Israeli firm's Aeronautics Group and Thailand company RV CONNEX was displayed
PATHUM 4 air vehicle which based-on Orbiter 4 small tactical unmanned aerial
system (UAS) with vertical take-off and landing (VTOL) configuration at Defense & Security 2022 show in Bangkok during 29 August-1 September
2022. (My Own Photo)
Made in Thailand - Aeronautics Group and RV CONNEX signed teaming agreement
for local prodution of Orbiter 4 UAS as PATHUM 4 in February 2023.
(Aeronautics)
Aero Technology Industry Company Limited (ATIL), joint venture between
Thailand's Defence Technology Institute (DTI), PYN INTERNATIONAL and chinese
Beihang UAS Technology, has tested its DP6 small VTOL UAV (Unmanned
Aerial Vehicle) at The Sky Airfield near Kaeng Krachan Dam in Phetchaburi
Province. (ATIL/TV5)
Both RV CONNEX PATHUM 4 and ATIL DP6 are competing for Royal Thai Army (RTA)
requirements.
DP6 Small VTOL UAV (Version II)
อากาศยานไร้คนขับ รุ่น DP-6 เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัท แอร์โร เทคโนโลยี
อินดัสทรี จำกัด (Aero Technology Industry Company Limited) หรือ บริษัท เอทิล
(ATIL) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562
ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมกับเอกชนไทยและต่างชาติ
สามารถดำเนินการผลิต ประกอบ ซ่อมบำรุง ฝึกอบรม ทดสอบ วิจัย
ระบบอากาศยานไร้คนขับ
เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในกองทัพไทยและต่างประเทศ
อากาศยานไร้คนขับ DP-6 เป็นอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบบินขึ้นและบินลงทางดิ่ง
(Small Vertical Take Off and Landing: Small VTOL UAV) แบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
(Fully Autonomous Take Off and Landing)
โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สนามบินในการบินขึ้นและบินลง
ปฏิบัติภารกิจได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีความกว้างของปีก 4.75 เมตร
เพดานบินสูงสุด 15,000 ฟุต รัศมีปฏิบัติการไกลถึง 100 กิโลเมตร บินได้นาน 6
ชั่วโมง ควบคุมความแม่นยาในการบินด้วย INS/GPS
ปฏิบัติการบินได้ในสภาพความเร็วลมระดับ 5 (ไม่เกิน 21 น๊อต)
อากาศยานไร้คนขับ DP-6 มีจุดติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติภารกิจ (Payload)
ได้ถึง 4 ตำแหน่ง สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้หลากหลาย อาทิ กล้องเฝ้าระวังระยะไกล
และกล้องถ่ายภาพความร้อนหลายเซ็นเซอร์ (Electro-Optical/Infra-Red: EO/IR
),
เรดาร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวและระบุตัวตน (Synthetic Aperture Radar: SAR) ,
การรวบรวมข่าวกรองโดยใช้สัญญาณ SIGINT, การถ่ายทอดสัญญาณ Comm. Relay
เป็นต้น
EO/IR บนอากาศยานไร้คนขับ DP-6
สามารถถ่ายภาพได้จากระยะไกลและให้ภาพสีความละเอียดสูง
มีพื้นที่การมองเห็น (Field of View) หลายขนาด
ใช้เซ็นเซอร์ CCD หรือเซ็นเซอร์แสงที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีวงจรรวม (Integrated
Circuit: IC) สำหรับรับภาพในความมืด และภาพใกล้ย่านอินฟาเรด
สามารถติดตามเป้าหมายได้อัตโนมัติ และทำงานร่วมกับเรดาร์ตรวจการณ์
จุดเด่นของระบบสื่อสารการบินของอากาศยานไร้คนขับ DP-6 คือ
สามารถส่งต่อการควบคุมระหว่างสถานีควบคุมภาคพื้นระบบที่ 1 และระบบที่ 2
ภายในรัศมี 100 กม. ได้ ทำให้สามารถครอบคลุมรัศมีการปฏิบัติภารกิจได้ถึง 200
กิโลเมตร
สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายทั้งทางทหารและพลเรือน อาทิ ด้านการข่าว
ลาดตระเวน เฝ้าตรวจทางอากาศ (Intelligence Surveillance and Reconnaissance:
ISR)
การค้นหาเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมาย การปรับเป้าหมายการยิง
รวมทั้งการประเมินความเสียหายจากการรบ ซึ่งเป็นภารกิจทางทหาร
ส่วนทางด้านพลเรือน สามารถสนับสนุนการทำแผนที่ การตรวจการลาดตระเวน
การตรวจสอบความเสียหาย การสนับสนุนการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ
เป็นต้น
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา บริษัท เอทิล (ATIL)
ได้นำอากาศยานไร้คนขับ DP-6
ทำการปฏิบัติการบินทดสอบสมรรถนะในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเหนือน่านฟ้าสนามบิน
เดอะ สกาย แอร์ฟิลด์ (The Sky Airfield) ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับเขื่อนแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี
โดยได้ทำการบินไต่ระดับขึ้นไปที่ความสูง 13,000 ฟุต ซึ่งนับว่าบินได้สูงมาก
และเครื่องมือตรวจจับเครื่องบิน (Flight Radar)
สามารถตรวจจับได้เหมือนเครื่องบินทั่วไป
นอกจากนี้ยังได้ทดสอบการส่งต่อการควบคุมการบินระหว่างสถานีควบคุมภาคพื้นระบบที่
1 ซึ่งอยู่ที่สนามบิน เดอะ สกาย แอร์ฟิลด์ (The Sky Airfield) และระบบที่ 2
อยู่ที่สนามบินโพธาราม (Photharam Airport) จังหวัดราชบุรี
