI ยังเสนอเครื่องบินขับไล่และโจมตีเบา FA-50 เดินหน้าเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-t-50th.html)

ต่อตัวเลือกของกองทัพอากาศในขณะนี้คือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/lockheed-martin-f-16v-block-7072.html) และเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
สร้างขึ้นบนความสำเร็จในระดับนานาชาติเครื่องบินไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าสู่ข้อตกลงกับภาคอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศของหลายประเทศลูกค้า

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) บริษัท KAI ได้เปิดสำนักงานในโปแลนด์เพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 จำนวน ๔๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-fa-50.html)
โรงงานอากาศยานได้ถูกจัดตั้งขึ้น ณ ฐานทัพอากาศ Mińsk Mazowiecki ของกองทัพอากาศโปแลนด์(Polish Air Force, ISP: Inspektorat Sił Powietrznych) และจะมอบการสนับสนุนตลอด ๒๔ชั่วโมงแก่ฝูงบินของโปแลนด์

ในต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท KAI ได้ลงนามข้อตกลงการผลิตชิ้นส่วนกับภาคอุตสาหกรรมศูนย์ซ่อมบำรุง MRO อากาศยานของเปรู Sema เพื่อเตรียมความเป็นไปได้ที่เปรูจะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50
รัฐบาลเปรูในนครหลวง Lima กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 จำนวนระหว่าง ๒๐-๒๔เครื่อง และยังพิจารณาที่จะเข้าร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/kf-21-20.html)

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพอากาศไทยได้มีพิธีตรวจรับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH สองเครื่องสุดท้ายหมายเลข 40113 และหมายเลข 40114 ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ประกาศจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ทำให้จำนวนเครื่องล่าสุดอยู่ที่ ๑๔เครื่อง
สมุดปกขาว RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) ยังได้ให้รายละเอียดถึงแผนการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติมจำนวน ๒เครื่องระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) ซึ่งจะทำให้จำนวนเครื่องในฝูงบิน๔๐๑ จะรวมเป็นทั้งหมด ๑๖เครื่อง

สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034) ที่้เป็นการแข่งขันระหว่างบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Saab สวีเดน 
เดิมมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าทั้งสองบริษัทจะเสร็จสิ้นการยื่นข้อเสนอสุดท้ายที่จะไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้วแก่กองทัพอากาศไทยภายในวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศการตัดสินใจคัดเลือกแบบในสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗ ลงไป

ดังนั้นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 น่าจะมีโอกาสในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-5th-super-tigris.html
หรือเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/alpha-jet-th.html) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ที่จะมีขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(2031-2035) มากกว่า

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เศรษฐา ทวีสิน ได้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีทุจริต ทำให้คณะรัฐมนตรีไทยจึงต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยในทางนิตินัย และนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบัน แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
นั่นทำให้จะต้องมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมา โดยที่ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้ รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ยังคงรักษาการตำแหน่งอยู่ จึงเป็นที่เข้าใจว่าการตัดสินใจใดๆในโครงการจัดซื้อจัดจ้างหลักของกระทรวงกลาโหมไทยจะถูกเลื่อนออกไปก่อนจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีไทยชุดใหม่ครับ