โดยมีระยะทางห่างกันประมาณกว่า 90 กิโลเมตร สามารถควบคุมอากาศยานไร้คนขับ DP-6
ที่ทำการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อากาศยานไร้คนขับ DP-6
ยังได้ทดสอบการถูกกวนสัญญาณการสื่อสารการบินระหว่างสถานีควบคุมภาคพื้นและตัวอากาศยาน
ซึ่งระบบได้ทำการเปลี่ยนคลื่นความถี่แบบอัตโนมัติเพื่อดำรงการปฏิบัติการบินต่อไปได้
และได้ทำการทดสอบการตัดสัญญาณระหว่างสถานีควบคุมภาคพื้นกับ DP-6
(Communication Link fail) ซึ่ง DP-6 ได้ทำการบินกลับมาที่จุดเริ่มต้น (Home)
เพื่อทำการลงจอดแบบอัตโนมัติได้ด้วยความแม่นยำ
จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติการบินทดสอบสมรรถนะของอากาศยานไร้คนขับ DP-6
รวมถึงระบบต่างๆ ที่ใช้ควบคุมการบิน
มีประสิทธิภาพและมาตรฐานความปลอดภัยการบินที่สูงมาก
สามารถรองรับการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
อากาศยานไร้คนขับรุ่น DP-6 เป็น Dual use
คือสามารถใช้ปฏิบัติภารกิจได้ทั้งทางทหารและพลเรือน
ทำการบินขึ้นและบินลงโดยไม่จำเป็นต้องใช้สนามบินโดยระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ
จะเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท ATIL ที่ดำเนินการผลิต ประกอบ ซ่อมบำรุง
ฝึกอบรม และทดสอบ ได้เองภายในประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
เป็นการประหยัดงบประมาณจากการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ
สามารถสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าตามนโยบายของรัฐบาล
บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณ ททบ.5 ครับ
สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง๕ ททบ.๕ TV5
ของรัฐบาลไทยได้เผยแพร่ภาพและข้อมูลของอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV:
Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) แบบ DP6
ที่พัฒนาโดยบริษัท Aero Technology Industry Company Limited(ATIL) ไทย
ATIL เป็นกลุ่มร่วมทุนระหว่างบริษัท Beihang UAS Technology จีน
กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) ไทย
และบริษัท PYN INTERNATIONAL ไทย เพื่อการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสำหรับใช้งานในหน่วยงานของไทยและส่งออกต่างประเทศ
ก่อนหน้าที่สถานีโทรทัศน์ TV5 ไทยจะเผยแพร่รายงานอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง
ATIL DP6 เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ใน website flightradar24.com ได้แสดงข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ถึงอากาศยานนามเรียกขาน callsign
"ATIL01"
ทำการบินขึ้นลงที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งตรงกับรายงานการทดสอบที่สนามบิน The Sky Airfield
ใกล้เขื่อนแก่งกระจานเพชรบุรี และสนามบินโพธาราม จังหวัดราชบุรี(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/dti-dp20-uas.html)
บริษัท Aeronautics อิสราเอล และบริษัท RV Connex
ไทยยังได้ประกาศถึงการลงนามข้อตกลงการเป็นทีมในการผลิตอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดเล็ก
Orbiter 4 UAS(Unmanned Aerial System) ในประเทศไทยภายใต้ชื่ออากาศยานไร้คนขับ
PATHUM 4('ปทุม': lotus)
โดยก่อนการลงนามร่วมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ Aeronautics อิสราเอลและ RV Connex
ไทยได้จัดแสดงตัวอากาศยานของระบบ PATHUM 4 ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ
Defense & Security 2022 ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
อากาศยานไร้คนขับ RV Connex PATHUM 4 มีพื้นฐานจากอากาศยานไร้คนขับ Aeronautics
Orbiter 4 คุณลักษณะตัวอากาศยานมีปีกกว้าง 5.4m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 50kg
น้ำหนักบรรทุก 12kg ระยะควบคุมผ่าน datalink Line of Sight (LOS) 150km
ระยะเวลาปฏิบัติการ ๒๔ชั่วโมง
ในรุ่นพื้นฐานมีรูปแบบการส่งขึ้นด้วยรางดีดและรับกลับด้วยการกางร่มพยุงลงพื้นเช่นเดียวกับ
อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Orbiter 3B
รุ่นก่อนหน้าที่ประจำการใน กองการบินทหารเรือ(RTNAD: Royal Thai Naval Air
Division) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
Aeronautics อิสราเอลยังได้เปิดตัวแบบแผนอากาศยานไร้คนขับ Orbiter 4 VTOL
ที่ผสมผสานระบบขับเคลื่อนใบพัดผลักดันท้ายเครื่อง
กับใบพัดปีกหมุนคู่สี่ชุดที่ให้แรงยกแนวดิ่งที่จำเป็นสำหรับรูปแบบการบินลอยตัว(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronautics-trojan.html)
ทั้งอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Pathum 4 และ DP6
ที่ทำการสร้างในไทยถูกระบุว่ากำลังอยู่ในการแข่งขันโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับสำหรับกองพลทหารปืนใหญ่(Artillery
Division) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
อย่างไรก็ตามขณะที่เขียนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมครับ